-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติของวัดโสภณวิหาร ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

              วัดโสภณวิหาร เดิมชื่อ "วัดร็วมปุก"(វត្តរំពុក) ตั้งขึ้นราวๆ พ.ศ. 2410 ก่อนการตั้งเมืองกันทรารมย์( พ.ศ. 2415) นับเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของชุมชนแถบนี้ สันนิษฐานว่า วัดนี้น่าจะสร้างขึ้นโดยญาติพี่น้องในตระกูลเจ้าเมืองท่านแรกของเมืองกันทรารมย์ คือ พระกันทรานุรักษ์ (พ.ศ. 2415-2436) ซึ่งจะปรากฎหลักฐานธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิเก่าแก่ขนาดใหญ่ของตระกูลเจ้าเมืองในบริเวณรอบๆพระอุโบสถโบราณที่ยังคงความงดงามล้ำค่า และโดนเด่นอยู่ใจกลางวัด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันในปัจจุบันว่า "โสภณวิหาร" ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ชื่อว่า "พระพุทธโสภณ" เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ชุมชนนี้ตลอดมา และนอกจากนี้ภายในพระอุโบสถยังพบพัทธสีมาโบราณจำนวน 6 องค์สถิตอยู่ภายในพระอุโบสถอีกด้วย

พระอุโบสถวัดโสภณวิหาร-ภาพเก่า
พระอุโบสถวัดโสภณวิหาร-ภาพก่อน พ.ศ. 2557
พระอุโบสถวัดโสภณวิหาร-ภาพตั้งแต่ พ.ศ. 2557 -ปัจจุบัน

              ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 พระอุปัชฌาย์เสียง หริจันโท เจ้าอาวาสวัดร็วมปุก ในขณะนั้นได้รวบรวมพลังศรัทธาจากชาวบ้านในตำบลกันทรารมย์ได้ร่วมกันสละกำลังกายและกำลังทรัพย์บูรณะพระอุโบสถหลังนี้ขึ้น ให้สวยงามยิ่งขึ้นดังที่เราได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน







คำขวัญตำบลกันทรารมย์
"กันทรารมย์"เมืองเก่า 
มีเสาหลักเมืองโบราณ
โสภณวิหารงามล้ำค่า 
ถิ่นภูมิปัญญานักปราชญ์
ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม 
น้อมนำพัฒนารักสามัคคี"

หมายเหตุ คำว่า คำว่า " ร็วมปุก" (រំពុក)​เป็นคำภาษาเขมรโบราณในท้องถิ่นเมืองกันทรารมย์ในอดีต(ต่อมาชาวบ้านได้ออกเสียงคำนี้เพี้ยนมาเป็น "ลำพุก" จนถึงปัจจุบัน)  เป็นชื่อเรียกของต้นไม้หายากชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เคยพบขึ้นอยู่มากในแถบนี้ ปัจจุบันพบขึ้นอยู่ในแถบพื้นที่ของอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว  มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ร็วมปุกซอ(រំពុកស) คือสายพันธุ์ลำต้นสีขาว และร็วมปุกกรอ-ฮอม(រំពុកក្រហម) คือสายพันธุ์ลำต้นสีแดง  มีสรรพคุณทางสมุนไพรเขมรหลากหลาย แต่มักพบนำมาผสมเข้ากับยาสมุนไพรจำพวกพวกกษัยเส้น แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น  

ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล : นายเคลื่อน  บุญเครือ
                                          ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต.กันทรารมย์ 

ผู้เรียบเรียง : นายสุเพียร  คำวงศ์ 
                        รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มิลินทปัญหา คลิกเดียวชมได้ทุกตอนจนจบ ตั้งแต่ตอนที่ ๑ - ๘

มิลินทปัญหา ตอนที่ ๑ - ๘

             แอนิเมชั่นนี้เคยถูกนำออกอากาศทางสถานีโทร­ทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18.00 น.ตอนละ 15 นาที โดยมีความร่วมมือกันระหว่าง คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ บริษัทธีร์ โฮลดิ้ง จำกัด ได้นำ " มิลินทปัญหา " มาสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น และถูกถ่ายทอดเป็นภาพถ่ายทอดเรื่องราว โดยบริษัท แอพริฌิเอท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด

             พระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 (อังกฤษ: Menander I Soter) เป็นที่รู้จักกันในวรรณกรรมภาษาบาลีว่าพระเจ้ามิลินท์ เป็นพระมหากษัตริย์อินโด-กรีก (165[1]/155[1]-130 ปี ก่อน ค.ศ.) ผู้ก่อตั้งอาณาจักรขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียใต้และกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธ

             พระเจ้าเมนันเดอร์ทรงกำเนิดที่แถบคอเคซัส และทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของบักเตรีย ในที่สุดพระองค์ก็ก่อตั้งอาณาจักรในอนุทวีปอินเดีย ขยายออกจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำคาบูลทางทิศตะวันตกไปจรดแม่น้ำราวีทางทิศตะวันออก และจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำสวัตทางตอนเหนือไปสู่อะราโคเซีย (จังหวัดเฮลมันด์) เหล่านักบันทึกชาวอินเดียโบราณชี้ว่า พระองค์ได้ขยายอาณาจักรไปทางทิศใต้เข้ามาในรัฐราชสถานและขยายไปทางทิศตะวันออกถึงฝั่งล่างของแม่น้ำคงคาที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนา) และสตราโบนักภูมิศาสตร์กรีกเขียนไว้ว่า “(พระองค์พิชิตรัฐ (ในอินเดีย) ได้มากกว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช”
             ตัวเลขขนาดใหญ่ในเหรียญของพระองค์ที่ถูกค้นพบ ยืนยันถึงการค้าที่เจริญรุ่งเรืองและช่วงระยะเวลาของอาณาจักรพระองค์ พระเจ้าเมนันเดอร์ยังได้เป็นผู้อุปัฏภัมภ์พระพุทธศาสนา และบทสนทนาของพระองค์กับพระนาคเสน พระเถระนักปราชญ์ชาวพุทธ ก็ถูกบันทึกไว้เป็นผลงานสำคัญทางพระพุทธศาสนาชื่อ "มิลินทปัญหา" (ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์) หลังจากที่พระองค์สวรรคตในปี 130 ก่อน ค.ศ. พระมเหสีของพระองค์พระนามว่า อะกาทอคลีอา (Agathokleia) ก็รับช่วงต่อโดยเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระโอรสของพระองค์พระนามว่า สตราโต ที่ 1 (Strato I ) การบันทึกของพระพุทธศาสนาบอกว่าพระองค์ส่งมอบอาณาจักรไปสู่พระโอรสและปลีกตัวเองจากโลก แต่พลูตราชบันทึกว่าพระองค์สวรรคตในค่ายในขณะที่มีการออกรบทางทหาร และยังบอกว่า พระอัฏฐิของพระองค์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกันเพื่อเมืองต่างๆเพื่อนำไปประดิษฐานในอนุสรณ์สถาน อาจจะเป็นสถูปทั่วทั้งอาณาจักรของพระองค์
             ดินแดนของพระองค์ครอบคลุมทางภาคตะวันออกของบัคเตรียเป็นจักรวรรดิกรีกที่แยกออกมา (ทุกวันนี้คือ จังหวัดบัคเตรียBactria Province) และขยายไปยังอินเดีย (ทุกวันนี้คือ ภูมิภาคของจังหวัด Khyber Pakhtunkhwa และ จังหวัด ปัญจาบ Punjab ของปากีสถาน ส่วนในอินเดียครอบคลุมรัฐ Haryana และส่วนพื้นที่ของ Himachal Pradesh และรัฐ Jammu ) เมืองหลวงคาดกันว่าเป็นเมืองสาคละ sagala เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในภาคของรัฐปัญจาบ (เชื่อกันว่า ปัจจุบันคือเมือง Sialkot ในปากีสถาน)

เอกสารอ้างอิง : 
Bopearachchi (1998) and (1991), respectively. The first date is estimated by Osmund Bopearachchi and R. C. Senior, the other Boperachchi

ธรรมทาน/ห้องสมุดออนไลน์

 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย