ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เมืองขุขันธ์ ถูกจัดเข้าในกลุ่มหัวเมืองปักใต้ ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช(พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ. 2106 - 2112)

        จากความตอนหนึ่งในหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งเนื้อหาเป็นเรื่องพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาได้(เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งแรก ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 เดือน ๙ พระยาจักรีให้สัญญาณแก่อาณาจักรตองอูเข้าตีกรุงศรีอยุธยาและเปิดประตูเมือง ทำให้ทัพพม่าเข้ายึดพระนครสำเร็จ กรุงศรีอยุธยาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรตองอู เป็นเวลานาน 15 ปี) ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช(พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ. 2106 - 2112) และพรรณนาภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา ทำเนียบต่างๆ ตลอดจนราชประเพณี เชื่อกันว่าเป็นคำให้การของพระเจ้าอุทุมพรที่พระเจ้าอังวะโปรดให้สอบถามและจดไว้ กล่าวถึง ว่าด้วยตำแหน่งยศพระราราชาคณะฐานานุกรม
 
"...
มีหัวเมืองปักใต้ขึ้นเจ้าคณะฝ่ายขวา ๔๗ เมืองคือเมืองสุพรรณบุรี ๑ เมืองนครไชยศรี ๑ เมืองสาครบุรี ๑ เมืองนครนายก ๑ เมืองปราจิณบุรี ๑ เมืองฉะเชิงเทรา ๑ เมืองสมุทรสงคราม ๑ เมืองราชบุรี ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ เมืองศรีสวัสดิ์ ๑ เมืองไชยโยค ๑ เมืองสมุทรปราการ ๑ เมืองชลบุรี ๑ เมืองบางละมุง ๑ เมืองระยอง ๑ เมืองระแส ๑ เมืองตราด ๑ เมืองทุ่งใหญ่ ๑ เมืองจันทรบุรี ๑ เมืองเพ็ชรบุรี ๑ เมืองชะอำ ๑ เมืองกุย ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองอุทุมพร ๑ เมืองสวี ๑ เมืองประทิว ๑ เมืองบางสน ๑ เมืองไชยา ๑ เมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองสงขลา ๑ เมืองพัทลุง ๑ เมืองตะกั่วทุ่ง ๑ เมืองตะกั่วป่า ๑ เมืองถลาง ๑ เมืองตระ ๑ เมืองตะนาวศรี ๑ เมืองมฤท ๑ เมืองสิงขร ๑ หลังเมืองสวน ๑ กรุงกำภูชาธบดี ๑ เมืองจอมปะ ๑ เมืองโขง ๑ เมืองขุขันธ์ ๑ เมืองป่าดงยาว ๑ เมืองสังข์ ๑ เมืองสุรินทร์ ๑ เมืองนครพนม ๑ รวม ๔๗ เมืองขึ้นแก่คณะฝ่ายขวา ซึ่งเรียกว่าเจ้าคณะใต้นั้น ก็ได้พระราชาคณะฝ่ายคามวาสี..."
ภาพประกอบจากปกหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง 
พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๔
เอกสารอ้างอิง :
คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดพิมพ์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย