ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สวดมนต์ข้ามปี 2561 ด้วยตนเองอยู่ที่บ้าน

ประวัติการสวดมนต์

             สำหรับคติความเชื่อการสวดมนต์ของคนไทยนั้นได้ถือตามเหตุการณ์ในสมัยพระพุทธกาล โดยมีเรื่องเล่าว่า เมื่อคราวเกิดโรคระบาดที่เมืองเวสาลีทำให้คนและสัตว์ตายเป็นจำนวนมาก พระอานนท์จึงได้ไปยัง ณ ที่นั้นแล้ว "สวดรัตนสูตร" โรคนั้นได้ระงับไปสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประชวร โปรดให้พระจุนทเถระ "สวดโพชฌังคปริตร" ถวาย ท่านจึงได้หายจากอาการประชวรครั้งหนึ่ง พวกภิกษุไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าถูกพวกอมนษุย์รบกวน พระพุทธองค์โปรดให้ "สวดกรณียเมตตสูตร" ภัยเหล่านั้นก็หมดไป

            สำหรับมือใหม่ที่อยากสวดมนต์ข้ามปีแต่ไม่สะดวกที่จะออกไปตามสถานที่จัดงานสวดมนต์ข้ามปี สามารถสวดมนต์เองอยู่ที่บ้านได้ ซึ่ง สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ขอแนะนำ 9 บทสวดมนต์เสริมดวงให้ชีวิตรุ่งเรือง ตามลำดับต่อไปนี้

บทที่ 1 คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ 
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ 
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
บทที่ 2 บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) 
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
บทที่ 3 นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)
บทที่ 4 สมาทานศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
บทที่ 5 บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (ให้อานิสงส์ในทุกๆ เรื่อง)
บทพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา
เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ
บทพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
บทพระสังฆคุณ 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
บทที่ 6 บทมงคลสูตร(ป้องกันอันตราย เพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่)
เอวัมเม สุตัง ฯ 
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน
อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา
อะภิกกันตายะ รัตติยา อภิกกันตะวัณณา
เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา 
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตะวา
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มัคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติฯ
บทที่ 7 บทโพชฌังคปริตร (หายจากโรคภัย สุขภาพดีรับปีใหม่)

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตกา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต สัพพะทาฯ
เอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตะวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
เอะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญนะ ภะนาเปตะวานะ สาทะรัง
สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทาฯ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
บทที่ 8 บทพุทธชัยมงคลคาถา (ชนะอุปสรรคทั้งปวง พบความสำเร็จในปีใหม่)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
บทที่ 9 บทแผ่เมตตา
แผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข)
อะหัง นิททุกโข โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์)
อะหัง อะเวโร โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร)
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง)
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด)

บทแผ่เมตตาทั่วไป
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ

กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
สวดมนต์ข้ามปีดีอย่างไร
พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร กล่าวไว้ว่า 
"การสวดมนต์ถือว่าเป็นพุทธานุสติให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าพร้อมน้อมนำหลักคำสอนมาปฏิบัติตาม นอกจากนี้ช่วยให้จิตใจสงบ ยังเป็นที่พึ่งทางใจ และทำให้จิตเกิดพลังโดยเฉพาะหากเป็นการสวดมนต์วันปีใหม่จะถือว่ามีความเป็นสิริมงคลเป็นอย่างยิ่ง"
พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก 6 กล่าวไว้ว่า
"สวดมนต์ ช่วยรักษาโรคเครียด หากเปรียบร่างกายมนุษย์เป็นคอมพิวเตอร์ การสวดมนต์ก็คือการป้อนข้อมูลที่ไม่มีไวรัสเข้าไปทำให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น บทสวดมนต์ที่แนะนำ คือ "บทพาหุง" ซึ่งจะช่วยปกป้องจากอันตราย และบทโพชฌังคสูตร เพื่อช่วยให้ร่ายกายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ"
พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเลขานุการ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กล่าวไว้ว่า
"ทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า การสวดมนต์ ช่วยคุ้มครองปกปักษ์รักษาจากอันตราย การสวดบทอิติปิโส ซึ่งเป็นการบูชาพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ สามารถทำได้ทุกวัน ขณะที่การสวดมนต์รับปีใหม่นั้นมักนิยมสวดบทนพเคราะห์ เชื่อว่าจะเสริมดวงประจำวันเกิดของผู้ที่สวดได้"
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย กล่าวไว้ว่า
"บทสวดมนต์ทุกบท ล้วนเป็นแก่นคำสอนของพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า มีอานุภาพแตกต่างกันไป เช่น "บทกาลามสูตร" เป็นบทสวดเพื่อให้เกิดปัญญา "บทมงคลสูตร" เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นมงคลแท้-เทียม แต่เหนืออื่นใด ผลของการสวดมนต์ ก็คือเมื่อสวดแล้วก็จะเห็นธรรม"

วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2512

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2512พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 153 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ตรงกับสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี





          ต่อมา รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้สภาพของนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ สิ้นสุดสภาพลงแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เนื่องจากได้ดำเนินการจัดสรรที่ดินให้สมาชิกนิคมได้มีที่ดินเป็นของตนเอง และมีการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ได้แก่ ถนน แหล่งน้ำ ท่อระบายน้ำ โรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น และได้ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจให้สมาชิกในนิคมมีหลักฐานมั่นคง สามารถเลี้ยงตัวเองได้ตามอัตภาพ และบรรลุความมุ่งหมายในการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองแล้ว จึงสมควรถอนสภาพนิคมเพื่อมอบให้จังหวัดศรีสะเกษปกครองดูแลต่อไป




ที่มา: 
- พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ๒๕๑๒ คลิก 
- ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการสิ้นสภาพของนิคมสร้างตนเองปรือใหญ่จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ๒๓๒๕ คลิก

ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง

ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
          งานนิคมสร้างตนเองเป็นงานจัดสวัสดิการสังคมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้ดำเนินการมาพร้อมกับการก่อตั้งกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในปัจจุบัน) โดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มีแนวคิดที่จะนำที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือคนยากจนให้มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในลักษณะชุมชนที่เป็นระเบียบ พัฒนาให้มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้วให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้น ชุมชนที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า นิคมสร้างตนเอง” และราษฎรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินเรียกว่า สมาชิกนิคม” นิคมสร้างตนเองแห่งแรกที่ได้รับจัดตั้งขึ้นคือ นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
          ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพขึ้น เพื่อให้กรมประชา สงเคราะห์ได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ และครั้งสุดท้ายได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๔๘๕ และ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยใช้พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ มาจนถึงปัจจุบัน
         การจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในระยะแรกมีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจนที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพเข้ามาหางานทำในเมืองจนเกิดปัญหาสังคมเมือง แต่หลังจากได้มีการรปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจซึ่งปรากฎรูปแบบชัดเจน เมื่อมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ ที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๐๙) เป็นต้นมา การจัดนิคมสร้างตนเองได้ถูกนำมาใช้เป็นกลไกหรือเครื่องมือของรัฐในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและความมั่นคงของชาติ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกในการเข้าพัฒนาชนบท และแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน
          การมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการแก้ไขตามมาหลายประการ เช่น การอพยพราษฎรเขตน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อน ปัญหาความมั่นคงในเขตพื้นที่กองทัพภาคต่าง ๆ และปัญหาชนกลุ่มน้อยในเขตชานแดนภาคใต้ เป็นต้น นอกจากนี้การมุ่งที่จะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้ได้ตามเป้าหมาย จำเป็นต้องอาศัยหน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกลไกสำคัญที่รัฐบาลนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา คือ "งานนิคมสร้างตนเอง"
   วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
๑.  เพื่อจัดสรรที่ดินให้ราษฎรกลุ่มเป้าหมายอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพและอยู่อาศัยในนิคมสร้างตนเองอย่างเป็นระเบียบและถาวร พร้อมทั้งส่งเสริมให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นเป็นของตนเองและเป็นมรดกตกทอดไปสู่ลูกหลาน
๒.      เพื่อพัฒนานิคมสร้างตนเองในด้านต่างๆให้สมาชิกนิคมมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถช่วยเหลือตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
๓.      เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในลักษณะโครงการพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง
   การจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
          มีการดำเนินงานและวิธีการดังนี้
๑.      การสำรวจและเลือกที่ดิน
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะดำเนินการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง หรือคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นในท้องที่ใด กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะต้องขอความร่วมมือ กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องเพื่อตั้งคณะกรรมการสำรวจและเลือกที่ดินที่จะกำหนดในการตั้งนิคมฯเพื่อให้ทราบข้อมูลต่างๆ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า ที่ดินที่จะจัดตั้งนิคมสร้างตนเองต้องมีเนื้อที่อย่างต่ำ ๕,๐๐๐ ไร่ บริเวณที่ดินจะต้องมีอาณาเขตติดต่อหรือย่านชุมชนเพียงใด (หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในบริเวณที่ดินมีแหล่งน้ำตลอดปีหรือไม่ เกิดภัยธรรมชาติหรือไม่ เป็นต้น
๒.     จัดทำโครงการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะจัดทำโครงการเสนอหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องพิจารณาโครงการประกอบด้วย แผนผังการจัดที่ดิน หลักเกณฑ์การจัดที่ดิน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
๓.     การจำแนกประเภทที่ดิน
ข้อมูลที่ได้คณะกรรมการสำรวจและเลือกที่ดินจะนำเสนอคณะอนุกรรมการจำแนกประเภทที่ดิน พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วนำเสนอคณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดินพิจารณาว่าพื้นที่ใดเหมาะสมกับการเกษตรพื้นที่ส่วนใดควรกำหนดเป็นเขตพื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ป่าและความชุ่มชื้นของดิน(ป่าไม้ส่วนกลาง๒๐%) แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติจำแนกออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ แล้วเสนอคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติพิจารณาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการนำพื้นที่ไปดำเนินการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
๔.     การขอใช้พื้นที่จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะต้องขออนุญาตใช้ที่ดินต่อหน่วยราชการที่เป็นผู้มีอำนาจดูแลที่ดินนั้น เพื่อให้คณะเจ้าหน้าที่นิคมสร้างตนเองเข้าไปดำเนินการสำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ และดำเนินงานในเบื้องต้นในระหว่างที่ยังไม่ได้ออกพระราชกฤษฎีกา
ประเภทของนิคมสร้างตนเอง
         กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้รับมอบให้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองในรูปแบบและลักษณะต่างๆ จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น ๕๙ นิคม ใน ๔๑ จังหวัด แต่ปัจจุบันคงเหลือนิคมสร้างตนเองที่อยู่ในความรับผิดชอบ ๔๔ นิคม ใน ๓๕ จังหวัด จำแนกออกได้เป็น  ประเภท คือ
        ๑นิคมสร้างตนเองในลักษณะช่วยเหลือราษฎรโดยทั่วไป
                  จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาราษฎรไม่มีที่ดินทำกินและยากจน เช่น ราษฎรจากแหล่งเสื่อมโทรม ราษฎรที่ถูกทางราชการสั่งยกเลิกอาชีพ ราษฎรที่ถูกขับไล่จากการใช้ที่ดินของทางราชการ เป็นต้น นิคมสร้างตนเองลักษณะนี้มีจำนวน ๑๕ นิคม ใน ๑๔ จังหวัด ได้แก่
๑)                 นิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
๒)                นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี
๓)                นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
๔)                นิคมสร้างตนเองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๕)                นิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง จังหวัดระยอง
๖)                 นิคมสร้างตนเองท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
๗)                นิคมสร้างตนเองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
๘)                นิคมสร้างตนเองเชียงพิณ จังหวัดอุดรธานี
๙)                 นิคมสร้างตนเองห้วยคล้า จังหวัดศรีสะเกษ  (อยู่ระหว่างการถอนสภาพ)
๑๐)             นิคมสร้างตนเองขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๑)             นิคมสร้างตนเองเทพา จังหวัดสงขลา
๑๒)           นิคมสร้างตนเองรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
๑๓)            นิคมสร้างตนเองธารโต จังหวัดยะลา
๑๔)            นิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
๑๕)            นิคมสร้างตนเองทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร
        ๒.นิคมสร้างตนเองในลักษณะช่วยเหลืออพยพราษฎรจากเขตน้ำท่วม
                   จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนชลประทาน เขื่อนพลังงานไฟฟ้า และเขื่อนเอนกประสงค์ทุกแห่ง นิคมสร้างตนเองลักษณะนี้มีจำนวน ๑๑ นิคม ใน ๑๑ จังหวัด ได้แก่
๑)           นิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพล จังหวัดเชียงใหม่
๒)          นิคมสร้างตนเองกิ่วลม จังหวัดลำปาง
๓)          นิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์
๔)          นิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี
๕)          นิคมสร้างตนเองลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
๖)           นิคมสร้างตนเองห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี
๗)          นิคมสร้างตนเองลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร
๘)          นิคมสร้างตนเองโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
๙)           นิคมสร้างตนเองลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
๑๐)       นิคมสร้างตนเองเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
๑๑)       นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี
               
          ๓นิคมสร้างตนเองในลักษณะช่วยเหลือราษฎรในเขตจังหวัดชายแดนและเขตแทรกซึมของ
              ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
                   จัดตั้งขึ้นเพื่อความมั่นคงของประเทศ และให้การบำรุงขวัญราษฎรที่อยู่ห่างไกลตามแนวชายแดน และอยู่ในเขตปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยให้ความช่วยเหลือในด้านการประกอบอาชีพการศึกษา สาธารณสุข สาธารณูปโภคต่างๆ และจัดกำลังป้องกันรักษาความสงบ นิคมสร้างตนเองลักษณะนี้มีจำนวน  นิคม ใน  จังหวัด ได้แก่
๑)           นิคมสร้างตนเองโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
๒)          นิคมสร้างตนเองคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
๓)          นิคมสร้างตนเองปราสาท จังหวัดสุรินทร์
๔)          นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
๕)          นิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
๖)           นิคมสร้างตนเองคลองน้ำใส จังหวัดสระแก้ว
๗)          นิคมสร้างตนเองควนขนุน จังหวัดพัทลุง
๘)          นิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๙)           นิคมสร้างตนเองลำโดมใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี
          ๔นิคมสร้างตนเองในลักษณะช่วยเหลือราษฎรเพื่อเป้าหมายทางการเมืองและเศรษฐกิจ        
                   จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๐๔ เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศใน  จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่การปกครองเข้าไปไม่ถึง โดยการอพยพราษฎรไทยพุทธไปอยู่ร่วมกับราษฎรไทยมุสลิม โดยส่งเสริมการพัฒนาทั้งทางด้านสาธารณูปโภคและอาชีพ นิคมสร้างตนเองลักษณะนี้มีจำนวน  นิคม ใน  จังหวัด คือ
๑)           นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา
๒)          นิคมสร้างตนเองสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
๓)          นิคมสร้างตนเองศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
๔)          นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสตูล
๕)          นิคมสร้างตนเองเบตง จังหวัดยะลา
          ๕นิคมสร้างตนเองในลักษณะพิเศษเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาทางการปกครอง
                   จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ราษฎรได้รู้จักอาชีพใหม่ๆ ที่คนไทยไม่คุ้นเคยซึ่งสามารถยึดเป็นพื้นฐานที่มั่นคงในทางเศรษฐกิจและขยายให้เพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคตได้ และเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับราษฎร และระหว่างราษฎรกับราษฎร นิคมสร้างตนเองในลักษณะนี้มีจำนวน  นิคม ใน ๖ จังหวัด คือ
๑)           นิคมสร้างตนเองปากจั่น จังหวัดระนอง
๒)          นิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหม จังหวัดสุรินทร์
๓)          นิคมสร้างตนเองทุ่งสาน จังหวัดพิษณุโลก
๔)          นิคมสร้างตนเองบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
นิคมสร้างตนเองที่ประกาศสิ้นสภาพนิคมฯ
          กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ดำเนินการประกาศสิ้นสภาพนิคมฯ ในราชกิจนานุเบกษาแล้ว ๑๔ นิคมฯ และอยู่ระหว่างการประกาศสิ้นสภาพนิคม ดังนี้
๑)           นิคมสร้างตนเองบ้านโตก จังหวัดเพชรบูรณ์
๒)          นิคมสร้างตนเองสาริกา จังหวัดนครนายก
๓)          นิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร จังหวัดเพชรบุรี
๔)          นิคมสร้างตนเองบึงพาด จังหวัดอุตรดิตถ์
๕)          นิคมสร้างตนเองทับกวาง จังหวัดสระบุรี
๖)           นิคมสร้างตนเองเขาบ่อแก้ว จังหวัดนครสวรรค์
๗)          นิคมสร้างตนเองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๘)          นิคมสร้างตนเองร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
๙)           นิคมสร้างตนเองถลาง จังหวัดภูเก็ต
๑๐)       นิคมสร้างตนเองห้วยทับทัน จังหวัดสุรินทร์
๑๑)       นิคมสร้างตนเองบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
๑๒)     นิคมสร้างตนเองเลี้ยงโคนม จังหวัดสระบุรี
๑๓)      นิคมสร้างตนเองปรือใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
๑๔)      นิคมสร้างตนเองแว้ง จังหวัดนราธิวาส
การบรรลุความมุ่งหวังของการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง
          มติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๓๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ หลักเกณฑ์การบรรลุผลตามความมุ่งหมายของการจัดที่ดินนิคมสร้างตนเอง คณะอนุกรรมการเห็นว่าจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๕๑๑ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ ซึ่งสรุปได้ว่า ในการจัดนิคมนั้น รัฐได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง ซึ่งได้แก่
๑. ได้มีการวางผัง แบ่งแปลงที่ดิน และจัดคนเข้าครอบครองทำกินครบถ้วนตามสภาพของที่ดินที่จัดแล้ว
๒. จัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเสร็จสมบูรณ์ตามผังที่สร้างไว้ หรือ ตามสมควรสภาพท้องถิ่นนั้นๆ หรือเพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการครองชีพ
๓. ประชาชนได้ตั้งเคหสถาน ซึ่งมีมาตราไม่ต่ำกว่ามาตราทั่วไปของเกษตรกร ในท้องถิ่นใกล้เคียงเป็นหลักแหล่ง และประกอบอาชีพมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีไม่น้อยกว่ารายได้เฉลี่ยของเกษตรกรในท้องที่ใกล้เคียง
ได้ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓) ให้แก่สมาชิกนิคมครบถ้วน
การพัฒนานิคมสร้างตนเอง
          งานนิคมสร้างตนเองดำเนินการในลักษณะเชิงบูรณาการ เน้นให้สมาชิกนิคมมีส่วนร่วม โดยร่วมคิด ร่วมตัดสิน ร่วมปฏิบัติ และร่วมติดตามผล
การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ชุมชน ได้แก่ การสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านภายในเขตนิคมฯ การเพิ่มเส้นทางคมนาคมและเส้นทางลำเลียงนำผลผลิตไปจำหน่าย การจัดหาแหล่งน้ำบริโภคใช้สอยเพื่อให้มีน้ำใช้สอยอย่างพอเพียงตลอดปี เช่น การขุดบ่อผิวดิน การขุดบ่อบาดาล และระบบประปา การจัดสร้างระบบชลประทานขนาดเล็ก หรือ การพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ เช่น อ่างเก็บน้ำ ฝายน้ำล้น สระน้ำ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกนิคมสามารถประกอบอาชีพการเกษตรได้ตลอดปี การขยายเขตไฟฟ้า และจัดบริการสาธารณะอื่นๆ เช่น โรงเรียน สถานีอนามัย ตลาด และย่านการค้าของชุมชนในนิคมฯ
การพัฒนาอาชีพ พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ มาตรา ๙ กำหนดให้สมาชิกนิคมต้องใช้ที่ดินได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เฉพาะเพื่อการเกษตร ดังนั้น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจึงได้ดำเนินการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมในลักษณะครบวงจร เพื่อทำให้สมาชิกนิคมมีรายได้สูงขึ้นอย่างมั่นคงจนสามารถช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้
การพัฒนาสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกนิคม ครอบครัวและชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือได้รับการตอบสนองความต้องการตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ
การพัฒนาการเมืองการปกครอง ได้กำหนดรูปแบบการปกครองในนิคมสร้างตนเองโดยแบ่งพื้นที่เป็นเขต มีหัวหน้าเขตซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกนิคมและคณะกรรมการส่งเสริมเขตรับผิดชอบการปกครองภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนของเจ้าหน้าที่นิคมฯ เพื่อให้สมาชิกนิคมได้เรียนรู้ระบบการปกครองตนเองตามแนวทางประชาธิปไตย และเน้นการวางรากฐานก่อนที่จะมอบให้จังหวัดรับไปดำเนินงานในรูปการปกครองท้องถิ่นต่อไป
การออกเอกสารสิทธิที่ดิน เมื่อดำเนินการจัดสรรที่ดินให้กับราษฎรตามวัตถุประสงค์ของการจัดนิคมสร้างตนเองแล้ว ยังต้องดำเนินการให้สมาชิกนิคมได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเป็นมรดกตกทอดไปยังลูกหลาน โดยสมาชิกนิคมจะต้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ และ ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขว่า “เมื่อสมาชิกนิคมได้รับประโยชน์ในที่ดินแล้วและได้เป็นสมาชิกนิคมเกินกว่า ๕ ปี ทั้งได้ชำระเงินทุนที่รัฐบาลได้ลงไปและชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว ให้ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓ให้แก่ผู้นั้น ซึ่งผู้ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓แล้ว ให้นำไปขอออกโฉนดที่ดิน หรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ แต่ภายใน ๕ ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดก
ประเภทราษฎรที่อาศัยทำกินในนิคมสร้างตนเอง
สมาชิกนิคม หมายถึง ราษฎรยากจนไม่มีที่อยู่อาศัยและทำกินได้รับการคัดเลือกให้อพยพตนเองและครอบครัว เข้าไปตั้งถิ่นฐานตามแปลงที่ดินที่ได้จัดทำผังแปลงไว้แล้ว โดยทั่วไปจะจัดให้ครอบครัวละ ๒๕ ไร่ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย ๒ ไร่ และที่ดินทำกิน ๒๓ ไร่ สำหรับนิคมสร้างตนเองบริเวณภาคใต้หรือนิคมสร้างตนเองที่มีการอพยพออกจากเขตน้ำท่วม ได้จัดสรรให้ครอบครัวละ ๑๘ ไร่ ราษฎรที่เข้าเป็นสมาชิกนิคมเมื่อเข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ แล้ว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓เพื่อนำไปขอออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป
ราษฎรที่เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินก่อนที่จะมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองราษฎรประเภทนี้หากมีหลักฐานแสดงการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนการจัดตั้งนิคมฯ เช่น ส.ค.๑ หรือ น.ส.๓ ให้ถือว่าที่ดินนั้นมิใช่ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดสรรให้ราษฎรทั่วไปได้ แต่ถ้าราษฎรที่เข้าครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ไม่มีเอกสารใดๆมาแสดงสิทธิแล้ว จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมก่อน
ราษฎรที่เข้ามาครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินหลังการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในระยะบุกเบิกป่าเพื่อจัดผังแปลง ทำให้ที่ดินเกิดข้อจำกัดในด้านการบริหารจัดการที่ดินทำให้การจัดสรรที่ดินไม่ทันความต้องการของราษฎร จึงมีราษฎรบางส่วนเข้าครอบครองที่ดินในเขตนิคมโดยไม่ถูกต้อง แต่ต่อมาต้องยอมรับราษฎรเหล่านี้ว่าเขาเป็นราษฎรที่จะต้องให้การพัฒนาเช่นกัน โดยให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม และดำเนินการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดินต่อไป
ประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่ดินที่ออกให้สมาชิกนิคม
หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ค.๑ออกให้เมื่อสมาชิกนิคมได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ตามมาตรา ๘
หนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓ออกให้เมื่อสมาชิกของนิคมมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามมาตรา ๑๑

          ปัจจุบันทั่วประเทศ มีนิคมสร้างตนเอง ทั้งหมด ๔๔ แห่ง ดังนี้
๑)        นิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
๒)       นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี
๓)       นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
๔)       นิคมสร้างตนเองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๕)       นิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง จังหวัดระยอง
๖)        นิคมสร้างตนเองท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
๗)       นิคมสร้างตนเองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
๘)       นิคมสร้างตนเองเชียงพิณ จังหวัดอุดรธานี
๙)        นิคมสร้างตนเองห้วยคล้า จังหวัดศรีสะเกษ  (อยู่ระหว่างการถอนสถาพ)
๑๐)    นิคมสร้างตนเองขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๑)    นิคมสร้างตนเองเทพา จังหวัดสงขลา
๑๒)  นิคมสร้างตนเองรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
๑๓)   นิคมสร้างตนเองธารโต จังหวัดยะลา
๑๔)   นิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
๑๕)   นิคมสร้างตนเองทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร
๑๖)    นิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพล จังหวัดเชียงใหม่
๑๗)   นิคมสร้างตนเองกิ่วลม จังหวัดลำปาง
๑๘)   นิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์
๑๙)    นิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี
๒๐)   นิคมสร้างตนเองลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
๒๑)  นิคมสร้างตนเองห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี
๒๒)นิคมสร้างตนเองลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร
๒๓)นิคมสร้างตนเองโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
๒๔)นิคมสร้างตนเองลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
๒๕)นิคมสร้างตนเองเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
๒๖)  นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี
๒๗)นิคมสร้างตนเองโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
๒๘)นิคมสร้างตนเองคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
๒๙)  นิคมสร้างตนเองปราสาท จังหวัดสุรินทร์
๓๐)   นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
๓๑)   นิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
๓๒)นิคมสร้างตนเองคลองน้ำใส จังหวัดสระแก้ว
๓๓)  นิคมสร้างตนเองควนขนุน จังหวัดพัทลุง
๓๔)  นิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓๕)  นิคมสร้างตนเองลำโดมใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี
๓๖)   นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา
๓๗)  นิคมสร้างตนเองสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
๓๘)  นิคมสร้างตนเองศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
๓๙)   นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสตูล
๔๐)   นิคมสร้างตนเองเบตง จังหวัดยะลา
๔๑)   นิคมสร้างตนเองปากจั่น จังหวัดระนอง
๔๒)นิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหม จังหวัดสุรินทร์
๔๓)  นิคมสร้างตนเองทุ่งสาน จังหวัดพิษณุโลก
๔๔)  นิคมสร้างตนเองบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ขอบคุณที่มา : กองพัฒนาสังคมและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ  กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงขอมนุษย์ ที่ลิงก์ http://www.bsd.dsdw.go.th/index.php/2016-05-11-03-02-03/2016-05-11-03-02-19

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย