ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระเชอ หรือ กญฺเชอ /ก็อญ-เจอ/...ภูมิปัญญาบรรพบุรุษเมืองขุขันธ์ในอดีต​ : ภาชนะใส่เครื่องเซ่นไหว้ในพิธีกรรมแซนโฎนตา

         กระบุง และกระเชอโฎนตา หนึ่งรากเหง้าทางวัฒนธรรมของเมืองขุขันธ์ ด้านภูมิปัญญาการจักสาน เป็นภาชนะสำคัญสำหรับใส่เครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษโฎนตา เพื่อจะนำไปส่งหรือจูนโฎนตาร่วมกันทั้งที่บ้านเดิมอันเป็นจุดเริมต้นของวงศ์ตระกูล ในช่วงวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ  และไปจูนโฎนตาที่วัดแต่เช้ามืดของวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบของทุกปี

คำว่า "กระเชอ" น่าจะมีที่มาจากไหนกันแน่ ? 
      
         คำว่า "กระเชอ" เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมร รากศัพท์เดิมคือ កញ្ជើ กญฺเชอ /ก็อญ-เจอ/ ในพจนานุกรมเขมร ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ โดยสมเด็จพระสังฆราช คณะมหานิกาย ชื่อ ชวน ณาต โชตัญญาโณ ค.ศ. ๑๙๖๗(พ.ศ.๒๕๑๐) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า

កញ្ជើ(ន.)របស់ត្បាញដោយបន្ទោះឫស្សីសម្រាប់ដាក់អ្វីៗគ្រប់យ៉ាង,ខាងលើមានរាងមូលហៅថាមាត់ក្ដាប់នឹងបន្ទោះផ្តៅខាងក្រោមរាបហៅថា បាត :
អង្ករ ១ កញ្ជើ ។
 (กญฺเชอ /ก็อญ-เจอ/ น. สิ่งที่จักสานขึ้นโดยตอกไม่ไผ่ ใช้สำหรับใส่สิ่งของอะไรได้ทุกอย่าง สวนบนสุดมีลักษณะรูปร่างโค้งกลม เรียกว่า "ม็วต"(ปาก) มัดตรึงยึดปากกระเชอไว้ด้วยตอกหวาย และส่วนข้างล่างพื้นเรียบ เรียกว่า "บาต"(ก้น)  เช่น ข้าว ๑ กญฺเชอ เป็นต้น
        ในภาษาไทยคำว่า "กระเชอ" เป็นคำนามหมายถึง ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบปากกว้าง ใช้กระเดียด; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด, กันเชอ ก็เรียก (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)




                    กระเชอ เป็นภาชนะที่ทำมาจากไม้ไผ่ ด้วยวิธีการจักสาน ก้นสอบ ปากกว้าง ก้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนปากมีลักษณะเป็นวงกลม มีหลายขนาด ส่วนฐานใช้ก้านตาลมาเสริมเพิ่มความแข็งแรง ส่วนปากใช้กิ่งลำดวนหรือไม้ชนิดอื่นมาทำเป็นขอบ และเสริมด้วยก้านตาลอีกชั้นหนึ่งเพื่อความสวยงาม โดยใช้หวายหรือเชือกเป็นวัสดุในการยึด ชาวบ้านในชนบทใช้สำหรับใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือใส่ของในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ใส่เครื่องเซ่นไหว้ในพิธีแซนโฎนตา (เซ่นไหว้บรรพบุรุษ)ของชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น


"กระบุง" กับ "กระเชอ" มันต่างกันตรงไหน ?​​          
          ถ้าเรามองดูผิวเผินแล้ว "กระบุง" กับ "กระเชอ"  มีลักษณะคลายๆกันจนแทบจะแยกไม่ออก แต่ถ้าเราใช้หลักในการสังเกต ดังต่อไปนี้  เราก็จะรู้ได้เลยว่า อะไรคือ  "กระบุง" หรืออะไร คือ "กระเชอ" ?

  1. ถ้ามีรูปร่าง"ป่องตรงกลางและก้นสอบ" คือมีรูปทรงคล้ายตุ่ม หรือโอ่งน้ำ คือ "กระบุง" ชาวบ้านมักนิยมเอาสายไนล่อนมาร้อยด้านข้างของกระบุงทั้ง 4 ด้าน แล้วรวบผูกปมเชือกด้านบนให้เป็นช่องสำหรับใช้กับไม้คานเพื่อหาบสิ่งของต่าง ๆ เช่น หาบกระบุงใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร  หรือสิ่งของและเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีแซนโฎนตา เป็นต้น
2. ถ้ารูปร่าง"ปากกว้างและก้นสอบ" ก็คือ "กระเชอ" ชาวบ้านในชนบทนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ในการตวงวัดข้าว(ก่อนที่หันมาใช้ปี๊บ) หรือเป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือสิ่งของและเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีแซนโฎนตา เช่นเดียวกับกระบุง โดยชาวบ้านจะต้องใช้สองมือโอบอุ้มกระเชอไว้ด้านหน้า  หรือแบกกระเชอใว้บนบ่า นั่นเอง
ขอบคุณที่มาจากทุกแหล่ง :
๑. พจนานุกรมเขมร ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ สมเด็จพระสังฆราช(คณะมหานิกาย) ชวน ณาต โชตัญญาโณ ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ.๒๕๑๐)
๒. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
๓. สุชาติ  สมาน กลุ่มงานวิชาการ สภาวัฒนธรรมสำโรงตาเจ็น.[ออนไลน์] http://samarn.multiply.com/journal/item/97?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem  
๔. ทวี  กองศรีมา . การจักสานจากไม้ไผ่ .[ออนไลน์] http://www.koratcultural.com/koratcul_maxsite/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=36 
๕. บรรณาลัย.บรรยากาศงานเทศกาลเเซนโฎนตาแคเบ็น.[ออนไลน์] http://www.oknation.net/blog/print.php?id=145892


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"ตาจุม"...ศิลปินเจรียงกระจับปี่ภาษาขอมโบราณที่เหลือเพียงคนเดียวของเมืองขุขันธ์และประเทศไทย

 
              A man playing Tro and singing Ayai known as Cheam Chum, Srei Sa-art Village, Khukhan District, Si Saket is a professional Khmer traditional singer. He learned singing and playing music from his father, Cheam Sen Chann, from Kampong Cham, Cambodia. His father ecaped to live in Si Saket during Frence Colony and became a famous artist at that time which could left this legacy to him. His Ayai is not like Ayai in Cambodia today; however, it is so funny and acttractive song sang in Khmer Language. There is nobody learning singing from him. Therefore, it will be lost if there is not new generation to learn from him. Today he can earn for living from singing and playing music because there are still Khmer people want to see him singing but some do not like him. Singing with playing Tro is another Khmer style which there have never had in Cambodia ;However, there is only one in the world .... We know that Khukhan District in Sisaket Province ,Thailand.


ขอบคุณภาพถ่าย "ตาจุม" จากเวปฯ http://kotavaree.com/

         ผู้ที่กำลังสีซออู้ และ เจรียง(ร้องเพลง)อาไย เป็นที่รู้จักกันในชื่อ  เจียม ชุม คนขุขันธ์เรียก "ตาจุม" หรือชื่อของท่านคือ นายจุม แสงจันทร์   อาศัยอยู่ที่บ้านศรีสะอาด  ตำบลศรีสะอาด  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ เป็นนักเจรียง(นักร้องเพลง)ขอมโบราณมืออาชีพ  คุณตาได้เรียนรู้การร้องเพลงและเล่นดนตรีจากพ่อเจียมเสน จัน บิดาของคุณตาซึ่งได้อพยพจากจังหวัดกำปงจาม  ประเทศกัมพูชา มาอาศัยอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส  และกลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ได้ถ่ายทอดมรดกนี้ให้กับคุณตา   อาไยที่"ตาจุม"เล่นไม่เหมือนอาไยที่เล่นกันในประเทศกัมพูชาทุกวันนี้ แต่เป็นการเล่นที่สนุกสนานมาก  และบทเจรียง(บทร้อง)ภาษาขอมที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ฟัง  น่าเสียดายมาก...ที่ไม่มีใครสนใจที่จะเรียนรู้การเจรียง(ร้องเพลง)จากคุณตาเลย  ดังนั้น ศิลปะการแสดงด้านนี้อาจจะหายไปถ้าไม่มีคนรุ่นใหม่สนใจใคร่เรียนรู้จากคุณตา... วันนี้คุณตาสามารถสร้างรายได้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันจากการเจรียง(ร้องเพลง)และเล่นดนตรี เพราะยังมีชาวบ้านต้องการที่จะเห็นคุณตาร้องเพลง  การเจรียง(ร้องเพลง)ไปพร้อมๆกับการสีซอ เป็นศิลปะการแสดงของชนเผ่าขอมขุขันธ์อีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เคยมีในประเทศกัมพูชา....แต่มีเพียงแห่งเดียวในโลก....คือที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทยของเรานี่เอง

ขอบคุณที่มา  Youtube " Bestsongofkhmer's channel"


ประมวลผลงานเด่นๆของตาจุม







วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คลังภาพกิจกรรม

คลังภาพสำคัญ/งานบุญประเพณี
    คลังภาพกิจกรรมพระราชพิธีสำคัญ
    25580816-Bike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    25580812-วันแม่แห่งชาติ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2558
    25580724-เก็บตกภาพกิจกรรมทอดผ้าป่ามหากุศล ถวายตู้ยาฯ อ.ขุขันธ์

    คลังภาพกิจกรรมสภาวัฒนธรรม
    25600412-รณรงค์สงกรานต์ปลอดเหล้าอำเภอขุขันธ์ คลิก
    25600404-อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มอบรางวัลคนดีบุคคลต้นแบบคุณธรรม 9 ประการ และเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย ประจำปี 2560 คลิก
    25600319-ศรีสะเกษ มอบรางวัลคนดีบุคคลต้นแบบคุณธรรม 9 ประการ และเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย ประจำปี 2560 คลิก

    คลังภาพกิจกรรมพิเศษ
    25571211-ขุดพบชิ้นส่วนมือสำริดที่ปราสาทตาเล็ง
    25571210-ขุดพบชิ้นส่วนลำตัวเทวรูปที่ปราสาทตาเล็ง
    25571203-ติดตามการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่ปราสาทตาเล็ง
    25571202-พิธีการเซ่นบวงสรวง"ตาเล็งกับยายสา" ณ ปราสาทตาเล็ง
    25571202-การขุดศึกษาทางโบราณคดีปราสาทตาเล็ง ปี พ.ศ. 2557-2558

    คลังภาพกิจกรรมศึกษาดูงาน
    25630222-พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอุบลราชธานี

    ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
    นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

    สนับสนุนโดย