-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ร.3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพจากกรุงเทพฯ ไปปราบปรามความ วุ่นวายในกรุงกัมพูชา

         ในปี พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพจากกรุงเทพฯ ไปปราบปรามความ วุ่นวายในกรุงกัมพูชา เนื่องจากพระองค์อิ่มซึ่งมีตำแหน่งเป็นพระศรีไชยเชษฐามหา อุปราชได้อพยพครอบครัวเมืองพระตะบองไปเข้าด้วยเวียดนาม ดังปรากฏความใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชาว่า “ฝ่ายสมเด็จพระศรีไชยเชษฐา ซึ่งประทับอยู่ที่เมืองพระตะบองนั้น ครั้นถึง ณ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุญ เอกศก ศักราช 1201 (พ.ศ. 2382) ก็ทรงให้จับตัวพระยา ปลัดรส กับกรมการเมืองพระตะบองบางคนได้แล้ว พระองค์จึงทรงพาพระมารดาแลพระแม่นางพร้อมด้วยบุตรีบุตราเสด็จออกจากเมืองพระตะบองมาเมืองพนมเปญ องเลิ้งกันจึงให้คุมพระองค์แลครอบครัวของพระองค์ส่งไปเมืองญวน....

        เวลานั้นประเทศกัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองด้วยเวียดนามเข้ามาแทรกแซง และพยายามยึดครองกัมพูชาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม ขุนนางเวียดนามชื่อ องเลิ้งกัน ผู้รักษาเมืองพนมเปญ บังคับทำความเดือดร้อนต่าง ๆ ให้กับขุนนางและ ประชาชนชาวเขมรเป็นอันมาก ทั้งบังคับให้แต่งกายอย่างชาวเวียดนามและเปลี่ยนชื่อขุนนางเขมรเป็นภาษาเวียดนาม ทำลายวัดวาอารามรวมทั้งคัมภีร์ทางพระพุทธ ศาสนาเสียหายเป็นจำนวนมาก 

รูปหล่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ที่พระพุฒาจารย์(มา) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสหล่อขึ้น
ประดิษฐานไว้ที่เก๋งข้างพระปรางค์ เมื่อ พ.ศ. 2441
ภาพจากหนังสือ ลำดับวงศ์สกุลสิงหเสนี พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2481 

        เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพออกมากรุงกัมพูชาครั้งนี้ต้องทำสงครามกับเวียดนามเป็นเวลานานหลายปี ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ จนในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2385 เจ้าพระยาบดินทรเดชาและพระองค์ด้วง จึงมาประทับอยู่ที่เมืองพนมเปญ   เวลานั้น เจ้าพระยาบดินทร์เดชาเห็นความทรุดโทรมของวัดวาอารามต่างๆ ภายในเมืองพนมเปญ ที่เสียหายระหว่างสงครามจึงมีใจศรัทธาบูรณะวัดพระพุทธโฆสาจารย์ในเมืองพนมเปญ พร้อมทั้งได้จารึกเรื่องราวของการบูรณะวัดพระพุทธโฆสาจารย์ เมืองพนมเปญไว้เป็น ภาษาและอักษรไทยอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง : 
ดำรงวิชาการ. (2023). Su.ac.th. http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/68_11.pdf
ขอบคุณภาพประกอบจาก 
ศานติ ภักดีคำ, & Bass. (2023, February 10). เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กับบทบาทสร้างเมืองใหม่ในกัมพูชา. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_43224

วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566

วาระการประชุมของสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

 เตรียมประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม (เม.ย.2564)

 วาระการประชุม ครั้งที่ 1/2564 (1 มิ.ย.2564)

 วาระการประชุม ครั้งที่ 2/2564 (17 ก.ค.2564)

 วาระการประชุม ครั้งที่ 1/2566 (14 ส.ค.2566)


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย