ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

ตามรอยพระยุคลบาท ร.9 เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดศรีสะเกษ วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๘


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 
ทรงพระราชทานกระแสพระราชดำรัส ความว่า 
“ได้ทราบถึงความทุกข์ยากของราษฎรในจังหวัดศรีสะเกษ ว่า ได้รับอุปสรรคนานาประการ ในการทำมาหากิน
รู้สึกเป็นห่วง  
และขอให้ทุกคน มีความมานะบากบั่น
ในการหาเลี้ยงชีพ  
และจะได้ขอให้รัฐบาลเพิ่มความช่วยเหลือ
ให้มากขึ้น...”  
“ต่อแต่นี้ไป ขอให้ความแร้นแค้น  จงสูญสลายจากไปจนหมดสิ้น...”

ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯ ลงจากรถไฟพระที่นั่ง ภรรยาผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษทูลเกล้าฯ
ถวายช่อดอกไม้แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บริเวณสถานี
มีกองเกียรติยศและวงดุริยางค์ ตำรวจ ลูกเสือและราษฎร นักเรียน
มารอเฝ้ารับเสด็จฯ เป็นฯ จำนวนมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ทรงมีพระราชปฏิสันถารและทรงไต่ถามทุกข์สุขกับราษฎรอย่างใกล้ชิด

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเงินส่วนพระองค์
แก่หญิงชราผู้ยากไร้ด้วยพระเมตตา


นายห่วง หงส์สมบัตรและครอบครัว ซึ่งเป็นราษฎรอำเภอเมืองศรีสะเกษ  
ได้ทูลเกล้าถวายช่างสีดอชื่อ พลายสมนึก อายุ ๕-๖ ปี มีลักษณะหูและหางดี  
เล็บหน้า ๑๐ หลัง ๘ ขณะทูลเกล้าถวายพลายสมนึกได้ร้องขึ้น
ด้วยเสียงอันดัง เป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรที่มารอเฝ้าท่ามกลางแสงแดดอันร้อนจัด ทรงไต่ถามทุกข์สุข
ของประชาชน ทรงมีประราชปฏิสันถารกับราษฎร ชาวจังหวัดศรีสะเกษ
เป็นเวลาเกือบสองชั่วโมง

ขบวนรถไฟพระที่นั่ง ออกจากสถานีศรีสะเกษ ถึงสถานีอุทุมพรพิสัย
รถไฟพระที่นั่ง หยุด ๓ นาที เพื่อให้ราษฎรเฝ้าฯ แล้วเสด็จพระราชดำเนิน
ต่อไปยังสถานีศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

ปัญหาการเก็บภาษีจากหัวเมืองตางๆ ในบริเวณอีสาน พ.ศ. 2373 - 2434

           การเก็บภาษีจากหัวเมืองตางๆ ในบริเวณอีสานถือไดวาเกิดการรั่วไหลมาก จากจุดออนเรื่องขาดระบบบัญชีและความโลภของเจาหนาที่ที่เกี่ยวของ ปญหานี้เกิดขึ้นและมีมานาน ตั้งแตรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย สยามเริ่มทราบและระแคะระคาย สวยที่รั่วไหลและคั่งคางอยูกับเจาเมืองกรมการเมืองมาตลอด แมจะแกปญหาดังกลาวดวยการสักเลกเปนระยะๆ และแบงเปอรเซ็นต
สวยใหกับเจาเมืองกรมการ แตปญหาสวยรั่วไหลก็ยังมิไดรับการแกไขในบางเมือง เชน เมืองกมลาสัย มีสวยคางอยูกับเจาเมืองถึง 10 ป หรือบางเมืองเจาเมืองมีเจตนาเบียดบังสวยมาเปนของตน มีหลักฐานหลายชิ้นที่จับไดวาคนเหลานี้เบียดบังเอาสวยไปใชแลวอางกับกรุงเทพฯ วาไพรสวยคางชําระ เชน 

          ในป พ.ศ. 2373 หลวงประสิทธิสงครามเปนนายกองไพรสวย มีในความแล 116 คน ทําบัญชีวามีไพร 67 คน จําหนายอางวาตาย 20 คน หนีตามตัวไมได 25 คน พิการ 6 คน บวช 6 คน จึงไมสงสวย แตผลการสอบสวนปรากฏวาทํารายงานเท็จเพื่อเอาเงินสวยไปใชสวนตัว จึงทําใหเกิดปญหาการคางสวยในบริเวณอีสานมากขึ้น 
           ในป พ.ศ. 2396 กรุงเทพฯ ไดสงพระราชวรินทรารักษ เปนขาหลวงขึ้นมาชําระเรงรัดสวย ในหัวเมืองลาวฝายตะวันออกและหัวเมืองเขมรปาดง แมวาสวนกลางจะใชวิธีใหขาหลวงขึ้นมาเรงรัดสวยในสวนที่คาง แตก็พบวาไมสามารถที่จะแกปญหาการคางสวยได ดังเชน การเรงรัดสวยเมืองเดชอุดม เมืองเขมราฐ เมืองคําเขื่อนแกว และเมืองกาฬสินธุ ที่มีการเรงรัดสวยจากรุงเทพฯ อยูเสมอ
แตก็ไมเปนผล จนตองมีการใหขาหลวงออกไปเรงรัดการเก็บสวยอีกครั้งในป พ.ศ. 2403 แตกรุงเทพฯ ก็ยังเผชิญกับปญหาการคางสวยของหัวเมืองในบริเวณอีสานอยูเสมอ
        ปญหาการคางสวยจํานวนมากในบริเวณอีสานสวนหนึ่งเกิดจากการเก็บเงินสวยไปใชสวนตัวของกรมการเมืองเปรียบเสมือนการฉอ
ราษฎรบังหลวง กรณีเชนนี้ถือไดวาเปนสิ่งที่ชนชั้นนําสยามเห็นวาเปน
ปญหาทั้งสิ้น การสรางรัฐสยามสมัยใหมที่ใหความสําคัญกับการเสียภาษีอากรของราษฎรเพื่อความมั่นคงและเจริญกาวหนาของรัฐ จึงเห็นวาระบบการเก็บภาษีกอนหนานี้  เปนปญหา และถือเปนความไรประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของระบบการปกครองเดิม
        การแกปญหาการเก็บภาษีไดเริ่มใหความสําคัญอยางจริงจังในสมัยที่พระเจาบรมวงศเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรเดินทางมาเปนขาหลวงสําเร็จราชการมณฑลลาวกาวที่เมืองอุบลราชธานี พระองคพบวา  มีการคางสวยเปนจํานวนมากเหตุเพราะเจาเมืองนําเอาเงินไปใชเอง จึงโปรดเกลาฯ ใหมีหมายประกาศบังคับมายังเจาเมืองกรมการตางๆ ใหทราบทั่วกัน
        ตั้งแตป พ.ศ. 2434 (ร.ศ. 110)หามไมใหเจาหมูนายกอง ผูใดเก็บเงินสวย เงินคาราชการ หรือคาอันใดสิ่งใดแกตัวไพรตั้งแตอัฐหนึ่งขึ้นไปไมวาจะเปนเงินคางเกาหรือใหมจํานวนหนึ่งใดเปนอันขาด และใหขาหลวงชําระบัญชีสวยอากรตางๆ ที่เมืองในบริเวณอีสานคางใหแลวเสร็จกอนวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2435 แลวจึงประกาศใหมีการเก็บเงินสวยอีกครั้ง ถือเปนวิธีการของกรุงเทพฯ ในการกํากับเพื่อเรียกเก็บภาษี  และรายไดที่รัดกุมยิ่งขึ้น ทําใหสยามมีรายไดเขาสูสวนกลางเพิ่มมากขึ้นทุกปแสดงใหเห็นถึงความพยายามในการบั่นทอนผลประโยชนของกลุมผูนําทองถิ่น และในขณะเดียวกันก็เปนการ
สรางและวางระบบเก็บภาษีของสวนกลางใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นดวย

ขอบคุณที่มา : 
- สุวิทย ธีรศาศวัต.รายงานการวิจัยประวัติศาสตรอีสาน 2322-2488.หนา 267.
สุวิทย ธีรศาศวัต. “ปญหาการเก็บสวยในภาคอีสานกอนสมัยปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5”. วารสารสมาคมประวัติศาสตร29 (2550): 110.
- หอสมุดแหงชาติ. ร.4 จ.ศ. 1215 เลขที่ 194 เรื่องตั้งพิกัดอัตราคาธรรมเนียมใหขาหลวงขึ้นไปเรงรัดสวยคางเมืองลาวเขมร.อางถึงใน ธีรชัย บุญมาธรรม,“การเก็บสวยในหัวเมืองฝายตะวันออกในชวงตนสมัยรัตนโกสินทร” .วารสารธรรมศาสตร12,4(ธันวาคม 2526): 162.
- หอสมุดแหงชาติ. ร.4 จ.ศ. 1222 เลขที่ 311 รางตรานอยใหขาหลวงขึ้นไปเรงสวยคาง. อางถึงใน ธีรชัย บุญมาธรรม, เรื่องเดียวกัน, หนา 163.
- พิชิต  พิทักษ."ทองถิ่น"ในการรับรูของชนชั้นนําไทยชวงสมัยปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435. หนา 85. 
หอจดหมายเหตุแหงชาติ. ม. 62.1/34 กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงประกาศหามไมใหเก็บเงินภาษีอากรแกราษฎร เมื่อวันที่1 เมษายน ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435).
Michael Vickery. “Thai Regional Elites and the Reforms of King Chulalongkorn,” The Journal of Asian Studies 29, 4 (August 1970): 877

การปฏิรูปการสื่อสารโทรเลขระหวางขุขันธ์-เสียมเรียบ-นครจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2428

          ...นอกจากนี้ปญหาที่ทําใหการบริหารราชการของกรุงเทพฯ ตอหัวเมือง
อีศานเปนไปอยางลาชาคือ ปญหาในระบบการสื่อสารที่ทําใหการสงขาวสาร ขอมูล รวมถึงคําสั่งตางๆ ที่มีไปมาระหวางกรุงเทพฯ กับหัวเมืองตองเสียเวลาเปนอันมาก เชน

           หนังสือราชการจากเมืองจําปาศักดิ์ ลงวันที่ 29 มิถุนายน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ถึงกรุงเทพฯ และนําขึ้นทูลเกลาฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ในวันที่15 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ใชเวลา 108 วัน และหนังสือจากจําปาศักดิ์อีกฉบับหนึ่งที่ลงวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2436) นําขึ้นทูลเกลาฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว วันที่ 14 พฤศจิกายน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ใชเวลา 115 วัน หรือคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว โปรดเกลาฯ ใหพระเจาบรมวงศเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ไปดํารงตําแหนงขาหลวงใหญหัวเมืองลาวกาวที่เมืองอุบลราชธานี ใชเวลาในการเดินทางรวมทั้งสิ้น 77 วัน

          ดังนั้น ปญหาเกี่ยวกับการคมนาคมและการสื่อสารในบริเวณอีสาน จึงกลายเปนความรูของชนชั้นนําสยามที่ไมสามารถจะนิ่งเฉยได จนนําไปสูการปฏิรูปการสื่อสารที่เริ่มทําขึ้นในป พ.ศ. 2428 ดวยการสรางทางโทรเลขระหวาง
ขุขันธ-เสียมราฐ-นครจําปาศักดิ์ และในป พ.ศ.2435 ก็ไดเปดใชโทรเลขระหวางนครจําปาศักดิ์ – อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ  นอกจากนี้สยาม ยังใหความสําคัญกับการสรางทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เพื่อใชเปน “หนทาง คนจะไดไปมาไดงาย ไดไกล ไดเร็วขึ้น เปนการขยายประชุมชนใหไพศาลยิ่งขึ้น บรรดาการคาขายอันเปนสมบัติของบานเมืองจะรุงเรืองวัฒนาขึ้น จึงไดอุตสาหะคิดทําการรถไฟ” รถไฟสายนี้แลวเสร็จในป พ.ศ. 2443 และกลาวไดวาเปนการสรางทางรถไฟสายยุทธศาสตรขึ้นเปนสายแรก ทําใหการคมนาคมระหวางกรุงเทพฯ กับอีสานสะดวกขึ้น การบริหารราชของสวนกลางเปนไปอยางรวดเร็ว  รวมทั้งสงผลดีตอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบริเวณอีสานในลำดับต่อมา

ขอบคุณที่มา : 
- หอจดหมายเหตุแหงชาติ. ร.5 ม. 62.1/27 ปก 2 หนังสือมหาดไทยบอกเมืองนครจําปาศักดิ์ ระหวาง 15 พฤษภาคม ร.ศ.109 (พ.ศ. 2433) ถึง 12 กันยายน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433). อางถึงใน ไพฑูรย มีกุศล, การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว, หนา 42 , 46 .

- สุวิทย ธีรศาศวัต.รายงานการวิจัยประวัติศาสตรอีสาน 2322-2488.(ขอนแกน: ศูนยวิจัยพหุลักษณสังคมลุมน้ําโขงมหาวิทยาลัยขอนแกน, 2549), หนา 284-285.

- พระราชดํารัสและพระบรมราโชวาท : พระจอมเกลา พระพุทธเจาหลวง พระมหาธีรราชเจา พระปกเกลา พระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช.ทวน วิริยาภรณ, รวบรวม. (ธนบุรี: ป. พิศนาคะการพิมพ, 2507), หนา 43.

พิชิต เดชนีรนาท. “รัชกาลที่ 5 กับการสงเสริมการลงทุน”. วารสารสงเสริมการลงทุน 10, (10 ตุลาคม 2542): 27.

การประกอบอาชีพของชาวอีสานในรอบ 12 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2427

          ...นอกจากนี้ ขุนมหาวิไชย ยังไดเขียนบทความ “เรื่องไปเที่ยวหัวเมืองลาวฝายตะวันออก” ซึ่งเปนบทความที่เลาถึงการเดือนทางไปอีสาน ของขุนมหาวิไชยรวมกับเพื่อนอีก 2 คน ในชวงป ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) โดยเริ่มเลาการออกเดินทางตั้งแตกรุงเทพฯ สมุทรปราการ บางปะกง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ประจันตะคาม กระบินทรบุรี สระแกว วัฒนานคร อรัญประเทศ ทุงศรีโสภณ สารภี สวายจีด ถมอพวก (หินกอง) เขาชองเสม็ด ปากชอง ปากดง สุรินทร ศรีสะเกษ จนถึงอุบล โดยใชระยะเวลาเดินทางทั้งสิ้น 28 วัน นอกจากการบรรยายถึงการเดินทางแลว ขุนมหาวิไชย ยังใหความรูเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของชาวอีสานในรอบ 12 เดือน อันประกอบดวย

เดือนอายถึงเดือนยี่ ทําแฝก หุงเกลือ ปนฝาย ปลูกยาสูบ
เดือนสามเดือนสี่ ทอหูกฝาย ผูชายเขาปาหาที่ตัดไร (หาที่ทํากิน)
เดือนสี่เดือนหา เผาสุมพื้นไร
เดือนหก ลงมือปลูกพืชในพื้นที่ที่ถากถางมาได้ เชน ปลูกออย ขาว ฝาย อุลิต (แตงโม) และแตงไทย สวนงานของผูหญิงในเดือน 5 ถึง เดือน 6 คือตัดตนมอน (หมอน) แลถางหญาในสวนมอน (หมอน) บางทีก็ทอหูกผาทําเปนผาซิ่น ผานุงผูชาย ผาขาวมาบาง
พอถึงเดือนเจ็ด เดือนแปด ก็จะลงมือดํานาทั่วกันทุกหมูบาน จนถึงเดือนเกาจึงเสร็จสิ้น
ในระหวางเดือนสิบและเดือนสิบเอ็ด ผูหญิงจะนิยมเลี้ยงไหม
ในชวงเดือนสิบเอ็ดถึงเดือนสิบสอง ทุกบานทุกตําบลจะลงมือเกี่ยวขาวเบาและขาวหนัก
พอถึงเดือนสิบสอง ก็ทําการนวดขาวและขนขาวขึ้นยุงฉาง

          ซึ่งถือเปนการประกอบอาชีพในรอบหนึ่งปของชาวอีสาน การใหรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของคนอีสานเปนเดือนๆ นอกจากจะทําใหกลุมชนชั้นนําสยามเห็นภาพของการประกอบอาชีพของคนอีสานในรอบหนึ่งปแลว ยังทําใหขุนมหาวิไชยไดทราบถึงสาเหตุความยากจนของคนในพื้นที่ ดังที่กลาววา

          “เมื่อพิจารณาดูตามกิจการที่ประชุมชนเหลานี้ไดประกอบแลว ก็เห็นวามีความเพียรหาเลี้ยงชีพโดยกวดขัน แตทําไมคนพวกนี้จึงมีความขัดสนขนจนนัก เปนเพราะเหตุใด การหาเลี้ยงชีพที่พวกลาวชาวตะวันออกทั้งหลายไดประกอบโดยความเพียรดังกลาวแลว แตพวกเหลานี้มีความขัดสนขนจนนั้น เปนเพราะสิ่งทั้งปวงที่ทําขึ้นแลจําหนายขายไมใครได ถึงจําหนายไดก็ไดราคาเต็มที่ ความจนเปนเพราะหาเงินยากนี่เอง ใชจะจนเพราะความเกียจครานก็หามิได ถาสิ่งที่เขาทําขึ้นนั้นขายไดราคาแพงพอสมควรแลจําหนายขายไดคลองแลว พวกเหลานี้ก็คงจะร่ํารวยมีเงินทองเปนแน”
          ความคิดเชนนี้แสดงใหเห็นภาพของการเปนคูขนานระหวาง “เมือง” กับ “ชนบท” หรือ “บานนอก” อยางชัดเจน เพราะเมืองในฐานะที่เปนศูนยกลางทางเศรษฐกิจแบบการตลาด ตัวเงินไดกลายเปนสิ่งที่ใชชี้วัดสถานะความเปนอยูเปนสําคัญ ดังนั้น “ความจน” รวมไปถึง ความไมสําคัญของตัวเงินจึงเปนสิ่งที่อยู่อีกดานของความเปนเมือง และสามารถหาไดใน “ชนบท” และ“บานนอก”

ขอบคุณที่มา : 
แมคคารธี ไดกลาวถึงอาชีพการทําเกลือของคนในบริเวณอีสาน ขณะที่เดินทางผานโคราชไปสูหนองคาย ในป พ.ศ. 2427 เมื่อคราวที่ทําการสํารวจเพื่อทําแผนที่สยาม วา “ที่นั่นมีการทําเหมืองเกลือซึ่งมีสะสมอยูเปนปริมาณมากในลาน...เขาจะตองเอาหนาดินเหลานี้ใสลงในลํารางหยาบๆ ซึ่งโดยมากทําจากลําตนไมขุดใหเปนโพรง ดานลางเจาะชองใหน้ําไหลได แลวเอาน้ําที่ละลายผสมกับดินถายจากรางลงภาชนะอื่นทางชองนั้น ดําเนินกรรมวิธีดังนี้จนกวาน้ํานั้นจะไมมีรสเค็มอยูอีกตอไป แลวนํา
น้ําในภาชนะนั้นไปทําใหระเหยแหงเหลือแตผงเกลือไว”(พระวิภาคภูวดล, บันทึกการสํารวจและบุกเบิกในแดนสยาม, แปลโดย สุมาลี วีรวงศ(กรุงเทพฯ: โรงพิมพกรมแผนที่ทหาร, 2533), หนา 44 และหนา 2529-2536)

ประเพณีต่างๆ ในรอบ 12 เดือนของชาวอีสาน เมื่อปี พ.ศ. 2439

           ขุนมหาวิไชย หรือหลวงผดุงแคว้นประจันต์ (จันทร์ อุตตรนคร) เป็นชาวอุบลราชธานี บวชเป็นสามเณรเข้ามาเรียนพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่หลายพรรษา จึงลาสึกขาบทออกรับราชการในกระทรวงธรรมการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นขุนบรรหารวรอรรถ แล้วย้ายมาอยู่ในกระทรวงมหาดไทย ได้เป็นขุนมหาวิไชย ต่อมาจึงออกไปรับราชการหัวเมือง แล้วได้เป็นหลวงผดุงแคว้นประจันต์ และเป็นนายอําเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี บทความที่ขุนมหาวิไชยเขียนส่วนใหญ่จึงอยู่ในช่วงที่รับราชการในกระทรวงมหาดไทย

          บทความเรื่อง “ลัทธิธรรมเนียมคนชาติลาว” ขุนมหาวิไชยได้เล่าถึงลัทธิธรรมเนียมของคนคนชาติลาวชาวตะวันออก หรือบริเวณอีสาน โดยได้ให้เหตุผลของการเขียนเรื่องดังกล่าวว่า


“เปนสิ่งที่เราท่านทั้งหลายควรรู้ไว้ พอเปนทางดําริในการงานทั้งปวงต่อไปด้วย”

          บทความนี้ได้กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ในรอบ 12 เดือนของชาวอีสาน คือ การสรงน้ําพระพุทธรูป(เดือน 5), การเล่นนักขัตฤกษ์สงกรานต์(เดือน 5), เดือน 6-8 ประกอบด้วยการทําบุญบั้งไฟ, การบวชนาค, การหดน้ำพระ (การสรงน้ำพระสงฆ์), การขับแอ่วโอ้โลมสาว, การบุญเข้า(ข้าว)ประดับดิน (สลากภัตร) (เดือน 9), การทําบุญข้าวสาก (เดือน 10), การทําบุญจุดประทีป (เดือน 11),การทําบุญปราสาทผึ้ง (เดือน 11), การทําบุญคูนลาน (ทําขวัญข้าว) (เดือน 12), ว่าด้วยพระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรม (เดือน 1-2), บุญข้าวจี่ (เดือน 3-4), และจบด้วยการบรรยายคํานามที่ใช้เรียกพระสงฆ์

         แม้ว่า ขุนมหาวิไชย จะเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกําเนิด แต่การที่เข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เด็ก รวมไปถึงการรับราชการในกระทรวงธรรมการ และมหาดไทยตามลําดับ ย่อมมีส่วนที่หล่อหลอมให้ความคิด และโลกทัศน์ของขุนมหาวิไชยมีความคิดแบบกรุงเทพฯ ไปด้วย จึงไม่แปลกที่ปรากฏข้อความแสดงออกถึงทัศนะที่ใช้กรุงเทพฯ เป็นบรรทัดฐานความการเปรียบเทียบกับประเพณีในท้องถิ่นที่ได้พบเห็น

ขอบคุณที่มา : 
กรมศิลปากร. “คํานํา,” ใน เรื่องลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 1 ลัทธิธรรมเนียมราษฎรภาคอีศาน.พิมพ์ครั้งที่ 2.พระนคร:โรงพิมพ์ทรงธรรม, 2480.หน้า ข.


ขุนมหาวิไชย. “ลัทธิธรรมเนียมคนชาติลาว”.วชิรญาณ ตอนที่ 23 (เดือนสิงหาคม ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2439)): 2302.

เมืองขุขันธ์ในอดีตเมื่อ ร.ศ.117 ตรงกับพ.ศ. 2441 เป็นเมืองหนึ่งใน 21 เมืองที่มีชื่อด้านการผลิตครั่งในบริเวณภาคอีสาน

           เรื่องราวเกี่ยวกับการการเลี้ยงครั่งของเมืองต่างๆ ในบริเวณอีสาน ในบทความ “เรื่องครั่ง” .วชิรญาณ ตอนที่ 45 (มิถุนายน ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441)): หน้า 800-801. กล่าวไว้ว่า

“ครั่งเปนเครื่องย้อมผ้าอย่างหนึ่งมีแดงแก่จัด คนทั้งหลายผู้ทําผ้าห่ม ย่อมใช้ครั่งเปน เครื่องย้อมโดยมาก เพราะฉนั้นครั่งจึ่งเปนสิ่งที่ต้องการของคนทั้งหลายอย่างหนึ่ง แลเปนสินค้าที่มีราคาอย่างหนึ่งด้วย สินค้าคือครั่งนี้มีอยู่ในเขตรแขวงเมืองลาวฝ่ายตะวันออกโดยมาก ... เมืองที่ปลูกครั่งเปนคือ เมืองหล่มศักดิ์1 เมืองเลย 1 เมืองมหาสารคาม 1 เมืองกาลสินธุ์1 ร้อยเอ็ด 1 ขอนแก่น 1 เมืองวาปี 1 ประทุม 1 เมืองกมะลาไสย 1 ยะโสธร 1 อํานาจ 1 เมืองมหาชนะไชย 1 เมืองอุบลราชธานี 1 เมืองเกษมสีมา1 เมืองพิบูลย์มังษาหาร 1 เมืองตระการพืชผล 1 เมืองเดชอุดม 1
เมืองกุขัณฑ์ 1* เมืองสังฆะ 1 เมืองสุรินแลเมืองชุมพลบูรี เปนต้น เมืองเหล่านี้เขาย่อมปลูกครั่งได้ทุกปีมา มิได้ขาด”
ครั่งเลี้ยง จากต้นจามจุรี
หมายเหตุ
* เมืองกุขัณฑ์ ในบทความข้างต้นนี้ เป็นคำที่เจ้านาย หรือทางการในยุคนั้น บันทึกตามที่ได้ยินจากการออกเสียงพูดของชาวเมืองขุขันธ์ในอดีตยุคนั้นที่เรียกชื่อเมืองในอดีตที่ใกล้เคียงคำอ่านภาษาเขมรโบราณว่า 
ซึ่งสามารถถอดอักษรเทียบกับภาษาไทย คือ โคกขัณฑ์ อ่านออกเสียงว่า /โกก-คัน  kokkhan/​ นั่นเอง

หอพระสมุดวชิรญาณ

ศาลาสหทัยสมาคม

หอพระสมุดวชิรญาณ
               หอพระสมุดวชิรญาณนั้น เดิมพระราชโอรสธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมพระหฤทัยกันตั้งขึ้นเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๒๖ แต่แรกอาศรัยตั้งที่ห้องชั้นต่ำมุขกระสันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางตวันตก แล้วมาตั้งที่ตึกทิมดาบตรงหน้าพระที่นั่งจักรี เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๔๓๐ แล้วย้ายออกมาตั้งที่ตึกอันเปนหอสหทัยสมาคมบัดนี้ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ หอพระสมุด วชิรญาณเปนหอสมุดของสโมสรสมาชิกอยู่ตลอดสมัยที่กล่าวมา รวมเวลา ๒๑ ปี

                ครั้นถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ ในปีนั้นถึงอภิลักขิตสมัย นับแต่ปีพระบรมราชสมภพแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงสถาปนาอนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรดิสมเด็จพระบรมชนกนาถให้เปนของถาวรสักอย่างหนึ่ง ทรงพระราชดำริห์ว่า ในประเทศสยามนี้ยังไม่มีหอสมุดสำหรับพระนคร จึงทรงชักชวนพระราชภาดาแลภคินีให้ทรงอุทิศถวายหอพระสมุดวชิรญาณเป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร อยู้ในความบำรุงรักษาของรัฐบาลต่อไป ทุกพระองค์ก็ทรงพระดำริห์เห็นชอบด้วยพระราชบริหาร จึงโปรด ฯ ให้รวมหอพระสมุดวชิรญาณกับหอสมุดมณเฑียรธรรม แลหอสมุดพุทธสาสนสังคหจัดตั้งเปนหอพระสมุดสำหรับพระนคร โดยประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๔๘ แลทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังเสด็จดำรงพระยศเปนสมเด็จพระยุพราช ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสภานายกเปนต้นมา


อาคารถาวรวัตถุ

                 ถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้ซ่อมแซมตึก "ถาวรวัตถุ" ซึ่งสร้างค้างอยู่ที่วัดมหาธาตุให้สำเร็จแล้ว พระราชทานให้ใช้เปนหอพระสมุดสำหรับพระนคร ได้เสด็จพระราชดำเนิรไปเปิดเมื่อวันที่ ๖ มกราคม เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙

                  ครั้นถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานหนังสือในห้องพระสมุดส่วนพระองคึของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปนมฤดกแก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร แลได้เสด็จไปทอดพระเนตรถึงหอพระสมุด ฯ ทรงพระราชดำริห์ว่าตึกที่หน้าวัดมหาธาตุนั้น แม้แต่เก็บหนังสือของหอพระสมุดวชิรญาณก็ต้องตั้งตู้ยัดเยียดอยู่แล้ว จะรวมสมุดพระราชทานใหม่เข้าไว้ด้วยกันกับหนังสือเดิม ที่หาพอไม่ จึงโปรด ฯ ให้จัดหอพระสมุดสำหรับพระนครแยกออกเปน ๒ หอ หอหนึ่งให้คงเรียกว่า "หอพระสมุดวชิรญาณ" สำหรับเก็บหนังสือแลจดหมายเหตุของเก่า อันเปนหนังสือเขียนแลจานเป็นพื้น สำหรับราชบัณฑิตแลนักเรียนผู้แสวงหาความรู้จะสอบสวน แลให้เปนสถานที่จัดการพิมพ์หนังสือของหอพระสมุด ฯ ด้วย อีกหอหนึ่งให้เรียกว่า "หอพระสมุดวชิราวุธ" เปนที่เก็บรักษาหนังสือฉบับพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กับทั้งรูปฉายาลักษณ์แลหนังสือพิมพ์ข่าวต่าง ๆ สำหรับมหาชนจะได้ไปมาอ่านได้ตามประสงค์ หอพระสมุดวชิราวุธให้จัดตั้งณตึกหน้าวัดมหาธาตุ ส่วนหอพระสมุดวชิรญาณนั้น เพราะหนังสือเก็บรักษาไว้ในตู้ลายทองของ โบราณเปนพื้น แลมีศิลาจารึกของโบราณอยู่มากด้วยอีกอย่าง ๑ ถ้าจัดตั้งในตึกแบบโบราณย่อมจะสมกัน จึงโปรด ฯ ให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณมาตั้งอยู่ณพระที่นั่งศิวโมกขพิมานด้วยประการฉนี้

หอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน


               หอพระสมุดวชิรญาณก็ดี พิพิธภัณฑสถานก็ดี ในชั้นนี้พึ่งย้ายแลขยายการที่จัดออกไปใหม่ยังไม่บริบูรณ์ ในหนังสือจะพรรณนาว่า ด้วยสิ่งของซึ่งควรดูควรชมรายสิ่งไปให้ถ้วนถี่ ยังไม่สามารถจะทำใด้ เพราะฉนั้นจะกล่าวถึงแต่สิ่งสำคัญแลอธิบายพอเป็นเลาความสิ่งสำคัญในหอพระสมุดวชิรญาณ

                ๑. พระบรมรูปเท่าพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเขียนสีน้ำมัน ประดิษฐานอยู่ในประธานด้านตวันตก เปนของพระราชโอรสธิดาทรงสร้างแต่เมื่อตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ

                ๒. โต๊ะศิลากระดานชนวน ที่ตั้งอยู่หน้าพระบรมรูปนั้น เปนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับทรงคำนวณเลข เดิมตั้งอยู่ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานมารักษาไว้ในหอพระสมุด ฯ

                ของทั้ง ๒ สิ่งที่กล่าวมาเปนของประจำอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ สืบมาแต่แรกตั้ง นับเวลาจนบัดนี้ได้ ๔๒ ปี

                 ๓. ตู้ลายทองของโบราณ ที่ใช้ใส่หนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณ เปนฝีมือสร้างแต่สมัยครั้งกรุงศรีอยุธยามีมาก สร้างในสมัยครั้งกรุงธนบุรีก็มี ที่สร้างในสมัยกรุงรัตน โกสินทรเพียงในรัชกาลที่ ๔ ถ้าว่าโดยอายุมีตั้งแต่ ๒๕๐ ปี ลงมาถึง ๖๐ ปีเศษ ตู้เหล่านี้เดิมสร้างสำหรับใส่คัมภีร์พระไตรปิฏก มีแยกย้ายอยู่ตามวัดทั้งในกรุง ฯ แลหัวเมือง เมื่อแรกตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร ต้องการตู้ใส่หนังสือซึ่งได้เพิ่มเติมมาก กรรมการปรึกษากันเห็นว่าตู้ลายทองของโบราณซึ่งมีอยู่ตามพระอาราม มีหนังสือเก็บอยู่ก็มี ว่างเปล่าอยู่ก็มาก มักชำรุดแลเป็นอันตรายไปเสีย ตู้ชนิดนี้เปนของสร้างโดยฝีมืออันประณีต แลมีแต่ในประเทศสยามประเทศเดียว สมควรจะรักษาไว้ให้อยู่ถาวร จึงไปขอตู้โบราณที่ว่างอยู่ตามพระอารามมาใช้ใส่หนังสือในหอพระสมุด ฯ ครั้นพระสงฆ์มาชมหอพระสมุดฯเห็นว่าตบแต่งตั้งรักษาตู้ไว้งดงาม ก็พากันนิยมยินดียอมอนุญาตถวายตู้โบราณแก่หอพระสมุด ฯ มากขึ้นโดยอันดับมา เห็นจะกล่าวได้ว่า ตู้โบราณอย่างนี้ที่เปนฝีมือดีอย่างเอกแลเก่าที่สุด เดี๋ยวนี้มาอยู่ในหอพระสมุด ฯ แทบทั้งนั้น ถ้าชอบชมฝีมือแลแบบอย่างช่างเขียนไทยแตโบราณ ก็อาจดูได้แทบทุกใบ

                ๔. หีบโบราณสำหรับใส่พระไตรปิฏก เดิมก็อยู่ตามพระอารามอย่างเดียวกับตู้ที่กล่าวมาแล้ว เปนของสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งนั้น เลือกมารักษาไว้ในหอพระสมุด ฯ แต่ที่ลวดลายงาม

                ๕. ศิลาจารึกของโบราณ เก็บรวบรวมมาแต่ที่ต่าง ๆ ในประเทศสยามนี้ ที่จัดตั้งไว้ทางเฉลียงด้านเหนือล้วนจารึกภาษาไทย แต่สมัยพระมหากษัตริย์ราชวงศพระร่วงกรุงสุโขทัยเปนราชธานี

                ๖. ตัวอย่างผ้าลายอย่างต่าง ๆ ซึ่งใส่กรอบกระจกทำลับแลตั้งไว้ ล้วนเปนของโบราณซึ่งแบบอย่างลวดลายเลิกสูญไปเสียแล้ว เหลืออยู่แต่ที่เปนผ้าห่อคัมภีร์พระไตรปิกฏของโบราณ หอพระสมุด ฯ ได้มา จึงเลือกออกทำเป็นลับแลไว้เพื่อจะให้เห็นตัวอย่างลวดลายของโบราณ

ที่มา : หนังสือ "อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แล พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร"

คำว่า "เมืองเขมรป่าดง" เมื่อปี พ.ศ. 2379 ประกอบด้วย 13 เมือง

           ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ภายหลังการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ. 2370 แล้ว ทางการได้ให้ความสําคัญต่อพื้นที่บริเวณอีสานมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดการด้านกําลังพล และเศรษฐกิจ ซึ่งปรากฏชัดในปี พ.ศ. 2379 โดยพระองค์ได้มีพระบัญชา และทรงโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการจากส่วนกลางออกไปสํารวจจํานวน และทําบัญชีสักเลก ดังนี้
พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
(พ.ศ. 2367-2394)

“...ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาออกไปทำบัญชี
เขมรป่าดง เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์  เมืองสังขะ เมืองศีร์ษะเกษ เมืองเดชอุดม เมืองนครจําปาศักดิ์ เมืองอุบล เมืองสุวรณภูมิ เมืองยโสธร เมืองศรีทันดร เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองอัตปือ รวม 13 เมือง (1)(2) ห้พระมหาเทพ (ป้อม) ซึ่งเป็นพระยามหาอํามาตย์ พระพิเรนทรเทพ (ขํา) ขึ้นไปชําระบัญชีคนเก่าและคนที่ข้ามมาใหม่ พระยามหาอํามาตย์ชําระตัวเลขเมืองนครพนม บ้านท่าบ่อ เมืองสกลนคร เมืองไชยบุรี เมืองกาฬสินธุ์ เมืองร้อยเอ็ด เมืองมุกดาหาร เมืองเขมราฐ เมืองคงเจียม เมืองสะเมีย เมืองสาลวัน เมืองคําทองใหญ่ รวม 12 เมือง พระพิเรนทรเทพชําระเลกเมืองหนองคาย เมืองหนองหาร เมืองขอนแก่น เมืองชนบท เมืองภูเวียง เมืองปากเหือง รวม 6 เมือง...

เอกสารอ้างอิง :
(1)เจ้าพระยาทิพากรวงศามหาโกษาธิบดี.พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2547.หน้า 70.

(2) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์.พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 3.2481. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๓/๑๐๙-ข้าหลวงออกไปทำบัญชีเขมรป่าดง-๓๑-เมือง.(24 กันยายน 2561).

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมระดับสภาวัฒนธรรมจังหวัด อำเภอ ตำบล

สภาวัฒนธรรมตำบล
1. คุณสมบัติสมาชิกสภาวัฒนธรรมตำบล
  • เป็นสมาชิกองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดรับรองและดำเนินงานอยู่ในตำบลนั้น
2. คุณสมบัติกรรมการสภาวัฒนธรรม
  • เป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการสภาวัฒนธรรมตำบล
3. คุณสมบัติประธานสภาวัฒนธรรมตำบล
  • เป็นผู้มีสัญชาติไทย
สภาวัฒนธรรมอำเภอ
1. คุณสมบัติสมาชิกสภาวัฒนธรรมอำเภอ
    1.1 เป็นประธาน และกรรมการสภาวัฒนธรรมตำบล
    1.2 เป็นประธาน และสภาวัฒนธรรมเทศบาลเท่าที่มีอยู่ในวันจัดตั้ง
    1.3 เป็นผู้แทนองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมที่สำนักงานวัฒนธรรมรับรองและดำเนินงานอยู่ในอำเภอนั้น
2. คุณสมบัติกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ
  • เป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ
3. คุณสมบัติประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ
  • เป็นผู้มีสัญชาติไทย
สภาวัฒนธรรมจังหวัด
1. คุณสมบัติสมาชิกสภาวัฒนธรรมจังหวัด
    1.1 เป็นประธานและกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ
    1.2 เป็นผู้แทนองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมที่สำนักงานวัฒนธรรมรับรองและดำเนินงานอยู่ในจังหวัดนั้น
2. คุณสมบัติกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด
  • เป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการสภาวัฒนธรรมเขต
3. คุณสมบัติประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด
  • เป็นผู้มีสัญชาติไทย
เงื่อนไขการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม
1. การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมระดับตำบล ต้องประกอบด้วยเครือข่ายวัฒนธรรมตั้งแต่ ๒ เครือข่ายขึ้นไป จึงจะสามารถจัดตั้งเป็นสภาวัฒนธรรมระดับตำบลได้
2. การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมระดับอำเภอ ต้องประกอบด้วยเครือข่ายวัฒนธรรมตั้งแต่ ๓ เครือข่ายขึ้นไป จึงจะสามารถจัดตั้งเป็นสภาวัฒนธรรมระดับอำเภอได้
3. การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมระดับสภาวัฒนธรรมจังหวัด ต้องประกอบด้วยเครือข่ายวัฒนธรรมตั้งแต่ ๕ เครือข่ายขึ้นไป จึงจะสามารถจัดตั้งเป็นสภาวัฒนธรรมระดับจังหวัดได้
หมายเหตุ ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว และแจ้งผลการพิจารณาภายใน 7 วัน นับแต่พิจารณาแล้วเสร็จ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553
  2. กฎกระทรวงการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมเพิ่มเติม พ.ศ. 2555
  3. กฎกระทรวงกำหนดที่มา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา จำนวนกรรมการและสมาชิก วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุม การบริหารจัดการ และการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม พ.ศ. 2555
  4. ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน คลิก
  5. ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ คลิก

การรับจดแจ้งเป็นองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม ระดับสภาวัฒนธรรมตำบล อำเภอ จังหวัด

     คุณสมบัติผู้ยื่นจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม
  •      เป็นผู้แทนกลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ  หน่วยงานภาคเอกชน
     ขั้นตอนการยืนขอจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม
      1.   จัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิกกลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน โดยใช้แบบ จจ.สวธ. 03
      2.   จัดทำบัญชีรายชื่อผู้แทนกลุ่ม ชุมชน องค์กร  หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนจำนวนไม่เกิน 10 คน โดยใช้แบบ เอกสารประกอบแนบท้ายแบบ จจ.สวธ. 03
      3.   จัดทำมติของที่ประชุมกลุ่ม/ชุมชน/องค์กร/หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ให้ขอจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมต่อกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยใช้แบบ จจ.สวธ. 02
      4.   ขอจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม โดยใช้แบบ จจ สวธ 01 (ข) พร้อมแนบเอกสาร แบบ จจ สวธ 02 แบบ จจ สวธ 03 และแบบ เอกสารประกอบแนบท้ายแบบ จจ สวธ 03
     เงื่อนไขการยื่นขอจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม
      1.  กรณีที่ประธานกลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ไม่สามารถยื่นขอจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมได้ด้วยตัวเองให้มีหนังสือมอบอำนาจหรือมอบฉันทะให้ผู้รับมอบอำนาจหรือฉันทะดำเนินการยื่นขอจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม
      2. เอกสารในการยื่นขอจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม เช่น แบบ จจ สวธ. 03 เอกสารประกอบแนบท้ายแบบ จจ.สวธ. 03 แบบ จจ.สวธ. 02 และแบบ จจ.สวธ. 01 (ข) ต้องเขียนด้วยลายมือตัวบรรจง หรือพิมพ์
     หมายเหตุ ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว และแจ้งผลการพิจารณาภายใน 7 วัน นับแต่พิจารณาแล้วเสร็จ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553
  2. กฎกระทรวงการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมเพิ่มเติม พ.ศ. 2555
  3. กฎกระทรวงกำหนดที่มา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา จำนวนกรรมการและสมาชิก วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุม การบริหารจัดการ และการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม พ.ศ. 2555
  4. ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน คลิก
  5. ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ คลิก

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

"อยากเป็นปราชญ์ให้ขยัน โจงกระเบนมั่น หากินง่าย" ​เป็นสำนวนสุภาษิตภาษาท้องถิ่นเขมรอีสานใต้บ้านเรา

           มีสำนวนสุภาษิตภาษาท้องถิ่นเขมรอีสานใต้บ้านเรา...กล่าวไว้อย่างน่าสนใจอีกสำนวนหนึ่งว่า "อยากเป็นปราชญ์ให้ขยัน โจงกระเบนมั่น หากินง่าย"...บางท่านอาจมีความสงสัย คำว่า "โจงกระเบนมั่น หากินง่าย" นักปราชญ์รุ่นปู่ย่าตายายอีสานใต้ของเราในสมัยก่อนท่านกล่าวสำนวนนี้ มีความหมายว่าอย่างไร?และมีความเกี่ยวข้องอะไรกับการทำมาหากินง่าย?

จริงๆแล้ว สำนวนสุุภาษิตนี้ มีความหมาย ดังนี้ คือ

           ចង់ប្រាជ្ញឲខំប្រឹង "อยากเป็นปราชญ์ให้ขยัน" หมายความว่า ต้องขยันหมั่นเพียรเล่าเรียนศึกษาค้นคว้าสู่ความเป็นผู้จริงและแจ่มแจ้ง ก็คือใช้หลักหัวใจนักปราชญ์ 4 ประการ ได้แก่ สุ สุตะ -ฟังอ่านศึกษา จิ จินตะ -คิดพิจารณาไตร่ตรอง แล้วหากมีข้อสงสัย ก็ให้ ปุ - ปุจฉา ไถ่ถามผู้รู้ ครูอาจารย์ หรือผู้ทรงคุณความรู้และภูมิปัญญา และประการสุดท้าย คือ ลิ -ลิขิต จดจารึก หรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ทบทวนในภายหลัง หรือส่งต่อองค์ความรู้ที่ดี เพื่อถ่ายทอดสู่ลูกหลานอนุชนคนรุ่นหลังต่อไป

           ចងក្បិនតឹង រកស៊ីធូរ "โจงกระเบนมั่น หากินง่าย" หมายความว่า นอกจากเราจะต้องมีมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียร เป็นเบื้องต้นแล้ว เรายังต้องมีความกระเหม็ดกระแหม่ อดออม ไม่สุรุ่ยสุร่าย ประหยัดและมีความซื่อสัตย์ จึงจะทำให้เราประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างคล่องตัว และทำมาค้าขึ้น และนอกจากนี้เรายังอาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตทีดีแบบคนจีนส่วนใหญ่ที่เขามีดีโดดเด่นเห็นประจักษ์แก่เราท่านอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ขยัน ประหยัด และเคารพพ่อแม่ ...แค่สามประการนี้ก็สามรถดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ได้รอดแล้ว

ขอบคุณ :
ดร.ปริง เพชรล้วน ที่ช่วยอธิบายขยายความเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

"ผู้รู้ตกนรก คนโง่ขึ้นสวรรค์" ​เป็นสำนวนสุภาษิตภาษาท้องถิ่นเขมรอีสานใต้บ้านเรา

         มีสำนวนสุภาษิตภาษาท้องถิ่นเขมรอีสานใต้บ้านเรา...กล่าวไว้อย่างน่าสนใจอีกสำนวนหนึ่งว่า "ผู้รู้ตกนรก คนโง่ขึ้นสวรรค์" ...บางท่านอาจมีความสงสัยว่า ผู้รู้ตกนรกได้อย่างไร? และคนโง่เขลาขึ้นสวรรคได้อย่างไร ?....
 
          จริงๆแล้ว สำนวนสุุภาษิตนี้ มี 2 ความหมาย กล่าวคือ

ความหมายแรก ผู้รู้มาก ฉลาดมาก แต่ใช้ความรู้ความฉลาดของตนเอง ไปในทางไม่ดีและไม่ถูกต้องเหมาะสม จึงตกอยู่ในความประมาท คิดว่าใครอื่นจับผิดตนไม่ได้ คิดว่ากรรมชั่ว คงไม่ส่งผล อนาคตจึงร่มร้อนและย่อมเสื่อมเสียในที่สุด เปรียบเสมือนคนตกนรก ส่วนคนที่ไม่รู้ หรือคนธรรมดาสามัญ ปฏิบัติตนและดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงตามอัตภาพ ทำอะไรก็เกรงกลัวต่อการทำผิดและการทำความชั่ว ซึ่งบุคคลอื่นก็สามารถจับผิดได้ง่าย จึงไม่กล้าทำผิด ชีวิตจึงอยู่สุขสบาย เปรียบได้กับขึ้นสู่สวรรค์...ประมาณนั้น

ความหมายที่สอง นี่บอกถึงสภาพวิถีชีวิตการดำรงชีวิตของคนในโลกปัจจุบันนี้ ว่าเต็มไปด้วยความชิงดีชิงเด่น อิจฉาริษยากัน เห็นใครทำความดีเกินตัวเป็นไม่ได้ ก็หาทางขัดขวาง ให้ร้ายป้ายสีให้คนที่กำลังทำความดีเหล่านั้นได้รับความเดือดร้อนและอยู่ไม่เป็นสุข และยิ่งถ้าคนที่กำลังทำความดีเหล่านั้น ตายตกนรกไปได้ยิ่งดี และก็จะสะใจพวกเขาเล่านั้น และพากันหลงผิดโดยเชื่อว่า ถ้าหากมีแต่พวกเขา(คนเขลา) อยู่บนโลกใบนี้ โดยปราศจากคนทำความดีและผู้รู้เหล่านั้น พวกเขาก็จะยังคงอยู่เสวยสุขต่อไปได้อย่างสบายๆดุจขึ้นสวรรค์....


ขอบคุณ : ครูชำนิ  จันทสุข ที่ช่วยอธิบายขยายความเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

อักษรธรรมอีสาน...เป็นอีกหนึ่งอักษรศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพบุรุษชาวอีสานหลายท้องถิ่นใช้บันทึกเรื่องราวดีๆส่งต่อสู่ลูกหลานมาจนปัจจุบัน

อักษรธรรมอีสาน เป็นตัวอักษรที่มีรูปลักษณะที่กลมคล้ายกันกับ “อักษรธรรมล้านนา” หรือ “ตัวเมือง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อักษรยวน” จะมีแตกต่างกันบ้างบางตัวเท่านั้น สาเหตุที่คล้ายกันเป็นเพราะอักษรธรรมอีสานนั้นได้รับอิทธิพลและสืบทอดมาจากอักษรธรรมล้านนา ซึ่งมีพัฒนาการมาจากอักษรมอญโบราณที่เมืองหริภุญไชย (อักษรมอญหริภุญไชย) ในพุทธศตวรรษที่ 18 อีกที ตัวอักษรชนิดนี้ ใช้ในการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเช่น พระไตรปิฎก พระธรรมคัมภีร์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นอักษรชั้นสูง อักษรศักดิ์สิทธิ์ ตัวอักษรชนิดนี้ ใช้ในประเทศลาว ก็เรียกว่า “ตัวธรรมลาว” ใช้ในภาคอีสานก็เรียกว่า “ตัวธรรมอีสาน” ตามแต่ละท้องถิ่นจะเรียกขาน แต่ก็หมายถึง ตัวอักษรชนิดเดียวกัน นี้เอง

ตัวอักษรธรรมอีสาน ใช้สืบทอดกันมาในดินแดนอีสาน หลายศตวรรษจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โปรดฯ ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนให้เรียนอักษรไทยภาคกลางขึ้น ในพระราชอาณาจักรสยาม ตัวอักษรธรรมอีสานจึงหมดความสําคัญลง คงมีการเรียนการสอนอยู่เฉพาะบางกลุ่มเช่น ตามวัด หรือ ตามบ้านหมอเจ้าพิธีต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบัน จึงมีผู้รู้น้อยมากซึ่งผู้รู้เหล่านั้นจัดอยู่ในกลุ่มผู้สนใจเช่น คนเฒ่าคนแก่ ตามสถานศึกษาที่ เปิดการเรียนการสอนและตามวัดบางวัดเท่านั้น จึงสมควรที่จะมีการส่งเสริมให้มีการเล่าเรียนกันใหม่ เพื่ออนุรักษ์ตัวอักษรธรรมอีสาน ให้คงอยู่ต่อไป

อักขรวิธีของอักษรธรรมอีสาน
               อักษรวิธีหรือการผสมอักษรธรรมอีสาน แตกต่างจากอักษรวิธีของอักษรไทยโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อักษรไทยกำหนดให้วางพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกันหมด ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดและตัวควบกล้ำ ส่วนสระวางไว้รอบพยัญชนะต้น หรือวางไว้บน ล่าง หน้า หลังพยัญชนะได้

               ส่วนอักขรวิธีของอักษรธรรมอีสานมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไป แต่คล้ายคลึงกับอักษรวิธีของอักษรขอม โดยวางพยัญชนะต้นซึ่งใช้พยัญชนะตัวเต้มไว้บนบรรทัด ส่วนพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลีซึ่งใช้รูปของพยัญชนะตัวเต็มบ้าง ตัวเฟื้องบ้างนั้นอาจวางไว้บนล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง และหลังพยัญชนะได้

พยัญชนะของอักษรธรรมอีสาน แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ คือ

         1. พยัญชนะตัวเต็ม คือ รูปของพยัญชนะที่เขียนเต็มรูปตามรูปแบบของอักษรธรรมอีสานซึ่งมี 38 รูป ใช้เขียนบนบรรทัด ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น หรือบางตัวอาจทำหน้าที่เป็นตัวสะกดหรือตัวควบกล้ำได้ และในบางกรณีมีบางตัวใช้เขียนใต้บรรทัดซ้อนใต้พยัญชนะโดยทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลี

         2. ตัวเฟื้อง บางครั้งเรียกว่า ตัวห้อย หรือ ตีน ซึ่งเหมือนกับเชิงในพยัญชนะขอม โดยนิยมเขียนใต้บรรทัด (ยกเว้นตัวเฟื้องของพยัญชนะ ร และแบบหนึ่งของ ง เฟื้อง) ตัวเฟื้องที่พบในอักษรธรรมอีสานมีทั้งหมด 19 ตัว ซึ่งตัวเฟื้องเหล่านี้มีหน้าที่เป็นพยัญชนะตัวต้นไม่ได้ จะใช้เขียนในกรณีที่พยัญชนะเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด หรือตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตามในหลักสังโยคของภาษาบาลี

             ทั้งนี้ อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบฟอนต์อักษรธรรมอีสาน 2 แบบ
             1) อักษรสำหรับพิมพ์บนโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป (word) เรียกชื่อฟอนต์ว่า “UbWManut”

             2) อักษรสำหรับโปรแกรมกราฟิก (PhotoShop) เรียกชื่อฟอนต์ว่า “UbPManut”
โดยชื่อฟอนต์ดังกล่าว ทั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อัษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่
อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ดาวน์โหลดฟอนต์อักษรธรรมอีสาน คลิกที่นี่ (รออัพเดทล่าสุด)
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม :
1. ความเป็นมาของอักษรธรรมอีสาน
2. E-book บทเรียนอักษรธรรมอีสาน


ขอบคุณข้อมูลจาก :
แหล่งเรียนรู้ 1-2-3 และ http://www.isangate.com/word/tham.htm


วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ มีวัดในอำเภอขุขันธ์ จำนวน 13 วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ สมัยพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่ได้มีการตั้งอำเภอขุนหาญ และอำเภอปรางค์กู่ มีวัดในอำเภอขุขันธ์ จำนวน 13 วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ได้แก่ 
1. วัดบ้านจันลม  ตำบลลาวเดิม
2. วัดสำโรงตาเจ็น  ตำบลหัวเสือ
3. วัดบ้านเคียงทูล ตำบลสมอ  
4. วัดบ้านกอกหวาน  ตำบลสมอ  
5. วัดบ้านดอนเหลื่อม  ตำบลสมอ  
6. วัดระหาร    ตำบลสมอ
7. วัดบ้านละลม  ตำบลสะโน
8. วัดสะโน  ตำบลสะโน
9. วัดบ้านโคกเพ็ชร์  ตำบลใจดี 
10. วัดบ้านโคกโพน  ตำบลกันทรารมณ์
11. วัดบ้านแขว ตำบลห้วยเหนือ
12. วัดบ้านสะอาง ตำบลห้วยเหนือ
13. วัดบ้านบักดอง ตำบลบักดอง

ที่มาและเอกสารหลักฐานอ้างอิง : พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๘๒ เล่มที่ 56 ตอน 0ก วันที่ประกาศ 26 ตุลาคม 2482 หน้า 1334 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/1334.PDF 

รวมเอกสารหลักฐานพระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมาที่เกี่ยวข้องกับขุขันธ์ในอดีต
- พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ยุคที่ยังเป็นจังหวัดขุขันธ์) คลิก
- พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๗๘ (ยุคที่ยังเป็นจังหวัดขุขันธ์) คลิก
- พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๘๐ (ยุคที่ยังเป็นจังหวัดขุขันธ์) คลิก
- พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ยุคที่จังหวัดขุขันธ์ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดศรีสะเกษ) คลิก
- พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๘๓ (ยุคที่เป็นจังหวัดศรีสะเกษ) คลิก
ฯลฯ (รอเอกสารเผชิญสืบเพิ่มเติม...ครับ)

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย