"...รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชาชนคนไทยกว่าร้อยละ ๙๐ นับถือว่าศาสนาเป็นสถาบันสุงสุดสถาบันหนึ่ง ซึ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ได้สร้างคุณธรรมและเอกลักษณ์อันดีงามให้แก่คนไทยและเป็นพลังที่สำคัญที่จะช่วยแก้ไขบัญหาสังคมในต้านต่างๆ รวมทั้งพัฒนาสังคมให้มีความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า..." คลิก
พ.ศ. 2539 กระทู้ถาม เรื่อง การป้องกันพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติไทย มิให้มัวหมองและถูกบ่อนทำลายจากกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันตั้งพุทธสถานโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ของ นายดุสิต ศิริวรรณ สมาชิกวุฒิสภา(17 กันยายน 2539) ตรงกับสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี คลิก
พ.ศ. 2553 กระทู้ถามที่ ๘๘๕ ร. เรื่อง ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ [ของ นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร] ตรงกับสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
"...ขอเรียนว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓ ซึ่งบัญญัติว่า รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดี และความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมพระพุทธศาสนาในฐานะที่ประชาขนส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน ส่วนการส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจทำให้ผู้นับถือศาสนาต่างกันมองว่า รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ขนบธรรมนี่ยมประเพณีไทย สามารถกำหนดนโยบายในการสนับสนุนส่งเสริม ตามภารกิจอยู่แล้ว จึงได้สนับสนุนส่งเสริมให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา และพัฒนาพระพุทธศาสนา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทรมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนาให้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาคุณภาพชีวิดอย่างยั่งยืน..."(2 กรกฎาคม 2553) คลิก
"...ขอเรียนว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓ ซึ่งบัญญัติว่า รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดี และความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมพระพุทธศาสนาในฐานะที่ประชาขนส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน ส่วนการส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจทำให้ผู้นับถือศาสนาต่างกันมองว่า รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ขนบธรรมนี่ยมประเพณีไทย สามารถกำหนดนโยบายในการสนับสนุนส่งเสริม ตามภารกิจอยู่แล้ว จึงได้สนับสนุนส่งเสริมให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา และพัฒนาพระพุทธศาสนา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทรมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนาให้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาคุณภาพชีวิดอย่างยั่งยืน..."(2 กรกฎาคม 2553) คลิก