ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ความเป็นมาของบรรพบุรุษเมืองขุขันธ์ 4 ชนเผ่า

           “ เมืองขุขันธ์ ” ในอดีตเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นทางผ่านของเส้นทางการสร้างปราสาทมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน (Funan) อาณาจักรเจนละ (Zhenla)และ อาณาจักรขอม (Khom) ในสมัยเมืองพระนครคือ นครวัด- นครธม เป็นเส้นทางมิตรภาพโบราณระหว่างสยามกับกัมพูชาที่เดินทางไปมาหาสู่กันจากดินแดนแห่งทะเลสาบ มายังภาคอีสานของประเทศไทยตลอดมา

            เมืองขุขันธ์ ในอดีต หรือพื้นที่ซึ่งเป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของจังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน มีบรรพบุรุษของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ร่วมกันก่อตั้งเป็นเมืองขุขันธ์ มีประวัติความเป็นมา และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ประกอบด้วย 4 ชนเผ่า ดังนี้


ชนเผ่ากูย หรือ กวย
            ชาวกูย  ชาว'''กูย''' หรือ '''กวย'''  เป็นชนเผ่าที่ชอบความเป็นอิสระ และมีพัฒนาการของชนเผ่าอยู่เสมอ ชาว'''กูย''' หรือ '''กวย'''ในจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนหนึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่อยู่กันมาแต่ดั้งเดิมในแถบนี้ และอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า อพยพมาจากเมืองลาวและกัมพูชา ได้มาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแถบนี้หลายแห่งกระจัดกระจายกันไป แต่ที่จังหวัดศรีสะเกษ  ส่วนหนึ่งเข้าใจว่ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเจียงอี (ภาษากูย "เจียง" แปลว่า ช้าง "อี" หรือ "เอ็ย" แปลว่าป่วย เจียงอี แปลว่า ช้างป่วย) 

           ชาวกูย หรือ กวย จะมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งอยู่ 3 อย่าง  พวกที่เชี่ยวชาญการจับจ้าง เรียก "กูยดำเร็ย" หรือ "กวยดำเร็ย" (ดำเร็ยภาษาเขมรแปลว่าช้าง)เช่น ชนเผ่ากูยในตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์(ในอดีต)  พวกที่เชี่ยวชาญในการถลุงเหล็กและตีเหล็ก เรียก ''กูยแดก''' หรือ ''กวยแดก" (แดก ภาษาเขมรแปลว่าเหล็ก) เช่น ชนเผ่ากูย หรือ กวยที่ตำบลตะเคียน อำเภอขุขันธ์ และตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ  และชนเผ่า''กูย'' หรือ ''กวย''ที่มีความชำนาญในการปั้นหม้อ เรียก ''กูยฉนัง'' หรือ ''กวยฉนัง" (ฉนัง  ภาษาเขมรแปลว่า หม้อ) เช่นชนเผ่า''กูย'' หรือ ''กวย''บ้านกระโพธิ์ช่างหม้อ ตำบลตะเคียน  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น

ชนเผ่ากูย หรือกวย จะเรียกตนเองว่า กูย หรือ กวย แปลว่า “คน หรือ มนุษย์” อาศัยอยู่กันหลายอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ  ประเพณีของเผ่ากูย หรือกวย ส่วนมากจะปรับตัวให้เข้าไปกับท้องถิ่นที่อยู่อาศัย แต่จะยังคงมีอยู่บ้าง เช่น การเซ่นบรรพบุรุษ  พิธีไหว้ศาลปะกำ หรือการเซ่นไหว้ผีปะกำ  การตั้งศาลผีบรรพบุรุษไว้ที่หิ้งหรือศาลฯลฯ

ชนเผ่าเยอ จริงๆแล้วก็คือ ชนเผ่ากูย หรือ กวย อีกกลุ่มหนึ่ง ที่มักจะได้ยินชนเผ่านี้พูดสร้อยต่อท้ายด้วยคำว่า “เยอ” เช่น จ็อว-เยอ (มาเด้อ)  หรือ “เยอๆ” หรือ “จ็อว-เยอ-นุ-เนียว-แซมซาย-หมู่ไฮ”(เชิญครับพ่อแม่พี่น้องพวกเรา)    ซึ่งก็คล้ายๆ ชาวไทยแถบจังหวัดระยอง และจันทบุรี ที่นิยมพูดสร้อยต่อท้ายว่า “ฮิ”  จึงทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์บางท่านได้นิยามคำว่า “เผ่าเยอ” ขึ้นมาเป็นอีกเผ่าหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ  จึงทำให้เกิดการเขียนประวัติศาสตร์เล่าขึ้นมาว่า พญากตะศิลา เป็นหัวหน้านำคนเผ่าเยอ อพยพคนมาจากเมืองอัตปือ แสนปาง มาตั้งอยู่ที่เมืองคง (อ.ราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษมี  ในปัจจุบัน) ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีความอุดมสมบูรณ์ ต่อมามีการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ตามที่ต่างๆ  ดังนั้น ถ้าเรายึดตามสำเนียงพูดที่ใกล้เคียงกันกับ"กูยเยอ" หรือ "กวยเยอ" ในอำเภอขุขันธ์ พบมีชาวเยอ อาศัยอยู่ในบางพื้นที่น้อยบ้างมากบ้าง เช่นที่ตำบลจะกง ตำบลกฤษณา  ตำบลหนองฉลอง ที่ หมู่ที่ 5 บ้านตรอย   ตำบลตาอุดที่บ้านโก และบ้านเดื่อ  และตำบลลมศักดิ์  อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน

ชนเผ่าลาว
ชนเผ่าลาวในจังหวัดศรีสะเกษ เชื่อว่าอพยพมาจากประเทศลาวในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2237 เกิดกบฏ ในนครเวียงจันทร์ ทำให้ชนเผ่าลาวแย่งอำนาจกันเอง  ฝ่ายหนึ่งต้องลี้ภัยลงมาทางใต้ที่นครจำปาศักดิ์แล้วตั้งต้นปกครองตนเองครอบคลุมพื้นที่ลงมาถึงลุ่มน้ำมูล และในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพมาสมทบกับตากะจะ เจ้าเมืองขุขันธ์ ไปตีเมืองเวียงจันทร์ได้กวาดต้อนชนเผ่าลาวมาด้วย
ชนเผ่าลาวมีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ  ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดตั้งแต่อำเภอวังหิน ขึ้นไป  สำหรับอำเภอขุขันธ์  พบอาศัยอยู่มากในพื้นที่ของตำบลโสน ตำบลห้วยเหนือ  และตำบลตาอุด  มีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายกันกับประเพณีชนเผ่าลาวของชาวอีสานทั่วไป

ชนเผ่าขอม
ตามประวัติ เชื่อว่าดินแดนที่ตั้งของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันเป็นที่อยู่ของขอมมาก่อน หรือนักวิชาการรุ่นหลังที่ยังขาดความเข้าใจ เรียกว่าเขมรถิ่นไทย หรือคนไทยเชื้อสายเขมรบ้าง  ถ้าหากจะเรียกให้ถูกต้อง ให้เรียกว่า ชนเผ่าขอม
            เมื่อ พ.ศ. 236 พระเจ้าอโศกมหาราช  ผู้ทรงปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้นได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น 9 คณะ  โดยคณะที่ 8 มี พระโสณะและพระอุตตระ เป็นหัวหน้าคณะมาเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้มาถึงอาณาจักรขอมโบราณ ซึ่งเรียกว่า อาณาจักรฟูนัน  มีอำนาจอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน  
            ชนเผ่าขอม พบอาศัยอยู่ในจังหวัดแถบอีสานใต้จำนวนมากอยู่ในเขตตอนใต้ของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย พบอาศัยปะปนกับชนเผ่าเขมรที่ถูกกวาดต้อนมาเมื่อปี พ.ศ. 2324 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ซึ่งทางกัมพูชาเกิดความขัดแย้งจนเกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นภายใน  พระเจ้าอยู่หัวแห่งรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปปราบ  การยกทัพไปปราบจลาจลที่กัมพูชาในครั้งนี้ได้มีบัญชาให้ทัพจากเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะร่วมยกทัพไปปราบด้วยในขณะที่กำลังทำการปราบปรามระงับศึกการจลาจลอยู่นั้น ได้รับแจ้งข่าวว่า ที่กรุงธนบุรี กำลังเกิดการจลาจลสร้างความไม่สงบขึ้นเช่นเดียวกัน ส่งผลให้การปราบจลาจลในกัมพูชา ยังไม่สำเร็จแต่ก็ต้องเสด็จยกทัพกลับ   ส่วนกองทัพจากเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะที่ได้ยกทัพไปช่วยปราบจลาจลในครั้งนี้  เมื่อยกทัพกลับ ได้กวาดต้อนเอาชาวเขมรจากกัมพูชา (ขะแมร์) มาอยู่ที่เมืองของตนเองด้วยหลายครอบครัว อาศัยอยู่ในหลายอำเภอ แทบทุกตำบล    
        ชนเผ่าขอมขุขันธ์ มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เช่นประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชนเผ่าขอมขุขันธ์มาแต่โบราณ  ซึ่งต่อมาได้วิวัฒน์มาเป็นงานบุญประเพณีที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปีของของอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ ในที่สุด


เรียบเรียงเนื้อหาโดย  ดร.ปริง  เพชรล้วน ล่ามภาษาเขมรกิติมศักดิ์ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และนายสุเพียร  คำวงศ์  รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ( 24 มีนาคม 2554 )


วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566

โขนเมืองขุขันธ์-จังหวัดขุขันธ์

        โขน เป็นศิลปะการแสดงที่โดดเด่นอีกประเภทหนึ่งของเมืองขุขันธ์   ที่มีลักษณะโดดเด่นไม่น้อยไปกว่าที่หัวเมืองอื่นๆของไทยในอดีต   การแสดงโขนของเมืองขุขันธ์ (ก่อน พ.ศ. 2453 เรียกว่า ยุคเมืองขุขันธ์ และระหว่าง พ.ศ. 2453 - 2481 เรียกว่า ยุคจังหวัดขุขันธ์ ) เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2426   กล่าวถึงคณะโขนของเมืองขุขันธ์  มีอยู่ ๒ คณะ  คือ

        1.โขนคณะของพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน
(ท้าวปาน หรือปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 9 มีบ้านพักอยู่ในหมู่บ้านเก่า หรือบ้านคุ้มในวัง (ซรก-กนง-เวี๊ยง) พักอยู่คุ้มเดียวกับพระยาขุขันธ์ฯ อยู่ด้านทิศตะวันตกของวัดบกจันทร์นครในปัจจุบัน   โขนคณะนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2426 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากการที่พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนนครลำดวน(ปัญญา ขุขันธิน) ได้นำครูโขนมาจากกรุงเทพฯและครูโขนจากกัมพูชาเข้ามาถ่ายทอดและฝึกหัดการแสดง เมื่อปี พ.ศ. 2426-2447 นักแสดงใช้ผู้ชายล้วน โดยมีบทพากย์ บทร้องเป็นภาษาเขมร และใช้ภาษาเขมรในการแสดงทั้งเรื่อง เนื่องจากเมืองขุขันธ์ในขณะนั้น มีกลุ่มชาติพันธุ์เขมรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในเนื้อเรื่องมากขึ้น


        2.โขนคณะของพระยาบำรุงบุระประจันต์  จางวาง หรือจันดี กาญจนเสริม เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2450-2452 มีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านห้วย  ทางทิศใต้ของวัดไทยเทพนิมิตรในปัจจุบัน  พักอยู่คุ้มเดียวกับพระยาบำรุงฯ มีคุณยายบัวแก้ว กาญจนเสริม(บุตรสาวของพระยาบำรุงฯ) หัวหน้าคณะเป็นผู้พากย์ และร้อง  รูปแบบการแสดงทั้งหมดมีลักษณะเช่นเดียวกับคณะของพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 9 แตกต่างกันที่ใช้ภาษาไทยในการแสดง และสืบทอดมาถึงคุณยายบัวแก้ว กาญจนเสริม พ.ศ. 2452-ยุคครูบรรณ มากนวล 

        โขนทั้งสองคณะจะแสดงแต่เรื่องรามเกียรต์ โดยตัดเอาบางตอนในเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นบทแสดง    ตัวละครทุกตัวจะแต่งด้วยเครื่องประดับ  ที่มีเพชร นิล จินดา  ประดับแพรวพราวไปทั้งตัว  มีหัวโขนตามลักษณะของตัวละครแต่ละตัว  มีเครื่องดนตรี ประกอบเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่  ส่วนฉากเป็นผ้าพื้นธรรมดาไม่มีลวดลาย  โรงแสดงปลูกเป็นโรงยาวยกพื้นสูงประมาณครึ่งเมตร  ปูด้วยกระดาน กั้นห้องเฉพาะห้องแต่ตัว หลังคามุงด้วยหญ้าคา   จะแสดงในโอกาสวันสำคัญต่างๆ  เช่น  เทศกาลปีใหม่ หรือมีงานจ้างไปแสดงในงานโกนจุกของลูกผู้มีอันจะกิน ส่วนมากจะแสดงในเวลากลางวัน มีครั้งหนึ่ง นายพุฒเทศ  กาญจนเสริม  สมัครผู้แทนราษฏรได้จ้างโขนของคุณยายบัวแก้ว ไปแสดงเพื่อหาเสียงบริเวณหนองปวงตึก   มีผู้มาชมจำนวนมาก  จูงลูกจูงหลานมาดู  คนที่อยู่ไกลก็จะขี่ม้ามาดู บ้างก็ขับเกวียน บรรทุกลูกหลานมาเต็มเล่มเกวียน ฝุ่นคลุ้งไปทั้งทุ่ง      ผลการหาเสียงในครั้งนั้น  ทำให้ นายพุฒเทศ   กาญจนเสริม  ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฏรคนแรกของขุขันธ์ และเป็นผู้แทนคนแรกของระบอบประชาธิปไตย  ซึ่งท่านเป็นคนขุขันธ์โดยกำเนิด เป็นบุตรชายคนที่สองของพระยาบำรุงฯซึ่งเกิดจากภรรยาคนที่สองของท่าน  ถือเป็นเกียรติประวัติอันดีและเป็นที่ยินดีของชาวขุขันธ์ยิ่งนัก ส่วนผู้ที่มาดูโขนที่เป็นผู้หญิงก็จะแต่งกายด้วยผ้าถุงไหมสวยงามมาก  ประชันโฉมกัน  ห่มผ้าสะใบหรือตุ้มอกด้วยผ้าสะใบ  ใส่ตุ้มหูเงิน  ตุ้มหูทองแพรวพราว  มีกริยามารยาทที่เรียบร้อยสวยงาม  นั่งดูด้วยอาการสงบเสงี่ยม  เมื่อพอใจตัวละครก็จะร้องชมและปรบมือ  ผู้ชายก็จะนุ่งผ้าโสร่งไหมและผ้าขาวม้าไหม  ตามฐานะของตน



        เมื่อปี พ.ศ.  2511 -  2515  สืบเนื่องมาจากผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  ขณะนั้น คือ นายกำเกิง สุรการ ได้ให้ทางอำเภอขุขันธ์  ฝึกซ้อมการแสดงโขนเพื่อใช้แสดงในงานกาชาดประจำปีของจังหวัดศรีสะเกษ  และสืบเนื่องจากการที่นายบุญเลิศ จันทร อดีตครูใหญ่ในโรงเรียนขุขันธ์วิทยา(ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว) ได้ฝึกซ้อมนักเล่นโขน ตอนท้าวมาลีราชว่าความ เล่นรอบกองไฟในงานของโรงเรียนขุขันธ์วิทยา และนายศิริ ศิลาวัฒน์  อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านหัวเสือ(ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว) ที่ได้ฝึกซ้อมโขน ตอน พระลักษมณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ และสังหารกุมภกรรณ โดยใช้เครื่องแต่งกายเท่าที่จะหาได้ไม่มีหัวโขนแต่ใช้หน้ากากปิดหน้าแทนนั้น  ทำให้ นายสม  ทัศศรี  นายอำเภอขุขันธ์   ได้รื้อฟื้นโขนขึ้น  โดยมอบหมายให้ อาจารย์ศิริ  ศิลาวัฒน์  ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหัวเสือ (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว) ศึกษาธิการอำเภอ  คณะครูโรงเรียนขุขันธ์ และครูประชาบาลอำเภอขุขันธ์ ได้ฝึกซ้อมและนำไปแสดงในงานกาชาดประจำปีของจังหวัดศรีสะเกษ  โดยให้ นายศิริ ศิลาวัฒน์ จัดทำบทให้ผู้ฝึกซ้อม จำนวน 4 ตอน คือ
         1. ตอนกำเนิด พาลี สุครีพ หนุมาน
  
       2. ตอนทรพีฆ่าพ่อ และพาลีฆ่าทรพี
         3. ตอนหนุมานส่งข่าวนางสีดา และเผากรุงลงกา 
         4. ตอนพระลักษมณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ และสังหารกุมภกรรณ
         บรรเลงประกอบการแสดงโดยวงปี่พาทย์บ้านหัวเสือ ได้รับการชื่นชมอย่างดียิ่ง มีผู้ชมสนใจไปชมการแสดงโขนของขุขันธ์แน่นขนัดทุกๆคืน ไปแสดงติดต่อกัน 3 ปี จึงเลิกไป เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง





ลักษณะการฝึกหัด
          มีการฝึกหัดเบื้องต้น ได้แก่ ตบเข่า ถองสะเอว ดัดมือ เต้นเสา ตีลังกา และการฝึกเข้าเรื่อง แต่ไม่มีการฝึกแม่ท่าหรือรำเพลงช้า เพลงเร็วเหมือนโขนกรุงเทพฯ

ลักษณะการแสดง
          ลักษณะการแสดงของโขนขุขันธ์ เป็นการแสดงที่ผสมผสานระหว่างการแสดงโขนกรุงเทพฯและโขนกัมพูชา โดยได้ปรับปรุงวิธีการแสดงให้เหมาะสมกับสังคมชาวขุขันธ์ โขนขุขันธ์ไม่มีบทพากษ์ มีแต่การเจรจาซึ่งเหมือนกับการพูดคล้องจองกัน ในการแสดงในยุคแรกใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมาใช้ทั้งชายและหญิงสามารถแสดงได้ทั้งตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง บทที่ใช้มีลักษณะเป็นกลอนเลียนแบบกลอนบทละคร
ลักษณะการรบระหว่างยักษ์และลิง
           จะแตกต่างจากโขนกรุงเทพฯ คือ ใช้ท่ากระบี่กระบอง หรือ ท่าฟันดาบในการรบ ส่วนการขึ้นลอยจะมีการใช้ท่าขึ้นลอยหลังเพียงลอยเดียว
ลักษณะเครื่องแต่งกาย
           เครื่องแต่งกายจะแต่งยืนเครื่อง แต่ไม่วิจิตรงดงามอย่างโขนกรุงเทพฯ ลักษณะการปักจะใช้เลื่อมปักเป็นลวดลาย


วงดนตรีที่ใช้บรรเลง
           ใช้วงปี่พาทย์อีสานใต้ เพลงที่ใช้ในการแสดงมีลักษณะแปร่งหรือเพี้ยนกว่าเพลงโขนกรุงเทพฯ ลักษณะเพลงส่วนใหญ่จะออกไปทางเขมร แต่มีลูกตกบางเพลงอยู่ในทำนองเพลงไทย

            หลังจากปี พ.ศ. 2515  โขนขุขันธ์  ไม่ถูกนำมาแสดงให้ลูกหลานได้ชมอีกเลย  คงเหลือแต่ความทรงจำของผู้ที่เคยร่วมแสดงและผู้ชมที่มีอายุมากแล้ว  ส่วนเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย หัวโขนและหัวครู เครื่องดนตรีปี่พาทย์ก็กระจัดกระจายหายไปหมด   และยังแอบรออนุชนรุ่นหลังได้สืบสานให้คงอยู่คู่เมืองขุขันธ์ตลอดไป  ทั้งนี้ ได้มีนักเรียน นักศึกษาที่สนใจ จากกรมศิลปากร,วิทยาลัยนาฎศิลป์ต่างๆ มาขอเรียนท่าของตัวละครบางตัว เช่น ลิง,หณุมาณ   อยู่บ่อยๆ

           ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ร่วมกับโรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูลได้ทำการรื้อฟื้นการแสดงโขนขุขันธ์ขึ้นอีกครั้ง โดยใช้นักเรียนในชุมชนุมโขนขุขันธ์อนุบาลศรีประชานุกูล เป้นผู้แสดง มีคณะครู/บุคลากรในโรงเรียน และคุณครูผู้สอนที่เคยแสดงโขนเมื่อปี พ.ศ. 2511-2515 เป็นผู้ฝึกซ้อมร่วมด้วย เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ และสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์หนึ่งที่โดดเด่นสืบไป

เรื่องย่อรามเกียรติ์ ชุดยกรบ
ตอนหนุมานกล่องดวงใจและหย่าทัพ 
           ทศกัณฐ์ยกทัพรบกับพระรามแต่ทำอย่างไรก็ตามทศกัณฐ์ก็ไม่ตายจึงทูลว่าทศกัณฐ์ถอดดวงใจฝากไว้ที่ฤาษีโคบุตร หนุมานจึงอาสาไปนำกล่องดวงใจโดยให้องคตไปด้วยและทำทีขอให้ฤาษีโคบุตรช่วยพาไปถวายตัวจึงรับหนุมานไว้เป็นลูกบุญธรรม
        ฉากที่ 1 ทศกัณฐ์ว่าราชการ  มีความสงสัยว่าเหตุไฉนหนุมานถึงไม่เคยไหว้ตน หนุมานตอบว่าตนเองเกิดมาจากพระพาย การที่จะไหว้ใครต้องไหว้พระพายก่อน ซึ่งในกรุงลงกาไม่มีลมจึงไม่เคยได้ไหว้ ทศกัณฐ์ได้ถามถึงเรื่องการยกทัพไปรบกับพระรามหนุมานได้โอกาสที่จะแสดงตนว่ามีความจงรักภักดี จึงออกอุบายจะอาสาเป็นทัพหน้าไปตีเมืองเมืองพระราม ส่วนทศกัณฐ์ให้อยู่เป็นทับหลัง
  ฉากที่ 2 ตรวจพล มโหธรเตรียมกองทัพเพื่อรบกับฝ่ายพระราม(มโหธรเตรียมพล) หนุมานกับทศกัณฐ์ตรวจพล ทศกัณฐ์ชวนหนุมานออกรบ
     ฉากที่ 3 ยกรบ หนุมานอาสาล่วงหน้าไปก่อน แต่ไปแอบซุ่มกองทัพไว้ทางอื่นแล้วแอบไปเอากล่องดวงใจของทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์รบกับพระรามพลาดพลั้งเสียท่าให้กับพระราม โดนศรพระรามเข้าข้างชายโครงแต่ก็ไม่ตาย หนุมานปรากฏตัวขึ้นพร้อมกล่องดวงใจของทศกัณฐ์ประกาศจะมอบกล่องดวงใจให้กับพระราม สุดแท้แต่จะพิพากษาตัดสินชีวิตของทศกัณฐ์ เมื่อทศกัณฐ์เห็นกล่องดวงใจของตน จึงรู้ว่าหลงกลหนุมาน เกิดความโมโหเกรี้ยวกราดเป็นอย่างมากที่อุตส่าห์ยกเมืองยกสมบัติให้ แต่ต้องมาถูกหักหลัง จึงอ้อนวอนกล่องดวงใจคืน แต่หนุมานไม่ยอมให้ แถมด่าทอว่าโง่ที่หลงกลตัวเอง ให้มอบนางสีดาคืนแก่พระราม แล้วตัวเองจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ พระรามขอให้ทศกัณฐ์ทบทวนให้ดี ให้ยกทัพกลับ และมอบนางสีดากลับคืนมา แล้วจะไว้ชีวิต ทศกัณฐ์โกรธหนุมานมาก จึงทำการหย่าทัพ และยกทัพกลับไปแล้วจะขอมารบกันใหม่

ขอบพระคุณผู้เขียน :
อาจารย์บรรณ  มากนวล,2547. 
นายขวัญชัย  ไชยโพธิ์  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์,2562.
ขอบพระคุณภาพประกอบ : นายณฐกร ประเสริฐ รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์,2563.
ผู้ตรวจ/ทาน/เรียบเรียง : นายสุเพียร  คำวงศ์,2556-2563.

สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ต้อนรับอาจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษาและคณะ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

           เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2561 เวลา10.00 - 12.00 น. สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ได้มีโอกาสต้อนรับอาจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษาและคณะจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการทำวิจัยและจัดทำข้อมูลโขนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ #โขนเมืองขุขันธ์ในอดีตเมื่อกว่า130 ปีที่ผ่านมา โดยมีนายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


 





Reference: 

-โขนเมืองขุขันธ์ http://www.mueangkhukhanculturalcouncil.org/2013/09/blog-post_9503.html
- สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.tkri.tu.ac.th/

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566

คำว่า “โฎนตา” มีที่มาจากไหนหนอ ?

คําว่า “โฎนตา” มีที่มาจากไหนหนอ ?
            ทราบมาว่าเมื่อหลายปีก่อนหลายท่านเคยอยากทราบที่มาของคำนี้ และหลายท่านก็เคยถกเถียงกันอยู่   แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว คำนี้มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์​ และภาษาเขมรที่กัมพูชา คือคำว่า​​
อ่านว่า /do:n-ta: โดน-ตา / เมื่อถอดคำเทียบกับภาษาไทย  ได้ดังนี้  

ก็คือ พยัญชนะ ฎ ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา เป็นพยัญชนะอโฆษะ(เสียงเบา ไม่ก้อง) เมื่อเป็นพยัญชนะ ต้นออกเสียง /d
ɑː  ดอ / นั่นเอง
ก็คือ สระ -ู ( อู )  ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า ʔou  โอ / เมื่อถูกนำหน้าด้วยพยัญชนะประเภทอโฆษะ
ก็คือ พยัญชนะ น  ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /nua นัว /
ก็คือ พยัญชนะ ต ใน ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /tɑː ตอ / 

ก็คือ สระ -า (อา) ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /ʔ อา /
        จากที่ได้กล่าวอธิบายมาแล้วข้างต้น เมื่อถอดคำเพื่อเขียนเป็นภาษาไทยให้ตรงกับรากศัพท์เดิมที่ใกล้เคียงที่สุด ก็จะได้คำว่า “โฎนตา ” นั่นเอง

คำว่า “โฎนตา” มีความหมายว่าอย่างไร ?

อ่านว่า  /do:n-ta: โดน-ตา / ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ และในพจนานุกรมภาษาเขมรของสมเด็จพระสังฆราช ชวน ญาต พ.ศ. 2512 (ค.ศ.1967) หน้าที่ 309 ส่วนด้านขวาบรรทัดที่ 4 เขียนไว้ว่า
យាយ​និង​តា ។ ពួក​បុព្វបុរស ក៏​ហៅ​ថា ដូន​តា បាន​ដែរ : សែន​ដូន​តា, សំពះ​ដូន​តា (ម. ព. បុព្វបុរស ផង) ។ រ. ស. ជា ព្រះ​បិតរ (បិ-ដ) ។ แปลอธิบายความได้ว่า คำว่า โฎนตา เป็นคำนาม แปลว่า ยายกับตา หรือ พวกบรรพบุรุษ ก็เรียกว่า โฎนตา ได้เช่นกัน เช่น คำว่า​
อ่านว่า / แซน-โดน-ตา /​
แปลว่า เซ่นไหว้บรรพบุรุษ
อ่านว่า/ ซ็อมเปียะฮฺ-โดน-ตา /
แปลว่า ไหว้บรรพบุรุษ หรือไหว้ปู่ย่าตายาย นั่นเอง
อ่านว่า / นิว-เปล-บน-ปรฺเป็ยนี-แซน-โดน-ตา-เก-เทวอ-บน-อุตึฮฺ-พ็อล-โอย-โดน-ตา / แปลว่า ในช่วงเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตาสารทแห่งความกตัญญูเดือนสิบ จันทรคติ เขามักนิยมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ โฎนตา นั่นเอง
**************************************
แล้วใครผิดใครถูก ระหว่างคนที่ใช้คำว่า "โดนตา" กับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา"
**************************************
   >>ขอตอบว่า ตอบว่า ถูกทั้งคู่ ครับ  แต่ว่า...
        คนที่ใช้คำว่า "โดนตา" ก็คือเขาเขียนตามคำที่ได้ยินจากคนท้องถิ่นเขมรพูด นั่นคือ สัมผัสได้แค่เพียงหูได้ยินเสียงว่า /โดน-ตา/ ก็เลยเขียนตามที่ได้ยินนั้น  แต่ถ้าจะบัญญัติขึ้นมาเป็นศัพท์ในพจนานุกรมไทย...ก็ต้องเขียนให้ครบเพราะงานนี้ไม่ได้โดนแค่ตา แต่ยังโดนถึงยายด้วย...

        สำหรับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา" ก็คือผู้รู้ถึงรากเหง้าที่มาของคำศัพท์ หรือกล่าวว่า น่าจะรู้ลึกกว่า นั่นเอง ครับ 

        และขอฝากว่า...ถ้าท่านคิดว่า แซนโฎนตา เป็นประเพณีเขมร หรือของชนเผ่าเขมรอีสานใต้ของเรา ก็ต้องใช้  ฎ   คำว่า  โฎนตา ในภาษาเขมรใช้ตัว  ฎ  เขียน ไม่ได้ใช้ตัว  ด 

        เพราะคำว่า “โฎนตา แปลว่า ปู่และย่า หรือ ตาและยาย  และยังหมายถึง  บรรพบุรุษ อีกด้วย

        ดังนั้น ประเพณีแซนโฎนตา   คือประเพณีที่มีการทำบุญอุทิศและเซ่นไหว้ให้ปู่ย่า ตายาย  และบรรพบุรุษ  ผู้ล่วงลับไปแล้ว (แม้แต่คำว่า เซ่น ก็เป็นคำภาษาเขมร คือมาจากคำว่า แซน  นั่นเอง)  คำศัพท์ในภาษาไทย มิได้มีเฉพาะเพียงคำไทยชาติเดียว  มีคำของชาติอื่นปะปนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะภาษาเขมร  ฉะนั้น  "แซนโฎนตาเขียนตามภาษาเดิมถูกต้องแล้ว  จะเขียน แซนโดนตา  ให้ตาตัวเองแตกทำไม   มันมาโดนตา ก็ตาแตกนะซิ  เฮ่อ  น่าสงสาร...555... 

ตัวอย่างหนังสือที่มีคำอธิบายคำว่า แซนโฎนตา พบจำหน่ายในร้านหนังสือเขมร
  

หมายเหตุ  เอกสารที่มีข้อความภาษาเขมรที่นำเอามาขึ้นในเวปนี้ เพราะต้องการมาประกอบหลักฐานที่มาของคำว่า "โฎนตา" เท่านั้นและมีความเห็นว่า บนโลกใบนี้ สำหรับคำว่า วัฒนธรรมประเพณี คงไม่มีพรมแดนขวางกั้นเหมือนอาณาเขตประเทศ นะครับ

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

"พระแก้วเนรมิต" องค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์

  "พระแก้วเนรมิต" องค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดลำภู เรียกเป็นภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์ว่า ព្រះតាលំពូ /เปรียะฮฺ-ตา-ลมปู/ หรือ ព្រះដំរីក្រាប /เปรียะฮฺ-ด็อม-เร็ย-กราบ/ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จวบจนถึงปัจจุบัน องค์พระสร้างมาจาก  สำริด หรือทองสำริด (bronze) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (มาระวิชัย) หรือ ชนะมาร หรือ มารสะดุ้ง ภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์ เรียกว่า ព្រះពុទ្អរូបផ្ចាញ់មារ เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ​มีประวัติเล่ามาว่า
  เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้ทองด้วง (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาจักรี และต่อมาเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งรัตนโกสินทร์) และบุญมา (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาสุรสีห์ และต่อมา ร.๑ โปรดให้เสด็จเถลิงพระราช มนเฑียรที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ยกทัพไปปราบศึกกบฎที่เวียงจันทร์ โดยทรงมีบัญชาให้กองทัพจากเมืองขุขันธ์ร่วมทำศึกในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนำทัพโดยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตาสุ หรือตากะจะ) และน้องชายคือ หลวงปราบ(เชียงขันธ์)


            เมื่อชนะศึกได้ยกทัพกลับ กองทัพส่วนกลางได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับสู่กรุงธนบุรี ส่วนกองทัพเมืองขุขันธ์ ได้อัญเชิญพระแก้วเนรมิต และพญาครุฑมาประดิษฐานไว้ที่เมืองขุขันธ์
   
คาถาบูชาพระแก้วเนรมิต
กล่าวนะโม 3 จบ แล้วต่อด้วยพระคาถาว่า

อิมัสมิง ลำภูวาเส  ปติฏฐิตัง
สิริสะเกสา  ฐิรัฏเฐ มหาชเนหิปูชิตัง
รัตนนิมิตนามัง  พุทธรูปัง ครุฑพาหนะนัง
อหังวันทามิ สัพพะทา
นะมะการานุภาเวนะ
สัพพะโสตถี ภวันตุเม ฯ
 
        
           ปัจจุบัน องค์พระแก้วเนรมิต ประดิษฐานไว้ ณ วัดลำภู(รัมพนิวาส) หมู่ที่ ๔ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (วัดลำภูสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๓ ถึงปัจุบัน พ.ศ. ๒๕๖๓ มีอายุ ๔๓๓ ปี)
  พระแก้วเนรมิต เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์และแสดงอภินิหารมากมาย  นอกจาก พระแก้วเนรมิตแล้วยังมีสิ่งศักดิสิทธิ์อยู่คู่องค์พระแก้วเนรมิต คือ องค์พญาครุฑ ซึ่งองค์พระศักดิ์สิทธิ์สร้างมาจากที่ใด และใครเป็นผู้สร้าง ยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่า อัญเชิญมาจากเมืองลาว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช  พร้อมกันกับ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) และองค์พระบาง     ซึ่งได้มาหยุดพำนักประดิษฐานที่เมืองขุขันธ์  ตามตำนานกล่าวว่า ได้มีการสมโภชน์องค์พระ ณ เมืองขุขันธ์  ๗ วัน ๗ คืน
            สำหรับพุทธานุภาพขององค์พระแก้วเนรมิต และพระครุฑ ที่เลื่องลือมานาน ก็คือ การดื่มน้ำสาบานแสดงความบริสุทธิ์  ผู้ที่ไม่สุจริตกระทำผิดจริงจะมีอันเป็นไปทุกราย บางรายถึงขั้นได้ว่ายบกก่อนเข้าวัด จนหน้าอกถลอกปอกเปิก  และบางรายรู้ด้วยตนเองว่าเป็นฝ่ายผิด ก็ยอมรับผิด และไม่กล้าที่จะดื่มน้ำสาบาน
           ความศรัทธาและความนิยมในองค์พระ เป็นที่นิยมของข้าราชการ  ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง พ่อค้า  คหบดี และประชาชนในจังหวัดและประเทศใกล้ไกลที่ได้ยินได้ทราบกิตติศัพท์ ตลอดจนประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  เมื่อได้มากราบสักการะบูชาแล้วจักมีชัยชนะ ประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองตลอดไป


            นอกจากนี้ ที่บริเวณรอบวัดยังมีต้นมะขามตาไกรที่พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ซึ่งชื่อเดิมของท่านคือชื่อว่า ตาสุ  แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า តាកញ្ចា័ស /ตากัญจะฮฺ /เนื่องจากท่านเป็นนักรบรูปร่างสูงใหญ่ ) ท่านเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นผู้ปลูก  และด้านข้างต้นมะขามตาไกร ยังมีศาลปู่ตาพระยาไกรที่ชาวบ้านปลูกสร้างเพื่อบูชาต่อดวงวิญญาณของท่านมาถึงทุกวันนี้  เชื่อว่าเป็นต้นมะขามศักดิ์สิทธิ์จะดลบันดาลผู้มากราบไหว้ขอพร ประสบแต่ความสุขความเจริญ ชาวบ้านเรียกว่า ដើមអម្ពឹលតាក្រៃ /เดิม*-อ็อม-ปึล-ตา-กรัย/  และบริเวณด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถวัดลำภู ยังมีเสาหลักเมืองเก่าหลักแรกของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่สมัยขอมโบราณ ทำมาจากไม้กันเกรา ถือเป็นไม้ที่มีความศักดิสิทธิ์ ซึ่งในสมัยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตาสุ หรือตากะจะ) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี​ ប្រក់ពល /ปร็อก-ป็วล*/ โดยเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ของวัดลำภู คือราชครูบัว เป็นพระอาจารย์ของเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกนั่นเอง ซึ่งพิธีปร็อกป็วล นี้ เป็นพิธีเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ไพร่พลให้เกิดความฮึกเหิม พร้อมที่จะออกไปร่วมรบและไปอัญเชิญองค์พระแก้วมรกต พระบางและองค์พระแก้วเนรมิตมาจากเมืองลาว และนอกจากนี้ยังมีองค์พระธาตุเจดีย์เก่าแก่ จำนวน ๒ องค์ (ซึ่งสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๑๑๒ - ๒๑๒๗ รัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช กรุงศรีอยุธยา เสียแก่ พระเจ้าบุเรงนอง ราชวงศ์ตองอู แห่งกรุงหงสาวดี เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี  ดังนั้น  เมืองขุขันธ์ ในขณะนั้นจึงมีสถานะเป็นรัฐอิสระ เป็นระยะเวลา ๑๕ ปีด้วย) ที่เป็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่ยุคขอมโบราณมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจได้แวะเวียนมาสักการะ และเยี่ยมชมอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566

ข้าหลวงประจำเมืองจากส่วนกลางมากำกับดูแลเมืองขุขันธ์

           ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเมืองขุขันธ์ในอดีต  เป็นเมืองใหญ่และมีความสำคัญในภาคอีสานที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก  อีกทั้งยังมีเมืองที่ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์อีกหลายเมือง

           ต่อมาในปี พ.ศ. 2428  -  ปี พ.ศ. 2450 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นยุคสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  อันมีผลต่อความมั่นคงของประเทศ  สมัยนั้น การจัดการปกครองของประเทศไทย  ตามหัวเมืองต่าง ๆ  จะมีตำแหน่ง   "เจ้าเมือง"  ปกครองหรือผู้ว่าราชการเมืองปกครองแล้วทางราชการส่วนกลางยังไม่ไว้ใจในความมั่นคง  รัชกาลที่ 5 จึงทรงโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองใหญ่และมีความสำคัญในแต่ละภูมิภาค จากส่วนกลางมากำกับดูแลเมืองสำคัญและเมืองบริวาร อีกชั้นหนึ่งด้วย  สำหรับเมืองขุขันธ์ สมัยนั้นมีข้าหลวงประจำบริเวณขุขันธ์ (มิใช่ ตำแหน่งเจ้าเมือง หรือตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง) คอยดูแลกำกับการปกครองของเจ้าเมืองขุขันธ์ และเมืองบริวาร รายนามตามลำดับดังนี้ 
ลำดับที่นาม - บรรดาศักดิ์ -ตำแหน่งข้าหลวง
กำกับและตรวจราชการเมืองขุขันธ์
พ.ศ.
1หลวงเสนีย์พิทักษ์ - หลวงนเรน2428-2430
2หลวงเสนีย์พิทักษ์2430-2431
3หลวงครบุรี2431-2433
4หลวงศรีพิทักษ์ ( หว่าง )2433-2435
5หลวงเทพนรินทร์ ( วัน )2435-2436
6พระยาบำรุงบุระประจันต์ จางวาง ( จันดี หรือ จันดี กาญจนเสริม )2436-2450
หมายเหตุ  
-  ปลายปี พ.ศ.  2450  ย้ายเฉพาะศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์ ไปตั้งที่อำเภอกลางศีร์ษะเกษ  แต่ใช้ชื่อเดิมคือ  ศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์
- ยกเลิกระบบการปกครองแบบบริเวณ  ทำให้ตำแหน่งข้าหลวงกำกับบริเวณสิ้นสุดในปี  พ.ศ.  2450 พระยาบำรุงบุรประจันต์จางวาง ( จันดี กาญจนเสริม )ได้รับโปรดเกล้า ฯ  ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์คนที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ร.3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพจากกรุงเทพฯ ไปปราบปรามความ วุ่นวายในกรุงกัมพูชา

         ในปี พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพจากกรุงเทพฯ ไปปราบปรามความ วุ่นวายในกรุงกัมพูชา เนื่องจากพระองค์อิ่มซึ่งมีตำแหน่งเป็นพระศรีไชยเชษฐามหา อุปราชได้อพยพครอบครัวเมืองพระตะบองไปเข้าด้วยเวียดนาม ดังปรากฏความใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชาว่า “ฝ่ายสมเด็จพระศรีไชยเชษฐา ซึ่งประทับอยู่ที่เมืองพระตะบองนั้น ครั้นถึง ณ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุญ เอกศก ศักราช 1201 (พ.ศ. 2382) ก็ทรงให้จับตัวพระยา ปลัดรส กับกรมการเมืองพระตะบองบางคนได้แล้ว พระองค์จึงทรงพาพระมารดาแลพระแม่นางพร้อมด้วยบุตรีบุตราเสด็จออกจากเมืองพระตะบองมาเมืองพนมเปญ องเลิ้งกันจึงให้คุมพระองค์แลครอบครัวของพระองค์ส่งไปเมืองญวน....

        เวลานั้นประเทศกัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองด้วยเวียดนามเข้ามาแทรกแซง และพยายามยึดครองกัมพูชาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม ขุนนางเวียดนามชื่อ องเลิ้งกัน ผู้รักษาเมืองพนมเปญ บังคับทำความเดือดร้อนต่าง ๆ ให้กับขุนนางและ ประชาชนชาวเขมรเป็นอันมาก ทั้งบังคับให้แต่งกายอย่างชาวเวียดนามและเปลี่ยนชื่อขุนนางเขมรเป็นภาษาเวียดนาม ทำลายวัดวาอารามรวมทั้งคัมภีร์ทางพระพุทธ ศาสนาเสียหายเป็นจำนวนมาก 

รูปหล่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ที่พระพุฒาจารย์(มา) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสหล่อขึ้น
ประดิษฐานไว้ที่เก๋งข้างพระปรางค์ เมื่อ พ.ศ. 2441
ภาพจากหนังสือ ลำดับวงศ์สกุลสิงหเสนี พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2481 

        เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพออกมากรุงกัมพูชาครั้งนี้ต้องทำสงครามกับเวียดนามเป็นเวลานานหลายปี ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ จนในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2385 เจ้าพระยาบดินทรเดชาและพระองค์ด้วง จึงมาประทับอยู่ที่เมืองพนมเปญ   เวลานั้น เจ้าพระยาบดินทร์เดชาเห็นความทรุดโทรมของวัดวาอารามต่างๆ ภายในเมืองพนมเปญ ที่เสียหายระหว่างสงครามจึงมีใจศรัทธาบูรณะวัดพระพุทธโฆสาจารย์ในเมืองพนมเปญ พร้อมทั้งได้จารึกเรื่องราวของการบูรณะวัดพระพุทธโฆสาจารย์ เมืองพนมเปญไว้เป็น ภาษาและอักษรไทยอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง : 
ดำรงวิชาการ. (2023). Su.ac.th. http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/68_11.pdf
ขอบคุณภาพประกอบจาก 
ศานติ ภักดีคำ, & Bass. (2023, February 10). เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กับบทบาทสร้างเมืองใหม่ในกัมพูชา. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_43224

วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566

วาระการประชุมของสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

 เตรียมประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม (เม.ย.2564)

 วาระการประชุม ครั้งที่ 1/2564 (1 มิ.ย.2564)

 วาระการประชุม ครั้งที่ 2/2564 (17 ก.ค.2564)

 วาระการประชุม ครั้งที่ 1/2566 (14 ส.ค.2566)

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หลวงศุภกิจวิเลขการ (เชย) อดีตปลัดจังหวัดขุขันธ์ (พ.ศ. 2456 -2459) มณฑลอุบลราชธานี , พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย : นักปกครองสองยุค

          กล่าวชื่อ “เจ้าคุณสุนทรพิพิธ” ผู้คนในแวดวงนักปกครอง ที่กระทรวงมหาดไทยรุ่นเก่าจะรู้จักทั้งชื่อเสียงและเกียรติคุณเป็นอย่างดี ท่านเจ้าคุณสุนทรท่านนี้เป็นพระยาและเจ้าเมืองตั้งแต่ยังหนุ่มมาก อายุเพียง 30 เท่านั้นเอง   นั่นคือในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ท่านยังอยู่ในราชการต่อมา จนได้ตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการประจำเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย และเมื่อลงเล่นการเมืองก็ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎร ต่อมาก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พระยาสุนทรพิพิธ
ขอบคุณที่มาภาพ : สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th. https://pridi.or.th/th/content/2022/10/1277
          พระยาสุนทรพิพิธ เป็นคนเมืองธนบุรีนี่เอง บิดาชื่อ แพ และมารดาชื่อ หุ่น ท่านเกิดที่บ้าน คลองบางสะแก ตำบลตลาดพลู ฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ปี 2434 มีชื่อเดิมว่า เชย สกุล มัฆวิบูลย์ ถึงวัยเรียนจึงได้เริ่มเรียนที่วัดบางสะแกนอก จากนั้นจึงข้ามฝั่งแม่น้ำมาเรียนที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข แล้วย้ายข้ามกลับไปศึกษาต่อที่วัดนวลนรดิศจนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 แล้วจึงได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ได้เข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เรียนจบได้ประกาศนียบัตรวิชารัฏฐประศาสน์ ขณะที่มีอายุได้ 18 ปี จากนั้นจึงได้เริ่มทำงานไปฝึกหัดราชการที่อำเภอเมืองสงขลา ท่านคงทำงานดี เมื่อนายย้ายไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอีสาน นายจึงขอตัวไปทำงานด้วย และได้ตำแหน่งเป็นเลขานุการมณฑลตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี สำหรับบรรดาศักดิ์นั้น ในปีถัดมาท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนศุภกิจวิเลขการ อีกสองปีต่อมาคือปี 2456 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงในนามเดิม และได้ตำแหน่งเป็นปลัดจังหวัดขุขันธ์  ตอนนั้นอายุได้ 22 ปี ได้สมรสกับ นางสาวประยูร เศวตเลข 
          ปี พ.ศ. 2459  เป็นปีเดียวกันนี้  เมื่อนามเมืองขุขันธ์  ได้เปลี่ยนเป็น  “จังหวัดขุขันธ์”    ซึ่งตรงกับปลายสมัยที่ อำมาตตรีหม่อมเจ้าถูกถวิล สุขสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ ท่านสุดท้าย  ในขณะนั้น ท่านเป็นหนึ่งในข้าราชการที่เป็นข้าราชบริพารและมีตำแหน่งประจำจังหวัดขุขันธ์ ที่ได้ขอ พระราชทานนามสกุล 
          นามสกุลลำดับที่ 1550 ผู้ขอพระราชทาน คือ หลวงศุภกิจวิเลขการ (เชย) ปลัดจังหวัดขุขันธ์ (พ.ศ. 2456 -2459) มณฑลอุบลราชธานี , ( พระยาสุนทรพิพิธ ,พ.ศ. 2467) ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า   “มัฆวิบูลย์”
          งานในกระทรวงมหาดไทยของท่านได้เจริญมาด้วยดี อายุเพียง 25 ปีก็ได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว โดยได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงปี 2462 จึงได้ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ จนปี 2464 ในวันที่ 30 ธันวาคม ท่านได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรพิพิธ นับว่าเป็นพระยาที่หนุ่มมากอายุเพียง 30 ปี
          ในช่วงเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทดลองตั้งเมืองจำลองชื่อ “ดุสิตธานี” จัดทดลองให้หัดมีการบริหารแบบเทศบาล ที่น่าจะจำลองมาจากแบบของอังกฤษ ให้มีชาวเมืองคือเจ้าของบ้าน ให้เลือกผู้บริหารเมือง ฝึกกันที่เมืองจำลองสักช่วงเวลาหนึ่ง ทรงเห็นว่ารู้เรื่องกันพอสมควรแล้ว ก็ขอมหาดไทยที่จะขอตัวพระยาสุนทรพิพิธ เจ้าเมืองนครสวรรค์ มาเป็นหัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นคนแรกอย่างจริงจังที่เมืองสมุทรสาคร อันเป็นที่ตั้งของสุขาภิบาลท่าฉลอม ที่พระราชบิดาของท่านได้ทดลองตั้งขึ้นมาก่อนหน้านั้น ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยก็ยอม และได้ย้ายพระยาสุนทรพิพิธมาเตรียมการที่จะบริหารท้องถิ่นที่สมุทรสาคร แต่ยังไม่ทันตั้งได้เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต
          พระยาสุนทรพิพิธ ได้เคยเล่าเรื่องนี้ไว้บ้าง จะขอยกความตอนหนึ่งมาให้อ่าน อันแสดงถึงงานที่จะต้องทำในตอนนั้น
          “ฉะนั้นหน้าที่ของข้าพเจ้าในชั้นต้นก็คือ การร่วมเป็นกรรมการพิจารณาจัดร่างธรรมนูญการปกครอง และระเบียบแบบแผนที่จะต้องใช้ในการนี้ อีกประการหนึ่งก็คือ ข้าพเจ้าจะต้องศึกษาระบบ Municipality ของอังกฤษ โดยให้ไปติดต่อปรึกษาหารือกับหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ ซึ่งเป็นกรรมการในเรื่องนี้ด้วยผู้หนึ่ง ...”
          ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว เมื่อมีการเสนอความคิดเรื่องการบริหารเทศบาล พระยาสุนทรพิพิธและม.จ.สกลวรรณากร สองท่านนี้จึงได้รวมกันเขียนหนังสือเรื่องการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลออกมาเผยแพร่ จากนักปกครองสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระยาสุนทรพิพิธย้ายจากต่างจังหวัดเข้ามาเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครธนบุรี ในเดือนมีนาคม ปี 2476 ดังนั้นท่านจึงยังเป็นนักปกครองอยู่ได้ด้วยดี ถึงปี 2478 ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาดไทย อันเป็นกรมสำคัญที่สุดของกระทรวง ตอนนั้นพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้นถึงสมัยหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2482 พระยาสุนทรพิพิธก็ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย
          ท่านเป็นปลัดกระทรวงอยู่ได้สักสองปี ไทยก็เข้าอยู่ในภาวะสงคราม ภายใต้การนำของนายกฯ หลวงพิบูลฯ งานช่วงนั้นจึงเป็นงานที่ยุ่งยากมาก ผ่านมาจนเสร็จสิ้นสงคราม ท่านจึงลาออกจากราชการเพื่อรับบำนาญในปี 2488 ขณะที่มีอายุได้ 54 ปี แม้ยังไม่ถึงเวลาเกษียณราชการ ทั้งนี้เข้าใจว่าท่านเตรียมเดินทางเข้าสู่การเมือง เพราะจะมีการเลือกตั้งครั้งแรกในเวลา 9 ปี เป็นการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม ปี 2489 ท่านเจ้าคุณลงเลือกตั้งที่จังหวัดพิษณุโลก เมืองที่ท่านเคยเป็นข้าหลวงมาหลายปี ผลงานดีท่านจึงได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดนี้ และได้ร่วมรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ครั้นถึงปี 2490 ท่านได้ร่วมรัฐบาลหลวงธำรงฯเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
          หลังการรัฐประหารปี 2490 แล้ว ท่านจึงเว้นว่างจากวงการเมืองไปเป็นเวลากว่าทศวรรษ จนเมื่อจอมพล_สฤษดิ์_ธนะรัชต์ ยึดอำนาจครั้งที่ 2 และตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น พระยาสุนทรพิพิธได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างฯด้วยในปี 2502 อีกปีถัดมาท่านจึงได้เริ่มงานใหม่คู่กันไปด้วย คือไปเป็นอาจารย์ประจำที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะท่านเป็นผู้บรรยายทั้งในกระทรวงมหาดไทย และที่มหาวิทยาลัยมาก่อนแล้ว เช่น วิชากฎหมายเลือกตั้ง หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาด้วยในปี 2511
          พระยาสุนทรพิพิธ เป็นสมาชิกวุฒิสภาจนถึงวันที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจในปี 2514 จากนั้นท่านก็ออกไปเป็นผู้ดูการเมืองอยู่นอกวง จนถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2516

เอกสารอ้างอิง
  พระยาสุนทรพิพิธ - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า. (2016). Kpi.ac.th. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=พระยาสุนทรพิพิธ
 Wikiwand - พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ). (2023). Wikiwand; Wikiwand. https://www.wikiwand.com/th/พระยาสุนทรพิพิธ_(เชย_สุนทรพิพิธ)
 เมื่อรัฐบาลคณะราษฎรจัดอบรมปลัดจังหวัดและนายอำเภอ ครั้งแรกสุด (ตอนที่ 1). (2022). สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th. https://pridi.or.th/th/content/2022/10/1277

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

The Khom Alphabet in Thailand and Khom Khukhan. ภาษาขอมในประเทศไทย และภาษาขอมขุขันธ์

               The Khom Alphabet was written that Siam or Thai people have brought from Palawan alphabet. By applying and having to Invent a new font began to use the Khom script since before the establishment of the Thai Kingdom. To  be used as a nation of self has developed the font style according to the modern era by using Khom and Thai characters together in both forms Khom letters are separated into Khom and Thai Khom characters. Therefore, the language we used to write will have two languages, namely Khom and Thai. The language used to write about Theravada Buddhism in Thailand is written only in Khom script. By writing with the letter of Khom Pali, Khom Thai and Khom Isan alphabet because it is believed to be a sacred language  and is high, most using in religious affairs. Khom Pali is used to write Pali language. Khom Isan is used to write  in palm leave scriptures and Koi notebooks  in northeastern area, especially in the south eastern region. And Khom Thai is used to write Thai language, which the characters are different from other Khom characters. 
               Later, Khom Thai script was replaced by Thai script. Khom script is also used to write Pali language all the time, although there was the development of the Thai script and Ariyaka script to write the Pali language.  Later, the Khom Thai script was cancelled in the reign of Field Marshal Pleak Pibulsongkram.
               At present, there is no formal teaching and learning, which will make the ancient Khom language that has been with Thai people for a long time, starting to decline by default. Which is a pity that Thai heritage must be lost, therefore, should preserve the Thai heritage with the Thai people for as long as possible.
               However, the Khom language, especially Khom Isan is still written in palm leave scriptures  and Koi notebooks.  They used to record Buddhist sermons, stories traditions, literature, folk tales, as well as medical texts and various ancient subjects, in the southeast region of Thailand. The Khom language, especially the Khom Isan is also taught accordingly in various temples in southeastern provinces of Thailand, especially in Khukhan district, Sisaket province, the Khom language is still used to preach at various temples every year until now. The khom language has further developed to increase value of the characters for printing in the computer system, especially Khom Isan in Khukhan district, Sisaket  province to be be called Khom khukhan. Recently,Khukhan district cultural council  together with the clergy of Khukhan district has been prepared as a universal unicode font. It is called Khom Khukhan fonts for printing and preserving Buddhist information, beautiful traditions, folk literature as well as medicine texts and various ancient subjects in the south Isan area in order to continue, to maintain, to pass on pride with the next generation forever.
 
Compiled by Khukhan Historical Committee 
- Prarajpariyatyathorn (Sinuan Phandito), Advisor to the Sisaket Provincial Clergy,
                                                                                 the abbot of Wat Klang Khukhan
- Pra Kru PisitDhammanusart, Advisor to Cheif of Khukhan district clergy
- Pramaha Mungkorn Kuntapunyo, Cheif of Khukhan district clergy
- Dr.Wacharin Sonpud, Chairman of Khukhan district cultural council
- Mr.Theratchaphat Yothong, Assistant to chairman of Khukhan district cultural council
- Asst.Prof.Dr.Pring Petchluan, Member of Khukhan district cultural council
- Mr.Thertsak Sermsri, Chairman of Lamphu temple committee
- Mr.Nitiphum Khukhandhin, Member of Khukhan district cultural council

Thai to English Translation
- Asst.Prof.Dr.Pring Petchluan, Member of Khukhan district cultural council

Reviewer and Illustration
- Mr.Supian Khamwongs, Secretary of Khukhan district cultural council

           อักษรขอม เป็นอักษรที่ชาวสยาม หรือ คนไทยในอดีตได้พัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ และอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง โดยนำมาประยุกต์ใช้และมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใหม่  ชาวสยามได้เริ่มใช้อักษรขอมมาตั้งแต่ก่อนก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นมา  เพื่อนำมาใช้เป็นของชนชาติตนเอง มีการพัฒนารูปแบบอักษรมาตามยุคตามสมัย โดยใช้อักษรขอมและอักษรไทยควบคู่กันไปทั้งสองแบบ อักษรขอมมีการแยกเป็นอักษรขอมบาลี  อักษรขอมไทย และอักษรขอมอีสาน ดังนั้น ภาษาที่เราใช้เขียนในยุคนั้นจะมีอยู่สองภาษาคือ ภาษาขอม และ ภาษาไทย  ซึ่งภาษาที่เขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทยจะเขียนด้วยอักษรขอมเท่านั้น โดยเขียนด้วยอักษรขอมบาลี  อักษรขอมไทย และอักษรขอมอีสาน  เพราะมีความเชื่อว่าเป็นภาษาและอักษรที่ศักดิ์สิทธิ์  เป็นของสูง ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่  อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี  อักษรขอมที่ใช้เขียนจารจารึกบนคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อยในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะแถบจังหวัดอีสานใต้ เรียก อักษรขอมอีสาน  ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย  ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ 
             ต่อมา อักษรขอมไทย ถูกแทนที่ด้วย อักษรไทย ส่วน อักษรขอมบาลี ยังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา แม้จะมีการพัฒนาอักษรไทยและอักษรอริยกะมาเขียนภาษาบาลีก็ตาม  และต่อมาอักษรขอมไทย ก็ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม    ทำให้ในปัจจุบันไม่มีการเรียนการสอนภาษาขอมแบบเป็นทางการทำให้ภาษาขอมที่มีมาแต่โบราณกาลที่เคยอยู่กับชาวสยาม หรือคนไทยในอดีตมานานเริ่มเสื่อมสลายไปโดยปริยาย   ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่มรดกของเราจะต้องค่อยๆสูญหายไป ดังนั้น จึงควรที่จะรักษามรดกของเราเอาไว้คู่กับชาวสยาม หรือคนไทยให้นานที่สุด
             จะอย่างไรก็ตาม ภาษาขอม โดยเฉพาะ ภาษาขอมอีสาน ก็ยังพบใช้จารจารึกบนคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อยซึ่งนิยมใช้บันทึกบทเทศนา และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ตลอดจนตำรายา  และสรรพวิชาโบราณต่างๆแถบอีสานใต้  และนอกจากนี้  ภาษาขอม โดยเฉพาะ ภาษาขอมอีสาน ก็ยังคงมีการเรียนการสอนตามวัดต่างๆในจังหวัดแถบอีสานใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ยังมีการใช้ภาษาขอมในการเทศนาตามวัดต่างๆเป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งเดี๋ยวนี้  และได้พัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าเป็นตัวอักษรใช้พิมพ์บนระบบคอมพิวเตอร์  โดยเฉพาะภาษาขอมอีสาน ที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาขอมขุขันธ์   ล่าสุดสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ร่วมกับ คณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์ ได้จัดทำเป็นฟอนต์ยูนิโค้ดสากล ชื่อว่า ฟอนต์ขอมขุขันธ์ (Khom Khukhan Fonts) เพื่อใช้สำหรับการพิมพ์อนุรักษ์รักษาบันทึกข้อมูลเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม  และวรรณกรรมพื้นบ้าน  ตลอดจนตำรายาและสรรพวิชาโบราณต่างๆแถบอีสานใต้สืบสาน รักษา ต่อยอดส่งต่อความภาคภูมิใจให้คงอยู่กับอนุชนรุ่นหลังตลอดไป

เรียบเรียง :  คณะกรรมการฝ่ายประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์
พระราชปริยัตยาทร (ศรีนวล ปณฺฑิโต ป.ธ.๕)
             ที่ปรักษาเจ้าคณะจ.ศรีสะเภษ  เจ้าอาวาสวัดกลางขุขันธ์
พระครูพิศิษฏ์ธรรมานุศาสก์
            ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์  อดีตเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์  เจ้าอาวาสวัดปรือคัน
พระมหามังกร กนฺตปุญฺโญ (ป.ธ.๗ , น.ธ.เอก , พธ.บ.) 
             เจ้าคณะอำเภอขุขันธ์ เจ้าอาวาสวัดโคกโพน
ดร.วัชรินทร์  สอนพูด  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายธีรัชพัฒน์ ย่อทอง รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ผศ.ดร.ปริง  เพชรล้วน  กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 
นายเทอดศักดิ์  เสริมศรี  ประธานคณะกรรมการวัดบ้านลำภู / ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายนิติภูมิ  ขุขันธิน  
กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 
คำแปลภาษาอังกฤษ  : 
ผศ.ดร.ปริง  เพชรล้วน  กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ตรวจทานและภาพประกอบ  :  นายสุเพียร  คำวงศ์   เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย