คําว่า “โฎนตา” มีที่มาจากไหนหนอ ?
ทราบมาว่าเมื่อหลายปีก่อนหลายท่านเคยอยากทราบที่มาของคำนี้ และหลายท่านก็เคยถกเถียงกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว คำนี้มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์ และภาษาเขมรที่กัมพูชา คือคำว่า
อ่านว่า /do:n-ta: โดน-ตา / เมื่อถอดคำเทียบกับภาษาไทย ได้ดังนี้
ก็คือ พยัญชนะ ฎ ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา เป็นพยัญชนะอโฆษะ(เสียงเบา ไม่ก้อง) เมื่อเป็นพยัญชนะ ต้นออกเสียง /dɑː ดอ / นั่นเอง
ก็คือ สระ -ู ( อู ) ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า / ʔou โอ / เมื่อถูกนำหน้าด้วยพยัญชนะประเภทอโฆษะ
ก็คือ พยัญชนะ ต ใน ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /tɑː ตอ /
ก็คือ สระ -า (อา) ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /ʔaː อา /
จากที่ได้กล่าวอธิบายมาแล้วข้างต้น เมื่อถอดคำเพื่อเขียนเป็นภาษาไทยให้ตรงกับรากศัพท์เดิมที่ใกล้เคียงที่สุด ก็จะได้คำว่า “โฎนตา ” นั่นเอง
คำว่า “โฎนตา” มีความหมายว่าอย่างไร ?
อ่านว่า /do:n-ta: โดน-ตา / ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ และในพจนานุกรมภาษาเขมรของสมเด็จพระสังฆราช ชวน ญาต พ.ศ. 2512 (ค.ศ.1967) หน้าที่ 309 ส่วนด้านขวาบรรทัดที่ 4 เขียนไว้ว่า
យាយនិងតា ។ ពួកបុព្វបុរស ក៏ហៅថា ដូនតា បានដែរ : សែនដូនតា, សំពះដូនតា (ម. ព. បុព្វបុរស ផង) ។ រ. ស. ជា ព្រះបិតរ (បិ-ដ) ។ แปลอธิบายความได้ว่า คำว่า โฎนตา เป็นคำนาม แปลว่า ยายกับตา หรือ พวกบรรพบุรุษ ก็เรียกว่า โฎนตา ได้เช่นกัน เช่น คำว่า
อ่านว่า/ ซ็อมเปียะฮฺ-โดน-ตา /
แปลว่า ไหว้บรรพบุรุษ หรือไหว้ปู่ย่าตายาย นั่นเอง
แปลว่า ไหว้บรรพบุรุษ หรือไหว้ปู่ย่าตายาย นั่นเอง
อ่านว่า / นิว-เปล-บน-ปรฺเป็ยนี-แซน-โดน-ตา-เก-เทวอ-บน-อุตึฮฺ-พ็อล-โอย-โดน-ตา / แปลว่า ในช่วงเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตาสารทแห่งความกตัญญูเดือนสิบ จันทรคติ เขามักนิยมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ โฎนตา นั่นเอง
**************************************
แล้วใครผิดใครถูก ระหว่างคนที่ใช้คำว่า "โดนตา" กับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา"
**************************************
>>ขอตอบว่า ตอบว่า ถูกทั้งคู่ ครับ แต่ว่า...
คนที่ใช้คำว่า "โดนตา" ก็คือเขาเขียนตามคำที่ได้ยินจากคนท้องถิ่นเขมรพูด นั่นคือ สัมผัสได้แค่เพียงหูได้ยินเสียงว่า /โดน-ตา/ ก็เลยเขียนตามที่ได้ยินนั้น แต่ถ้าจะบัญญัติขึ้นมาเป็นศัพท์ในพจนานุกรมไทย...ก็ต้องเขียนให้ครบเพราะงานนี้ไม่ได้โดนแค่ตา แต่ยังโดนถึงยายด้วย...
สำหรับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา" ก็คือผู้รู้ถึงรากเหง้าที่มาของคำศัพท์ หรือกล่าวว่า น่าจะรู้ลึกกว่า นั่นเอง ครับ
และขอฝากว่า...ถ้าท่านคิดว่า “แซนโฎนตา” เป็นประเพณีเขมร หรือของชนเผ่าเขมรอีสานใต้ของเรา ก็ต้องใช้
ฎ คำว่า โฎนตา ในภาษาเขมรใช้ตัว ฎ
เขียน ไม่ได้ใช้ตัว
ด
เพราะคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ปู่และย่า หรือ ตาและยาย และยังหมายถึง บรรพบุรุษ อีกด้วย
ดังนั้น ประเพณีแซนโฎนตา
คือประเพณีที่มีการทำบุญอุทิศและเซ่นไหว้ให้ปู่ย่า ตายาย และบรรพบุรุษ
ผู้ล่วงลับไปแล้ว
(แม้แต่คำว่า เซ่น ก็เป็นคำภาษาเขมร คือมาจากคำว่า แซน
นั่นเอง)
คำศัพท์ในภาษาไทย มิได้มีเฉพาะเพียงคำไทยชาติเดียว
มีคำของชาติอื่นปะปนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะภาษาเขมร
ฉะนั้น
"แซนโฎนตา"
เขียนตามภาษาเดิมถูกต้องแล้ว จะเขียน แซนโดนตา ให้ตาตัวเองแตกทำไม มันมาโดนตา ก็ตาแตกนะซิ
เฮ่อ น่าสงสาร...555... เพราะคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ปู่และย่า หรือ ตาและยาย และยังหมายถึง บรรพบุรุษ อีกด้วย
หมายเหตุ เอกสารที่มีข้อความภาษาเขมรที่นำเอามาขึ้นในเวปนี้ เพราะต้องการมาประกอบหลักฐานที่มาของคำว่า "โฎนตา" เท่านั้นและมีความเห็นว่า บนโลกใบนี้ สำหรับคำว่า วัฒนธรรมประเพณี คงไม่มีพรมแดนขวางกั้นเหมือนอาณาเขตประเทศ นะครับ