ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การกำหนดวันจัดงานเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตาของอำเภอขุขันธ์ ปี 2562

การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ และแบบสุริยคติ

         ในการนับช่วงเวลาที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นการนับช่วงเวลาแบบกว้าง ๆ ไม่ได้มีการระบุเจาะจงเวลาที่แน่นอน แต่การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ และแบบสุริยคติ เป็นการนับช่วงเวลาที่มีการระบุเจาะจงเวลา

1. การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งเมื่อดวงจันทร์รอบโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม วันทางจันทรคติจึงเรียกว่า วันขึ้น วันแรม โดยดูจากลักษณะของดวงจันทร์

    ข้างขึ้น คือ ช่วงเวลาตั้งแต่หลังจากดวงจันทร์มืดสนิท และค่อย ๆ มองเห็นดวงจันทร์สว่างขึ้น จนกระทั่งมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งกินเวลาทั้งหมด 15 วัน โดยนับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
    ข้างแรม คือ ช่วงเวลาตั้งแต่หลังจากดวงจันทร์เต็มดวง และค่อย ๆ มองเห็นดวงจันทร์มืดลง จนกระทั่งมองเห็นดวงจันทร์มืดจนหมดดวง ซึ่งกินเวลาทั้งหมด 15 วัน โดยนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำ

     ส่วนการนับเดือนตามจันทรคติ จะเรียกชื่อเดือนแบบง่าย ๆ ดังนี้ เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง) เดือนยี่ (เดือนสอง) เดือนสาม เดือนสี่ เรื่อยไป จนถึงเดือนสิบสอง
      การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ เป็นการนับช่วงเวลาในสมัยก่อนของประเทศไทย(ก่อนวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาลที่ 3) ซึ่งจะพบได้ในการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เช่น
ครั้นถึง ณ วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ อัฐศก พม่าก็ยกทัพเข้าตีค่ายใหญ่บ้านบางระจันแตก ฆ่าคนเสียเป็นอันมาก บรรดาครอบครัวชายหญิงเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งคงเหลือตายอยู่นั้นให้กวาดเอาไปสิ้น ตั้งแต่รบกันมาห้าเดือนจนเสียค่ายนั้น ไทยตายประมาณพันเศษ พม่าตายประมาณสามพันเศษ (จาก สารานุกรม ประวัติศาสตร์ไทย ของ ส.พลายน้อย)

      การนับช่วงเวลาแบบจันทรคตินั้น ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีใช้กันอยู่ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันจัดงานบุญประเพณีของท้องถิ่น เช่น งานบุญประเพณีแซนโฎนตาของชาวอำเภอขุขันธ์ และชาวไทยแถบอีสานตอนใต้ ตรงกับวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือนสิบของทุกปี ซึ่่งต้องดูในปฎิทินสุริยคติที่ทางการประกาศว่าจะตรงกับวันที่และเดือนใดของปี พ.ศ.นั้นๆ

2. การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ซึ่งกินเวลาทั้งสิ้นประมาณ 365 วัน หรือ 1 ปี และใน 1 ปี มี 12 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคม  ซึ่งการนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ เป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการนับเวลาที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น
      - วันขึ้นปีใหม่ของปี พ.ศ. 2561 ตรงกับวันจันทร์ที่ 1 มกราคม
      - ในปี พ.ศ. 2561  วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม เป็นต้น

ประโชน์ของการเรียนรู้เกี่ยวกับการนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ และแบบสุริยคติ
       การเรียนรู้เกี่ยวกับช่วงเวลามีประโยชน์อย่างมาก เพราะเราใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ใช้ในการนัดหมายกัน และยังใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์  และงานบุญประเพณีสำคัญในท้องถิ่นบ้านเรา ซึ่งในปฏิทินปัจจุบัน ก็จะบอกวันทางจันทรคติควบคู่กับวันทางสุริยคติ อยู่แล้ว

งานเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตา ปี 2562 ควรจัดให้มีขึ้นในช่วงวันที่ใดจึงจะเหมาสมที่สุด?
       สำหรับเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตาของชาวบ้านในอำเภอขุขันธ์ ปี 2562 นี้ นั้น วันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งชาวบ้านทุกครอบครัวจะมีการเซ่นไหว้และทำบุญใหญ่เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อดูตามปฏิทินปี 2562 แล้วจะพบว่าตรงกับวันที่ 27 - 28 กันยายน  2562 (วันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือนสิบ) ดังนั้น การจัดงานเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตาของอำเภอขุขันธ์จะต้องจัดให้มีขึ้นก่อนวันที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทุกหลังคาเรือนในอำเภอขุขันธ์จัดทำพิธีฯกันที่บ้านเรือนของตน โดยปกติที่เคยปฏิบัติกันมาก่อนวันแรม 14-15 ค่ำ ประมาณ 3-4 วัน(ส่วนใหญ่ก็จะตรงกับวันแรม 10 - 12 ค่ำ เดือนสิบ) ดังนั้น ปีนี้ อำเภอขุขันธ์ จึงควรจัดให้มีงานเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตา ในระหว่างวันที่ 23 - 26 ตุลาคม 2562...จึงจะเป็นกาลเวลาที่เหมาะสม...ครับ
จุดมุ่งหมายสาคัญของเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตา เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับ(เปรต) ซึ่งเชื่อว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรกที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยก่อไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากภูมินรกในทุกวันแรม 1 ค่า เดีอนสิบ เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลาน ญาติพี่น้องที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังภูมินรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ในที่สุด  
สรุปแล้ว ประตูนรกจะเปิดแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อให้โอกาสดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับ(เปรต)มาหาลูกหลานเป็นเวลา 15 วัน และประตูนรกจะปิดวันแรม15 ค่ำ ช่วง15วันนี้จึงเป็นเวลาเหมาะที่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

เรียบเรียง : นายสุเพียร  คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ตรวจทาน :
- นายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
- ดร.ปริง  เพชรล้วน  กรรมการเครือข่ายอนุรักษ์ภาษา ตำราและคัมภีร์ใบลาน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย