ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ชาวกวย ในประเทศกัมพูชา ประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆเรา ลองตามไปดูว่าพี่น้องชาวกวยเขาอยู่กันอย่างไร ?

អង្គការ​លើក​ស្ទួយ​វប្បធម៌​កួយ​ធ្វើ​សកម្មភាព​រក្សា​អត្តសញ្ញាណ​ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ องค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมกวยจัดกิจกรรมรักษาอัตลักษณ์ชนชาติส่วนน้อยกวย

អង្គការ​មិន​មែន​រដ្ឋាភិបាល​មួយ​ឈ្មោះ​អង្គការ​លើក​ស្ទួយ​វប្បធម៌​កួយ នៅ​ខេត្ត​ព្រះវិហារ បាន​ធ្វើ​សកម្មភាព​ជាច្រើន ដើម្បី​រក្សា​អត្តសញ្ញាណ និង​វប្បធម៌​ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ ឲ្យ​នៅ​គង់វង្ស​កុំ​ឲ្យ​បាត់​បង់​ទៅ​តាម​ពេលវេលា និង​សាបសូន្យ​ដោយ​សារ​មាន​ការ​អភិវឌ្ឍ និង​មាន​វប្បធម៌​ថ្មី បាន​ចូល​មក​រីកសាយ​នៅ​ក្នុង​ខេត្ត។ องค์กรหนึ่งที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐที่มีชื่อว่า องค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมกวย ในจังหวัดพระวิหารได้จัดกิจกรรมหลากหลาย เพื่อรักษาอัตลักษณ์และวัฒนธรรมชนชาติส่วนน้อยกวยให้ยังคงอยู่ ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา และไม่ให้หายสาบสูญตามการพัฒนา หรือตามที่มีวัฒนธรรมใหม่ๆที่แพร่เข้ามาในจังหวัดฯ
អ្នកស្រី ងួន អ៊ីវ ជា​ប្រធាន​អង្គការ​លើក​ស្ទួយ​វប្បធម៌​កួយ មាន​ប្រសាសន៍​ថា នៅ​ក្នុង​ខេត្ត​ព្រះវិហារ មាន​ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ រស់នៅ​ប្រមាណ​៦ម៉ឺន​គ្រួសារ តាម​បណ្ដា​ភូមិ-ឃុំ​នានា។ មាន​ភូមិ​ចំនួន​៤៧ ដែល​មាន​ចំនួន​ជនជាតិ​កួយ រស់នៅ​ច្រើន​ជាង​គេ នៅ​ក្នុង​ចំណោម​ភូមិ​នានា នៅ​ខេត្ត​ព្រះវិហារ។​ นางงวน อีว ประธานองค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมกวย กล่าวว่า ในจังหวัดพระวิหาร ตามหมู่บ้าน และตำบลต่างๆ  มีชนชาติส่วนน้อยกวย อาศัยอยู่ประมาณ 6 หมื่นครอบครัว


អ្នកស្រី ងួន អ៊ីវ បាន​រៀបរាប់​ឲ្យ​ដឹង​ថា ជនជាតិ​កួយ​មាន​មុខ​របរ​ចិញ្ចឹម​ជីវិត ដោយ​ធ្វើ​ស្រែ ដាំ​ដំណាំ ធ្វើ​ចម្ការ ដាំ​បន្លែ ដង​ជ័រ ជីក​ក្ដួច ជាដើម។ นางงวน อีว ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ชนชาติกวย มีอาชีพเลี้ยงชีวิตที่สำคัญได้แก่ ทำนา เพาะปลูก ทำสวน ปลูกผัก ตักชันไม้ และขุดกลอย เป็นต้น


ប្រធាន​អង្គការ​លើក​ស្ទួយ​វប្បធម៌​កួយ បាន​ឲ្យ​ដឹង​ថា មូលហេតុ​អង្គការ​នេះ​បង្កើត​ឡើង ដោយ​សារ​មាន​ការ​កត់​សម្គាល់​ថា វប្បធម៌​ដើម​របស់​ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ កាន់​តែ​បាត់​បង់​ទៅ​ម្តង​បន្តិចៗ ដោយ​មិន​មាន​ការ​កត់ត្រា​ចង​ក្រង​ជា​ឯកសារ​ទុក។ ประธานองค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมกวย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สาเหตุที่องค์การนี้ได้เกิดขึ้น สืบเนืองจากเป็นที่ทราบกันว่า วัฒนธรรมดังเดิมของชนชาติส่วนน้อยกวย ยิ่งจะสูญหายไปทีละเล็กทีละน้อย โดยไม่ได้มีการจดบันทึกเรียบเรียงเป็นเอกสารไว้


ជន​ជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ មាន​វប្បធម៌ ប្រពៃណី​មួយ​ចំនួន ដែល​រក្សា​ទុក​មក​ដល់​សព្វថ្ងៃ ដូច​ជា ការ​ចាប់​កំណើត ការ​រៀប​អាពាហ៍ពិពាហ៍ ពិធី​បន់​ស្រន់ ក្នុង​ពេល​មាន​ជំងឺ ការ​រៀបចំ​បុណ្យ​សព ការ​ធ្វើ​បុណ្យ​ឡើង​អ្នក​តា​ក្រោយ​ពេល​ប្រមូល​ផល​ស្រូវ ដំណាំ​នានា​ហើយ​ជាដើម។ ชนชาติส่วนน้อยกวย มีวัฒนธรรม ประเพณีส่วนหนึ่ง ที่ได้รักษาไว้ถึงปัจจุบัน ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด  การจัดงานแต่งงาน การเซ่นไหว้เมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วย การทำบุญในงาน การทำบุญฉลองปู่ตาภายหลังการเก็บเกี่ยวและรวบรวมผลผลิตข้าวเรียบร้อยแล้ว


អ្នកស្រី ងួន អ៊ីវ បាន​រៀបរាប់​ថា ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ នៅ​មាន​ជំនឿ​លើ​ការ​បន់​ស្រន់​ខ្លាំង​នៅ​ឡើយ បើ​ទោះ​ជា​បច្ចុប្បន្ន​មាន​ពេទ្យ​សម័យ និង​ថ្នាំ​ព្យាបាល​មាន​ប្រសិទ្ធភាព​ក៏ដោយ។ អ្នកស្រី​មាន​ប្រសាសន៍​ថា ជំនឿ​លើ​អ្នក​តា​នៅ​តែ​ដិត​ជាប់​ជ្រៅ​ក្នុង​ចិត្ត​របស់​ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ។   นางงวน อีว ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ชนชาติส่วนน้อยกวย ยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับการบนบานศาลกล่าว ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการแพทย์สมัยใหม่ และยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพก็ตาม  ความเชื่อเกี่ยวกับปู่ตาก็ยังคงติดแน่นอยู่ในจิตใจของชนชาติส่วนน้อยกวยตลอดมา


ចំពោះ​របាំ ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ មាន​របាំ​មួយ​ឈ្មោះ​របាំ​វាយ​ស្បែក ដែល​គេ​តែង​តែ​យក​សម្ដែង​នៅ​ពេល​មាន​បុណ្យ​ទាន​ក្នុង​ភូមិ ដើម្បី​ឲ្យ​ក្មេង​ជំនាន់​ក្រោយ​បាន​ឃើញ និង​ដឹង ហើយ​ចូលរួម​ហាត់​សម្ដែង ដើម្បី​រក្សា​របាំ​នោះ​ឲ្យ​បាន​គង់វង្ស។  กล่่าวถึง การรำ ชนชาติส่วนน้อยกวยมีการรำอย่างหนึ่งที่เรียกว่า การรำตีหนัง ซึ่งมักจะนิยมนำมาแสดงเมื่อมีงานบุญทานในหมู่บ้าน  เพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้เห็น และเมื่อรู้แล้วก็เข้าร่วมฝึกหัดแสดง เพื่อสืบทอดรักษาระบำนี้ให้คงอยู่ตลอดไป


លោក ឃុត ឃីម មន្ត្រី​កម្មវិធី​របស់​អង្គការ​លើក​ស្ទួយ​វប្បធម៌​ជនជាតិ​កួយ បាន​ឲ្យ​ដឹង​ថា ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ មាន​ការ​ខ្មាស​អៀន​ច្រើន។ ពួក​គេ​មិន​សូវ​ហ៊ាន​និយាយ​ស្តី​ឡើយ​នៅ​ទី​សាធារណៈ ប៉ុន្តែ​ពួក​គេ​មាន​ចិត្ត​ស្មោះត្រង់ មិន​ចូល​ចិត្ត​ការ​និយាយ​កុហក​ភូតភរ​ទេ។ លោក​បាន​ឲ្យ​ដឹង​ថា ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ ពេល​រៀប​ការ មាន​លក្ខណៈ​ស្រដៀង​ខ្មែរ​ដែរ។ นายฆุต ฆีม เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีการขององค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมวัฒนธรรมชนชาติส่วนน้อยกวย กล่าวว่า ชนชาติส่วนน้อยกวย มีความอายไม่ค่อยกล้าแสดงออก โดยเฉพาะการพูดในที่สาธารณะ แต่จะเป็นคนที่มีจิตใจซื่อตรง  และไม่ชอบการพูดโกหกปลิ้นปล้อนเลย  และท่านได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ชนชาติส่วนน้อยกวย เมื่อมีการแต่งงาน ก็จะมีลักษณะคล้ายกันกับเขมรเช่นกัน


លោក សំ ឆាយ ជា​បុគ្គលិក​អង្គការ​អភិវឌ្ឍន៍​ការ​ចិញ្ចឹម​ជីវិត​កសិករ (FDL) បាន​ឲ្យ​ដឹង​ថា លោក​ជា​អ្នក​ដើរ​ប្រមូល​ទិញ​អនុផល​ព្រៃ​ឈើ ដែល​ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ​រក​បាន​ពី​ក្នុង​ព្រៃ។ លោក​មាន​ប្រសាសន៍​ថា ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ និង​ខ្មែរ​ឥឡូវ​នេះ ពិបាក​កត់​សម្គាល់​អំពី​ភាព​ខុស​គ្នា​ណាស់។ ប៉ុន្តែ ជនជាតិ​កួយ​មាន​ចិត្ត​ទៀងត្រង់ យើង​មិន​អាច​និយាយ​ត្រឡប់ត្រឡិន​ជាមួយ​ពួក​គាត់​បាន​ឡើយ។ นายซ็อม ฉาย  พนักงานองค์กรพัฒนาการเลี้ยงชีพกสิกร(FDL) กล่าวว่า เขาเป็นคนที่ออกรวบรวมซื้อของป่าที่ชนชาติส่วนน้อยกวยหามาได้จากป่า กล่าวว่า ชนชาติส่วนน้อยกวย และชาวเขมร  ปัจจุบัน มีความคล้ายคลึงกันมากจนยากที่จะมองเห็นถึงความแตกต่าง  แต่ชนชาติส่วนน้อยกวยมีจิตใจเที่ยงตรง  จนเราไม่อาจจะพูดจาเล่นลิ้นกับพวกเขาได้เลย


លោក សំ ឆាយ បាន​រៀបរាប់​ថា ជនជាតិ​កួយ​មាន​វ័យ​ចំណាស់ នៅ​តែ​និយាយ​ភាសា​កួយ​ជាមួយ​ចាស់ៗ​គ្នា​គាត់ ប៉ុន្តែ​ចំពោះ​ក្មេង​សម័យ​ថ្មី ភាគ​ច្រើន​មិន​និយាយ​ភាសា​កួយ​ឡើយ។ นายซ็อม ฉาย ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า  ชนชาติกวยวัยสูงอายุ ยังคงพูดภาษากวยเฉพาะแต่ในกลุ่มผู้สูงอายุของตน  แต่เด็กสมัยใหม่ ส่วนใหญ่ไม่พูดภาษากวยเลย


អ្នកស្រី ងួន អ៊ីវ ជា​ប្រធាន​អង្គការ​លើក​ស្ទួយ​វប្បធម៌​កួយ មាន​ប្រសាសន៍​ថា ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ​មិន​មែន​មាន​រស់នៅ​តែ​ក្នុង​ខេត្ត​ព្រះវិហារ ប៉ុណ្ណោះ​ទេ។ ក្រុម​អ្នក​ស្រាវជ្រាវ​បាន​រក​ឃើញ​ថា មាន​សហគមន៍​ជនជាតិ​ភាគ​តិច​កួយ​រស់នៅ​ខេត្ត​កំពង់ស្ពឺ កំពង់ធំ និង​ខេត្ត​ភាគ​ឦសាន ដូច​ជា​ខេត្ត​រតនគិរី មណ្ឌលគិរី ផង​ដែរ៕
นางงวน อีว ประธานองค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมกวย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ชนชาติส่วนน้อยกวยไม่ใช่พบอาศัยอยู่แต่ในจังหวัดพระวิหารแค่นั้น นักศึกค้นคว้าได้ศึกษาพบว่า มีชุมชนชนชาติกวยส่วนน้อย อาศัยอยู่ในจังหวัดกำปงสปือ  กำปงธม  และจังหวัดทางภาคอีสาน ได้แก่จังหวัดรัตนคีรี และจังหวัดมณฑลคีรี อีกด้วย


ជីវិត​រស់​នៅ​ប្រចាំ​ថ្ងៃ​របស់​ជនជាតិ​កួយ 
ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของชนเผ่ากวย

ខាង​ក្រោម​នេះ​គឺ​ជា​រូបភាព​ស្ដីពី​​ជីវិត​​រស់​នៅ​ប្រចាំ​ថ្ងៃ​របស់​ជនជាតិ​កួយ ​នៅ​ភូមិ​ពោធិ៍ធំ ឃុំ​ពោធិ៍ធំ និង​ជនជាតិ​កួយ នៅ​​ភូមិ​បុស្ស ឃុំ​​ប្រមេ ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។ ด้านล่างนี้ คือรูปภาพเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของชนเผ่ากวย ณ บ้านโพธิ์ธม และบ้านบุสส  ตำบลปรอ-เม  อำเภอตะแบงเมียเจ็ย  จังหวัดพระวิหาร
រូបថត​នៅ​ថ្ងៃ​ទី​១៣ តុលា ឆ្នាំ​២០១១ ដោយ វិទ្យុ​អាស៊ីសេរី/វោហារ ជាតិ ภาพถ่าย ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554  โดย วิทยุเอเชียเสรี / โวหาร ชาติ ถ่ายภาพ
1
បុរស​ជនជាតិ​កួយ ស្ពាយ​​ស្បៀង ដៃ​កាន់​ស្នាតេះ (កាំភ្លើង​បាញ់​សត្វ​ច្នៃ) នៅ​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។ បុរស​រូប​នេះ​ទើប​ត្រឡប់​មក​ពី​បរបាញ់​សត្វ និង​រក​ជ័រ​ទឹក​នៅ​ក្នុង​ព្រៃ។ ชายชนเผ่ากวย สะพายสเบียง มือข้างหนึ่งของเขาถือสนาเตะ(ปืนประดิษฐ์สำหรับยิงสัตว์)  เพิ่งกลับจากล่าสัตว์ และหาชันไม้ในป่า
2
គ្រួសារ​កួយ នៅ​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ រៀបចំ​កោស​ជ្រូក​ព្រៃ ដើម្បី​ចម្អិន​ធ្វើ​ម្ហួប​ពេល​ល្ងាច។ ครอบครัวชาวกวย เตรียมลอกหนังหมูป่า เพื่อต้มทำอาหารตอนเย็น
3
នារី​ជនជាតិ​កួយ ឲ្យ​បាយ​សត្វ​ស្វា ដែល​ចិញ្ចឹម​ក្នុង​ផ្ទះ នៅ​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។ หญิงชาวกวย  ให้ข้าวลิงที่เลี้ยงไว้ในบ้าน ณ อำเภอตะแบงเมียนเจ็ย จังหวัดพระวิหาร
4
បុរស​ជនជាតិ​កួយ ប្រលែង​លេង​ជាមួយ​សត្វ​សេក ដែល​គាត់​ចិញ្ចឹម​នៅ​ក្នុង​ផ្ទះ នា​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។ ชายชาวกวยหยอกล้อกับนกแก้วที่เขาเลี้ยงเลี้ยงในบ้าน ณ อำเภอตะแบงเมียนเจ็ย จังหวัดพระวิหาร
5
នារី​ជនជាតិ​កួយ លីង​អំបុក​ស្រូវ​ថ្មី នៅ​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។ หญิงชาวกวย คั่วข้าวใหม่เพื่อทำข้าวเม่า

6
នារី​ជនជាតិ​កួយ បុក​អំបុក​ស្រូវ​ថ្មី នៅ​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។ หญิงชาวกวย ตำข้าวเม่าจากข้าวใหม่


7
កុមារ​ជនជាតិ​កួយ លេង​ទឹក​​ព្រែក​ក្បែរ​ព្រៃ​នៅ​ជើង​ភ្នំ នា​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។ เด็กชาวกวย เล่นน้ำในแอ่งน้ำใกล้ป่าที่เชิงเขา ณ อำเภอตะแบงเมียนเจ็ย จังหวัดพระวิหาร

8
គ្រូទាយ​ជនជាតិ​កួយ ប្រើ​វិធី​បូល តាម​ប្រពៃណី​ជនជាតិ​កួយ ដើម្បី​ទាយ នៅ​ស្រុក​ត្បែងមានជ័យ ខេត្ត​ព្រះវិហារ។  หมอดูชาวกวย ใช้วิธีโบลตามประเพณีชาวกวย เพื่อทำนายทายทัก ณ อำเภอตะแบงเมียนเจ็ย จังหวัดพระวิหาร
ที่มา :
- http://www.rfa.org/khmer/news/ngo_preserve_kuoy_culture-08282012055012.html
- http://www.rfa.org/khmer/multimedia/kuy_life-10152011004901.html

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เสาหงส์ที่วัดบกจันทร์นคร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

               เวลาไปวัดของคนมอญแถวพระประแดง, เกาะเกร็ด, ปทุมธานี หรือตามริมลำน้ำแม่กลอง แถบ อ. บ้านโป่ง โพธาราม จ.ราชบุรี หลายคนมักสังเกตเห็น เสาต้นหนึ่งปักอยู่ มองขึ้นไปบนยอดเสา จะเห็นรูปตัวหงส์ ตั้งเด่นเป็นสง่า  
เสาหงส์ที่วัดบกจันทร์นคร  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ
                สาเหตุที่ในวัดมอญต้องมีเสาหงส์ก็เพราะคนมอญเชื่อว่า หงส์นั้นเกี่ยวข้องกับ ตำนานการเกิดเมืองหงสาวดี อันเป็นเมืองหลวงที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ของอาณาจักรมอญ ก่อนจะสิ้นแผ่นดินให้แก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๐๐
                 ตามตำนานโบราณกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลครั้งที่พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ได้แปดพรรษา ได้เสด็จเที่ยวจาริกมาถึงภูเขาสุทัศนมรังสิต ครั้งนั้นประเทศตรงนี้ยังเป็นทะเล เมื่อพระองค์เสด็จมาถึง ได้ทอดพระเนตรเห็นหงส์ทองสองตัวกำลังลงเล่นน้ำ พระองค์จึงทรงทำนายว่ากาลภายหน้าประเทศที่หงส์ลงเล่นน้ำ จะเป็นมหานครขึ้น ชื่อว่าเมืองหงสาวดี และเป็นที่ตั้งพระธาตุสถูปเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์ ศาสนาของเราจะรุ่งเรื่องอยู่ที่นี่ ครั้นพระองค์นิพพานล่วงไป ๑,๑๑๖ ปี ท้องทะเลตรงนั้นก็ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดินแล้วเกิดเมืองหงสาวดี ดังนั้น คนมอญผูกพันกับเมืองนี้มาก จึงนำ "หงส์" มาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเมืองหงสาวดีและเชื้อชาติมอญ เหตุนี้บนผืนธงชาติมอญ ก็เป็นรูปหงส์
             อย่างไรก็ตาม นอกจากความผูกพันในเชิงตำนานแล้ว หงส์ในทางพุทธศาสนายังเป็นสัญลักษณ์ แห่งความบริสุทธิ์ และภูมิธรรมอันสูง ด้วยชาวพุทธเชื่อว่า หงส์เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เนื่องจากในอดีตพระพุทธเจ้า เคยเสวยพระชาติเป็นพญาหงส์ และพระอานนท์ก็เกิดเป็นหงส์ด้วย ดังปรากฏในจุลลหงส์ชาดก หรือจุลลหังสชาดก    นอกจากนี้ยังเชื่อว่าหงส์ เป็นจ้าวแห่งนกทั้งปวง เป็นผู้พิทักษ์รักษาท้องฟ้า และเป็นพาหนะที่นำวิญญาณผู้ตายสู่สวรรค์ การทำตุงอุทิศให้ผู้ตาย จึงมักนิยมนำไปแขวนที่เสาหงส์



         หงส์จึงปรากฏในศาสนวัตถุทางพุทธศาสนามากมาย เช่น ราวเทียนรูปหงส์ ประติมากรรมประดับตามธรรมาสน์ โบสถ์ วิหาร ฯลฯ หรือแม้แต่วัดที่มิใช่วัดมอญ ก็อาจทำเสาหงส์ไว้ได้เช่นกัน

         และนอกจากนี้ยังมีคำโบราณที่ท่านกล่าวขานเตือนสติพุทธศาสนิกชนคนไทยว่า "ฝูงหงส์จะลงหนอง  หงส์ทองจะเป็นกาเสื่อเผ่นจะเป็นหมา  พยัคฆาจะลืมไพร  พระฤาษีจะหนีถ้ำ หนองน้ำจะแห้งไป   ปฐพีจะเป็นไฟ  ชลาศัยจะไร้ปลา  อัคคีไม่มีแสง   พระพายแรงไม่พัดพา สกุณาเป็นสกุณี "

        พระอาจารย์ สุริยนต์  น้อยสงวน วัดบกจันทร์นคร  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ อธิบายขยายความว่า ที่นักปราชญ์โบราณท่านกล่าวเช่นนี้ ก็เพื่อเตือนสติพุทธศาสนิกชนคนไทยทุกคนมิให้เกิดความประมาท ให้มุ่งมั่นกระทำแต่ความดี และหมั่นสังสมบุญอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งมีนัยยะคร่าวๆว่า ในภายภาคหน้า 

           โลกหมุนเวียนเปลี่ยนไปใคร่ครวญคิด
ธรรมลิขิตปริศนาน่าสงสัย
ท่านผู้รู้ซ่อนอรรถปรัชญาใน
เอื้อนเอ่ยไซร้หนึ่งมุมมองลองตรองดู


           ฝูงหงส์จะลงหนองปองสิ่งต่ำ
ข้อคมขำโลกเปลี่ยนเวียนอดสู
ชนชั้นสูงมั่วอบายไม่เชิดชู
เกลือกกลั้วอยู่สามัญชนหม่นหมองใจ


           หงส์ทองจะเป็นกาสามานย์สัตว์
ศีลวิบัติหมู่มนุษย์สุดเหลวไหล
ภายนอกสูงยูงทองผ่องอำไพ
แต่ภายในคิดชั่วตัวอัปรีย์


           เสือเผ่นจะเป็นหมาน่าหัวร่อ
หลงเคลียคลอลาภยศหมดศักดิ์ศรี
ชั้นผู้นำลืมบทบาทขาดพอดี
ชีวิตนี้ลุ่มหลงลงอบาย


           พยัคฆาจะลืมไพรใจหน่ายหนี
ลาเสียทีถิ่นเก่าเศร้าแหนงหน่าย
ลืมกำเนิดลืมตนจนวางวาย
อยู่เหมือนตายติดวัตถุทุกข์ท่วมท้น


           พระฤาษีจะหนีถ้ำกำสรดเศร้า
สงฆ์มัวเมาคลำศีลสิ้นมรรคผล
ล่าลาภยศสรรเสริญเพลินร้อนรน
ประพฤติตนบิดเบือนเปื้อนมลทิน


           อันหนองน้ำจะแห้งไปในวันนี้
เปรียบน้ำใจไมตรีที่สูญสิ้น
ขาดช่วยเหลือเจือจานการหลั่งริน
เทิดทรัพย์สินสูงกว่าค่าคนจริง


           ปฐพีจะเป็นไฟไหม้แรงร้อน
ไฟกามรอนเผาผลาญรานทุกสิ่ง
สังคมเสื่อมแสงธรรมสูญถูกทอดทิ้ง
ผู้คนยิ่งอยู่ยากลำบากใจ


           ชลาศัยจะไร้ปลาน่าอนาถ
ธรรมชาติวิปริตด้วยพิษไข้
ทรัพย์ในดินสินในน้ำซ้ำหมดไป
ความยากไร้ทับถมจมโลกา


           อัคคีไม่มีแสงแรงอำนาจ
คนดีขลาดกลัวภ้ยให้กังขา
อำนาจเถื่อนเบือนบิดจิตระอา
คนชั่วช้ากลับเสริมเพิ่มโลกีย์


           พระพายแรงไม่พัดพาฟ้ามัวหม่น
โลกร้อนรนขาดศีลธรรมนำวิถี
เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนั้นไม่มี
ขาดปรานีกูลเกื้อเอื้ออาทร


           สกุณีเป็นสกุณาน่าขบขัน
เกิดพลิกผันแปลงเพศผิดคำสอน
กุมารีเป็นกุมารามายอกย้อน
ศีลธรรมอ่อนคนเพื้ยนเปลี่ยนแปรไป


           จบปัญหาปริศนาธรรมที่นำกล่าว
ล้วนเรื่องราวหมู่มนุษย์สุดแก้ไข
ประสบการณ์ผ่านชีวิตคิดห่างไกล
โปรดอภัยยังเขลาเบาปัญญา


ขอบคุณที่มา : 
พระครูประภัศร์สุตาลังการ เจ้าคณะอำเภอภูสิงห์ และเจ้าอาวาสวัดบ้านปรือใหญ่  ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

พระอาจารย์ สุริยนต์  น้อยสงวน วัดบกจันทร์นคร  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

เวปไซต์เที่ยวทั่วไทยไปกับนายรอบรู้ ที่ลิงก์  http://www.sarakadee.com/knowledge/2001/may/doyouknow_swan.htm ,28 สิงหาคม 2558.

ธรรมทิพย์ ที่ลิงก์ https://www.gotoknow.org/posts/456032 ,28 สิงหาคม 2558.

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของศาสนาพุทธในประเทศไทย

ศาสนาพุทธเกิดขึ้นในชมพูทวีปซึ่งในปัจจุบันเป็นดินแดนของประเทศอินเดีย ประเทศเนปาล ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศปากีสถาน และประเทศบังคลาเทศ แต่หลักฐานทางโบราณคดีส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศอินเดีย เช่น สังเวชนียสถาน และพุทธสถานต่าง ๆ

ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศไทยหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่าง ๆ รวม ๙ สายด้วยกัน ในส่วนของประเทศไทยเชื่อกันว่ามีคณะของสมณทูตซึ่งมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นหัวหน้าคณะเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกและอาจมีคณะสมณทูตชุดอื่น ๆ เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกาลต่อ ๆ มา จึงทำให้คนไทยโดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ไทยยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

เรื่องคนไทยกับพุทธศาสนา* และพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น ได้ความตามตำนาน พระพุทธเจดีย์ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า คนไทยเรานั้นได้นับถือพระพุทธศาสนามาก่อนที่จะอพยพมาตั้งประเทศไทยในปัจจุบันนี้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ พระศรีวิสุทธิโมลี(ประยุทธ ป. ๙ ปัจจุบันเป็นพระพรหมคุณาภรณ์) ได้สรุปไว้ใน คำบรรยายเรื่อง พุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๑๓ ว่าก่อนที่ชนชาติไทยจะได้ตั้งอาณาจักร เป็นประเทศไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ซึ่งถือว่าเริ่มแต่การตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น ชนชาติไทย ในภูมิภาคสุวรรณภูมิ คลุมไปถึงรัฐไทยต่าง ๆ ในดินแดน ตั้งแต่ทางตอนใต้ของประเทศจีนนั้น ได้รับนับถือพระพุทธศาสนามาแล้ว ทั้งสองนิกาย คือ

ยุคแรก ได้รับนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ผ่านทางประเทศจีน สมัยพระเจ้ามิ่งตี่ ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๗ รัชสมัยของขุนหลวงเม้า แห่งอาณาจักรอ้ายลาว

ยุคที่สอง แยกออกเป็น ๒ ระยะ

ระยะแรก สมัยอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง ราวพุทธศักราช ๑๓๐๐ กษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ผู้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน มีเมืองหลวงอยู่ที่เกาะสุมาตรา ได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงแหลมมลายู ได้ดินแดนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไปไว้ครอบครองพระพุทธศาสนานิกายมหายานจึงแผ่เข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทย

ระยะที่ ๒ กล่าวว่าในสมัยลพบุรี เมื่อขอมเรืองอำนาจแผ่อาณาเขตเข้ามาครอบครองประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางทั้งหมด ในราวพุทธศักราช ๑๕๕๐ พระพุทธศาสนาแบบมหายานซึ่งขอมรับมาจากอาณาจักรศรีวิชัยเช่นกัน แต่ว่าเจือด้วยศาสนาพราหมณ์ จึงแผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ พร้อมด้วยภาษาสันสกฤต แต่ว่าดินแดนที่ขอมแผ่อาณาเขตเข้ามานั้น เดิมทีประชาชนพลเมืองก็ได้รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบหินยานอยู่แล้ว   แต่สมัยที่พระโสณะ และพระอุตตระ ศาสนทูตสายที่ ๒ ใน ๙ สาย ของพระเจ้าอโศกมหาราชนำเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยทราวดี ในพุทธศตวรรษที่ ๓


ยุคที่สาม สมัยพระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรืออโนรธามังช่อ กษัตริย์พม่าแห่งอาณาจักรพุกามแผ่อำนาจเข้ามาในอาณาเขตลานนาและล้านช้าง ราวพุทธศักราช ๑๖๐๐ พระพุทธศาสนานิกายหินยานแบบพุกาม จึงได้แผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้

ครั้งถึงสมัยชนชาติไทยตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นประเทศชาติไทยอันเป็นปึกแผ่นมั่นคง เมื่อพุทธศักราช ๑๘๐๐ แล้ว เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากลัทธิมหายานและหินยานแบบเดิม มาเป็นลัทธิหินยานแบบลังกาวงศ์ ซึ่งเรื่องนี้ ตามตำนาน
พระพุทธเจดีย์ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

เมืองสุโขทัยเมื่อก่อนกษัตริย์ไทย ได้ปกครองตั้งเป็นราชธานีของประเทศสยามเป็นเมืองขึ้นของกษัตริย์ขอม ซึ่งครองเมืองลพบุรีอยู่ช้านาน ชาวเมืองเห็นจะถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อย่างเช่นที่ถือกันในเมืองลพบุรี ยังมีพุทธเจดีย์ซึ่งสร้างตามแบบอย่างเมืองลพบุรีปรากฏหลายแห่ง เช่น ปรางค์สามยอดที่วัดพระพายหลวง อยู่นอกเมืองสุโขทัย(เก่า) ไปทางเหนือแห่ง ๑ ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่เมืองชะเลียง (เมืองสวรรคโลกเก่าข้างใต้) แห่ง ๑ ปรางค์วัดจุฬามณีข้างใต้เมืองพิษณุโลกแห่ง ๑ แต่เมื่อกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงได้เป็นใหญ่ครองประเทศสยาม ณ เมืองสุโขทัยนั้น ประจวบกับสมัยที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่หลายในประเทศนี้ พุทธเจดีย์ซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัย จึงสร้างตามลัทธิหินยานอย่างลังกาวงศ์ทั้งนั้น

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Bike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ(16 ส.ค. 2558)

           Bike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558 โดยพสกนิกรชาวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ด้วยความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน จึงได้มาร่วมกิจกรรมกันมากมาย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 ช่วงภาคเช้า ตั้งแต่ 08.00 น.เป็นต้นไป

           ขอขอบคุณ ชาวอำเภอขุขันธ์ ทุกท่าน โดยเฉพาะ “ชมรมจักรยานรูท24 ขุขันธ์” เป็นแม่งานหลักร่วมกับฝ่ายกิจการนักเรียนโรงเรียนขุขันธ์ ในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ทางสมาชิก “ชมรมจักรยานรูท24 ขุขันธ์” เป็นคณะกรรมการดำเนินงานตั้งแต่การหาสปอนเซอร์ เครื่องดื่มอาหารได้จากสมาชิกในชมรมเป็นหลัก ด้วยการบริจาคเงินคนละเล็กละน้อย และทำหนังสือขอความอนุเคราะห์จากหนวยงาน และร้านค้าต่างๆ ขอบคุณหน่วยงานใจดี ธกส. ที่มาร่วมแจกน้ำดื่มในครั้งนี้ด้วย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองตำบลห้วยเหนือที่จัดรถปฐมพยาบาลติดตามขบวน สภ.ขุขันธ์จัดเจ้าหน้าตำรวจที่ดูแลการจราจร ขอบคุณทุกหน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมBike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” ในครั้งนี้ ขอบคุณประชาชนที่ออกมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ขอบคุณช่างภาพสื่อมวลชนที่ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสาร จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ขอบคุณ ข้อความข่าวจาก เฟส KO Nong 

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันแม่แห่งชาติ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2558

          วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแม่ ภาษาอังกฤษ คือ Mother Day ซึ่งวันนี้ถือตามวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูก ๆ ทุกคนควรรำลึกถึงพระคุณของแม่  

วีดีโอวันแม่แห่งชาติ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2558(ภาคเช้า) 

          ประวัติวันแม่แห่งชาติ มีความเป็นมาอย่างไร สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่ทำไมจึงใช้ดอกมะลิ และคำขวัญวันเเม่ปีต่าง ๆ มีข้อความว่าอะไร กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่มีอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ   

 ประวัติวันแม่แห่งชาติ

          
ประวัติวันแม่แห่งชาติ 
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ

          ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 

          
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
 การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
          งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

          ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
 สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่


          สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย

 รวมคำขวัญวันเเม่ปีต่าง ๆ ดังนี้ 

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2558 คือ "ดินและน้ำ ลมและฟ้า ป่าและเขา รวมกันเข้าคือทรัพย์สินแผ่นดินแม่ ฝากลูกไทยรวมใจภักดิ์รักดูแล เพื่อมอบแก่หลานเหลนไทยไปชั่วกาล"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2557 คือ "รักเรียน รู้งาน ถนอมบ้านเมืองไทย ร่วมใจสามัคคี คือลูกที่ดีของแม่"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2556 คือ "คำโบราณว่าดูนางดูอย่างแม่ คือคำแปลว่าแม่ดีมีลูกเด่น จะชายหญิงรู้ชั่วดีมีกฎเกณฑ์ เพราะจัดเจนแบบอย่างในทางดี"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2555 คือ "มือของแม่นั้นคือมือช่างปั้น ขึ้นรูปอันอ่อนลออจนหล่อเหลา อยากให้เป็นงานดีที่งามเงา อยู่ที่คอยขัดเกลา แต่เบามือ"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2554 คือ "เพลงชาติไทยเตือนไทยไว้เช้าค่ำ ให้จดจำจารึกใจไว้ทุกส่วน จะดำรงคงไทยได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2553 คือ "แผ่นดินนี้แม่ของลูกใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าวที่เดินซ้ำย่ำหว่านไถ บำรุงดินจนอุดมสมดังใจ หวังนาไทยเป็นของไทยไปนิรันดร์"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2552 คือ  "แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่ ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร   เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2551 คือ "เมื่อเกิดมาอาศัยถิ่นแผ่นดินไหน ควรมีใจกตัญญูรู้คุณถิ่น หากคนไทยรู้ตอบแทนคุณแผ่นดิน จักไม่มีวันสิ้นแผ่นดินไทย"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2550 คือ "ข้าวในนาปลาในน้ำคำโบราณ คือตำนานความอุดมสมบูรณ์สิน ฝากลูกไทยร่วมห่วงแหนรักแผ่นดิน ถนอมไว้อย่าให้สิ้นแผ่นดินไทย"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2549 คือ  "รักในหลวงพร้อมใจใส่เสื้อเหลือง รักบ้านเมืองจงน้อมใจให้สร้างสรรค์ ใส่สีเดียวแล้วใจเดียวกลมเกลียวกัน รักเช่นนั้นชาติของตนจึงพ้นภัย"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2548 คือ  "ดุจดังแม่ผู้ประเสริฐบังเกิดเกล้า เลี้ยงเราทุกคนมาจนใหญ่ ทุกคำข้าวคือสินแผ่นดินไทย ควรตรองใจทดแทนคุณแผ่นดิน" 
          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2547 คือ  "เลี้ยงลูกมาอย่างน้อยเจ็ดร้อยปี ให้อยู่ดีกินดีมีสุขถ้วน แม้มีใจกตัญญูรู้การควร ไทยทั้งมวลจงตอบแทนคุณแผ่นดิน" และ "แผ่นดินไทยให้ชีวิตจิตวิญญาณ เลี้ยงสังขารลูกไทยจนใหญ่กล้า เทียบพระคุณของท่านคือมารดา จงรักษาและทดแทนคุณแผ่นดิน" 
          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2546 คือ "สามร้อยหกสิบห้าวันคือวันแม่  มิใช่แค่วันใดให้นึกถึงสม่ำเสมอสมัครจิตคิดคำนึง เหมือนแม่ซึ่งรักลูกครบทุกวัน"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2545 คือ "แม่คือพระประจำอยู่ในบ้าน บูชาท่านไว้เถิดเกิดมิ่งขวัญ พระคุณแม่เลิศล้ำเกินรำพัน แม่จึงเป็นคนสำคัญทุกวันไป"

          - คำขวัญวันเเม่ ประจำปี 2544 คือ "พระองค์แรกผู้แสนดีให้ชีวิต ครูคนแรกผู้ประสิทธิ์การศึกษา สองหัตถ์โอบนคราพาร่มเย็น รวมคุณค่านี้ได้แก่แม่เราเอง"  

 เพลงวันเเม่


          ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน

          เนื้อเพลง นอกจากจะให้เราระลึกถึงพระคุณเเม่เเล้วยังทำให้เรามองเห็นขนบดั้งเดิมตามวิถีไทย หลายอย่างจากเนื้อเพลง เช่นการศึกษาของผู้ชายไทยสมัยก่อนนั้น มักจะอยู่ในวัดวาอาราม ซึ่งเป็นแหล่งสอนสั่งความรู้ ทางโลก อ่านออกเขียนได้ และ ทางธรรม อันได้แก่ การถือศีล และยึดมั่นในพระรัตนไตร นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อกันอีกว่า หากลูกชายบ้านไหน ได้บวชเรียน ก็จะส่งแผ่ อานิสงส์ไปให้กับพ่อแม่ ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสู่ที่ดี ๆ เมื่อถึงกาลแตกดับ

          
ท่วงทำนองเสนาะโสต และ ทุ้มเย็น กับคำร้องที่ตรงไป ตรงมา ชวนให้นึกภาพตามได้ไม่ยาก แม้แต่เด็กเล็กๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครฟังเพลงนี้แล้วจะต้องหลั่งน้ำตาให้กับความซาบซึ้งแห่งรักที่แม่ มีให้เรา...

          เพลงค่าน้ำนม

          
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล

          แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

          ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน

          ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย
( ซ้ำ *, ** ) 

ขอบคุณที่มา : hilight.kapook.com http://hilight.kapook.com/view/14164

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย