ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การศึกษา / การศาสนา / วัฒนธรรม

การศึกษา  
อำเภอขุขันธ์  เป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต ๓  ประกอบด้วย อำเภอขุขันธ์  ปรางค์กู่  ภูสิงห์และไพรบึง จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม พรบ.การศึกษา ปีพุทธศักราช  ๒๕๔๒  ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  
                - สถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ๙๗  แห่ง  
                - เอกชน  ๑  แห่ง  
                - อาชีวศึกษา  ๑  แห่ง 
                - ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน ๑ แห่ง       
                - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  ๒๙  แห่ง  
                - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   ๑๙  แห่ง

การศาสนา 
          ๑. ศาสนาพุทธ ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอขุขันธ์  นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ  ๙๙   โดยมีศาสนสถานและพระภิกษุ-สามเณร ดังนี้
จำนวนวัดทั้งหมด  ๗๑ วัด   (วัดราษฏร์) จำแนกเป็น
- มหานิกาย        ๖๙       วัด
- ธรรมยุทธ          ๒      วัด
จำนวนที่พักสงฆ์      ๒๗      แห่ง
จำนวนวัดร้าง            ๑       แห่ง
พระภิกษุ               ๙๑๓      รูป
สามเณร   ๑๙๔      รูป
               มีศูนย์พุทธศาสนาวันอาทิตย์  ๖  แห่ง
               มีสำนักงานเรียนแผนกธรรม-บาลี  ๓๓  แห่ง

             ๒. ศาสนาอื่นๆ  เช่น ศาสนาคริสต์  มีสำนักคริสตจักรชั่วคราว  ๒  แห่ง

วัฒนธรรม    
วัฒนธรรม  ค่านิยมและความเชื่อของอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  มีลักษณะที่เหมือนและคล้ายคลึงกับชาวไทยอีสานตอนใต้  ซึ่งเป็นเอกลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น  ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ  เป็นแนวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันเช่น  การรำแม่มด,  เจรียง,  กันตรึม,  ปี่พาทย์  เป็นต้น  แต่ที่โดดเด่นและเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อๆกันมาหลายชั่วอายุคน ก็คือ ประเพณีแซนโฎนตา  เป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของคนไทยในท้องถิ่นที่พูดภาษาเขมร และภาษากูย แถบจังหวัดในภาคอีสานตอนใต้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยชาวบ้านจะจัดให้มีขึ้นทุกปี ในช่วงวันแรม 14 - 15 ค่ำเดือนสิบ
                   นอกจากนี้ยังมีองค์การเครื่องข่ายทางวัฒนธรรมระดับอำเภอและตำบล  นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  ซึ่งล้วนมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทั้งสิ้น  โดยเฉพาะองค์กรชาวบ้านที่เกิดจากการรวมกลุ่มอาชีพ  การทำกิจกรรมร่วมกันในหมู่บ้าน อันเป็นการพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็ง   เป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาและสืบสานวัฒนธรรมไทยได้อย่างมั่นคง และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมที่ยั่งยืนสืบไป

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย