ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ชื่อเมืองขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2456(ค.ศ. 1913) เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Kukane (เขียนตามการได้ยินการออกเสียงภาษาเขมรของชาวเมืองขุขันธ์ขณะนั้น) ปรากฏนอกเหนือแผนที่ของอาณาเขตปกครองสหภาพอินโดจีน (Union Indochinoise)

           อินโดจีนของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Indochine française, อังกฤษ: French Indochina) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพอินโดจีน (Union Indochinoise) เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงได้รวมเอาลาวเข้ามา อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงจนถึงปี พ.ศ. 2445 จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชีและยังถูกญี่ปุ่นรุกรานด้วย ในต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่าสงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้งรัฐเวียดนามซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่

A map of French Indochina prior to the First World War. Unfortunately there is part of western Laos which is cut off in this scan : Indochine française (1913).
การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส
          ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีมิชชันนารีคณะเยสุอิตนำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามเพิ่งจะเข้าครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก[1] ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2330 ปีโญ เดอ เบแอนได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือเหงียน อั๊ญ (ซึ่งภายหลังคือจักรพรรดิยา ลอง) ให้ได้ดินแดนที่สูญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึงปี พ.ศ. 2345 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิเช่น การปกป้องกิจการของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งเข้ามาเผยแผ่นิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมือง

           ในปี พ.ศ. 2401 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยการบุกโจมตีดานังของพลเรือเอกชาร์ล รีโกล เดอ เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ในเดือนกันยายนกองทัพผสมระหว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปน[2]ได้เข้าโจมตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด

           เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนหฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญเตื่องให้กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจากหน้าที่ในเดือนพศจิกายน พ.ศ. 2402 เพราะว่าเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดนามค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. 2405 ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนาจากจักรพรรดิตึ ดึ๊ก และต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ฝรั่งเศสก็ประกาศดินแดนของฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2410 จังหวัดเจิวด๊ก (โชฎก) ห่าเตียน และหวิญล็องก็ตกเป็นของฝรั่งเศส

         ในปี พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2410 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ


การสถาปนาอินโดจีนของฝรั่งเศส

         ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียดนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ. 2427 - 2428 ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าไว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2430 ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยาม 

The expansion of French Indochina (blue)
         โดยนิตินัย ฝรั่งเศสได้มอบอำนาจให้กับผู้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี่ ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2497

ขอบคุณที่มา :
- Kahin, George McTurnin; Lewis, John W. (1967). The United States in Vietnam: An analysis in depth of the history of America's involvement in Vietnam. Delta Books.
- Chapuis, Oscar (1995). A History of Vietnam: From Hong Bang to Tu Duc (Google Book Search). Greenwood Publishing Group. p. 195. ISBN 0313296227.
- https://th.wikipedia.org/wiki/อินโดจีนของฝรั่งเศส

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

ขอเชิญเที่ยวงาน และมาร่วมพิธีแซนโฎนตาปลอดเหล้าเมืองขุขันธ์ ปี 2560 ณ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 15 - 16 กันยายน 2560

  
             พี่น้องประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ที่รักทุกท่าน แซนโฎนตาปีนี้ ขอเชิญท่านร่วมค้นหารากเหง้าของประเพณีแซนโฎนตา เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่จะสืบทอดส่งต่อลูกหลานอย่างมีคุณค่า ความจริงทางประวัติศาสตร์แห่งประเพณีแซนโฎนตาที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลานทางพระพุทธศาสนาของดินแดนอีสานใต้เรา บอกว่า



            การทำบุญอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้ไปถึงบรรพบุรุษ หรือโฎนตาที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อจะให้ท่านได้รับจริงๆนั้น ลูกหลานทุกคน จะต้องตั้งใจปฎิบัติตนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงามเป็นพื้นฐาน อย่างน้อยก็ให้รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ อย่างสมบูรณ์ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตา แล้วตั้งใจกรวดน้ำเพื่ออุทิศผลบุญไปถึง โฎนตา หรือบรรพบุรุษ และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำมะพร้าวซึ่งถือเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ เมื่อหยาดอุทิศให้เขาเหล่านั้นจะได้รับ และได้พ้นจากทุคติภูมิสู่สุคติภพ และโฎนตาเหล่านั้นก็จะอวยพรสรรพสาธุการ ให้แก่ลูกหลานที่ตั้งใจทำบุญอุทิศ ให้ได้รับความสุขความเจริญ ไม่เจ็บไม่จน อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น และมีโชคมีลาภที่ดีงามตลอดไป

       
         วันนี้ วันดี ขอเชิญทุกท่านมาร่วมสืบสานประเพณีแซนโฎนตาอันงดงาม ด้วย
         - คนสามวัยใส่ใจแซนโฏนตา สืบทอดประเพณี
             อย่างรู้คุณค่า และมีสติ 

         - ร่วมรณรงค์ ลด ละ เลิกการดื่มเหล้า และ
             แอลกอฮอล์ทุกชนิดเพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่า
        

          นี่คือส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเพื่อสร้างเมืองขุขันธ์ให้เป็นเมือง
ที่น่าอยู่ น่าอาศัย เพราะสังคมที่ดี สามารถออกแบบ และสร้างขึ้นได้


          ด้วยความปรารถนาดีจาก คณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  กศน.อำเภอขุขันธ์  เครือข่ายประชาสังคมขุขันธ์ สถาบันวิจัยชาวนา (สวช.) โรงพยาบาลขุขันธ์ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย