ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี พ.ศ.2560

           สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดประชุมชี้แจง การจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี พ.ศ.2560 เพื่อส่งเสริมและ รักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลชุมชน กลุ่มคน และบุคคล มีส่วนร่วม ในการดำเนินการ สนับสนุนการจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัด โดยมี นายขวัญชัย  ไชยโพธิ์  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

 แบบสำรวจมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน ออนไลน์ คลิก  
 ตรวจสอบข้อมูลการสำรวจฯ คลิก   
 ดาวน์โหลดแบบสำรวจมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๑ doc pdf
 แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๒ doc pdf

          ในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙
           มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
               “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายความว่า ความรู้ การแสดงออก การประพฤติปฏิบัติ หรือทักษะ ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านบุคคล เครื่องมือ หรือวัตถุ ซึ่งบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชนยอมรับและรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน และมีการสืบทอดกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยอาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน

                “ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มคนกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม ที่มีความรู้ มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอด หรือมีส่วนร่วมในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้น

           มาตรา ๔ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริมและรักษาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
             (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

             (๒) ศิลปะการแสดง
             (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล
             (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
             (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม
             (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
             (๗) ลักษณะอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
             มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจะเข้าลักษณะใดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ
ประกาศกําหนด...(1)



          นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นการกระตุ้นให้สังคมได้รับรู้ และดูแลไม่ให้ภูมิปัญญาต่าง ๆ สูญหายไป ซึ่งตนได้มอบหมายให้ สวธ. ส่งเสริมมรดกทางภูมิปัญญาต่าง ๆ ด้วยการจัดหาเวที เปิดพื้นที่การแสดง โอบอุ้มศิลปิน เพื่อให้มีการกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่น นอกจากนี้ จะเป็นการปลุกกระแสให้ชุมชน ผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาได้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริง โดยชุมชนปราชญ์ชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญเป็นกลไกสำคัญ ในการให้ข้อมูลองค์ความรู้แก่ นักวิชาการ และผู้สนใจ และผลักดัน เผยแพร่องค์ความรู้สู่เวทีระดับชาติ และนานาชาติ ด้วย...(2)

       สำหรับ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของประเทศไทยได้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วแยกตามปี พ.ศ. ดังนี้
       ปี พ.ศ. 2552 ใน 2 สาขา  จำนวน  25 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2553 ใน 4 สาขา  จำนวน  25 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2554 ใน 6 สาขา  จำนวน  30 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2555 ใน 7 สาขา  จำนวน  70 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2556 ใน 7 สาขา  จำนวน  68 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2557 ใน 7 สาขา  จำนวน  68 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2558 ใน 7 สาขา  จำนวน  32 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2559 ใน...-...สาขา  จำนวน ...-...รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2560 ใน...-...สาขา  จำนวน ...-...รายการ คลิก

       ประเทศไทย  ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม สหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก อย่างสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา  โดยมีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม เป็นองค์กรดูแล เพื่อสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ภายในประเทศไทย
       
        ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2558 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวนทั้งสิ้น  318 รายการ ในจำนวนนี้ สวธ. ได้คัดเลือก 5 รายการ เสนอยูเนสโกพิจารณาในปี 2560 ได้แก่ มรดกภูมิปัญญาโขน มวยไทย นวดไทย อาหารสำรับไทย และโนรา ทั้งนี้การนำเสนอรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโกนั้นจะนำเสนอได้เพียงปีละ 1 รายการเท่านั้น  แล้วยูเนสโก จะประชุมพิจารณาในเดือนมีนาคม ทุกปี  ซึ่งยูเนสโกจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 ปี จากนั้นจะประกาศผลให้ทราบต่อไป...(3)


เอกสารสำหรับดาวน์โหลด
        ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรม   
        1. การกำหนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2560 คลิก
        2. หลักเกณฑ์การจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพ.ศ. 2560 คลิก
        3. หลักเกณฑ์การดำเนินงานของอนุกรรมการกลั่นกรอง พ.ศ. 2560 คลิก
        4. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นบัญชี มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพ.ศ. 2560 คลิก
       5. หลักเกณฑ์และมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2560 คลิก
       6. แบบสำรวจมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๑ doc pdf
       7. แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๒ doc pdf
       8. แบบเสนอรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๓ doc pdf  ...(4)

เอกสารอ้างอิง
...(1) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/019/1.PDF
...(2) มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง http://www.kroobannok.com/76271
...(3) ดัน “โขน” มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้  http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9590000094754
...(4) ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/register

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พบคำว่า "วัฒนธรรม" ปรากฏอยู่ จำนวน 5 แห่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560



          ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ...ลองค้นหาคำว่า "วัฒนธรรม" พบว่าปรากฏข้อความนี้อยู่ จำนวน 5 แห่ง ดังนี้
           *** จุดแรก พบอยู่ที่... มาตรา ๔๓ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ
(๑) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ


           *** จุดที่สอง พบอยู่ที่... มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้... (๘) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม

           *** จุดที่สาม พบอยู่ที่... มาตรา ๕๗ รัฐต้อง
(๑) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และจัดให้มีพื้นที่สาธารณะสําหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย

           *** จุดที่สี่ พบอยู่ที่... มาตรา ๗๐ รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้มีสิทธิดํารงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน  ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือสุขภาพอนามัย

           *** จุดที่ห้า พบอยู่ที่... มาตรา ๒๕๘ ให้ดําเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้ ...
          ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม ...
              (๓) เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้มุ่งอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว

ที่มา : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อยู่ที่ลิงก์นี้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ที่มาของสภาวัฒนธรรม(ฉบับย่อ)

           จากพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 กำหนดให้สภาวัฒนธรรมเป็นองค์กรภาคเอกชน ที่ดำเนินงานวัฒนธรรมภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ มาตรา 15 กำหนดให้สภาวัฒนธรรม ตามมาตรา 13 ประกอบด้วย กรรมการและสมาชิกที่มาจาก ผู้แทนองค์กรที่ดำเนินงานวัฒนธรรม หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม เช่น เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายภาคชุมชน เครือข่ายภาคธุรกิจ เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และเครือข่ายภาควิชาการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมและในปี พ.ศ. 2556 ได้ดำเนินการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมในทุกระดับทั่วประเทศ ณ ปัจจุบันมีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมทุกระดับไปแล้วประกอบด้วย

การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553
           1. สภาวัฒนธรรมจังหวัด
           2. สภาวัฒนธรรมอำเภอ
           3. สภาวัฒนธรรมตำบล

การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (กฎกระทรวงจัดตั้งสภาวัฒนธรรมเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๕)

           1. สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
           2. สภาวัฒนธรรมเขต
           3. สภาวัฒนธรรมแขวง
           4. สภาวัฒนธรรมเทศบาล
           5. สภาวัฒนธรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
           6. สภาวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ


เอกสารอ้างอิง
- เอกสารลำดับที่ 4/2557 แนวทางการปฏิบัติงานของเลขานุการและเหรัญญิกสภาวัฒนธรรม ของสำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม   กระทรวงวัฒนธรรม

วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แหล่งที่มาของงบประมาณสนับสนุนให้แก่สภาวัฒนธรรม และแนวทางปฏิบัติของสภาวัฒนธรรม กรณีได้รับเงินงบประมาณสนับสนุน

แหล่งที่มาของงบประมาณสนับสนุนให้แก่สภาวัฒนธรรม
งบประมาณที่สนับสนุนให้แก่สภาวัฒนธรรม มี 2 รูปแบบดังนี้
รูปแบบที่ 1 งบประมาณจากส่วนราชการที่ให้การสนับสนุน ได้แก่
1.ประมาณอุดหนุนแบ่งเป็น
    1.1 งบประมาณอุดหนุนทั่วไป
    1.2 งบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจ
    1.3 เงินดอกผลกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
รูปแบบที่ 2 งบประมาณจากภาคเอกชนให้การสนับสนุน เช่น เงินบริจาค และจัดหาเอง

แนวทางปฏิบัติของสภาวัฒนธรรม  กรณีได้รับเงินงบประมาณสนับสนุน
1. งบประมาณที่ส่วนราชการให้การสนับสนุน ได้แก่
   1.1 กรณีเงินอุดหนุนทั่วไป เมื่อสภาวัฒนธรรมในแต่ละระดับได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคส่วนต่างๆจะต้องดำเนินการดังนี้
1. ศึกษาเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามส่วนราชการนั้นกำหนด
2. จัดทำบัญชีรับจ่ายและหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้
3. อำนาจการอนุมัติเบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวัฒนธรรม และไม่ขัดต่อระเบียบการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานที่เป็นผู้ให้การสนับสนุน
   1.2 กรณีเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ให้ดำเนินการดังนี้
1) เมื่อสภาวัฒนธรรมได้รับหนังสือแจ้งให้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมระบุสภาวัฒนธรรมจะต้องดำเนินการนำเงินจากบัญชีสภาวัฒนธรรมโอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 15 วันหลังจากได้รับหนังสือและแจ้งให้ที่ประชุมสภาวัฒนธรรมรับทราบ
2) ในกรณีที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมมีหนังสือระบุหน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการสภาวัฒนธรรมต้องดำเนินการตามหนังสือดังกล่าวอย่างเคร่งครัดภายในเวลาที่กำหนดรวมทั้งจัดทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อทราบโดยเร็วเพื่อจัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการตามหนังสือดังกล่าวอย่างเคร่งครัดภายในเวลาที่กำหนดรวมทั้งจัดทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อทราบโดยเร็วเพื่อให้จัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการให้ครบถ้วน และสภาวัฒนธรรมต้องจัดเก็บหลักฐาน รายละเอียดกิจกรรม โครงการ หลักฐานการเบิกจ่าย สำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงิน เป็นต้น
3) เงินอุดหนุนที่ระบุการจัดกิจกรรมจะต้องเก็บหลักฐานการเบิกจ่ายการดำเนินกิจกรรมให้ถูกต้องตามระเบียบทางราชการ และตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ระบุ/กำหนด เพื่อตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

   1.3 กรณีเงินดอกผลกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
การใช้จ่ายดอกผลจากเงินกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัด หากต้องการใช้จ่ายจากเงินหมวดนี้ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงวัฒนธรรม ว่าด้วยกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัด พ.ศ. 2556

2. งบประมาณที่ภาคเอกชนให้การสนับสนุน เช่นเงินบริจาค และจัดหาเอง

เงินอุดหนุนที่ได้รับจากหน่วยงานใดต้องดำเนินการตามแนวปฏิบัติด้านการเบิกจ่ายตามที่หน่วยงานนั้นกำหนด

ขั้นตอนการรับและเบิกจ่ายเงิน
1. การรับเงิน หมายถึง การที่สภาวัฒนธรรม ได้รับเงินจากผู้นำเงินมาชำระ หรือการที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชีสภาวัฒนธรรม มีขั้นตอนดังนี้
>> สภาวัฒนธรรมได้รับเงินหรือหนังสือแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีสภาวัฒนธรรม
>> ออกใบสำคัญรับเงิน(การรับเงิน)
>> บันทึกบัญชีในสมุดบัญชีตามประเภทของเงินที่ได้รับ ดังนี้
   (บัญชีเงินอุดหนุนจากส่วนราชการ / บัญชีเงินอุดหนุนจากภาคเอกชน)
   โดยบันทึกในช่องรับเงิน

2. การเบิกจ่ายเงิน หมายถึง การที่สภาวัฒนธรรม(เหรัญญิกและกรรมการที่มีอำนาจเบิก-ถอน) ดำเนินการถอนเงินจากธนาคาร และนำเงินมาจ่ายให้แก่ผู้รับเงิน มีขั้นตอนดังนี้
>> ได้รับเอกสารขอเบิกเงินจากเลขานุการสภาวัฒนธรรม
>> ตรวจสอบเอกสารซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากประธานสภาวัฒนธรรมหรือมติที่ประชุม
>> จัดทำใบถอนเงินจากธนาคารและให้ผู้มีอำนาจลงนามในใบถอนเงิน
>> เบิกเงินจากธนาคาร
>> จ่ายให้กับผู้มารับเงินและให้ผู้รับเงินกรอกใบสำคัญรับเงิน(การจ่ายเงิน)
>> การกรอกใบสำคัญรับเงิน(การจ่ายเงิน) ต้องมีรายละเอียดข้อมูล ดังนี้
    1) ชื่อที่อยู่ผู้มารับเงิน / เจ้าหนี้     2) วันที่รับเงิน
    3) รายการ                             4) จำนวนเงิน
    5) ผู้รับเงิน                             6) ผู้จ่ายเงิน
>> บันทึกบัญชีในสมุดบัญชี
   (บัญชีเงินอุดหนุนจากส่วนราชการ / บัญชีเงินอุดหนุนจากภาคเอกชน)
   โดยบันทึกในช่องรับเงิน

3. การเก็บรักษาเงิน หมายถึง การเก็บรักษาเงินสดให้เก็บรักษาตามความต้องการของผู้บริจาคเงินอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย
4. การจัดทำบัญชี เป็นการบันทึกรายรับ-รายจ่าย ว่ามีจากแหล่งใด จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้างในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และปี เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าตนเอง และคณะกรรมการ มีรายรับเท่าไร รายจ่ายเท่าไร คงเหลือเท่าไร หรือมีเงินไม่พอใช้เท่าไร เมื่อเห็นตัวเลขจะทำให้เราคิดว่าเรานำข้อมูลไปใช้ในการอบรมอย่างคุ้มค่า
5. การจัดเก็บเอกสารหมายถึงการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินให้อยู่ในที่ปลอดภัยง่ายต่อการค้นหาและตรวจสอบ
6. การรายงานสถานะการเงินเป็นการรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานประจำเดือนและประจำปีนั้นเพื่อนำข้อมูลทางด้านการเงินไปใช้สำหรับการดำเนินการต่อไป
(รายได้ มากกว่า ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ
รายได้ น้อยกว่า ค่าใช้จ่าย = ขาดทุนสุทธิ)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้อง
1. การจัดประชุม
  ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมของคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม สามารถเบิกจ่ายได้ ประกอบด้วย
          1) ค่าอาหาร
          2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
          3) ค่าพาหนะ
  กรณีจัดประชุมของคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมที่จะต้องใช้งบประมาณจากเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ให้เบิกจ่ายดังนี้
  • ค่าอาหาร มื้อละ 120 บาทต่อคนต่อมือ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มือละ 35 บาทต่อคนต่อมื้อ
ทั้งนี้จะเบิกค่าอาหารได้จะต้องประชุมจะต้องเป็นการประชุมที่มีระยะเวลาต่อเนื่อง
จนถึงภาคบ่ายระหว่างเวลาราชการ
  • ค่าพาหนะ เบิกจ่ายได้ต้องเป็นไปตามข้อตกลง หรือ มติที่ประชุมของคณะกรรมการ
สภาวัฒนธรรม

2. การฝึกอบรม
   การฝึกอบรม หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะบุคคล ที่มุ่งเน้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อพัฒนาทักษะ ความชำนาญ ความสามารถ และทัศนคติของบุคคลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อช่วยให้ปฏิบัติงาน และภาระหน้าที่ต่างๆ ในปัจจุบัน และอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

              2.1 ประเภทของการฝึกอบรม
2.1.1 การฝึกอบรมประเภท ก หมายถึง การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินครึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการ ระดับทักษะพิเศษ ประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ประเภทอำนวยการระดับสูง  ประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง  หรือตำแหน่งเทียบเท่า(ประธานสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าข้าราชการพลเรือนทั่วไป ระดับทักษะพิเศษ)
2.1.2 การฝึกอบรมประเภท ข หมายถึง การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินครึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน  และระดับอาวุโส ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ  ระดับชำนาญการ   และระดับชำนาญการพิเศษ ข้าราชการตำแหน่งประเภท
อำนวยการต้น หรือตำแหน่งเทียบเท่า (กรรมการสภาวัฒนธรรม ทุกระดับ มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าข้าราชการพลเรือนตำแหน่งอำนวยการ ระดับต้น)
2.1.3 การฝึกอบรมบุคคลภายนอก(บุคคลที่ไม่มีตำแหน่งทางราชการ)

              2.2 ค่าใช้จ่ายที่เบิกได้ตามระเบียบ
2.2.1 ค่าตอบแทนวิทยากร
2.2.2 ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่จัดงาน
2.2.3 ค่าเช่าที่พักสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และเจ้าหน้าที่จัดงาน
2.2.4 ค่าพาหนะเดินทางสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และเจ้าหน้าที่จัดงาน
2.2.5 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
2.2.6 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น เช่นค่าพิธีเปิด-ปิด ค่าวัสดุ

   2.3 บุคคลผู้มีสิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามระเบียบดังกล่าวข้างต้น ประกอบด้วย
2.3.1 ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
         2.3.2 เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดฝึกอบรม
2.3.3 วิทยากรที่มีหนังสือเชิญเป็นวิทยากร
2.3.4 ผู้สังเกตการณ์
   2.4 อัตราค่าใช้จ่ายที่เบิกได้ตามระเบียบ
  1. อัตราค่าตอบแทนวิทยากร(บาท/คน/ชั่วโมง) ทั้งการฝึกอบรมประเภท ข และการฝึกอบรมบุคคลภายนอก กรณีวิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ เบิกได้ 600 บาท กรณีวิทยากรที่ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ เบิกได้ 1,200 บาท
  2. อัตราค่าอาหารในการฝึกอบรม(บาท/วัน/คน) ทั้งการฝึกอบรมประเภท ข และการฝึกอบรมบุคคลภายนอก กรณีการฝึกอบรมในสถานที่ของส่วนราชการ -รัฐวิสาหกิจ ถ้าจัดอาหารครบทุกมื้อไม่เกิน 600 บาท ถ้าจัดอาหารไม่ครบทุกมื้อไม่เกิน 400 บาท , กรณีการฝึกอบรมในสถานที่ของเอกชน ถ้าจัดอาหารครบทุกมื้อไม่เกิน 950 บาท ถ้าจัดอาหารไม่ครบทุกมื้อ ไม่เกิน 700 บาท
  3. อัตราค่าเช่าที่พักในการฝึกอบรม(บาท/วัน/คน) ทั้งการฝึกอบรมประเภท ข และการฝึกอบรมบุคคลภายนอก กรณีค่าเช่าห้องพักคนเดียวไม่เกิน 1,450 บาท และค่าเช่าห้องพักคู่ ไม่เกิน 900 บาท
  4. การเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางไป-กลับ ระหว่างสถานที่อยู่ที่พัก หรือที่ปฏิบัติงานไปยังสถานที่จัดฝึกอบรมของบุคคลผู้มีสิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมดังกล่าว ให้อยู่ในดุลพินิจของประธานสภาวัฒนธรรม หรือเจ้าของโครงการ
  5. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง(บาท/วัน) สำหรับกรรมการสภาวัฒนธรรมทุกระดับ อัตราวันละ 240 บาท ส่วนประธานสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อัตราวันละ 270 บาท
หมายเหตุ - หักค่าอาหารตามมื้อที่จัดให้มื้อละ 80 /90.-บาท
              จากเบี้ยเลี้ยงวันละ 240/70.-บาท

เอกสารที่แนบประกอบการเบิกจ่ายของโครงการ
1) โครงการและกำหนดการ ซึ่งได้รับอนุมัติจากประธานสภาวัฒนธรรม
2) บัญชีรายชื่อพร้อมลายมือชื่อของบุคคลตามจำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม
3) ค่าตอบแทนวิทยากร ใช้ใบสำคัญรับเงินพร้อมลายมือชื่อวิทยากร หนังสือเชิญเป็นวิทยากร และสำเนาบัตรประชาชนเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย
4) ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารเย็น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ใช้ใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงินของผู้รับจ้างพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย
5) ค่าพาหนะเหมาจ่าย ใช้ใบสำคัญรับเงินของผู้รับจ้างพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายกรณีไม่จัดที่พักให้ผู้เข้ารับการอบรม
6) ค่าเช่าที่พัก กรณีผู้จัดงานจัดที่พัก หรือประสานให้ใช้ใบเสร็จรับเงิน และใบแจ้งรายการของโรงแรม (folio)เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย กรณีสถานที่พักไม่มีใบเสร็จรับเงิน ให้ใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย
7) ค่าใช้จ่ายอื่นๆในการฝึกอบรม เช่น ค่ากระเป๋าเอกสาร ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิดเป็นต้น ใช้ใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงินของผู้รับจ้าง พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนรับรองสำเนาถูกต้อง เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย

3. การเดินทางไปปฏิบัติงาน
       3.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางปฏิบัติงาน
                   3.1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
                   3.1.2 ค่าพาหนะรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
                   3.1.3 ค่าเช่าที่พัก
                   3.1.4 ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องจากเดินทางไปปฏิบัติงาน เช่น ค่าปะยาง ค่าเช่า ค่าผ่านทางด่วน เป็นต้น
       3.2 ผู้มีสิทธิ์เบิกค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน ได้แก่ ผู้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจของสภาวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมายจากประธานสภาวัฒนธรรม หรือมติคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม
       3.3 อัตราค่าใช้จ่ายที่เบิกได้
3.3.1 การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
  1. ให้นับตั้งแต่ออกจากที่อยู่หรือที่ทำงานปกติจนกลับถึงที่อยู่หรือที่ทำงานปกติ
  2. กรณีพักแรม 24 ชั่วโมงนับเป็น 1 วัน เกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไปนับเป็นอีก 1 วัน
  3. กรณีไม่พักแรมนับ 12 ชั่วโมงเป็น 1 วัน หากนับได้เกินกว่า 6 ชั่วโมง นับเป็นครึ่งวัน
เอกสารในยื่นเอกสารในการยื่นขอเบิก
1) เอกสารที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปปฏิบัติงาน
2) แบบใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน

3.3.2 ค่าพาหนะ แบ่งเป็นค่าพาหนะประจำทาง ค่าพาหนะรับจ้าง และค่าพาหนะส่วนตัว
1) การเดินทางไปราชการ โดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัดไม่เกินสิทธิ์ที่ผู้เดินทางจะพึงได้รับตามประเภทของยานพาหนะที่ใช้เดินทาง
2) การเบิกจ่ายค่าพาหนะรับจ้าง กำหนดเบิกจ่ายดังนี้
   2.1) การเดินทางไป-กลับ ระหว่าง ที่อยู่ ที่พัก หรือที่ทำงานกับสถานีขนส่งรถโดยสารประจำทาง
   2.2) การเดินทางไป-กลับ ระหว่าง ที่อยู่ ที่พัก กับสถานที่ที่ไปปฏิบัติงานในจังหวัดเดียวกัน ให้เบิกจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง เหมาะสม และประหยัด
   2.3) การเดินทางไป-กลับ ระหว่าง ที่อยู่ ที่พักกับสถานที่ที่ไปปฏิบัติงานข้ามเขตจังหวัด
3) การเบิกจ่ายค่าพาหนะส่วนตัว กำหนดเบิกจ่ายดังนี้
อัตราเงินชดเชย สำหรับรถยนต์ กิโลเมตรละ 4 บาท และรถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 2 บาท
หมายเหตุ คำนวณระยะทางตามเส้นทางกรมทางหลวง/หน่วยงานอื่น ถ้าไม่มีให้ผู้เดินทางรับรองในใบสำคัญรับเงิน  การเบิกชดเชยค่าพาหนะ ต้องขออนุมัติค่าใช้จ่าย พร้อมแจ้งทะเบียนรถยนต์ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ
เอกสารประกอบการเบิกจ่ายค่าพาหนะ
1) ใช้ใบเสร็จรับเงินของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเช่นค่าเชื้อเพลิงค่าระวางบรรทุกค่าผ่านทางด่วนเป็นต้น
2) กรณีจ่ายเงินต่างๆ ซึ่งไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ เช่น ค่าพาหนะรับจ้างเหมา ค่าโดยสารรถประจำทาง ให้ใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย

3.3.3 ค่าเช่าที่พัก
          1) ค่าเช่าที่พักในประเทศ กรณีเบิกเหมาจ่าย สำหรับกรรมการสภาวัฒนธรรมทุกระดับ เบิกได้ในอัตรา 800 บาท ส่วนประธานสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เบิกได้ในอัตรา 1,200 บาท
          2) ค่าเช่าที่พักในประเทศ กรณีเบิกจ่ายตามจริง กรรมการสภาวัฒนธรรมทุกระดับ กรณีห้องพักเดี่ยวเบิกได้ 1,500บาท ห้องพักคู่เบิกได้ในอัตรา 850 บาท ส่วนประธานสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ห้องพักเดี่ยว เบิกได้ในอัตรา 2,200 บาท ห้องพักคู่ เบิกได้ในตรา 1,200 บาท
        เอกสารประกอบการเบิกจ่ายค่าพาหนะ
1) กรณีเบิกเหมาจ่าย ให้เบิกจ่ายตามอัตราที่กำหนด โดยให้ใช้ใบสำคัญรับเงินประกอบการเบิกจ่าย
2) กรณีเบิกจ่ายตามจริง ใช้ใบเสร็จรับเงิน หรือใบแจ้งรายการของทางโรงแรม(Folio)โดยให้เจ้าหน้าที่โรงแรมลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี และจำนวนเงินที่ได้รับ เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย
       ห้ามเบิกค่าเช่าที่พักในกรณี
1) เริ่มเดินทางโดยยานพานะข้ามคืนในรถไฟหรือรถโดยสารสาธารณะ
2) ทางราชการหรือหน่วยงานที่จัดประชุมจัดที่พักให้

4. การจัดกิจกรรม
    การจัดกิจกรรม หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆของสภาวัฒนธรรมที่เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ/ตามภารกิจของสภาวัฒนธรรม หรือหน่วยงานอื่นที่สภาวัฒนธรรมไปร่วมจัดกิจกรรม หรือตามนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม เช่นการจัดกิจกรรมส่งเสริมมารยาทไทยให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ การจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ตามแบบประเพณีไทย การจัดกิจกรรมประกวดหรือแข่งขันทางภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
      4.1 สาระสำคัญที่ควรทราบ
4.1.1 เบิกค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเหมาะสมและประหยัด
4.1.2 รายการที่เบิกได้ ตามที่จ่ายจริง ตัวอย่างเช่น

ที่
รายการค่าใช้จ่าย
หลักฐานที่ใช้เบิกจ่าย
1.
ค่าพิธีการทางศาสนา
- ค่าปัจจัยถวายพระ
- ค่าภัตตาหารถวายพระ
- ค่าดอกไม้ธูปเทียน
- ใบสำคัญรับเงิน
- เอกสารหลักฐานการจัดจ้าง / ใบสำคัญรับเงิน
- เอกสารหลักฐานการจัดซื้อ / ใบเสร็จรับเงิน
2.
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่จัดงาน
เอกสารหลักฐานการจัดจ้าง / ใบเสร็จรับเงิน
หรือใบสำคัญรับเงิน
3.
ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด
เอกสารหลักฐานการจัดจ้าง / ใบสำคัญรับเงิน
4.
ค่าจ้างเหมารักษาความปลอดภัย
เอกสารหลักฐานการจัดจ้าง / ใบสำคัญรับเงิน
5.
ค่าใช้จ่ายการใช้บริการรถสุขาเคลื่อนที่
(ตามหน่วยงานเรียกเก็บ)
ใบเสร็จรับเงิน
6.
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้บริการพยาบาล
(ตามหน่วยงานเรียกเก็บ)
ใบเสร็จรับเงิน
7.
ค่าสาธารณูปโภคตามที่เรียกเก็บ
ใบเสร็จรับเงิน
8.
ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์
เอกสารหลักฐานการจัดจ้าง / ใบเสร็จรับเงิน
9.
ค่าวัสดุต่างๆที่ใช้ในการจัดงาน
เอกสารหลักฐานการจัดซื้อ / ใบเสร็จรับเงิน
10.
ค่ายาและเวชภัณฑ์
เอกสารหลักฐานการจัดซื้อ / ใบเสร็จรับเงิน
11.
ค่าเช่าที่พักเหมาจ่ายสำหรับครูและนักเรียน
(ตามหน่วยงานเรียกเก็บ)
ใบเสร็จรับเงิน
  
4.1.3 รายการที่เบิกได้ตามอัตราที่ทางราชการกำหนด

ที่
รายการ
อัตรา
หลักฐานที่ใช้
1.
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไม่เกิน 50 บาทต่อคนต่อวัน
ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน
2.
ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
ที่ไม่มีแอลกอฮอล์
ไม่เกิน 200 บาทต่อคนต่อวัน
ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน
3.
ค่าพาหนะ
ตามที่จ่ายจริงเหมาะสมและประหยัด
รายงานการเดินทาง
4.
ค่าสมนาคุณวิทยากร/พิธีกร/
ผู้ทำหน้าที่ดำเนินรายการในงาน
- บุคลากรของรัฐชั่วโมงละ 600 บาท
- ไม่ใช่บุคลากรของรัฐชั่วโมงละ 1,200 บาท
ใบสำคัญรับเงินเป็นรายบุคคล
5.
ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน
- บุคลากรของรัฐชั่วโมงละ 400 บาท
- มิใช่บุคลากรของรัฐชั่วโมงละ 800 บาท
ใบสำคัญรับเงินเป็นรายบุคคล
6.
ถ้าโล่ / ถ้วยรางวัล / ของรางวัล
ชิ้นละไม่เกิน
1,500 บาท
เอกสารหลักฐานการจัดซื้อ/จัดจ้าง/ใบสำคัญรับเงิน หรือใบเสร็จรับเงิน
7.
เงินหรือรางวัลผู้ชนะการประกวด/แข่งขัน
ตามความเหมาะสมของผู้มีอำนาจจัด
ใบสำคัญรับเงิน


เอกสารอ้างอิง
- เอกสารลำดับที่ 4/2557  แนวทางการปฏิบัติงานของเลขานุการและเหรัญญิกสภาวัฒนธรรม ของสำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย