-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองขุขันธ์อดีต-ปัจจุบัน

เรื่องราวเมืองขุขันธ์...เริ่มต้นที่ยุคเมืองมหานคร (Angkor អង្គរ) คลิก 
บทที่ ๑ บทนำ : อาณาจักรโบราณที่เกี่ยวข้องกับเมืองขุขันธ์
อาณาจักรฟูนันอาณาจักรเจนละอาณาจักรกัมพูชา
ความสัมพันธ์ของขอม – ขุขันธ์
ขุขันธ์ชุมชนโบราณในราชมรรคาหรือชุมชนโบราณในเส้นทางสายปลายปราสาท
ที่ตั้งเมืองเมืองขุขันธ์ หรือเมืองโคกขัณฑ์ หรือเมืองโคกลำดวนในอดีต

บทที่ ๒ การตั้งเมืองขุขันธ์ และเมืองที่ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์
- เมืองขุขันธ์สมัยอยุธยาตอนต้น
เมืองขุขันธ์สมัยอยุธยาตอนปลาย
เมืองขุขันธ์สมัยกรุงธนบุรี
เมืองขุขันธ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์ครั้งสำคัญ
การเปลี่ยนตำแหน่ง “เจ้าเมือง” เป็นตำแหน่ง “ผู้ว่าราชการเมือง”
การยุบ "เมือง" เป็น “อำเภอ”
เตรียมการย้ายศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์ ไปตั้งที่ เมืองศีร์ษะเกษ
เปลี่ยนชื่อ "เมืองขุขันธ์" เป็นชื่อ "จังหวัดขุขันธ์"
การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง พ.ศ. 2475
“จังหวัดขุขันธ์” ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “จังหวัดศีร์ษะเกษ”
คุ้มชุมชนดั้งเดิมเมืองขุขันธ์
การแยกพื้นที่เมืองขุขันธ์บางส่วนตั้งเป็นเมืองเดชอุดม
การขอตั้งเมืองกันทรลักษ์และเมืองอุทุมพรพิสัย
การขอตั้งเมืองเมืองกันทรารมย์

บทที่ ๓ ผู้ปกครองเมืองขุขันธ์ในอดีต
ประวัติเจ้าเมืองขุขันธ์
ทำเนียบเจ้าเมือง และ ผู้ปกครองเมืองขุขันธ์ - จังหวัดศรีสะเกษ
ข้าหลวงประจำเมืองจากส่วนกลางมากำกับดูแลเมืองขุขันธ์
วงศ์ตระกูลเจ้าเมืองขุขันธ์(ผังเครือญาติหลัก)

บทที่ ๔ ประวัติการสร้างอนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(ตากะจะ)
ประวัติเมืองขุขันธ์โดยสังเขป
ประวัติพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) ผู้สร้างเมืองขุขันธ์
วัตถุประสงค์ในการสร้างอนุสาวรีย์ฯ
ประวัติความเป็นมาการสร้างอนุสาวรีย์

บทที่ ๕ อำเภอขุขันธ์
ประวัติความเป็นมา
ลักษณะที่ตั้ง / อาณาเขตติดต่อ / ลักษณะภูมิประเทศ / พื้นที่การใช้ประโยชน์ / ประชากร/อาชีพ/รายได้
อำเภอขุขันธ์มีพื้นที่ติดกับกัมพูชาหรือไม่ ?
การปกครอง / สภาพทางเศรษฐกิจ / การคมนาคม
การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ขอบเขตตำบลในอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอขุขันธ์

บทที่ ๖ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์

หมวดที่ ๑ การศาสนาและประวัติวัด
ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเมืองขุขันธ์ทั้ง ๘ วัด ดังนี้
- วัดเขียนบูรพาราม   (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
- วัดบกจันทร์นคร    (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
- วัดไทยเทพนิมิตร  (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
- วัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์   (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
- วัดสะอางโพธิ์ญาณ    (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
- วัดกลางอัมรินทราวาส  (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
- วัดบ้านแทรง   (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
วัดรัมพนีวาส(วัดบ้านลำภู)  (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
วัดอื่นๆ 
วัดโสภณวิหาร ต.กันทรารมย์ (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
- วัดจันทราปราสาท ต.ปราสาท (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)

หมวดที่ ๒ การศิลปะวัฒนธรรม
๑) โบราณสถาน ได้แก่
- ปราสาทตาเล็ง ต.ปราสาท (แวะเยี่ยมชมอัลบั้มภาพเพิ่มเติม)
ปราสาทตระเปียงยุม ต.จะกง
- ปราสาทพระจำรุง ต.ดองกำเม็ด
- ปราสาทกุด ต.ห้วยเหนือ
- โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม
- เจดีย์ตาปราสาทบ้านแทรง
- ศาลหลักเมืองโบราณของเมืองขุขันธ์
- วิหารวัดโสภณวิหาร
สถูปคู่บรรจุอัฐิธาตุของบรรพชนเป็นรูปยอดบัว ณ วัดโสภณวิหาร
โบราณสถานอื่นๆ 
ปราสาททามจาน

๒)โบราณวัตถุ ได้แก่
- หลวงพ่อโตวัดเขียน
- องค์พระแก้วเนรมิต
- พระพุทธรูปยืน- ตู้พระธรรมวัดเจ็ก
- พระแผงไม้แกะสลัก
- ฐานศิวลึงค์

หมวดที่ ๓ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและการละเล่น
- ประเพณีแซนโฎนตาโดยสังเขป , สคริปต์โดยละเอียด
- คำกล่าวอัญเชิญเทวดาและดวงวิญญาณโฎนตาเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2556 , 2557
บุญปูนพนมโซร็ว(បុណ្យពូនភ្នំស្រូវ)
พิธีบนกมูจอ็อวเกรงเปรียด* หรือพิธีเผาศพปู่กล้วยของชาวบ้านในสังกัดวัดบ้านปรือคัน
- การเล่นแม่มด
- ท่ารำประกอบเพลงรำแม่มด 11 ท่า
- แกลจะเอง ตำบลปรือใหญ่
- ประเพณีก่อเจดีย์ทรายและสรงน้ำพระเดือน ๕
- การเล่นกันตรึม
- การละเล่นเจรียง
- การละเล่นอาไย
- การเล่นมโหรีปี่พาทย์
"ตาจุม"...ศิลปินเจรียงโบราณ

หมวดที่ ๔ ศิลปะหัตถกรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน
และผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอขุขันธ์
- ครุน้อยบ้านสะอาง
- ช่างเกวียนมืออาชีพ และเกวียนน้อยบ้านใจดี
- ผอบ หรือกะอูบใบตาลบ้านหนองก๊อก
- กระเป๋าใบเตยบ้านตาทึง และบ้านหนองทับ
- ผ้าลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ
- ลูกปะคบสมุนไพร
- กระบุง กับ กระเชอ
- ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านต่างๆ

หมวดที่ ๕ อักษรศาสตร์ ภาษา ตำราและใบลานเมืองขุขันธ์
ฉลองอัฐิ วัดปรือใหญ่
กำมวิบาก วัดลำภู
อนิสงสฺมุกขฺสุพทฺ วัดลำภู
ฉลองบิณฑ์ วัดตะเคียนบังอีง(พ.ศ.2532)
อนิสงสฺตำมฺโพธิพฤกสฺ วัดบ่อทอง
- สัพวฺทานเล็กแบบสมัยโบราณ วัดบ่อทอง
- อุปปฺคุตฉบับย่อ วัดบ่อทอง
ฉลองบิณฑ์ จากวัดบ่อทอง
- ฉลองเจติย์ ​วัดลำภู (16/11/2559)
ธมฺมเทสฺนาบุณฺยบิณ จากวัดบ้านแขว (18มกราคม 2559)
ธมฺมเทสฺนาคมฺพีร อุปฺปคต จากวัดบ้านแขว (18มกราคม 2559)
คัมภีร์ใบลานภาษาเขมรชุดสุดท้ายที่ยังคงเหลืออยู่ที่วัดบกจันทร์นคร
- ตำรารักษาโรคของเมืองขุขันธ์ อายุกว่า 280 ปี จากตำบลกันทรารมย์
ตำราใบลานเสจฺกดียฺธํมฺมฌาน ขแส ๔ กัณฑ์ที่ 4 จากวัดทุ่งบังอีงวิหาร
- กรังสัตราโหราศาสตร์โบราณเขมรสุรินท์โคกขัณฑ์
สมุดบันทึกวิปัสนาสามเณรยูร ตายอ
ใบลานประวัติเมืองขุขันธ์ จารโดยบรรพบุรุษเมืองขุขันธ์ ก่อน พ.ศ.2460
- ทำเนียบผู้รู้/นักปราชญ์ผู้ปิดทองหลังตำราใบลานเมืองขุขันธ์
ความหมายของคำว่า "ขอม" จากพจนานุกรมไทย และพจนานุกรมเขมร
คำว่า "กาโงก" หรือ "กาโหงก" หมายถึงอะไร?
>> รายละเอียดเพิ่มเติมที่เวปไซต์



หมวดที่ ๖ คติเตือนใจ สำนวนสุภาษิต และคำพังเพยโบราณเมืองขุขันธ์

- "ผู้รู้ตกนรก คนโง่ขึ้นสวรรค์"
- "อยากเป็นปราชญ์ให้ขยัน โจงกระเบนมั่น หากินง่าย"

บทที่ ๗ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเมืองขุขันธ์
คณะติดตามช้างเผือกจากกรุงศรีอยุธยาผ่านมาถึงบ้านปราสาทสีเหลี่ยมโคกลำดวน
หัวหน้า “เขมรป่าดง” ได้บรรดาศักดิ์และตำแหน่ง
นายกองหมู่บ้านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ และยกฐานะชุมชนหมู่บ้านขึ้นเป็น “เมือง”
ความเดิมในการตั้งเมืองขุขันธ์
บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ก่อนที่จะยกฐานะมาเป็นเมืองขุขันธ์ อยู่ที่ไหน?
เมืองขุขันธ์ ในอดีต เมื่อ พ.ศ. 2460 นั้นไซร้กว้างใหญ่นักหนา
ตำแหน่งข้าหลวงกำกับเมืองบริเวณขุขันธ์
การประหารชีวิตนักโทษ
ท้าวบุญจันทร์ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎ
เสือยง หรือ ตังเคายง-ชุมโจรแห่งเมืองศรีสะเกษ
โรงฝิ่นเมืองขุขันธ์
ดาบประจำตำแหน่งเมืองขุขันธ์
กำแพงเมืองโบราณ
กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
รัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสขัดแย้งกัน
เหตุการณ์ในเมืองขุขันธ์ครั้งไทยพิพาทย์อินโดจีน
โขนจังหวัดขุขันธ์
นามสกุลพระราชทานในเมืองขุขันธ์
การสำรวจสำมโนประชากรครั้งแรกของเมืองขุขันธ์
ต้นตาล ๙ ยอด ๙ พระยาแห่งเมืองขุขันธ์
การปฏิรูปการสื่อสารโทรเลขระหว่างขุขันธ์-เสียมเรียบ-นครจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2428
พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมาที่เกี่ยวข้องกับขุขันธ์ในอดีต

บทที่ ๘  ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ
นายหอม  พฤกษา  ปราชญ์ชาวบ้านด้านศาสนพิธี อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ 
นายธีรัชพัฒน์  ย่อทอง อสม.ดีเด่น ระดับชาติ สาขาสุขภาพจิตชุมชน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘
"ตาจุม"...ศิลปินเจรียงภาษาเขมรโบราณที่เหลือเพียงคนเดียวของอำเภอขุขันธ์
นายเจริญ ปรือปรัก ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยมของจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2559

บทที่ ๙ เรื่องราวอื่นๆที่น่าสนใจในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มาของคำว่า "อีสาน"
ที่มาของคำว่า "สุวรรณภูมิ"
- จารึกพระวิหาร 1 และจารึกพระวิหาร 2
- อักษรศิลาจารึกสมัยก่อนพระนคร - ปัจจุบัน
- ลายมือสวยคัดลอกอักษรโบราณก่อนสมัยพระนครและสมัยพระนคร
อักษรภาษาโบราณที่พบในดินแดนสุวรรณภูมิในช่วงพุทธศตวรรษที่10-24
- แบบเรียนหนังสือขอมไทย
- ประวัติศาสตร์กัมพูชา แต่ละยุคสมัยเรียกว่าอย่างไรบ้าง?
"เมืองเขมรป่าดง" เมื่อปี พ.ศ. 2379 ประกอบด้วย 31 เมือง
คำว่า "เขมรป่าดง" เมื่อปี พ.ศ. 2449
การตั้งเมืองราษีไศล (พ.ศ. 2424)
การตั้งเมืองชุมพลบุรี (พ.ศ. 2425)
การแยกพื้นที่เมืองขุขันธ์บางส่วนตั้งเป็นเมืองเดชอุดม(พ.ศ.2388)
การตั้งเมืองศรีสะเกษ (พ.ศ. 2325)และยุบเมืองศรีสะเกษ (พ.ศ. 2450)
ปัญหาการเก็บภาษีจากหัวเมืองต่างๆ ในบริเวณอีสาน พ.ศ. 2373 - 2434
การตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัด และบ้านลำดวนเป็นเมือง (พ.ศ. 2412)
- การประกอบอาชีพของชาวอีสานในรอบ 12 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2427
ประเพณีต่างๆ ในรอบ 12 เดือนของชาวอีสาน เมื่อปี พ.ศ. 2439
- ประวัติหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม(วัดพระโต) จังหวัดศรีสะเกษ (ข้อมููลเพิ่มเติมรอการตรวจสอบ)
- ตามรอยพระยุคลบาท ร.9 เสด็จพระราชดำเนิน จ.ศรีสะเกษ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498
เพลงศรีสะเกษเมืองงาม (ร้องสด โดยคณะพอ.สว.ศรีสะเกษ)
คำว่า ส่วย ไม่ใช่ชื่อเรียกของชนชาติพันธุ์ แต่เป็นวาทะกรรมในอดีต

- หลักฐานที่ยืนยันว่าชนชาติพันธุ์กูย กวยเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ. 1976 กล่าวถึงในการห้ามหญิงไทยกับคนต่างด้าวในปี พ.ศ 1976
ที่มาของคำว่า กระโพ กระโพธิ์ ที่เป็นชื่อหมู่บ้านตำบลแถบจังหวัดอีกสานใต้มีที่มาอย่างไร ?

วิถีชีวิตชาวกวย ที่ประเทศกัมพูชา มีความเหมือนหรือแตกต่างจากบ้านเราอย่างไร ?
- พระพุทธบาท ที่พบที่ตำบลส้มป่อย เป็นพระพุทธบาทจำลอง เมื่อปี พ.ศ. 2472 อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดขุขันธ์
บารมีพระพุทธรูปองค์พระจังหันอุ่น เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
- คำว่า "กำพงจาม" ที่ถูกต้องคือ "กำพงจำ" (พ.ศ. 2467/ ค.ศ.1924) คลิก

ภาคผนวก : เอกสารประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
- "พระสยามเทวาธิราช"...เทพผู้ปกปักรักษาราชอาณาจักรสยาม
- หอพระสมุดวชิรญาณ
- พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการฯก่อน พ.ศ. 2483 ข้อความในแพรแถบตอนล่างสุดเป็นอักษรขอม
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑
เพลง "รักเธอเสมอ" โดย พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงเคยขับร้อง
การใช้ศักราชในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน : พ.ศ. ไทย กับ กัมพูชา ทำไมจึงต่างกัน ?
- ภาพถ่ายการศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดอุบลฯ(13ธันวาคม 2561) คลิก 

ภาคผนวก
- เหตุการณ์ที่สำคัญและเกี่ยวกับเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ และอำเภอขุขันธ์ จากอดีตถึงปัจจุบัน
การชำระประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์
- ภาคผนวก ก บัญชีรายชื่อตำบล/หมู่บ้าน
- ภาคผนวก ข บัญชีผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อำเภอขุขันธ์
- ภาคผนวก ค ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาอาชีพต่างๆ
- ภาคผนวก จ คำสั่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ “เมืองขุขันธ์”
- ภาคผนวก ฉ รายนามคณะกรรมการจัดทำหนังสือ “เมืองขุขันธ์”

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

อำเภอเมือง จังหวัดขุขันธ์ มีสถานะเป็นอำเภอเมือง ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 - 24 เมษายน พ.ศ.2460 นับระยะเวลาได้เพียง 11 เดือน 5 วัน

          สถานะของอำเภอเมือง จังหวัดขุขันธ์ ที่ถูกย้ายเฉพาะศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิม(อำเภอเมืองขุขันธ์) ไปตั้งบริเวณศาลากลางเมืองศีร์ษะเกษ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2450 แต่ยังคงใช้ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์  ส่วนพื้นที่อำเภอเมืองขุขันธ์ยังอยู่ที่ตั้งเดิม  ทำให้อำเภอเมือง จังหวัดขุขันธ์ มีสถานะเป็นอำเภอเมือง  ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 - 24 เมษายน พ.ศ.2460 นับระยะเวลาได้เพียง 11 เดือน 5 วัน หากเราพิจารณาดูตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ  เล่ม ๓๔ หน้า ๔๐ และหน้า ๖๓ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๖๐  ซึ่งลงนามโดยมหาเสวกเอก เจ้าพระยาสุรสีห์ วิสิษฐศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ประกาศมา ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐  ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้เป็นที่สะดวกในทางราชการและเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งแห่งประชุมชนทั่วไปว่าอำเภอใดคงเรียกตามชื่อเดิม อำเภอใดเปลี่ยนชื่อเรียกตามนามตำบล  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศชื่ออำเภอ ทั้งที่คงชื่อเดิมและเปลี่ยนชื่อใหม่ ดังบัญชีท้ายประกาศนี้ใช้เป็นระเบียบในราชการสืบไป  

             อำเภอเมือง               เป็น อำเภอห้วยเหนือ
             อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ  เป็น อำเภอศีร์ษะเกษ
             อำเภอราษีไสล        เป็น อำเภอคง
             อำเภอกันทรารักษ์   เป็น อำเภอน้ำอ้อม
             กิ่งบัวบุณฑริก         เป็น กิ่งโพนงาม
             อำเภออุทุมพรพิสัย คงเรียก อำเภออุทุมพรพิสัย
             อำเภอกันทรารมย์   คงเรียก อำเภอกันทรารมย์
             อำเภอเดชอุดม       คงเรียก อำเภอเดชอุดม





             มาถึงสมัยปัจจุบันนี้  อำเภอเมือง จังหวัดขุขันธ์ (ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ก่อนวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2460) หรืออำเภอห้วยเหนือ(ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2460-10 พฤศจิกายน พ.ศ.2481) จังหวัดขุขันธ์ ในอดีต ก็คือ อำเภอขุขันธ์ ณที่ตั้งเดิมในปัจจุบันนั่นเอง  ส่วนอำเภอศีร์ษะเกษ คือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ปัจจุบัน , อำเภอคง คืออำเภอราษีไศล , อำเภอน้ำอ้อม คืออำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ , กิ่งโพนงามคืออำเภอบุณฑริก  จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งติดเขตแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศ สปป.ลาว 
ปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนโบราณที่สร้างด้วยอิฐ ตั้งอยู่ ณ วัดเจ็กโพธิพฤกษ์
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
             อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้คืออดีต  ที่ไม่มีวันหวนกลับ  แต่ขอให้ชาวจังหวัดศรีสะเกษ หรือ"เมืองขุขันธ์" "จังหวัดขุขันธ์" ในอดีต จงภาคภูมิใจที่บ้านเก่าเมืองแก่ของเราเป็นบ้านเมืองที่มีอารยธรรม  มีปราสาท  มีศิลาจารึกมีความเจริญต่อเนื่องมาอย่างไม่ขาดสาย  และมีพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลที่บรรพบุรุษของเราได้ก่อสร้างตัวเพื่อลูกหลายได้สืบทอดต่อๆกันมาจนถึงทุกวันนี้

เอกสารอ้างอิง : ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ เล่ม ๓๔ หน้า ๔๐ และหน้า ๖๓ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๖๐
ขอบพระคุณผู้เรียบเรียง : 
- นายประดิษฐ  ศิลาบุตร,2547.
- ดร.ปริง เพชรล้วน,2547.
ตรวจทาน : นายสุเพียร  คำวงศ์ ,26 มีนาคม 2560.

เมืองขุขันธ์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2452 อยู่ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรสยาม

เมืองขุขันธ์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2452 อยู่ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ (MUNTON TAWAN OK CHIENG NUA)ของราชอาณาจักรสยาม ข้อมูลภาพจาก  แผนที่ของ ราชอาณาจักรของสยาม เมื่อราวปี ค.ศ. 1910 หรือราว พ.ศ. 2452 ซึ่งสำรวจและจัดทำขึ้นโดย กรมสำรวจสิงคโปร์ จากเวปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติของสิงคโปร์ (National Archives of Singapore)

Reference :

Survey Department, Singapore.1910.Map Of The Kingdom Of Siam And Its Dependencies.http://www.nas.gov.sg/archivesonline/maps_building_plans/record-details/f9409256-115c-11e3-83d5-0050568939ad.
(accessed September 4, 2019 at 05.06 a.m.).

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
โทร. 086-1308496
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
โทร. 098-5869569

สนับสนุนโดย