-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปราสาทพระจำรุง(ប្រាសាទព្រះជម្រុង Prasat Preah Jam Rung) ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทพระจำรุง(ប្រាសាទព្រះជម្រុង Prasat Preah Jam Rung) เป็นศาสนสถานขอมโบราณที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอดีตเมืองขุขันธ์อันยิ่งใหญ่(ស្រុកគោកខណ្ឌ​ ឬ ស្រុកស្តុកគោកខណ្ឌ)​ มีลักษณะเป็นอโรคยศาลา ตัวปราสาทปัจจุบันผุพังสูญสลายไปแล้ว ยังคงเหนือแต่เนินดินอันเป็นที่ตั้งของตัวปราสาท มีลักษณะเป็นเนินดินสี่เหลี่ยมจตุรัส ล้อมรอบด้วยสระน้ำโบราณ ขนาดเล็ก จำนวน 5 สระลักษณะเป็นการจำลองปัญจมหานที(แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 5 สายที่อินเดีย)ไว้โดยรอบตัวปราสาท ด้านทิศตะวันตก มีบารายโบราณขนาดกลาง(ยังไม่ทราบชื่อว่าชาวบ้านเรียกว่าอย่างไร)  ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางหมู่บ้านบิงใต้ หมู่ที่ 11 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 500เมตร
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา ศิลปะขอมโบราณ
ที่ขุดพบที่ปราสาทพระจำรุง(ប្រាសាទព្រះជម្រុង) สร้างจากหินทราย 
ในอดีตคงแกะสลักเป็นรูป
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาไว้ทั้ง 4 ด้าน แต่ปัจจุบันคงเหลือ 2 ด้าน เป็นรูปเคารพในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เป็นพระพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ พระหัตถ์ทั้งสองถือหม้อน้ำ ขัดสมาธิราบบนฐานสลักลายกลีบบัว ทรงมงกุฎและกุณฑล เชื่อกันว่าพระไภษัชยคุรุ มีความศักดิ์สิทธิ์สามารถบันดาลให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้
ที่ตั้ง บ้านบิงใต้ หมู่ที่ 11 ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณเส้นรุ้ง(Longtitude)ที่ 14 องศา 46 ลิปดา 13.3 ฟิลิปดา เหนือ(14°46'13.3"N) และเส้นแวง(Latitude)ที่ 104 องศา 12 ลิปดา 02.5 ฟิลิปดาตะวันออก(104°12'02.5"E) พิกัดบนGoogle Map :14.770360, 104.200684



แผนที่ตั้งของปราสาทพระจำรุง(ប្រាសាទព្រះជម្រុង Prasat Preah Jam Rung)

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
      
สันนิษฐานว่าเป็นปรางค์เป็นปรางค์รูปเดี่ยวขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนศิลาแลง(รอการขุดค้นและพิสูจน์ศึกษา)

หมายเหตุ สำหรับ ศิลาแลง หรือภาษาเขมรโบราณเมืองขุขันธ์ เรียกว่า ถมอ-บายเกรียม(ថ្មបាយក្រៀម) นั้น จากคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่บอกไว้ว่า ศิลาแลง สามารถพบได้ในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงตัวปราสาทนี้หลายแห่ง หากขุดลึกลงไปใต้ดินประมาณ 4 เมตรขึ้นไปก็จะเจอเป็นจำนวนมาก หรือข้อสังเกตประการหนึ่ง หากชาวบ้านแถบนี้จะขุดบ่อเพื่อเอาน้ำมาดื่มกินกันนั้น ก็จะนิยมขุดบ่อไม่ลึกเกิน 3 เมตร เพราะถ้าหากขุดลึกกว่า 3เมตรขึ้นไป จะได้น้ำที่มีสนิมเหล็ก(rust) เจือปน กล่าวคือเมื่อเราขุดบ่อเสร็จใหม่ๆ จะได้น้ำใต้ดินครั้งแรกน้ำจะยังคงดูใสสะอาด แต่ผ่านไปอีกไม่นานธาตุเหล็กในน้ำจะทำปฏิกิริยากับอากาศในบริเวณนั้น ก็จะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีแดงๆคล้ายสนิมเหล็ก ซึ่งภาษาเขมรโบราณเมืองขุขันธ์ เรียกว่า ตึกสลาบฺปแดก(ទឹកស្លា័ប្បដែក) ไม่สามารถเอามาดื่มกินได้นั่นเอง

อายุสมัย
ราวพุทธศตวรรษที่ ....(รอการขุดค้นและพิสูจน์ศึกษา)

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
ยังไม่ได้ประกาศฯ

การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน
ยังไม่ได้ประกาศฯ

สภาพปัจจุบัน
อยู่บนพื้นที่นาของชาวบ้านบิง และขาดการเหลียวแลจากผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ สอบถามชาวบ้านว่าเคยมีผู้มาขอขุดค้นหาสมบัติและวัตถุโบราณ ที่บริเวณปราสาทและละแวกใกล้ปราสาทดังกล่าวอยู่เนืองๆ
ฐานแท่นศิวลิงค์ และฐานปฏิมากรรมที่ขุดพบ
ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบ

 
ชิ้นส่วนของภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบ
 
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (Phra Bhaisajyaguru Vaitoonprapha
(Medicine Buddha)) ศิลปะแบบขอมโบราณ
ที่ขุดพบที่ปราสาทพระจำรุง(ប្រាសាទព្រះជម្រុង)


ผู้เรียบเรียง
    นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ขอขอบคุณคณะผู้ให้ความร่วมมือในการสืบค้น
    นายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
    พระสรรพสิทธิ์ ปภาโส(หลวงตาพัน) สำนักสงฆ์พิหารตรางสวาย
ดร.ปริง เพชรล้วน ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายนิติภูมิ ขุขันธิน กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

ปราสาทตระเปียงยุม(ប្រាសាទត្រពាំងយំ Prasat Trapiang Yum) อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทตระเปียงยุม(ប្រាសាទត្រពាំងយំ Prasat Trapiang Yum) เป็นปราสาทขอมโบราณอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอดีตเมืองขุขันธ์อันยิ่งใหญ่(ស្រុកគោកខណ្ឌ​ ឬ ស្រុកស្តុកគោកខណ្ឌ)​ ตัวปราสาทสร้างด้วยอิฐเผาในยุคขอมโบราณ(รอผลการตรวจพิสูจน์อายุอิฐ) ด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้มีหนองน้ำโบราณชื่อว่าหนองยม(ត្រពាំងយំ Trapeang Yum) และถัดมาอีกเป็นที่ตั้งของวัดและชุมชนกูยโบราณชื่อว่า ภูมิกัลโพธิ์(หมู่บ้านต้นโพธิ์) และปัจจุบันอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลจะกง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านไลย์พัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลจะกง ใกล้บริเวณรอยต่อของ 3 ตำบลได้แก่ ตำบลจะกง ตำบลตะเคียน และตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ


ที่ตั้ง บ้านไลย์พัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลจะกง อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณเส้นรุ้ง(Longtitude)ที่ 14 องศา 46 ลิปดา 47.6 ฟิลิปดา เหนือ(14°46'47.6"N) และเส้นแวง(Latitude)ที่ 104 องศา 13 ลิปดา 22.7 ฟิลิปดาตะวันออก(104°13'22.7"E) พิกัดบนGoogle Map :14.779884, 104.222973



แผนที่ตั้งของปราสาทตระเปียงยุม(ប្រាសាទត្រពាំងយំ Prasat Trapiang Yum)
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
     ปรางค์เป็นปรางค์รูปเดี่ยวขนาดเล็ก ก่อด้วยด้วยอิฐเผาแบบขอมโบราณ สันนิษฐานว่าตั้งอยู่บนศิลาแลง(รอการขุดค้นและพิสูจน์ศึกษา)
อิฐเผาแบบขอมโบราณที่พบบริเวณที่ตั้งปราสาท
อายุสมัย
     ราวพุทธศตวรรษที่ ....(รอการขุดค้นและพิสูจน์ศึกษา)

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
      ยังไม่ได้ประกาศฯ

การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน
      ยังไม่ได้ประกาศฯ
สภาพปัจจุบัน
     ถูกทิ้งร้าง และขาดการเหลียวแลจากผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทำให้มีผู้ลักลอบขุดหาสมบัติและวัตถุโบราณอยู่อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ตัวปราสาทพังเสียหายไปมากแทบมองไม่ออกว่าเป็นตัวปราสาท
ร่องรอยการลักลอบขุดหาสมบัติและวัตถุโบราณ
ภาพถ่ายบริเวณที่ตั้งตัวปราสาทตระเปียงยุม ตำบลจะกง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 17.40 น. โดย สุเพียร  คำวงศ์
  
  สภาพพื้นที่บริเวณวัดและชุมชนกูยโบราณชื่อว่า ภูมิกัลโพธิ์(หมู่บ้านต้นโพธิ์)

ผู้เรียบเรียง
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ขอขอบคุณคณะผู้ให้ความร่วมมือในการสืบค้น
นายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
พระสรรพสิทธิ์ ปภาโส(หลวงตาพัน) สำนักสงฆ์พิหารตรางสวาย
ดร.ปริง เพชรล้วน ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายนิติภูมิ ขุขันธิน กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย