กล่าวชื่อ “เจ้าคุณสุนทรพิพิธ” ผู้คนในแวดวงนักปกครอง ที่กระทรวงมหาดไทยรุ่นเก่าจะรู้จักทั้งชื่อเสียงและเกียรติคุณเป็นอย่างดี ท่านเจ้าคุณสุนทรท่านนี้เป็นพระยาและเจ้าเมืองตั้งแต่ยังหนุ่มมาก อายุเพียง 30 เท่านั้นเอง นั่นคือในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ท่านยังอยู่ในราชการต่อมา จนได้ตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการประจำเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย และเมื่อลงเล่นการเมืองก็ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎร ต่อมาก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พระยาสุนทรพิพิธ ขอบคุณที่มาภาพ : สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th. https://pridi.or.th/th/content/2022/10/1277 |
พระยาสุนทรพิพิธ เป็นคนเมืองธนบุรีนี่เอง บิดาชื่อ แพ และมารดาชื่อ หุ่น ท่านเกิดที่บ้าน คลองบางสะแก ตำบลตลาดพลู ฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ปี 2434 มีชื่อเดิมว่า เชย สกุล มัฆวิบูลย์ ถึงวัยเรียนจึงได้เริ่มเรียนที่วัดบางสะแกนอก จากนั้นจึงข้ามฝั่งแม่น้ำมาเรียนที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข แล้วย้ายข้ามกลับไปศึกษาต่อที่วัดนวลนรดิศจนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 แล้วจึงได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ได้เข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เรียนจบได้ประกาศนียบัตรวิชารัฏฐประศาสน์ ขณะที่มีอายุได้ 18 ปี จากนั้นจึงได้เริ่มทำงานไปฝึกหัดราชการที่อำเภอเมืองสงขลา ท่านคงทำงานดี เมื่อนายย้ายไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอีสาน นายจึงขอตัวไปทำงานด้วย และได้ตำแหน่งเป็นเลขานุการมณฑลตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี สำหรับบรรดาศักดิ์นั้น ในปีถัดมาท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนศุภกิจวิเลขการ อีกสองปีต่อมาคือปี 2456 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงในนามเดิม และได้ตำแหน่งเป็นปลัดจังหวัดขุขันธ์ ตอนนั้นอายุได้ 22 ปี ได้สมรสกับ นางสาวประยูร เศวตเลข
ปี พ.ศ. 2459 เป็นปีเดียวกันนี้ เมื่อนามเมืองขุขันธ์ ได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดขุขันธ์” ซึ่งตรงกับปลายสมัยที่ อำมาตตรีหม่อมเจ้าถูกถวิล สุขสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ ท่านสุดท้าย ในขณะนั้น ท่านเป็นหนึ่งในข้าราชการที่เป็นข้าราชบริพารและมีตำแหน่งประจำจังหวัดขุขันธ์ ที่ได้ขอ พระราชทานนามสกุล
นามสกุลลำดับที่ 1550 ผู้ขอพระราชทาน คือ หลวงศุภกิจวิเลขการ (เชย) ปลัดจังหวัดขุขันธ์ (พ.ศ. 2456 -2459) มณฑลอุบลราชธานี , ( พระยาสุนทรพิพิธ ,พ.ศ. 2467) ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า “มัฆวิบูลย์”
งานในกระทรวงมหาดไทยของท่านได้เจริญมาด้วยดี อายุเพียง 25 ปีก็ได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว โดยได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงปี 2462 จึงได้ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ จนปี 2464 ในวันที่ 30 ธันวาคม ท่านได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรพิพิธ นับว่าเป็นพระยาที่หนุ่มมากอายุเพียง 30 ปี
ปี พ.ศ. 2459 เป็นปีเดียวกันนี้ เมื่อนามเมืองขุขันธ์ ได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดขุขันธ์” ซึ่งตรงกับปลายสมัยที่ อำมาตตรีหม่อมเจ้าถูกถวิล สุขสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ ท่านสุดท้าย ในขณะนั้น ท่านเป็นหนึ่งในข้าราชการที่เป็นข้าราชบริพารและมีตำแหน่งประจำจังหวัดขุขันธ์ ที่ได้ขอ พระราชทานนามสกุล
นามสกุลลำดับที่ 1550 ผู้ขอพระราชทาน คือ หลวงศุภกิจวิเลขการ (เชย) ปลัดจังหวัดขุขันธ์ (พ.ศ. 2456 -2459) มณฑลอุบลราชธานี , ( พระยาสุนทรพิพิธ ,พ.ศ. 2467) ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า “มัฆวิบูลย์”
งานในกระทรวงมหาดไทยของท่านได้เจริญมาด้วยดี อายุเพียง 25 ปีก็ได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว โดยได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงปี 2462 จึงได้ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ จนปี 2464 ในวันที่ 30 ธันวาคม ท่านได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรพิพิธ นับว่าเป็นพระยาที่หนุ่มมากอายุเพียง 30 ปี
ในช่วงเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทดลองตั้งเมืองจำลองชื่อ “ดุสิตธานี” จัดทดลองให้หัดมีการบริหารแบบเทศบาล ที่น่าจะจำลองมาจากแบบของอังกฤษ ให้มีชาวเมืองคือเจ้าของบ้าน ให้เลือกผู้บริหารเมือง ฝึกกันที่เมืองจำลองสักช่วงเวลาหนึ่ง ทรงเห็นว่ารู้เรื่องกันพอสมควรแล้ว ก็ขอมหาดไทยที่จะขอตัวพระยาสุนทรพิพิธ เจ้าเมืองนครสวรรค์ มาเป็นหัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นคนแรกอย่างจริงจังที่เมืองสมุทรสาคร อันเป็นที่ตั้งของสุขาภิบาลท่าฉลอม ที่พระราชบิดาของท่านได้ทดลองตั้งขึ้นมาก่อนหน้านั้น ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยก็ยอม และได้ย้ายพระยาสุนทรพิพิธมาเตรียมการที่จะบริหารท้องถิ่นที่สมุทรสาคร แต่ยังไม่ทันตั้งได้เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต
พระยาสุนทรพิพิธ ได้เคยเล่าเรื่องนี้ไว้บ้าง จะขอยกความตอนหนึ่งมาให้อ่าน อันแสดงถึงงานที่จะต้องทำในตอนนั้น
“ฉะนั้นหน้าที่ของข้าพเจ้าในชั้นต้นก็คือ การร่วมเป็นกรรมการพิจารณาจัดร่างธรรมนูญการปกครอง และระเบียบแบบแผนที่จะต้องใช้ในการนี้ อีกประการหนึ่งก็คือ ข้าพเจ้าจะต้องศึกษาระบบ Municipality ของอังกฤษ โดยให้ไปติดต่อปรึกษาหารือกับหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ ซึ่งเป็นกรรมการในเรื่องนี้ด้วยผู้หนึ่ง ...”
ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว เมื่อมีการเสนอความคิดเรื่องการบริหารเทศบาล พระยาสุนทรพิพิธและม.จ.สกลวรรณากร สองท่านนี้จึงได้รวมกันเขียนหนังสือเรื่องการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลออกมาเผยแพร่ จากนักปกครองสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระยาสุนทรพิพิธย้ายจากต่างจังหวัดเข้ามาเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครธนบุรี ในเดือนมีนาคม ปี 2476 ดังนั้นท่านจึงยังเป็นนักปกครองอยู่ได้ด้วยดี ถึงปี 2478 ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาดไทย อันเป็นกรมสำคัญที่สุดของกระทรวง ตอนนั้นพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้นถึงสมัยหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2482 พระยาสุนทรพิพิธก็ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย
ท่านเป็นปลัดกระทรวงอยู่ได้สักสองปี ไทยก็เข้าอยู่ในภาวะสงคราม ภายใต้การนำของนายกฯ หลวงพิบูลฯ งานช่วงนั้นจึงเป็นงานที่ยุ่งยากมาก ผ่านมาจนเสร็จสิ้นสงคราม ท่านจึงลาออกจากราชการเพื่อรับบำนาญในปี 2488 ขณะที่มีอายุได้ 54 ปี แม้ยังไม่ถึงเวลาเกษียณราชการ ทั้งนี้เข้าใจว่าท่านเตรียมเดินทางเข้าสู่การเมือง เพราะจะมีการเลือกตั้งครั้งแรกในเวลา 9 ปี เป็นการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม ปี 2489 ท่านเจ้าคุณลงเลือกตั้งที่จังหวัดพิษณุโลก เมืองที่ท่านเคยเป็นข้าหลวงมาหลายปี ผลงานดีท่านจึงได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดนี้ และได้ร่วมรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ครั้นถึงปี 2490 ท่านได้ร่วมรัฐบาลหลวงธำรงฯเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
หลังการรัฐประหารปี 2490 แล้ว ท่านจึงเว้นว่างจากวงการเมืองไปเป็นเวลากว่าทศวรรษ จนเมื่อจอมพล_สฤษดิ์_ธนะรัชต์ ยึดอำนาจครั้งที่ 2 และตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น พระยาสุนทรพิพิธได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างฯด้วยในปี 2502 อีกปีถัดมาท่านจึงได้เริ่มงานใหม่คู่กันไปด้วย คือไปเป็นอาจารย์ประจำที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะท่านเป็นผู้บรรยายทั้งในกระทรวงมหาดไทย และที่มหาวิทยาลัยมาก่อนแล้ว เช่น วิชากฎหมายเลือกตั้ง หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาด้วยในปี 2511
พระยาสุนทรพิพิธ เป็นสมาชิกวุฒิสภาจนถึงวันที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจในปี 2514 จากนั้นท่านก็ออกไปเป็นผู้ดูการเมืองอยู่นอกวง จนถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2516
เอกสารอ้างอิง
พระยาสุนทรพิพิธ - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า. (2016). Kpi.ac.th. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=พระยาสุนทรพิพิธ
Wikiwand - พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ). (2023). Wikiwand; Wikiwand. https://www.wikiwand.com/th/พระยาสุนทรพิพิธ_(เชย_สุนทรพิพิธ)
เมื่อรัฐบาลคณะราษฎรจัดอบรมปลัดจังหวัดและนายอำเภอ ครั้งแรกสุด (ตอนที่ 1). (2022). สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th. https://pridi.or.th/th/content/2022/10/1277