ในวันก่อเจดีทราย ถ้าคนใดไม่ได้ขนทราย ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ในป่าทางทิศตะวันออกของวัด เมื่อได้มาแล้วก็มาแห่รอบอุโบสถ แล้วนำมาถวายพระ หลังจากนั้น หนุ่มสาวก็เล่นสาดน้ำกันไป หรือผู้ใดมีสะบ้าก็จะนำสะบ้าไปเล่นในลานวัด
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ประเพณีก่อเจดีย์ทรายและสรงน้ำพระเดือน ๕
ประเพณีบุญก่อเจดีย์ทรายและสรงน้ำพระเดือน ๕ ภาษาถิ่นเขมรแถบเมืองขุขันธ์เรียกว่า "ดั๊กเปรี๊ยะแฮแคแจด" พิธีนี้ เริ่มต้นโดยผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน ทายกวัด และผู้ใหญ่บ้าน / กำนัน จะประชุมลูกหลานแจ้งให้ทราบทั่วกันว่า ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันสรงน้ำพระพุทธรูปและก่อเจดีย์ทรายของหมู่บ้าน/ชุมชน ขอให้สมาชิกทุกครัวเรือนทั้งที่เป็นเฒ่าแก่หนุ่มสาวไปพร้อมกันที่วัดเวลาบ่าย พระสงฆ์ท่านจะลงไปที่อุโบสถ เพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญองค์ใดองค์หนึ่งในอุโบสถมาเป็นประธานในพิธี ชาวบ้านจะช่วยกันทำหลักปักในลานวัด เป็นระยะ ๆ ห่างกันประมาณ ๓ เมตรต่อหลัก ปักประมาณ ๘ หลักหน้าอุโบสถเพื่อเป็นตำแหน่งที่จะก่อกองทราย ได้เวลาพอสมควรชาวบ้านก็จะพากันอัญเชิญพระพุทธรูปที่เป็นประธานในพิธีแห่ไปรอบ ๆอุโบสถ 3 รอบ แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ตรงกลางหอสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วพระสงฆ์จะนำเอาน้ำที่ประชาชนหาบไปในขณะนั้น เทใส่บนรางน้ำที่เตรียมไว้แล้ว น้ำก็จะไหลไปตามรางลงไปรดพระพุทธรูปด้านล่างและไหลลงไปยังใต้ถุนหอสรงน้ำพระพุทธรูป(พิธีนี้น่าจะได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ในการบูชาศิวลิงค์เขาจะเทน้ำรดศิวลิงค์ แล้วน้ำไหลตามศิวลึงลงสู่โยนีและไหลลงไปลงยังท่อโสมสูตร ไหลต่อลงไปยังสระน้ำ หรือบารายณ์ในที่สุด ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์) พวกเด็ก ๆ ส่วนหนึ่งก็จะอาบเล่นกันสนุกสนาน ส่วนพวกที่ขนทรายเข้าวัดก็ขนทรายกันไป พอสมควรแก่เวลา ผู้เฒ่าผู้เฒ่าแก่จะบอกลา และกราบลาพระกลับบ้านกัน
ในวันก่อเจดีทราย ถ้าคนใดไม่ได้ขนทราย ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ในป่าทางทิศตะวันออกของวัด เมื่อได้มาแล้วก็มาแห่รอบอุโบสถ แล้วนำมาถวายพระ หลังจากนั้น หนุ่มสาวก็เล่นสาดน้ำกันไป หรือผู้ใดมีสะบ้าก็จะนำสะบ้าไปเล่นในลานวัด
การพากันไปเก็บดอกไม้มาถวายพระนี้ จะแห่กันไปเป็นขบวน โดยมีฆ้องโหม่ง ฆ้องกระแต และกลอง ฯลฯ แล้วแต่จะหาได้บรรเลงไปด้วย แล้วก่อกองทรายเป็นรูปทรงคล้ายเจดีย์ และตกแต่งด้วยดอกไม้ให้สวยงาม ตัดกระดาษเป็นธงปักตามเจดีย์ทราย และปักธูป-เทียนเพื่อจุดไฟให้สว่างไสวสวยงาม พอถึงเวลาประมาณ ๑ ทุ่ม พระสงฆ์จะลงมาเจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีอุปสมบทเจดีย์ทรายตามพิธีพราหมณ์ และพอถึงรุ่งเช้าวันแรม ๑ ค่ำ ชาวบ้านที่เป็นผู้เฒ่าผู้เฒ่าแก่ก็จะพาลูกหลานนำอาหาร ไปตักบาตรถวายพระสงฆ์ พระสงฆ์จะเทศนาโปรดเกี่ยวกับอนิสงฆ์ของการก่อเจดีย์ทรายให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชนฟัง และพอได้เวลาสมควรพระสงฆ์ก็จะอัญเชิญพระพุทธรูปที่เป็นประธานในพิธีกลับคืนไปประดิษฐานไว้ในอุโบสถตามเดิม
ในวันก่อเจดีทราย ถ้าคนใดไม่ได้ขนทราย ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ในป่าทางทิศตะวันออกของวัด เมื่อได้มาแล้วก็มาแห่รอบอุโบสถ แล้วนำมาถวายพระ หลังจากนั้น หนุ่มสาวก็เล่นสาดน้ำกันไป หรือผู้ใดมีสะบ้าก็จะนำสะบ้าไปเล่นในลานวัด
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การละเล่นเจรียง หรือ จำเรียง
การละเล่นเจรียง หรือ จำเรียง เป็นการขับร้องออกเสียงทำนองเสนาะ ลักษณะกลอนสดเป็นส่วนใหญ่ ใช้ภาษาเขมร เป็นภาษาขับร้อง ให้ผู้ฟังได้รับรู้เป็นเรื่องราวต่างๆแล้วแต่ผู้ร้องจะนำมาร้อง มีลักณะคล้ายลำตัดของทางภาคกลางของประเทศไทย
คำว่า "เจรียง" เป็นคำกริยาภาษาเขมร แปลว่า "ร้อง" ส่วนคำว่า "จำเรียง" หรือที่ชาวเขมรทางกัมพูชาออกเสียงว่า /จ็อม-เรียง*/ นั้น เป็นคำนาม แปลว่า "บทร้อง" นั่นเอง ดูตัวอย่างการเจรียงบทจำเรียง ของคุณตาจุน แสงจันทร์ ในคลิปวีดีโอ ด้านล่างนี้ดูครับ
สำหรับท่านที่เกิดก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ คงเคยได้ชมการเล่นเจรียงของบิดาของคุณตาจุน แสงจันทร์ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) การเล่นในสมัยก่อน จะใช้ผู้ร้องเป็นคู่ชาย-หญิง ร้องโต้ตอบกันแก้กลอนกัน ก่อนเริ่มเล่นจะประกอบพิธีไหว้ครู เริ่มเจรียงด้วยบทไหว้ครู จากนั้นก็จะเล่นเจรียงเป็นเรื่องราว หรือเป็นบททั่วไป
คำว่า "เจรียง" เป็นคำกริยาภาษาเขมร แปลว่า "ร้อง" ส่วนคำว่า "จำเรียง" หรือที่ชาวเขมรทางกัมพูชาออกเสียงว่า /จ็อม-เรียง*/ นั้น เป็นคำนาม แปลว่า "บทร้อง" นั่นเอง ดูตัวอย่างการเจรียงบทจำเรียง ของคุณตาจุน แสงจันทร์ ในคลิปวีดีโอ ด้านล่างนี้ดูครับ
สำหรับท่านที่เกิดก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ คงเคยได้ชมการเล่นเจรียงของบิดาของคุณตาจุน แสงจันทร์ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) การเล่นในสมัยก่อน จะใช้ผู้ร้องเป็นคู่ชาย-หญิง ร้องโต้ตอบกันแก้กลอนกัน ก่อนเริ่มเล่นจะประกอบพิธีไหว้ครู เริ่มเจรียงด้วยบทไหว้ครู จากนั้นก็จะเล่นเจรียงเป็นเรื่องราว หรือเป็นบททั่วไป
การละเล่นอายัย
การละเล่นอาไย หมายถึง การละเล่นพื้นบ้านของชาวเมืองขุขันธ์ ในสมัยโบราณนานมาแล้ว การเล่นอาไยจะเล่นเป็นคณะเหมือนเจรียง ผู้แสดงเป็นชายและหญิงร้องโต้ตอบกัน เป็นคู่ๆ เป็นทำนองเร่งเร้าสนุกสนาน เมื่อจบแต่ละวรรค ดนตรีจะบรรเลงรับ มีการฟ้อน รำประกอบในท่าต่างๆตามจังหวะดนตรีและความถนัดของผู้ร้อง อาจมีหลายคู่ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ปี่ ซอ พิณ นิยมใช้เล่นในงานเทศกาลงานวัดต่างๆ
อาไย เป็นการละเล่นที่มีต้นกำเนิดมาจากกัมพูชา ชาวเมืองขุขันธ์ในอดีต ได้มีการติดต่อไปมาหาสู่กัน และได้รับเอาวัฒนธรรมการละเล่นอาไยมาเล่นที่เมืองขุขันธ์ เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2492 สมัยที่บางท่านยังเด็กๆ พอตกตอนเย็นจะมีหนุ่มสาวร้องอาไยเกี้ยวพาราสีกัน
ผู้ที่มีสามารถด้านศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน ด้านการดีดพิณ สีซอ ประกอบการร้อง เจรียง และสามารถร้องอาไยได้อย่างไพเราะยิ่งนักของอำเภอขุขันธ์ ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจบัน คือ นายจุน แสงจันทร์ อายุ 66 ปี(ในปี พ.ศ. 2557) ท่านอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ 6 ตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายดำ และ นางเจียม แสงจันทร์
นายจุน แสงจันทร์ ได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องการเล่นเจรียง/อาไยสืบทอดมาจากบิดา ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพเป็นนักร้องเจรียงอายัยที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของอำเภอขุขันธ์ในอดีตเมื่อ 70 กว่าปีที่แล้ว(ท่านได้ถึงแก่กรรมแล้ว)
ในปัจจุบัน นายจุน แสงจันทร์ มีลูกศิษย์รุ่นหลังซึ่งเป็นผู้สืบทอดการการร้องเพลงเจรียงอาไยของอำเภอขุขันธ์ต่อจากท่าน ได้แก่ นายสุริยัน สมร และนางวิไลวรรณ รสสุพล ทั้งคู่เป็นชาวบ้านในตำบลศรีสะอาด ตำบลเดียวกันกับนายจุน แสงจันทร์ นั่นเอง
อาไย เป็นการละเล่นที่มีต้นกำเนิดมาจากกัมพูชา ชาวเมืองขุขันธ์ในอดีต ได้มีการติดต่อไปมาหาสู่กัน และได้รับเอาวัฒนธรรมการละเล่นอาไยมาเล่นที่เมืองขุขันธ์ เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2492 สมัยที่บางท่านยังเด็กๆ พอตกตอนเย็นจะมีหนุ่มสาวร้องอาไยเกี้ยวพาราสีกัน
ผู้ที่มีสามารถด้านศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน ด้านการดีดพิณ สีซอ ประกอบการร้อง เจรียง และสามารถร้องอาไยได้อย่างไพเราะยิ่งนักของอำเภอขุขันธ์ ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจบัน คือ นายจุน แสงจันทร์ อายุ 66 ปี(ในปี พ.ศ. 2557) ท่านอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ 6 ตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายดำ และ นางเจียม แสงจันทร์
นายจุน แสงจันทร์ ได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องการเล่นเจรียง/อาไยสืบทอดมาจากบิดา ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพเป็นนักร้องเจรียงอายัยที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของอำเภอขุขันธ์ในอดีตเมื่อ 70 กว่าปีที่แล้ว(ท่านได้ถึงแก่กรรมแล้ว)
ในปัจจุบัน นายจุน แสงจันทร์ มีลูกศิษย์รุ่นหลังซึ่งเป็นผู้สืบทอดการการร้องเพลงเจรียงอาไยของอำเภอขุขันธ์ต่อจากท่าน ได้แก่ นายสุริยัน สมร และนางวิไลวรรณ รสสุพล ทั้งคู่เป็นชาวบ้านในตำบลศรีสะอาด ตำบลเดียวกันกับนายจุน แสงจันทร์ นั่นเอง
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วัดเทพทวารา(บ้านแทรง)
วัดเทพทวารา (วัดบ้านแทรง) ตั้งอยู่บ้านแทรง หมู่ที่ ๑ ตำบลห้วยสำราญ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมือปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ในสมัยตอนปลายราชการของพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๔ ( พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง - พุทธศักราช ๒๓๗๑ - ๒๓๙๓) มีผู้อาวุโสเล่าว่า ในสมัยโบราณ การเดินทางไปเมืองสังขะ เมืองสุรินทร์ เมืองบุรีรัมย์ และเมืองนครราชสีมา ของเจ้าเมือง กรมการเมืองต่างๆ ทหาร พ่อค้าคหบดีและราษฏร ก็ต้องเดินทางผ่านเส้นทางบ้านแทรง เท่านั้น ดังนั้น ที่ตั้งชื่อว่า “วัดเทพทวารา” หมายถึงประตูทางเข้าของเทพเจ้า ในที่นี้ก็คือเจ้าขุนมูลนายที่จะผ่านเข้า-ออกจากเมืองขุขันธ์ทางด้านทิศตะวันตก นั่นเอง
ภายในบริเวณวัด มีพระอุโบสถเก่าแก่ และได้รับการบูรณะปฏิสังขรมาแล้ว สองครั้ง ทางด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถจะมีองค์เจดีย์เก่าแก่(ลักษณะรูปทรงคล้ายองค์เจดีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของโรงเรียนบ้านแทรง) ปรากฏอยู่สององค์
ใกล้องค์พระเจดีย์ มีสระน้ำเก่าแก่ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ๑ แห่ง อยู่ด้านตะวันออกมีมาแต่เมื่อใดไม่มีใครบอกได้ แต่เป็นที่ประหลาดใจแก่ชาวบ้านมาถึงทุกวันนี้ ก็คือ สระน้ำดังกล่าว น้ำไม่เคยเหือดแห้งเลย เพียงแต่ตื้นเขินไปตามกาลเวลา ส่วนในปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดบ้านแทรงได้ขุดลอกให้ลึกมากขึ้น แต่ก็ยังคงอนุรักษ์ลักษณะสภาพรูปทรงเดิมของสระน้ำไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็น และแวะเวียนมาศึกษาเผชิญสืบตลอดไป
หมายเหตุ
สำหรับ คำว่า "แทรง" นั้น น่าจะออกเสียงเพี้ยนมาจากรากศัพท์เดิมเป็นคำภาษาเขมร 2 คำ ได้แก่ ទ្រាំង อ่านว่า เตรียง กับคำว่า ត្រែង อ่านว่า แตรง สำหรับรายละเอียดดังนี้
1. น่าจะมาจากคำว่า ទ្រាំង อ่านว่า เตรียง แปลว่า ต้นลาน เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งอายุหลายปี กาบใบ เรียงซ้อนกันรอบต้น ใบเดี่ยว แผ่นใบรูปพัด เส้นใบออกจากจุดเดียวกัน ก้านใบเป็นราง ยาว 1-3 เมตร ขอบมีหนามแหลมคม เรียงกันคล้ายฟันเลื่อย ช่อดอก แบบช่อแยกแขนงออกที่ปลายยอด ชูตั้งขึ้น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาและแถบเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นอยู่ในที่มีอากาศชื้นเย็น มีฝนตกมาก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด ในดินที่มีความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ต้นลานมีความคงทนต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี ต้นเล็กถึงแม้จะถูกไฟไหม้ก็จะงอกขึ้นได้ในโอกาสต่อไป เพราะรากของต้นลาน ฝังลงในดินลึกมาก
ต้นลาน หรือ /เดิม*-เตรียง/ ถือได้ว่าเป็นไม้เศรษฐกิจประเภทหนึ่งชาวเมืองขุขันธ์ในอดีต ซึ่งในสมัยนั้นพบขึ้นกันอย่างหนาแน่นในบริเวณพื้นที่บ้านแทรง และคนแถบบ้านแทรง ในสมัยนั้นยามว่างจากฤดูกาลทำนา นิยมการจักสานงานฝีมือ(จากใบของต้นตาลโตนด และใบลาน) ซึ่งได้ถ่ายทอดฝีมือด้านงานจักสาน และความงดงามของผลิตภัณฑ์มาถึงลูกหลานรุ่นปัจจุบัน
โดยผลผลิตที่ได้จากต้นลาน นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค ส่วนต่าง ๆ ของต้นลาน สามารถนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ได้แก่
1) ยอดลานอ่อน (ใบลานอ่อน) เป็นที่จารึก หนังสือพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โดยการใช้เหล็กแหลมจารบนใบลานแล้วใช้ยางรักทา เอาทรายลบยางรักจะแทรกในตัวหนังสือที่จารเป็นเส้นดำ หรือจะใช้เขม่าไฟแทนก็ได้ เรียกหนังสือใบลานเหล่านี้ว่า "คัมภีร์ใบลาน" นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาใช้จักสานทำผลิตภัณฑ์ของใช้ อาทิ เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋า เสื่อ ภาชนะในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น โมบายรูปสัตว์ ปลาตะเพียน ฯลฯ
2) ใบลานแก่ ใช้มุงหลังคาและทำผนังหรือฝาบ้าน บางแห่งใช้ใบลานเผาไฟเป็นยาดับพิษอักเสบฟกช้ำบวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกทั่วไปว่า "ยามหานิล"
3) ก้านใบ ใช้ทำโครงสร้าง ไม้ขื่อ ไม้แป และผนัง บางแห่งใช้มัดสิ่งของแทนเชือกเหนียวมาก ส่วนกระดูกลาน (ใกล้กับบริเวณหนามแหลม) มีความแข็ง และเหนียวมากกว่าส่วนอื่นของก้านใบ ใช้ทำคันกลดพระธุดงค์ นอกจากนี้ยังใช้ทำขอบภาชนะจักสานทั่วไป เช่น ขอบกระด้ง ตะแกรง กระบุง ตะกร้า เป็นต้น
4) ลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน ๆ สำหรับนั่งเล่นหรือใช้ตกแต่งประดับสวน ทำฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม
5) ผล ลูกตาลอ่อนนำเนื้อในมารับประทานแบบลุกชิดหรือลูกจาก ส่วนเปลือกรับประทานเป็นยาขับระบายดี บางแห่งใช้ลูกลานทุบทั้งเปลือก โยนลงน้ำทำให้ปลาเมา แต่ไม่ถึงตาย สะดวกแก่การจับปลา
6) ราก ใช้ฝนรับประทานแก้ร้อน ขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด เป็นต้น
2. น่าจะมาจากคำว่า ត្រែង อ่านว่า แตรง ต้น “ แตรง ” หรือตรงกับภาษาไทยคือ ต้นอ้อ ขึ้นมากมายบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน โดยเฉพาะทางทิศตะวันตกของโรงเรียนบ้านแทรงบริเวณทางแยกไปบ้านใจดีในปัจจุบัน หรือทางหลวงชนบทสาย ศรีสะเกษ ก็เลยเรียกตามชื่อพืชชนิดดังกล่าวก็อาจจะเป็นได้
ชื่อเรียกโดยทั่วไป ต้นอ้อ
ชื่ออื่น ๆ หญ้าอ้อ ดอกอ้อ ในภาคเหนือบางทีเรียกกันว่า อ้อหลวง ส่วนภาคกลางเรียก อ้อใหญ่
ชื่อสามัญ
Reed grass} Giant reed} Great reed
ชื่อวิทยาศาสตร์
Arundo donax L.
ชื่อวงศ์
POACEAE (GRAMINEAE)
ลักษณะของต้นอ้อ
ต้นอ้อ เป็นไม้ล้มลุก จำพวกหญ้า มีอายุหลายปี มักขึ้นเป็นกอ สูง 2-8 เมตร ลำต้นเป็นปล้องตั้ง ตรง ภายในกลวง แตกกิ่งก้านบ้างเล็กน้อย ลำต้นกว้าง 1.5-3 ซม. ปล้องสั้น กาบหุ้มลำต้น ยาว 10-15 ซม. ยาวกว่าปล้องมาก มีลายตามยาว สีออกนวล เกลี้ยง หรือมีขนยาว ที่รอยต่อของกาบ ใบและตัวใบมีลิ้นใบ (ligule) ยาว 2-3 มม. ขอบจักหรือเป็นชายครุย
ใบอ้อ ยาวประมาณ 45-60 ซม. โคนใบ กว้าง 4-6 ซม. มีลายตามยาว เนื้อใบหนา ปลายเรียวแหลมเป็นหางยาว มักจะพับลง เกลี้ยง ขอบใบสา
ดอกต้นอ้อ ออกดอกที่ยอดเป็นช่อใหญ่กระจาย ยาว 30-75 ซม. ดอกหนาแน่น ช่อดอกแตกกิ่งมากมาย ยาวประมาณ 15-30 ซม. มีขนยาวคล้ายขนนก ช่อดอกย่อย (spikelet) ยาว 13-17 มม. ประกอบด้วยดอก 4-5 ดอก กาบช่อย่อยกาบล่าง ยาว 11-14 มม. มีเส้นตามยาว 5 เล้น กาบบน รูปแคบ ๆ ยาว 11-14 มม. มีเส้นดามยาว 3 เส้น ปลายแหลมบาง กาบล่างของดอก รูปใข่แกมรูปหอก ยาว 10-15 มม. มีขนยาวและหนาแน่นใกล้โคน ขนยาวประมาณ 10 มม. บาง ปลายแหลม ที่โคนมีเส้นตามยาว 7-8 เส้น กาบบนของดอก ยาว 6-11 มม. เป็นเยื่อบางใส กว้าง ปลายมน หรือ ตัด ขอบมีทั้งขนธรรมดา และขนแข็ง ๆ เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูยาว 2-2.2 มม. เรียวเล็ก สีเหลือง รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ๆ 2 อัน ปลายเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มม. มีขนสี นํ้าตาลแกมเหลือง ยาวคล้ายขนนก
ต้นอ้อ ชอบขึ้นตามที่ราบลุ่มชื้นแฉะทั่วไป
ประโยชน์ของต้นอ้อ คือ
1. ด้านสมุนไพร นํ้าต้มรากกินเป็นยาขับปัสสาวะ,นํ้าต้มเหง้าต้นอ้อเป็นยาระบาย ขับ ระดู และห้ามการหลั่งนํ้านมของสตรี ต้นอ้อเป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไป
2. ดอกหญ้า (ดอกอ้อ)สามารถนำไปทำไม้กวาดได้
3.ลำต้นที่แข็ง สามารถนำมาทำลูกธนูได้
ภายในบริเวณวัด มีพระอุโบสถเก่าแก่ และได้รับการบูรณะปฏิสังขรมาแล้ว สองครั้ง ทางด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถจะมีองค์เจดีย์เก่าแก่(ลักษณะรูปทรงคล้ายองค์เจดีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของโรงเรียนบ้านแทรง) ปรากฏอยู่สององค์
ใกล้องค์พระเจดีย์ มีสระน้ำเก่าแก่ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ๑ แห่ง อยู่ด้านตะวันออกมีมาแต่เมื่อใดไม่มีใครบอกได้ แต่เป็นที่ประหลาดใจแก่ชาวบ้านมาถึงทุกวันนี้ ก็คือ สระน้ำดังกล่าว น้ำไม่เคยเหือดแห้งเลย เพียงแต่ตื้นเขินไปตามกาลเวลา ส่วนในปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดบ้านแทรงได้ขุดลอกให้ลึกมากขึ้น แต่ก็ยังคงอนุรักษ์ลักษณะสภาพรูปทรงเดิมของสระน้ำไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็น และแวะเวียนมาศึกษาเผชิญสืบตลอดไป
หมายเหตุ
สำหรับ คำว่า "แทรง" นั้น น่าจะออกเสียงเพี้ยนมาจากรากศัพท์เดิมเป็นคำภาษาเขมร 2 คำ ได้แก่ ទ្រាំង อ่านว่า เตรียง กับคำว่า ត្រែង อ่านว่า แตรง สำหรับรายละเอียดดังนี้
1. น่าจะมาจากคำว่า ទ្រាំង อ่านว่า เตรียง แปลว่า ต้นลาน เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งอายุหลายปี กาบใบ เรียงซ้อนกันรอบต้น ใบเดี่ยว แผ่นใบรูปพัด เส้นใบออกจากจุดเดียวกัน ก้านใบเป็นราง ยาว 1-3 เมตร ขอบมีหนามแหลมคม เรียงกันคล้ายฟันเลื่อย ช่อดอก แบบช่อแยกแขนงออกที่ปลายยอด ชูตั้งขึ้น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาและแถบเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นอยู่ในที่มีอากาศชื้นเย็น มีฝนตกมาก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด ในดินที่มีความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ต้นลานมีความคงทนต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี ต้นเล็กถึงแม้จะถูกไฟไหม้ก็จะงอกขึ้นได้ในโอกาสต่อไป เพราะรากของต้นลาน ฝังลงในดินลึกมาก
โดยผลผลิตที่ได้จากต้นลาน นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค ส่วนต่าง ๆ ของต้นลาน สามารถนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ได้แก่
1) ยอดลานอ่อน (ใบลานอ่อน) เป็นที่จารึก หนังสือพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โดยการใช้เหล็กแหลมจารบนใบลานแล้วใช้ยางรักทา เอาทรายลบยางรักจะแทรกในตัวหนังสือที่จารเป็นเส้นดำ หรือจะใช้เขม่าไฟแทนก็ได้ เรียกหนังสือใบลานเหล่านี้ว่า "คัมภีร์ใบลาน" นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาใช้จักสานทำผลิตภัณฑ์ของใช้ อาทิ เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋า เสื่อ ภาชนะในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น โมบายรูปสัตว์ ปลาตะเพียน ฯลฯ
2) ใบลานแก่ ใช้มุงหลังคาและทำผนังหรือฝาบ้าน บางแห่งใช้ใบลานเผาไฟเป็นยาดับพิษอักเสบฟกช้ำบวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกทั่วไปว่า "ยามหานิล"
3) ก้านใบ ใช้ทำโครงสร้าง ไม้ขื่อ ไม้แป และผนัง บางแห่งใช้มัดสิ่งของแทนเชือกเหนียวมาก ส่วนกระดูกลาน (ใกล้กับบริเวณหนามแหลม) มีความแข็ง และเหนียวมากกว่าส่วนอื่นของก้านใบ ใช้ทำคันกลดพระธุดงค์ นอกจากนี้ยังใช้ทำขอบภาชนะจักสานทั่วไป เช่น ขอบกระด้ง ตะแกรง กระบุง ตะกร้า เป็นต้น
4) ลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน ๆ สำหรับนั่งเล่นหรือใช้ตกแต่งประดับสวน ทำฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม
5) ผล ลูกตาลอ่อนนำเนื้อในมารับประทานแบบลุกชิดหรือลูกจาก ส่วนเปลือกรับประทานเป็นยาขับระบายดี บางแห่งใช้ลูกลานทุบทั้งเปลือก โยนลงน้ำทำให้ปลาเมา แต่ไม่ถึงตาย สะดวกแก่การจับปลา
6) ราก ใช้ฝนรับประทานแก้ร้อน ขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด เป็นต้น
2. น่าจะมาจากคำว่า ត្រែង อ่านว่า แตรง ต้น “ แตรง ” หรือตรงกับภาษาไทยคือ ต้นอ้อ ขึ้นมากมายบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน โดยเฉพาะทางทิศตะวันตกของโรงเรียนบ้านแทรงบริเวณทางแยกไปบ้านใจดีในปัจจุบัน หรือทางหลวงชนบทสาย ศรีสะเกษ ก็เลยเรียกตามชื่อพืชชนิดดังกล่าวก็อาจจะเป็นได้
ชื่ออื่น ๆ หญ้าอ้อ ดอกอ้อ ในภาคเหนือบางทีเรียกกันว่า อ้อหลวง ส่วนภาคกลางเรียก อ้อใหญ่
ชื่อสามัญ
Reed grass} Giant reed} Great reed
ชื่อวิทยาศาสตร์
Arundo donax L.
ชื่อวงศ์
POACEAE (GRAMINEAE)
ลักษณะของต้นอ้อ
ต้นอ้อ เป็นไม้ล้มลุก จำพวกหญ้า มีอายุหลายปี มักขึ้นเป็นกอ สูง 2-8 เมตร ลำต้นเป็นปล้องตั้ง ตรง ภายในกลวง แตกกิ่งก้านบ้างเล็กน้อย ลำต้นกว้าง 1.5-3 ซม. ปล้องสั้น กาบหุ้มลำต้น ยาว 10-15 ซม. ยาวกว่าปล้องมาก มีลายตามยาว สีออกนวล เกลี้ยง หรือมีขนยาว ที่รอยต่อของกาบ ใบและตัวใบมีลิ้นใบ (ligule) ยาว 2-3 มม. ขอบจักหรือเป็นชายครุย
ใบอ้อ ยาวประมาณ 45-60 ซม. โคนใบ กว้าง 4-6 ซม. มีลายตามยาว เนื้อใบหนา ปลายเรียวแหลมเป็นหางยาว มักจะพับลง เกลี้ยง ขอบใบสา
ดอกต้นอ้อ ออกดอกที่ยอดเป็นช่อใหญ่กระจาย ยาว 30-75 ซม. ดอกหนาแน่น ช่อดอกแตกกิ่งมากมาย ยาวประมาณ 15-30 ซม. มีขนยาวคล้ายขนนก ช่อดอกย่อย (spikelet) ยาว 13-17 มม. ประกอบด้วยดอก 4-5 ดอก กาบช่อย่อยกาบล่าง ยาว 11-14 มม. มีเส้นตามยาว 5 เล้น กาบบน รูปแคบ ๆ ยาว 11-14 มม. มีเส้นดามยาว 3 เส้น ปลายแหลมบาง กาบล่างของดอก รูปใข่แกมรูปหอก ยาว 10-15 มม. มีขนยาวและหนาแน่นใกล้โคน ขนยาวประมาณ 10 มม. บาง ปลายแหลม ที่โคนมีเส้นตามยาว 7-8 เส้น กาบบนของดอก ยาว 6-11 มม. เป็นเยื่อบางใส กว้าง ปลายมน หรือ ตัด ขอบมีทั้งขนธรรมดา และขนแข็ง ๆ เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูยาว 2-2.2 มม. เรียวเล็ก สีเหลือง รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ๆ 2 อัน ปลายเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มม. มีขนสี นํ้าตาลแกมเหลือง ยาวคล้ายขนนก
ต้นอ้อ ชอบขึ้นตามที่ราบลุ่มชื้นแฉะทั่วไป
ประโยชน์ของต้นอ้อ คือ
1. ด้านสมุนไพร นํ้าต้มรากกินเป็นยาขับปัสสาวะ,นํ้าต้มเหง้าต้นอ้อเป็นยาระบาย ขับ ระดู และห้ามการหลั่งนํ้านมของสตรี ต้นอ้อเป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไป
2. ดอกหญ้า (ดอกอ้อ)สามารถนำไปทำไม้กวาดได้
3.ลำต้นที่แข็ง สามารถนำมาทำลูกธนูได้
วัดสะอางโพธิญาณ
วัดสะอางโพธิญาณ ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยพระอาจารย์อุด เดิมเป็นชาวบ้านพราน เมืองกันทรลักษ์ ได้อุปสมบทแล้วไปเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จนเป็นผู้มีความรู้เรื่องพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี สามารถปกครองคณะสงฆ์ ขึ้นมาอยู่วัดโพธิ์พฤกษ์ ๒ พรรษา ได้นำเจ้าเมือง กรมการเมืองและราษฏร์สร้างวัดขึ้นใหม่ ณ บริเวณใกล้บ้านสะอางและเรียกชื่อ“วัดสะอาง” ตามชื่อหมู่บ้าน
พระอาจารย์อุดรูปนี้ ได้เถราภิเษกฮดสรงเป็นพระหลักคำ (เจ้าคณะเมือง)และต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูธรรมจินดามหามุนี โคตมวงศ์ สงฆปาโมกข์" เจ้าคณะใหญ่เมืองขุขันธ์ นับเป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกของเมืองขุขันธ์
พระอาจารย์อุดรูปนี้ ได้เถราภิเษกฮดสรงเป็นพระหลักคำ (เจ้าคณะเมือง)และต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูธรรมจินดามหามุนี โคตมวงศ์ สงฆปาโมกข์" เจ้าคณะใหญ่เมืองขุขันธ์ นับเป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกของเมืองขุขันธ์
วัดโพธิ์พฤกษ์ (เจ๊ก)
วัดโพธิ์พฤกษ์ (เจ๊ก) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเมืองขุขันธ์ (บริเวณบ้านบ้านเจ๊ก ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยชาวจีนที่อพยพมาจากนครราชสีมา มาตั้งบ้านเรือนทำไร่อ้อยอยู่ริมหนองแตระ ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า "บ้านเจ๊ก"
"ปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน" ในอดีต ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ปราสาทกุด" เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของฝรั่งเศสในยุคล่าอาณานิคม |
ตาภาษี ซึ่งเป็นชาวจีนผู้มีฐานะดี ได้รวบรวมญาติมิตรชาวจีน และชาวเขมรสร้างวัดขึ้น ณ บริเวณปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนริมหนองแตระ หลังจากนั้นได้นิมนต์พระจากวัดบกจันทร์นคร ไปอยู่ประจำวัด เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีต้นโพธิ์เป็นจำนวนมากและชาวจีนเป็นคนก่อสร้าง จึงเรียก "วัดโพธิ์พฤกษ์" และต่อมาเรียกว่า "วัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์"
พระพุทธรูปยืนวัดเจ็กโพธิพฤกษ์ |
วัดไทยเทพนิมิตร
วัดไทยเทพนิมิตตั้งอยู่ทางทิศเหนือเมืองขุขันธ์ (บริเวณบ้านห้วย ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) ทำการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยหลวงเทพรักษาเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างวัด ได้เกณฑ์ไพร่พลชาวกรุงเทพมหานคร และชาวหัวเมืองต่าง ๆ สร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์คราวไปทัพ แล้วนิมนต์พระจากวัดบกจันทร์นคร ไปอยู่ประจำวัด เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดไทย” ตามผู้ริเริ่มสร้างวัด คือ หลวงเทพรักษา เป็นคนไทยกรุงเทพฯ และต่อมาเพื่อความเป็นศิริมงคล ยกย่องให้เกียรติ และระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน หลวงเทพรักษาชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดไทยคำเต็มๆว่า “วัดไทยเทพนิมิต”
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ กองทัพญวนได้ยกทัพเข้ามาในเขตเมืองเขมร พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพจากส่วนกลาง ยกทัพไปทำศึกสงครามกับญวน การทำศึกสงครามในครั้งนี้ทรงมีบัญชารับสั่งให้เจ้าเมืองขุขันธ์ ส่งกำลังทหารไปช่วยรบจำนวน ๑,๕๐๐ คน โดยให้ทัพจากเมืองขุขันธ์ร่วมกับทัพจากส่วนกลาง บริเวณวัดไทยเทพนิมิตร ในขณะนั้น จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ เป็นที่รวมกำลังพลพล โดยมีหลวงเทพรักษา เป็นผู้บัญชาการ และเกณฑ์กำลังพลเมืองขุขันธ์ ศรีสะเกษ เดชอุดม สุรินทร์ และสังขะ ไปรบกับญวนในครั้งนี้
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ กองทัพญวนได้ยกทัพเข้ามาในเขตเมืองเขมร พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพจากส่วนกลาง ยกทัพไปทำศึกสงครามกับญวน การทำศึกสงครามในครั้งนี้ทรงมีบัญชารับสั่งให้เจ้าเมืองขุขันธ์ ส่งกำลังทหารไปช่วยรบจำนวน ๑,๕๐๐ คน โดยให้ทัพจากเมืองขุขันธ์ร่วมกับทัพจากส่วนกลาง บริเวณวัดไทยเทพนิมิตร ในขณะนั้น จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ เป็นที่รวมกำลังพลพล โดยมีหลวงเทพรักษา เป็นผู้บัญชาการ และเกณฑ์กำลังพลเมืองขุขันธ์ ศรีสะเกษ เดชอุดม สุรินทร์ และสังขะ ไปรบกับญวนในครั้งนี้
วัดบกจันทร์นคร
วัดบกจันทร์นคร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองขุขันธ์ (บริเวณบ้านบก ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โดยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ ๓ ได้ย้ายที่ทำการเมืองไปตั้งบริเวณดังกล่าว เพราะบ้านบก ในสมัยนั้นเป็นบ้านที่ชาวเวียงจันทน์อพยพมาอาศัยอยู่ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๒ ได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นตั้งชื่อว่า "วัดบกจันทรนคร" เพื่อเป็นอนุสรณ์ของชาวเวียงจันทน์ และกำหนดให้เป็นวัดประจำเมือง เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและประกอบศาสนพิธีอื่น ๆในช่วงสมัยนั้น
วัดบกจันทร์นคร เดิมมีเนื้อที่ ๙ ไร่เศษ ต่อมาขุนศรีสุภาพพงษ์ (บุญนาค ศรีสุภาพ) บุตรเขยของพระยาขุขันธ์ท่านที่ ๙ (ท้าวปัญญา ขุขันธิน พ.ศ. ๒๔๒๖ - ๒๔๕๐) ได้ถวายที่ดินทางทิศตะวันออกให้วัดจำนวนประมาณ ๕ ไร่
สมัยก่อนอุโบสถวัดบ้านบกหลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ไม่มีผนังทั้งสี่ด้านภายในอุโบสถ มีพระพุทธรูปโบราณสององค์และพระไม้หนึ่งองค์เป็นพระประธาน ลักษณะศิลปะลาวล้านช้าง (หรือลาวช้าง) พระพุทธรูปสององค์นี้ คงจะนำมาจากประเทศลาว เมื่อครั้งหลวงปราบ(เชียงขันธ์)ร่วมทัพไปตีกรุงศรีสัตนคนหุต (เวียงจันทน์) พ.ศ. ๒๓๒๑ โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพระยศในขณะนั้น ทรงเป็นแม่ทัพ และโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นล้วนฝีมือลาวล้านช้างทั้งสิ้น ต่อมาภายหลังสิ่งของโบราณเหล่านี้ได้สูญหายไปเกือบทั้งหมดสิ้น หน้าอุโบสถมีเจดีย์เก่าแก่หนึ่งองค์มีมาแต่โบราณ เรียกว่า "เจดีย์สิม" เป็นเจดีย์เก่าแก่คู่มากับวัด และชาวบ้านเล่าลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก
ในช่วงกลางปี พ.ศ. ๒๕๑๔ วัดบ้านบกไม่มีเจ้าอาวาสปกครอง คณะกรรมการวัดจึงแต่งตั้งให้พระวิฑูรย์ศิษย์ท่านพระครูประกาศธรรมวัตรหลวงพ่อสาย วัดตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ รักษาการอาวาส ภายหลังอุโบสถ ซึ่งได้บูรณะใหม่เรียบร้อยแล้ว ได้สร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่เป็นโลหะสัมฤทธิ์หน้าตักกว้างขนาดหนึ่งเมตรครอบพระพุทธรูปองค์เดิม (พระไม้)เป็นพระประธานในอุโบสถ ต่อมานายบุญถึง ขุขันธินและนายสวาท ไชยโพธิ์ และชาวบ้านบก ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูป พระประธานองค์ใหม่ในอุโบสถขนาดใหญ่ ดังที่ท่านได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการครั้งนี้ด้วย พระประธานองค์ใหม่นี้เมื่อสร้างเสร็จได้ให้ประชาชนนำของมีค่าหรือวัตถุมงคล ไปบรรจุในช่องอก (พระอุระ) เมื่อพิธีบรรจุเสร็จสิ้นแล้ว ช่างทำการปิดพระอุระอย่างถาวร
เมื่อมีการสร้างพระประธานองค์ใหม่ภายในอุโบสถ พระพุทธรูปโบราณสององค์ ก็ถูกขโมยถอดพระเศียรไป เนื่องจากสามารถถอดออกได้ ของเก่าหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ฝีมืองดงามมาก ต่อมาช่างได้ทำของใหม่สวมไว้แทนของเก่าที่ถูกขโมยไปแต่ฝีมือทำได้ไม่เหมือนนัก จึงดูไม่เข้ากับยุคสมัยเท่าที่ควร ต่อมาทางวัดได้ทาสีพระพุทธรูปโบราณทั้งสององค์ ซึ่งถ้าหากไม่รู้ก็จะดูเป็นของใหม่ ที่วัดบ้านบกมีพระพุทธรูปโบราณ อายุไม่ต่ำกว่า ๓๐๐–๔๐๐ ปี ฝีมือชาวล้านช้าง เป็นมรดกตกทอดมาให้เห็นดังเช่นทุกวันนี้
ชุมชนวัดจันทร์นครในอดีต มีชุมชนอยู่ ๒ ชุมชนซึ่งอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ได้แก่
๑. ชุมชนที่ประกอบด้วย บ้านบกและบ้านแดงจะมีภาษาพูดเป็นภาษาลาว มีวัฒนธรรมคล้าย ๆ ชาวลาว เนื่องจากเป็นกลุ่มชนที่ เมื่อครั้งที่ไทยชนะศึกสงครามที่ เวียงจันทน์ แล้วหลวงปราบได้กวาดต้อนเอาพลเมืองชาวลาวกลับมาด้วย โดยเฉพาะได้นางคำเวียง หญิงหม้ายตระกูลสูงพร้อมบริวารให้มาพำนักตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ บ้านบก โดยท่านได้นางคำเวียง เป็นภรรยา ซึ่งลูกชายติดนางคำเวียงมาด้วยก็คือ "พระไกร " หรือ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองคนที่ ๓ นั่นเอง ซึ่งยังมีทายาทเชื้อสายชาวลาวปรากฏอยู่ ณ ชุมชนบ้านบกและบ้านแดงจนทุกวันนี้
๒. ชุมชนที่อยู่คุ้มทิศตะวันตกของวัดจันทร์นคร เป็นชนเผ่าที่พูดภาษาเขมร เรียกคุ้มบ้านนี้ว่าคุ้มบ้านวัง หรือบ้านเวียง ( ซรกกะนงเวียง ) เป็นบ้านที่อยู่ของเจ้าเมืองขุขันธ์เดิม
วัดบกจันทร์นคร เดิมมีเนื้อที่ ๙ ไร่เศษ ต่อมาขุนศรีสุภาพพงษ์ (บุญนาค ศรีสุภาพ) บุตรเขยของพระยาขุขันธ์ท่านที่ ๙ (ท้าวปัญญา ขุขันธิน พ.ศ. ๒๔๒๖ - ๒๔๕๐) ได้ถวายที่ดินทางทิศตะวันออกให้วัดจำนวนประมาณ ๕ ไร่
สมัยก่อนอุโบสถวัดบ้านบกหลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ไม่มีผนังทั้งสี่ด้านภายในอุโบสถ มีพระพุทธรูปโบราณสององค์และพระไม้หนึ่งองค์เป็นพระประธาน ลักษณะศิลปะลาวล้านช้าง (หรือลาวช้าง) พระพุทธรูปสององค์นี้ คงจะนำมาจากประเทศลาว เมื่อครั้งหลวงปราบ(เชียงขันธ์)ร่วมทัพไปตีกรุงศรีสัตนคนหุต (เวียงจันทน์) พ.ศ. ๒๓๒๑ โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพระยศในขณะนั้น ทรงเป็นแม่ทัพ และโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นล้วนฝีมือลาวล้านช้างทั้งสิ้น ต่อมาภายหลังสิ่งของโบราณเหล่านี้ได้สูญหายไปเกือบทั้งหมดสิ้น หน้าอุโบสถมีเจดีย์เก่าแก่หนึ่งองค์มีมาแต่โบราณ เรียกว่า "เจดีย์สิม" เป็นเจดีย์เก่าแก่คู่มากับวัด และชาวบ้านเล่าลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก
ในช่วงกลางปี พ.ศ. ๒๕๑๔ วัดบ้านบกไม่มีเจ้าอาวาสปกครอง คณะกรรมการวัดจึงแต่งตั้งให้พระวิฑูรย์ศิษย์ท่านพระครูประกาศธรรมวัตรหลวงพ่อสาย วัดตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ รักษาการอาวาส ภายหลังอุโบสถ ซึ่งได้บูรณะใหม่เรียบร้อยแล้ว ได้สร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่เป็นโลหะสัมฤทธิ์หน้าตักกว้างขนาดหนึ่งเมตรครอบพระพุทธรูปองค์เดิม (พระไม้)เป็นพระประธานในอุโบสถ ต่อมานายบุญถึง ขุขันธินและนายสวาท ไชยโพธิ์ และชาวบ้านบก ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูป พระประธานองค์ใหม่ในอุโบสถขนาดใหญ่ ดังที่ท่านได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการครั้งนี้ด้วย พระประธานองค์ใหม่นี้เมื่อสร้างเสร็จได้ให้ประชาชนนำของมีค่าหรือวัตถุมงคล ไปบรรจุในช่องอก (พระอุระ) เมื่อพิธีบรรจุเสร็จสิ้นแล้ว ช่างทำการปิดพระอุระอย่างถาวร
เมื่อมีการสร้างพระประธานองค์ใหม่ภายในอุโบสถ พระพุทธรูปโบราณสององค์ ก็ถูกขโมยถอดพระเศียรไป เนื่องจากสามารถถอดออกได้ ของเก่าหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ฝีมืองดงามมาก ต่อมาช่างได้ทำของใหม่สวมไว้แทนของเก่าที่ถูกขโมยไปแต่ฝีมือทำได้ไม่เหมือนนัก จึงดูไม่เข้ากับยุคสมัยเท่าที่ควร ต่อมาทางวัดได้ทาสีพระพุทธรูปโบราณทั้งสององค์ ซึ่งถ้าหากไม่รู้ก็จะดูเป็นของใหม่ ที่วัดบ้านบกมีพระพุทธรูปโบราณ อายุไม่ต่ำกว่า ๓๐๐–๔๐๐ ปี ฝีมือชาวล้านช้าง เป็นมรดกตกทอดมาให้เห็นดังเช่นทุกวันนี้
ชุมชนวัดจันทร์นครในอดีต มีชุมชนอยู่ ๒ ชุมชนซึ่งอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ได้แก่
๑. ชุมชนที่ประกอบด้วย บ้านบกและบ้านแดงจะมีภาษาพูดเป็นภาษาลาว มีวัฒนธรรมคล้าย ๆ ชาวลาว เนื่องจากเป็นกลุ่มชนที่ เมื่อครั้งที่ไทยชนะศึกสงครามที่ เวียงจันทน์ แล้วหลวงปราบได้กวาดต้อนเอาพลเมืองชาวลาวกลับมาด้วย โดยเฉพาะได้นางคำเวียง หญิงหม้ายตระกูลสูงพร้อมบริวารให้มาพำนักตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ บ้านบก โดยท่านได้นางคำเวียง เป็นภรรยา ซึ่งลูกชายติดนางคำเวียงมาด้วยก็คือ "พระไกร " หรือ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองคนที่ ๓ นั่นเอง ซึ่งยังมีทายาทเชื้อสายชาวลาวปรากฏอยู่ ณ ชุมชนบ้านบกและบ้านแดงจนทุกวันนี้
๒. ชุมชนที่อยู่คุ้มทิศตะวันตกของวัดจันทร์นคร เป็นชนเผ่าที่พูดภาษาเขมร เรียกคุ้มบ้านนี้ว่าคุ้มบ้านวัง หรือบ้านเวียง ( ซรกกะนงเวียง ) เป็นบ้านที่อยู่ของเจ้าเมืองขุขันธ์เดิม
วัดบูรพาราม หรือวัดเขียนบูรพาราม หรือเรียกสั้นๆว่า วัดเขียน
วัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเมืองขุขันธ์ บริเวณบ้านพราน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน
ภายนอกพระอุโบสถ ทั้ง ๔ มุม มีธาตุในศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียง ๒ องค์ องค์ที่ ๓ ยังคงมีซากปรังหักพังเหลืออยู่ แต่องค์ที่ ๔ ไม่มีให้เห็นแล้ว องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
วัดเขียนบูรพาราม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๕๓ ตารางวา สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี ได้อนุญาตให้ดำเนินการบูรณะครั้งที่ ๔ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งการบูรณะครั้งที่ ๔ นี้ ได้รับอนุญาตให้บูรณะพระอุโบสถ องค์หลวงพ่อโต และมีการหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้นสำหรับประชาชนได้มีโอกาสปิดทอง โดยดำเนินการเททองหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้น เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๔ และทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๕
มีตำนานเล่าต่อกันมาว่า วัดเขียน บูรณะครั้งแรกเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๒๓ สมัยกรุงธนบุรี โดยพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ ๒ หลังจากเลื่อนที่ตั้งเมืองมาจากบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ไปตั้งที่บริเวณหนองแตระ (ត្រពាំងត្រែះ) แล้ว สมัยนั้นได้ค้นพบว่ามี องค์พระพุทธรูปประดิษฐานในป่าทึบด้านชายเมืองทางทิศอาคเนย์ จึงได้ให้ราษฏร์แผ้วถาง แล้วปรับปรุงสร้างฐานและหลังคาครอบองค์พระพุทธรูป สร้างกุฏิและนิมนต์พระภิกษุสามเณรมาอยู่ประจำวัด แต่ยังไม่เรียบร้อยดี ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ วัดจึงร้างไป
พ.ศ. ๒๔๒๕ สมัย พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าววัง ) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 8 ร่วมกับ ท่านพระครูธรรมจินดามหามุณี เจ้าคณะใหญ่เมืองขุขันธ์ ร่วมกับ กรมการเมืองได้นำราษฎร พัฒนาบูรณะวัดเขียน ซึ่งขณะนั้น บริเวณวัดเขียน ยังมีลักษณะเป็นป่าดงขึ้นหนาทึบ และยกฐานะขึ้นเป็นวัด โดยจัดพระภิกษุจากวัดสะอางมาอยู่ประจำ และเนื่องจากวัดนี้อยู่ทางทิศตะวันออกและด้านนอกติดกำแพงเมืองเมืองขุขันธ์ ชาวบ้านยุคนั้นนิยมเรียกชื่อเป็นคำภาษาเขมรถิ่นคล้องจองกันว่า เรียก វត្តខៀន កៀនមឿង อ่านว่า เวื็อต-คีน-กีน-เมือง และต่อมาล่าสุดได้ชื่อว่า "วัดเขียนบูรพาราม" เรียกกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
พิกัดGPS ของวัดเขียนบูรพาราม บน Google Map
คือ14°42'58.1"N 104°12'20.4"E หรือ 14.716143, 104.205654
หลวงพ่อโตวัดเขียนบูรพาราม ព្រះអង្គធំ វត្តខៀន ស្រុកគោកខណ្ឌ ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่ที่บ้านพราน(ភូមិព្រាល) หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร สูง ๖.๘๐ เมตร มีลักษณะศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านช้าง และศิลปะอยุธยาตอนปลาย
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม ใหญ่โตและเก่าแก่ซึ่งซึ่งมีเรื่องราวความเป็นมา และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์มานานกว่า ๒๖๐ ปี(นับแต่ พ.ศ. ๒๓๐๒) โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม
ตั้งอยู่ที่บ้านพราน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ เส้นรุ้ง ๑๔๑๗๙๙ เส้นแวง ๑๐๔๑๒๓๑ พิกัดกริด ๔๘ PVB ๑๔๙๒๖๘ แผนที่ ๕๘๓๘ III L ๗๐๐๑๗ โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาเป็นโครงไม้สังกะสี ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบ แกะสลักเป็นลายพันธ์พฤกษา ส่วนที่จั่วแกะสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งแกะสลักขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ เรียกว่า “หลวงพ่อโต”ภายนอกพระอุโบสถ ทั้ง ๔ มุม มีธาตุในศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียง ๒ องค์ องค์ที่ ๓ ยังคงมีซากปรังหักพังเหลืออยู่ แต่องค์ที่ ๔ ไม่มีให้เห็นแล้ว องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
บริบทชุมชนวัดเขียน
หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานบ้านเมืองเก่า
ขุขันธ์เราสามัคคี ประเพณีแซนโฎนตา
คุณค่าสังคมดี
การประหารชีวิตนักโทษ
เมืองขุขันธ์ มีเจ้าเมืองระดับ "พระยา" มาถึง 9 ท่าน ตำแหน่ง "พระยา"ใช้ธรรมเนียมแบบเขมร ตำแหน่ง "ออกญา" ที่เรียกว่า "สดาจ่กราญ่" "ออกญา" หรือ "พระยา" มีอำนาจเด็ดขาด สามารถสั่งประหารชีวิต คนที่มีโทษถึงประหารได้ และมีดาบประจำตำแหน่งสำหรับใช้ประหารชีวิตนักโทษด้วย เจ้าเมืองขุขันธ์ทุกท่านต่างก็ได้รับดาบประจำตำแหน่งเล่มนี้ทุกคน
สถานที่ประหารชีวิตนักโทษในบริเวณเมืองโคกขัณฑ์ (ขุขันธ์) อยู่ที่บริเวณโรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล และอยู่ระหว่างบ้านบกกับโรงเรียนขุขันธ์วิทยา ซึ่งชาวเมืองโคกขัณฑ์(ขุขันธ์)เรียกบริเวณนี้ว่า "เวียลตาย"
เวียล เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทุ่ง ท้องทุ่ง ที่ราบโล่ง ส่วนคำว่า ตาย เป็นภาษาไทย แปลว่า สิ้นใจ สิ้นชีวิต สิ้นสภาพของการมีชีวิต "เวียลตาย" ก็คือบริเวณที่ใช้ประหารชีวิตนักโทษ หรือ ทุ่งที่ใช้ประหารนักโทษ บางครั้งชาวบ้านก็ยังเรียกบริเวณนี้ว่า "บุหลวง " คำว่า "บุ " (บุะ) เป็นภาษาเขมร หมายถึง ไร่ที่ถูกทิ้งร้างไป ป่าละมาะที่ถูกทิ้งร้างหลังจากที่ชาวบ้านทำไร่เลื่อนลอย "หลวง" เป็นคำไทย หมายถึง เป็นของรัฐบาล เป็นของทางราชการ เขมรใช้คำนี้โดยเขียนตามไทย ว่า "หลวง" อ่านว่า "หลวง" ความหมายก็ตรงกับภาษาไทย คำว่า "บุหลวง " ก็คือ ป่าละเมาะของทางราชการ หรือ ที่ดินหลวง นั่นเอง
"พระยาขุขันธ์ฯ หรือเจ้าเมืองขุขันธ์ทั้ง 9 ท่าน ได้ใช้บริเวณ "เวียลตาย" หรือ "บุหลวง " เป็นสถานที่สำหรับใช้ประหารนักโทษที่ต้องโทษถึงประหารในบริเวณป่าละเมาะแห่งนี้ตลอดมา ในธรรมเนียมของเขมร ผู้ที่ได้ตำแหน่ง "ออกญา" ที่เรียกว่า "สดาจ่ กราญ่" หรือ "พระยา" จะได้รับศาสตราวุธ และยุทโธปกรณ์ ดังต่อไปนี้
ศาสตราวุธ คือ
(1)พระขรรค์
(2)ธนู
(3) หน้าไม้
(4) โนน คล้ายหอก แต่ปลายด้ามมีพู่
(5) ดาบสั้น ดาบยาว
(6) พร้าด้ามยาว
(7) หอกสั้น หอกยาว
(8)พลอง
(9)เขน
(10)กริช
(11)ปืนสั้น ปืนยาว
ยุทโธปกรณ์ คือ
(1)เสื้อเกราะ
(2)เสื้อยันต์
(3)ผ้ายันต์
(4)ธงชาติ
(5)ธงมหาราช
(6)ธงชัย
(7)กลองชัย
(8)ฆ้องชัย
(9)กลองแขก
สถานที่ประหารชีวิตนักโทษในบริเวณเมืองโคกขัณฑ์ (ขุขันธ์) อยู่ที่บริเวณโรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล และอยู่ระหว่างบ้านบกกับโรงเรียนขุขันธ์วิทยา ซึ่งชาวเมืองโคกขัณฑ์(ขุขันธ์)เรียกบริเวณนี้ว่า "เวียลตาย"
"พระยาขุขันธ์ฯ หรือเจ้าเมืองขุขันธ์ทั้ง 9 ท่าน ได้ใช้บริเวณ "เวียลตาย" หรือ "บุหลวง " เป็นสถานที่สำหรับใช้ประหารนักโทษที่ต้องโทษถึงประหารในบริเวณป่าละเมาะแห่งนี้ตลอดมา ในธรรมเนียมของเขมร ผู้ที่ได้ตำแหน่ง "ออกญา" ที่เรียกว่า "สดาจ่ กราญ่" หรือ "พระยา" จะได้รับศาสตราวุธ และยุทโธปกรณ์ ดังต่อไปนี้
ศาสตราวุธ คือ
(1)พระขรรค์
(2)ธนู
(3) หน้าไม้
(4) โนน คล้ายหอก แต่ปลายด้ามมีพู่
(5) ดาบสั้น ดาบยาว
(6) พร้าด้ามยาว
(7) หอกสั้น หอกยาว
(8)พลอง
(9)เขน
(10)กริช
(11)ปืนสั้น ปืนยาว
ยุทโธปกรณ์ คือ
(1)เสื้อเกราะ
(2)เสื้อยันต์
(3)ผ้ายันต์
(4)ธงชาติ
(5)ธงมหาราช
(6)ธงชัย
(7)กลองชัย
(8)ฆ้องชัย
(9)กลองแขก
วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่เรียบเรียงบทความเรื่องเล่า “เมืองขุขันธ์”
๑. นายศิริพงษ์ ไพศาลสุวรรณ
เรื่อง ภูมิเมืองขุขันธ์
เรื่อง ภูมิเมืองขุขันธ์
๒.นายประดิษฐ์ ศิลาบุตร
เรื่อง ศรีสะเกษนั้นไซ้กว้างใหญ่นักหนา
เรื่อง ศรีสะเกษนั้นไซ้กว้างใหญ่นักหนา
๓.นายนพคุณ ภักดีทวนทอง
เรื่อง ตังเคายง ขุนโจรแห่งเมืองศรีสะเกษ
เรื่อง ตังเคายง ขุนโจรแห่งเมืองศรีสะเกษ
เรื่อง โรงฝิ่นเมืองขุขันธ์
เรื่อง กำแพงเมืองโบราณ
เรื่อง กำแพงเมืองโบราณ
๔.นายนพคุณ ภักดีทวนทองและนายเผด็จ ศรีเมือง
เรื่อง ดาบประจำตำแหน่งเมืองขุขันธ์
๕.นายนิติภูมิ ขุขันธิน
เรื่อง กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศษ
๖.นายบรรณ มากนวล
เรื่อง เหตุการณ์ในเมืองขุขันธ์ครั้งเกิดกรณีพิพาทย์อินโดจีน
เรื่อง โขนขุขันธ์
๗.อบต.ลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ เรื่อง เหตุการณ์ในเมืองขุขันธ์ครั้งเกิดกรณีพิพาทย์อินโดจีน
เรื่อง โขนขุขันธ์
เรื่อง การปฏิบัติตนในการคล้องช้างของชาวเมืองขุขันธ์
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วิหารวัดโสภณวิหาร
วิหารวัดโสภณวิหาร ตั้งอยู่ที่วัดโสภณวิหาร หมู่ที่ ๑ บ้านลุมพุก ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ลักษณะเป็นวิหารรูปทรงสี่เหลี่ยม สร้างในยุคใดยังไม่มีใครบันทึกไว้ มีบันใดขึ้น สามทาง คือ ด้านทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันออก ราวบันใดขึ้นทั้งสามด้านแกะสลักรูปแม่ชีนั่งพนมมืออยู่ด้านล่างสุด ถัดขึ้นไปเป็นรูปสิงห์โตอยู่ ขั้นที่สอง และ รูปพญานาคอยู่ระดับสูงสุด
วิหารวัดโสภณวิหาร เคยได้รับการบูรณะมาแล้วสองครั้ง เดิมเป็นวิหารที่สร้างด้วยเสาไม้ ไม่มีหลังคา ต่อมาได้บูรณะเพิ่มเติมโดยการสร้างหลังคาด้วยไม้เนื้อแข็ง และครั้งที่สองได้ทำการบูรณะโดยการเปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้อง ฉาบปูนซีเมนต์และทาสี ดังได้เห็นในปัจจุบัน
ในอดีต ที่ตั้งบ้านลุมพุก เคยได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นเมืองกันทรารมย์ ขึ้นต่อเมืองสังขะ ให้พระมหาดไทยเมืองสังขะ คือ พระกันทรานุรักษ์ เป็นเจ้าเมือง ในปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีหลักฐานที่หลงเหลือให้พบเห็นถึงปัจจุบัน คือ "หลักเมือง" ของเมืองกันทรารมย์ในอดีต ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะและยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในละแวกนั้น ตั้งอยู่บริเวณกลางหมู่บ้านลุมพุก และในปัจจุบันได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาปรับภูมิทัศน์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ทำการก่อสร้างมนฑปลักษณะทรงปรางค์ขอมครอบ"หลักเมือง"ไว้เพื่ออนุรักษ์ให้ยังคงอยู่ และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านต่อไป
นอกจากนี้ บริเวณวัดโสภณวิหาร และหนองปรุ เคยมีการขุดพบวัตถุโบราณเป็นเตาเผา มีเครื่องสังคโลกที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการเผาและอาวุธ มีลักษณะคล้ายขวานทำจากหินแกรนิตมีสีชมพู มีความคมมาก
ตู้พระธรรมวัดเจ็ดโพธิ์พฤกษ์
ตู้พระธรรมวัดเจ็ดโพธิ์พฤกษ์ เป็นงานศิลปะฝีมือที่สวยงามมาก สร้างด้วยไม้ลงรักปิดทอง ลายรดน้ำในลายของตู้พระธรรมเป็นการเล่าเรื่องชาดกเสวยพระชาติเป็นพระมโหสถ ตู้พระธรรมลายรดน้ำ มีขนาดมีความสูง ๑.๕ เมตร กว้าง ๐.๖๔ เมตร ยาว ๐.๙๓ เมตร บานประตูเขียนลายกนกเปลว ด้านข้างทั้งสองเขียนลายพันธุ์ไม้ ลวดลายที่เขียนขึ้น มีภาพเล่าเรื่องประกอบทุกด้าน ลักษณะลวดลายของตู้พระธรรมนี้ น่าจะได้รับอิทธิพลจากภาคกลางอยู่มาก ถึงแจะมีสอดแทรกลายพื้นเมืองอยู่บ้างก็ตาม ลายกรอบบานประตูรูปดอกไม้คล้ายดอกพุดตานและขาตู้มีลักษณะแบบจีนนิยมทำกันอย่างแพร่หลายในสมัยของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ จึงสันนิฐานได้ว่า ตู้พระธรรมนี้มีอายุกว่าร้อยปีมาแล้วหรือในราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเอง
ตู้พระธรรมนี้ ปัจจุบันอยู่ที่วัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ หมู่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ตั้งอยู่ริมถนนขุขันธ์-ศรีสะเกษ ก่อนที่จะถึงตัวอำเภอขุขันธ์
ฐานศิวลึงค์
ฐานศิวลึงค์
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ตามลัทธิความเชื่อของศาสนาฮินดู ขุดพบที่บัลลังก์เก่าแก่ห่างจากวัดเจ๊กประมาณ ๗๐๐ เมตร ฐานศิวลึงค์ทำมาจากหินทราย ซึ่งเป็นชั้นหินใต้สุดที่ได้ขุดพบขึ้นมามีลักษณะอ่อนนิ่ม เมื่อนำมาประดิษฐ์หรือแกะสลักตามลักษณะของรูปร่างแล้วทิ้งไว้พักหนึ่งหินก็จะแข็งตัว
ลักษณะพิเศษของหินทราย เป็นหินที่ละเอียดและแข็งแกร่งนำมาก่อสร้างโบราณสถานของขอมสมัยโบราณนิยมนำหินทรายมาแกะสลักทับหลังรูปต่าง ๆ เช่น ศิลาทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังพระอิศวรทรงโค ศิลาที่ทับหลังพระอินทร์ทรงช้าง เป็นต้น เพราะเนื้อหินมีผิวที่ละเอียดสวยงาม
ลักษณะทั่วไป เป็นฐานสี่เหลี่ยมสูง ๔ ชั้น ย่อชั้นบนสุดจะมีขนาดเท่ากับฐานชั้นล่างมีรูตรงกลาง เป็นตำแหน่งเป็นที่วาง "ลิงค์" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของปราสาทกุดวัดโพธิ์พฤกษ์ (วัดเจ๊ก) อยู่ห่างจากอำเภอขุขันธ์ประมาณ ๕๐๐ เมตร ตามเส้นทางถนนสาย ขุขันธ์ – ศรีสะเกษ
หมายเหตุ ปราสาทเล็กๆในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ทุกวันนี้ได้ถูกทำลายเกือบหมด เพราะเมื่อประมาณ ๕๐ - ๖๐ ปี (ประมาณปี พ.ศ. 2490-2507) ที่ผ่านมา สมัยนั้น มีกลุ่มคนบางพวกนิยมซื้อขายวัตถุโบราณเก่าแก่ และตระเวนออกลักขุดของเก่าในบรเวณปราสาทต่างๆเอาออกไปขาย ตัวอย่างเช่น ปราสาทที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ ในตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จนทำให้ พระครูประกาศธรรมวัตร(หลวงพ่อสาย ปาโมกโข แห่งวัดตะเคียนราม) ต้องให้ชาวบ้านลาก "แท่นโยนี" ไปเก็บอนุรักษ์ไว้ที่บริเวณหน้าพระอุโบสถของวัดตะเคียนราม ตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ ในปัจจุบัน)...
หมายเหตุ ปราสาทเล็กๆในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ทุกวันนี้ได้ถูกทำลายเกือบหมด เพราะเมื่อประมาณ ๕๐ - ๖๐ ปี (ประมาณปี พ.ศ. 2490-2507) ที่ผ่านมา สมัยนั้น มีกลุ่มคนบางพวกนิยมซื้อขายวัตถุโบราณเก่าแก่ และตระเวนออกลักขุดของเก่าในบรเวณปราสาทต่างๆเอาออกไปขาย ตัวอย่างเช่น ปราสาทที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ ในตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จนทำให้ พระครูประกาศธรรมวัตร(หลวงพ่อสาย ปาโมกโข แห่งวัดตะเคียนราม) ต้องให้ชาวบ้านลาก "แท่นโยนี" ไปเก็บอนุรักษ์ไว้ที่บริเวณหน้าพระอุโบสถของวัดตะเคียนราม ตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ ในปัจจุบัน)...
แผงพระพิมพ์ชนิดไม้แกะสลัก
แผงพระพิมพ์ชนิดไม้แกะสลัก เป็นศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศัตวรรษที่๒๔ มีความสูง ๑๒๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๓๔.๕ เซนติเมตร มีพระในแผงพระพิมพ์ ๔๘ องค์ ลักษณะของพระพุทธรูปที่ปรากฏในแผงพระพิมพ์มีความแตกต่างกัน โดยมีข้อสันนิษฐานเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ได้รับประกาศ ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า ๔๔ เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๐ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๔
ปัจจุบันซึ่งตั้งอยู่ในกุฏิของวัดบ้านเจ๊กอยู่ห่างจากอำเภอขุขันธ์ประมาณ ๕๐๐ เมตร ตามเส้นทางถนนสาย ขุขันธ์ – ศรีสะเกษ ระยะเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ ๔๙ ก.ม
ปัจจุบันซึ่งตั้งอยู่ในกุฏิของวัดบ้านเจ๊กอยู่ห่างจากอำเภอขุขันธ์ประมาณ ๕๐๐ เมตร ตามเส้นทางถนนสาย ขุขันธ์ – ศรีสะเกษ ระยะเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ ๔๙ ก.ม
พระพุทธรูปยืน วัดบกจันทร์นคร
พระพุทธรูปยืน ชนิดไม้ลงรักทาชาดปิดทองประดับกระจก เป็นศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ สูง ๘๔ ซ.ม. ฐานสูง ๒๐ ซ.ม. สูงจากฐานถึงยอด ๑๐๔ ซ.ม. ได้รับประกาศ ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า ๔๔ เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๐ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๔
ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดบกจันทร์นคร ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ ประมาณ 1 กิโลเมตร
ที่มา : ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ (รวม ๔๓๘ รายการ) เล่ม ๑๐๘ ตอน ๗๐ ง วันที่ประกาศ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔
หลวงพ่อโตวัดเขียนบูรพาราม
หลวงพ่อโตวัดเขียนบูรพาราม ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่ที่บ้านพราน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร สูง ๖.๘๐ เมตร มีลักษณะศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านช้าง และศิลปะอยุธยาตอนปลาย
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม ใหญ่โตและเก่าแก่ซึ่งซึ่งมีเรื่องราวความเป็นมา และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์มานานกว่า ๒๕๐ ปี(นับแต่ พ.ศ. ๒๓๐๒)
ปราสาทกุด
ปราสาทกุด ตั้งอยู่ในเขตวัดโพธิ์พฤกษ์ บริเวณบ้านเจ๊ก ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เส้นรุ้ง ๑๔๔๓๑๐ เส้นแวง ๑๐๔๑๒๐๒ พิกัดกริด ๔๘PVB ๑๓๐๒๗๔ แผนที่ ๕๘๓๘ III L ๗๐๑๗ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ
ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลาย กลางเนินโบราณสถาน มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนเนินดินใหญ่ แต่ละด้านจะก่ออิฐเป็นช่องคล้ายประตู โดยก่ออิฐทึบทั้งหมด ส่วนยอดหักพังลงมาจนถึง เรือนธาตุ
โบราณสถานแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ ปราสาทกุด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓ เนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๒๙ ตารางเมตร
โบราณสถานแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ ปราสาทกุด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓ เนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๒๙ ตารางเมตร
ศาลหลักเมืองโบราณของเมืองขุขันธ์
ศาลหลักเมืองโบราณของเมืองขุขันธ์ ตั้งอยู่มุมสี่แยกตลาดขุขันธ์ และอยู่มุมตะวันตกเฉียงใต้ของวัดกลาง วัดอัมรินทราวาส ในเขตเทศบาลตำบลห้วยเหนือ ส่วนจะสร้างสมัยเจ้าเมืองท่านใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่ประเพณีการสร้างศาลหลักเมืองมักนิยมตั้งพร้อมการสร้างเมือง เนื่องจากจวนเจ้าเมืองและที่ทำการต่าง ๆ มีการย้ายบ่อยตามคุ้ม หรือตามถิ่นฐานของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง แม้แต่การตั้งเมืองขุขันธ์ครั้งแรกพงศาวดารตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตากะจะเป็นหลวงแก้วสุวรรณ ยก "บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน" ขึ้นเป็นเมือง ชื่อว่า "เมืองขุขันธ์ "
หลักเมืองขุขันธ์ เดิมทีชาวบ้านเรียกว่า “อารักษ์กลางมืง” หรือ "ตากลางเมือง" (ภาษาเขมรท้องถิ่นอำเภอขุขันธ์) แปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า “เทพารักษ์กลางเมือง” ต่อมาเรียกว่า “หลักเมือง” ภายในศาลมีเสาหลักเมืองโบราณ สูงจากพื้นถึงยอดเสาประมาณ 140 ซม. และมีก้อนหินเก่าแก่สองก้อนตั้งอยู่ข้างๆ แต่เดิมเป็นศาลไม้หลังเล็ก ๆ ประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา ชาวจีนตลาดขุขันธ์ได้ร่วมกันสร้างอาคารครอบศาลขึ้นมาใหม่ ดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ และมีการซ่อมแซมมาโดยตลอด
แต่เดิมในเดือนธันวาคมของทุกๆปี ชาวอำเภอขุขันธ์จะประกอบพิธีเซ่นไหว้บูชาหลักเมือง และต่อมาในปัจจุบัน ชาวอำเภอขุขันธ์ได้มีการประกอบพิธีบูชาหลักเมืองร่วมด้วยในงานเทศกาลแซนโฎนตาของเมืองขุขันธ์เป็นประจำทุกปี
สมัยก่อนข้าราชการที่เดินทางมารับตำแหน่งต่าง ๆ ของเมืองขุขันธ์ โดยเฉพาะนายอำเภอ จะต้องมาเซ่นไหว้บอกกล่าวทุกคน ข้าราชการที่ย้ายมาจากภาคกลางกลัวมากเรื่องไข้ป่า บางคนย้ายมาอยู่จนกระทั่งได้ย้ายกลับจะไม่ยอมให้ครอบครัวมาด้วยเลยเนื่องจากกลัวไข้ป่าจะเอาชีวิตนั่นเอง ปัจจุบันทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของบ้านเมือง เรื่องราวในอดีตจึงเป็นเพียงคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาเท่านั้น
การแก้บนหลักเมือง นอกจากการแก้บนด้วยหัวหมู สุรา บุหรี่ อาหารคาวหวานแล้ว สมัยก่อนมีการแก้บนด้วย ลิเก และภาพยนตร์ เมื่อประมาณ ๔๐ ปีที่แล้ว คุณยายทองนาค กองทอง คุ้มบ้านภูมิใต้ เคยนำลิเกมารำถวายหลักเมืองหลายครั้ง
การแก้บน คือ การบนบานศาลกล่าวในสิ่งที่มีความทุกข์ร้อน หรือต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้ เมื่อสำเร็จแล้วก็มีการแก้บนตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ทุกวันนี้การแก้บนด้วยภาพยนต์ และลิเกไม่มีให้เห็นอีกแล้ว และศาลหลักเมืองก็ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาและอยู่บริเวณสถานที่คับแคบ รอการบูรณะใหม่จากชาวขุขันธ์เพื่อให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมืองซึ่งกำลังเจริญขึ้นตามยุคสมัย ให้สมกับเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวติดใจ อันเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าคู่เมืองขุขันธ์อีกด้วย
หลักเมืองขุขันธ์ เดิมทีชาวบ้านเรียกว่า “อารักษ์กลางมืง” หรือ "ตากลางเมือง" (ภาษาเขมรท้องถิ่นอำเภอขุขันธ์) แปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า “เทพารักษ์กลางเมือง” ต่อมาเรียกว่า “หลักเมือง” ภายในศาลมีเสาหลักเมืองโบราณ สูงจากพื้นถึงยอดเสาประมาณ 140 ซม. และมีก้อนหินเก่าแก่สองก้อนตั้งอยู่ข้างๆ แต่เดิมเป็นศาลไม้หลังเล็ก ๆ ประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา ชาวจีนตลาดขุขันธ์ได้ร่วมกันสร้างอาคารครอบศาลขึ้นมาใหม่ ดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ และมีการซ่อมแซมมาโดยตลอด
แต่เดิมในเดือนธันวาคมของทุกๆปี ชาวอำเภอขุขันธ์จะประกอบพิธีเซ่นไหว้บูชาหลักเมือง และต่อมาในปัจจุบัน ชาวอำเภอขุขันธ์ได้มีการประกอบพิธีบูชาหลักเมืองร่วมด้วยในงานเทศกาลแซนโฎนตาของเมืองขุขันธ์เป็นประจำทุกปี
สมัยก่อนข้าราชการที่เดินทางมารับตำแหน่งต่าง ๆ ของเมืองขุขันธ์ โดยเฉพาะนายอำเภอ จะต้องมาเซ่นไหว้บอกกล่าวทุกคน ข้าราชการที่ย้ายมาจากภาคกลางกลัวมากเรื่องไข้ป่า บางคนย้ายมาอยู่จนกระทั่งได้ย้ายกลับจะไม่ยอมให้ครอบครัวมาด้วยเลยเนื่องจากกลัวไข้ป่าจะเอาชีวิตนั่นเอง ปัจจุบันทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของบ้านเมือง เรื่องราวในอดีตจึงเป็นเพียงคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาเท่านั้น
การแก้บนหลักเมือง นอกจากการแก้บนด้วยหัวหมู สุรา บุหรี่ อาหารคาวหวานแล้ว สมัยก่อนมีการแก้บนด้วย ลิเก และภาพยนตร์ เมื่อประมาณ ๔๐ ปีที่แล้ว คุณยายทองนาค กองทอง คุ้มบ้านภูมิใต้ เคยนำลิเกมารำถวายหลักเมืองหลายครั้ง
การแก้บน คือ การบนบานศาลกล่าวในสิ่งที่มีความทุกข์ร้อน หรือต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้ เมื่อสำเร็จแล้วก็มีการแก้บนตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ทุกวันนี้การแก้บนด้วยภาพยนต์ และลิเกไม่มีให้เห็นอีกแล้ว และศาลหลักเมืองก็ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาและอยู่บริเวณสถานที่คับแคบ รอการบูรณะใหม่จากชาวขุขันธ์เพื่อให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมืองซึ่งกำลังเจริญขึ้นตามยุคสมัย ให้สมกับเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวติดใจ อันเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าคู่เมืองขุขันธ์อีกด้วย
เจดีย์ตาปราสาท
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบ้านแทรง หมู่ที่ ๑ ตำบลห้วยสำราญ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ด้านทิศตะวันออก ที่บริเวณดังกล่าวเคยเป็นวัดร้าง มีเจดีย์เก่าแก่ อยู่ ๑ องค์ สร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่หลักฐานปรากฏ เดิมชาวบ้านใช้เป็นสถานที่ทำการฌาปนสถาน(ป่าช้า)
ด้านตะวันออกขององค์เจดีย์จะมีบัลลังก์ และมีเจดีย์องค์เล็กๆอีก ๔ องค์อยู่ทางทิศใต้ ต่อมาชาวบ้านได้ถากถางป่าปรับพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพื่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านแทรง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ (มีนายโพธิ์ จันทร เป็นครูใหญ่คนแรก) ทำให้บัลลังก์และเจดีย์องค์เล็กๆ ๔ องค์ถูกทำลายทิ้ง ซึ่งภายในบัลลังก์และเจดีย์องค์เล็กๆได้พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก โดยชาวบ้านได้นำไปไว้ที่วัดบ้านแทรง ปัจจุบันได้สูญหายหมดแล้ว
ส่วนยอดขององค์เจดีย์หักพังลงมา เนื่องจากถูกกระสุนที่ยิงจากเครื่องบินในสมัยสงครามอินโดจีน
บริเวณข้างองค์เจดีย์จะมีศาลปู่ตา และต้นสำโรงใหญ่ ๑ ต้น นับเป็นองค์เจดีย์เก่าแก่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เจดีย์ตาปราสาทเป็นที่เคารพและศักดิ์สิทธิ์มาก มีตำนานเล่าขานกันในหลายเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำสาบาน และสาบานตนต่อหน้าตาปราสาท หากผู้ใดไม่ทำตามที่ตนกล่าวก็จะมีอันเป็นไปทันที
ปัจจุบันเจดีย์ตาปราสาทแห่งนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวบ้านแทรง ดังคำขวัญที่ว่า "แทรง แหล่งคนดี มีเจดีย์ตาปราสาท" หากผู้ใดที่มาบ้านแทรงแล้วไม่ได้ไปกราบไหว้เจดีย์ตาปราสาท ก็ถือว่ามาไม่ถึงบ้านแทรงโดยปริยาย
ด้านตะวันออกขององค์เจดีย์จะมีบัลลังก์ และมีเจดีย์องค์เล็กๆอีก ๔ องค์อยู่ทางทิศใต้ ต่อมาชาวบ้านได้ถากถางป่าปรับพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพื่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านแทรง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ (มีนายโพธิ์ จันทร เป็นครูใหญ่คนแรก) ทำให้บัลลังก์และเจดีย์องค์เล็กๆ ๔ องค์ถูกทำลายทิ้ง ซึ่งภายในบัลลังก์และเจดีย์องค์เล็กๆได้พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก โดยชาวบ้านได้นำไปไว้ที่วัดบ้านแทรง ปัจจุบันได้สูญหายหมดแล้ว
ส่วนยอดขององค์เจดีย์หักพังลงมา เนื่องจากถูกกระสุนที่ยิงจากเครื่องบินในสมัยสงครามอินโดจีน
บริเวณข้างองค์เจดีย์จะมีศาลปู่ตา และต้นสำโรงใหญ่ ๑ ต้น นับเป็นองค์เจดีย์เก่าแก่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เจดีย์ตาปราสาทเป็นที่เคารพและศักดิ์สิทธิ์มาก มีตำนานเล่าขานกันในหลายเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำสาบาน และสาบานตนต่อหน้าตาปราสาท หากผู้ใดไม่ทำตามที่ตนกล่าวก็จะมีอันเป็นไปทันที
ปัจจุบันเจดีย์ตาปราสาทแห่งนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวบ้านแทรง ดังคำขวัญที่ว่า "แทรง แหล่งคนดี มีเจดีย์ตาปราสาท" หากผู้ใดที่มาบ้านแทรงแล้วไม่ได้ไปกราบไหว้เจดีย์ตาปราสาท ก็ถือว่ามาไม่ถึงบ้านแทรงโดยปริยาย
โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม
โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม
ตั้งอยู่ที่บ้านพราน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ เส้นรุ้ง ๑๔๑๗๙๙ เส้นแวง ๑๐๔๑๒๓๑ พิกัดกริด ๔๘ PVB ๑๔๙๒๖๘ แผนที่ ๕๘๓๘ III L ๗๐๐๑๗ โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาเป็นโครงไม้สังกะสี ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบ แกะสลักเป็นลายพันธ์พฤกษา ส่วนที่จั่วแกะสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งแกะสลักขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ เรียกว่า “หลวงพ่อโต”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)