ที่ตั้ง บ้านบิงใต้ หมู่ที่ 11 ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณเส้นรุ้ง(Longtitude)ที่ 14 องศา 46 ลิปดา 13.3 ฟิลิปดา เหนือ(14°46'13.3"N) และเส้นแวง(Latitude)ที่ 104 องศา 12 ลิปดา 02.5 ฟิลิปดาตะวันออก(104°12'02.5"E) พิกัดบนGoogle Map :14.770360, 104.200684
แผนที่ตั้งของปราสาทพระจำรุง(ប្រាសាទព្រះជម្រុង Prasat Preah Jam Rung)
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
สันนิษฐานว่าเป็นปรางค์เป็นปรางค์รูปเดี่ยวขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนศิลาแลง(รอการขุดค้นและพิสูจน์ศึกษา)
หมายเหตุ สำหรับ ศิลาแลง หรือภาษาเขมรโบราณเมืองขุขันธ์ เรียกว่า ถมอ-บายเกรียม(ថ្មបាយក្រៀម) นั้น จากคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่บอกไว้ว่า ศิลาแลง สามารถพบได้ในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงตัวปราสาทนี้หลายแห่ง หากขุดลึกลงไปใต้ดินประมาณ 4 เมตรขึ้นไปก็จะเจอเป็นจำนวนมาก หรือข้อสังเกตประการหนึ่ง หากชาวบ้านแถบนี้จะขุดบ่อเพื่อเอาน้ำมาดื่มกินกันนั้น ก็จะนิยมขุดบ่อไม่ลึกเกิน 3 เมตร เพราะถ้าหากขุดลึกกว่า 3เมตรขึ้นไป จะได้น้ำที่มีสนิมเหล็ก(rust) เจือปน กล่าวคือเมื่อเราขุดบ่อเสร็จใหม่ๆ จะได้น้ำใต้ดินครั้งแรกน้ำจะยังคงดูใสสะอาด แต่ผ่านไปอีกไม่นานธาตุเหล็กในน้ำจะทำปฏิกิริยากับอากาศในบริเวณนั้น ก็จะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีแดงๆคล้ายสนิมเหล็ก ซึ่งภาษาเขมรโบราณเมืองขุขันธ์ เรียกว่า ตึกสลาบฺปแดก(ទឹកស្លា័ប្បដែក) ไม่สามารถเอามาดื่มกินได้นั่นเอง
อายุสมัย
ราวพุทธศตวรรษที่ ....(รอการขุดค้นและพิสูจน์ศึกษา)
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
ยังไม่ได้ประกาศฯ
การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน
ยังไม่ได้ประกาศฯ
สภาพปัจจุบัน
อยู่บนพื้นที่นาของชาวบ้านบิง และขาดการเหลียวแลจากผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ สอบถามชาวบ้านว่าเคยมีผู้มาขอขุดค้นหาสมบัติและวัตถุโบราณ ที่บริเวณปราสาทและละแวกใกล้ปราสาทดังกล่าวอยู่เนืองๆ
ฐานแท่นศิวลิงค์ และฐานปฏิมากรรมที่ขุดพบ |
(Medicine Buddha)) ศิลปะแบบขอมโบราณ
ที่ขุดพบที่ปราสาทพระจำรุง(ប្រាសាទព្រះជម្រុង)
ผู้เรียบเรียง
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ขอขอบคุณคณะผู้ให้ความร่วมมือในการสืบค้น
นายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
พระสรรพสิทธิ์ ปภาโส(หลวงตาพัน) สำนักสงฆ์พิหารตรางสวาย
ดร.ปริง เพชรล้วน ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายนิติภูมิ ขุขันธิน กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์