สังฆทาน
เพื่อเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการถวายสังฆทาน จึงขอนำเรื่องดังกล่าวมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ การถวายสังฆทานนั้น สามารถดำเนินการได้ตลอดทั้งปี เมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ที่บ้านก็สามารถทำได้ โดยแจ้งแก่ทางวัดให้จัด พระสงฆ์ ไป รับสังฆทาน ตามจำนวนที่ต้องการถวาย หัวหน้าสงฆ์ หรือ เจ้าอาวาส ของวัดนั้น ก็จะจัดภิกษุรูปใดหรือหลายรูปไปรับก็ได้ ขอให้ผู้ที่จะถวายพึงทำใจว่า ท่านมารับในนามของ สงฆ์ หรือเป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด ไม่ควรพึงเพ่งเล็งว่าเป็นพระรูปใดรูปหนึ่ง อาจจะเป็นพระรูปที่เราไม่รู้จัก หรือไม่ชอบก็ได้
การถวายสังฆทานนี้ จะนำไปถวายที่วัดก็ได้มิใช่จะต้องไปที่วัดเสมอ พึงไปพบหัวหน้าสงฆ์หรือเจ้าอาวาส แจ้งความประสงค์ต้องการที่จะถวายสังฆทานจำนวนกี่รูป ท่านจะจัดภิกษุรูปใดก็ได้เป็นตัวแทนมารับตามจำนวนที่ต้องการถวาย หรือท่านจะเป็นผู้รับเองก็ได้
ขั้นตอนการถวายสังฆทาน ในพิธีการถวาย พึงจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม (ด้านซ้ายและขวาของ พระพุทธรูป หรือด้านขวาและซ้ายมือของเรา) อาจจะเชิญชวนทุกท่านกราบ 3 ครั้งก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อน แล้ว...
*** กล่าวคำบูชาพระรัตนะตรัยพร้อมกัน และกราบพระอีกครั้งว่า
“อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวังตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ” (กราบ)
*** แล้วอาราธนาศีล ว่า
“มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ”
*** เสร็จแล้ว พระจะให้ศีล เราพนมมือกล่าวรับศีลจากพระ รับศีลจบแล้วตั้งนะโม...เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า
“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” 3 จบ
*** กล่าวคำถวายเครื่องไทยธรรม ถ้าจำไม่ได้หรือว่าไม่ได้ พระจะบอกให้ ว่าตามที่พระบอกให้ก็ได้ ทางที่ดีควรจะกล่าวคำถวายเอง โดยกล่าวดังนี้
“อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
โดยกล่าวคำแปลต่อ โดยกล่าวว่า
“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”
เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จ พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ” แล้วเราเข้าไปประเคนเครื่องไทยธรรม ซึ่งจะนำมาวางอยู่ต่อหน้าพระสงฆ์ก่อนแล้ว เวลาประเคนถ้าประเคน 2 คน ก็จับเครื่องไทยธรรมนั้น ๆ ทั้ง 2 คน ยกให้สูงจากพื้นที่วางของ แล้วประเคนให้พระสงฆ์รับ หลังจากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา ตอนนี้เป็นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำบุญเพื่ออุทิศให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องมีสมาธิมีเจตนาแน่วแน่ในการทำบุญอุทิศ ซึ่งจะทำให้ได้อานิสงส์แรง พระจะสวดเป็นภาษาบาลีว่า
“ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา”
พอพระเริ่มกล่าวคำว่า ยะถา วะริวะหา... เราก็เริ่มกรวดน้ำทันที (ให้รินน้ำลงในที่รองรับช้า ๆ เป็นสายน้ำอย่าให้ขาดสายจะดี) พร้อมกับกล่าวคำอุทิศส่วนบุญที่เราได้ทำในครั้งนี้ไปให้กับ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ทุกข์ก็ให้พ้นทุกข์ ที่มีสุข ก็ให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น หรือกล่าวคำกรวดน้ำเป็นภาษาบาลีอย่างย่อก็ได้ว่า
“อิทังเม ญาติณังโหตุ สุขิตาโหตุ ญาตะโญ”
แปลว่า “ขอให้บุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดา และญาติพี่น้องของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอให้มีความสุขกายสุขใจ” ถ้าว่าไม่ได้หรือจำไม่ได้ ก็ให้กล่าวเป็นภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานด้วยใจ อย่ากล่าวแต่ปากโดยใจมิได้จดจ่อกับสิ่งที่กล่าว
เมื่อพระสวดคำว่า “จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา” ก็ให้รินน้ำลงให้หมด ขณะนี้พระยังสวดต่ออีก เป็นการสวดให้พรแก่ตัวเราแล้ว ไม่ใช่การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น/สัตว์อื่น) เราก็นั่งพนมมือทำจิตใจให้อิ่มเอิบเบิกบานรับพรจากพระ เมื่อพระสวดจบก็เป็นอันเสร็จ พิธีถวายสังฆทาน อย่างสมบูรณ์
การถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
การถวายสังฆทานเพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า มะตะกะภัต พิธีการต่าง ๆ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถวายสังฆทานทั่วไป จะต่างกันที่การกล่าวคำถวายเล็กน้อย ให้กล่าวคำถวายดังนี้
“อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง กาละกะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
แล้วกล่าวคำแปลภาษาไทยต่อ โดยกล่าวว่า
“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย มะตะกะภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับ มะตะกะภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งผู้ที่มีญาติและไม่มีญาติ ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว สิ้นกาลนานเทอญ”
เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จแล้ว พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ” แล้วเราเข้าไปประเคนของเครื่องไทยธรรมซึ่งจะนำมาวางอยู่ต่อหน้าพระสงฆ์ก่อนแล้ว เวลาประเคนถ้าประเคน 2 คน ก็จับเครื่องไทยธรรมนั้นๆ ทั้ง 2 คน ยกให้สูงจากพื้นที่วางของ แล้ว ประเคน ให้พระสงฆ์รับ หลังจากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา ตอนนี้เป็นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำบุญเพื่ออุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต้องตั้งใจมีเจตนาแน่วแน่ในการทำบุญ อุทิศ ซึ่งจะทำให้ได้อานิสงส์แรง ถ้าตั้งใจจริง เมื่อพระเริ่มกล่าวคำว่า
“ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา”
พอพระเริ่มกล่าวคำว่า ยะถา วะริวะหา... เราก็เริ่ม กรวดน้ำ ทันที (ให้ รินน้ำ ลงในที่รองรับช้า ๆ เป็นสายน้ำอย่าให้ขาดสายจะดี) พร้อมกับกล่าวคำอุทิศส่วนบุญที่เราได้ทำในครั้งนี้ไปให้กับ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ รวมทั้งผู้ที่ไม่มีญาติด้วย โดยกล่าวคำกรวดน้ำเป็นภาษาไทยก็ได้ว่า
“ด้วยบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ จงสำเร็จแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้องทั้งหลายของข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวร รวมทั้งผู้ที่ไม่มีญาติ ที่ล่วงลับไปแล้วทุกภพทุกชาติ ด้วยเทอญ”
เมื่อพระว่าถึง จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา พอจบคำสุดท้ายว่า ยะถา ให้รินน้ำลงให้หมด ขณะนี้พระยังสวดต่อไปอีกเป็นการให้พรแก่ตัวเรา ไม่ใช่อุทิศบุญให้แก่ผู้อื่น/สัตว์อื่น เราก็พนมมือ ทำจิตใจให้อิ่มเอิบเบิกบาน ตอนนี้เรียกว่า รับพรจากพระ เมื่อพระสวดจบ เป็นอันเสร็จพิธีถวายสังฆทานอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สรุปเกี่ยวกับผลคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕
ผลคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕ ?
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๒๑.๐๕ น. นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศบรรยายสรุปแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาล ยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้อ่านคำพิพากษาในกรณีประเทศกัมพูชาร้องขอให้ศาลฯ ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕ ซึ่งกัมพูชาอ้างว่าไทยและกัมพูชามีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับขอบเขต ของบริเวณใกล้เคียงปราสาท โดยกัมพูชาเห็นว่าควรมีขอบเขตตามเส้นเขตแดนบนแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ที่กัมพูชาแนบคำฟ้องในคดีเดิม สรุปสาระสำคัญของคำพิพากษาของศาลฯ ได้ ดังนี้
๑. ศาลฯ รับตีความตามคำร้องของฝ่ายกัมพูชาเฉพาะในประเด็นที่ศาลฯ เห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจแตกต่างกัน แต่ศาลฯ รับตีความเฉพาะภายในขอบเขตของคำพิพากษาปี ๒๕๐๕
๒. ศาลฯ ไม่รับพิจารณาประเด็นเส้นเขตแดน หากแต่พิจารณาเฉพาะประเด็นอธิปไตยเหนือตัวปราสาทพระวิหารและขอบเขตของบริเวณ ใกล้เคียงปราสาท ซึ่งคำตัดสินของศาลฯ เป็นไปตามแนวทางการสู้คดีของฝ่ายไทย โดยศาลฯ ไม่รับพิจารณาข้อเรียกร้องของกัมพูชาเหนือพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร และศาลฯ ไม่ได้ตัดสินว่าแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ผูกพันไทยภายใต้คดีเดิมในฐานะเส้นเขตแดนไทย – กัมพูชา
๓. ศาลฯ รับพิจารณาเกี่ยวกับบริเวณใกล้เคียงปราสาทซึ่งศาลฯ เห็นว่าเป็นบริเวณพื้นที่ขนาดเล็ก และศาลฯ ได้อธิบายขอบเขตของบริเวณดังกล่าวในทางสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณเขาพระวิหาร ไม่รวมถึงภูมะเขือ โดยในขั้นตอนต่อไป ไทยและกัมพูชาจะต้องหารือกันในรายละเอียดของขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทต่อไป
๔. ศาลฯ แนะนำให้ไทยและกัมพูชาร่วมกันพัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลก
ต่อมา นายกรัฐมนตรีได้แถลงท่าทีเบื้องต้นของรัฐบาลต่อคำพิพากษาของศาลฯ โดยเห็นว่าความสำคัญของคำตัดสินคือ การให้ทั้งไทยและกัมพูชาใช้แนวทางการหารือเจรจากันในฐานะเพื่อนบ้าน นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้คณะกรรมการวิเคราะห์คำพิพากษาและแนวทางการดำเนินการ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดของคำพิพากษาของศาลฯ จนถ่องแท้ และหารือกับที่ปรึกษากฎหมาย แล้วจึงเสนอแนะความเห็นประกอบการพิจารณาการดำเนินการใด ๆ ของรัฐบาลต่อไป ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า ในการเจรจาหาข้อยุติที่ยอมรับได้ของทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชานั้น ทางการไทยจะต้องดำเนินการตามกระบวนการภายใต้รัฐธรรมนูญไทยทุกประการ
ต่อข้อสอบถามเพิ่มเติมของสื่อมวลชนเกี่ยวกับบริเวณใกล้เคียงปราสาทตามคำ พิพากษาของศาลฯ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ศาลฯ ได้ระบุขอบเขตตามสภาพทางภูมิศาสตร์ว่ามีพื้นที่ทางทิศต่าง ๆ อย่างไร และได้ระบุชัดเจนว่าไม่รวมถึงภูมะเขือ ซึ่งศาลฯ ได้ตัดสินให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชานับ แต่ปี ๒๕๐๕ แล้ว ในการตัดสินครั้งนี้ ศาลฯ เพียงแต่ระบุให้ชัดเจนขึ้นว่าขอบเขตของบริเวณใกล้เคียงปราสาทอยู่ตรงไหน ซึ่งทำให้กัมพูชาไม่สามารถอ้างเรื่องพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรว่าอยู่ในคำตัดสินคดีเดิมได้อีก
ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการเจรจาเกี่ยวกับคำพิพากษานั้น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า การหารือระหว่างไทยและกัมพูชาจะมีขึ้นภายหลังจากที่ฝ่ายไทยได้ศึกษาราย ละเอียดคำตัดสินเสร็จสมบูรณ์ ประกอบกับเมื่อทั้งสองฝ่ายมีความพร้อม โดยจะเจรจาผ่านกลไกทวิภาคีที่มีอยู่
ขอบคุณที่มา : http://www.phraviharn.org/main
12 พ.ย. 2556 ที่ด่านช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ ทหารไทย-กัมพูชา
ชื่นมื่นไร้ศึกส งคราม 2 ชนชาติ พ.อ.ยงยุทธ ขันทวีรองผบ.เฉพาะกิจที่ 3 จับมือกับ พ.อ.เทิง เทีย
นายทหารผู้คุมกองกำลังชายแดนกัม พูชาเมืองอัลลองเวง ตระเปียงปราสาท จังหวัดอุดรมีชัย
มอบของที่ระลึกเพื่อสานสัมพันธไมตรีและหยุดสงคราม
12 พ.ย. 2556 ที่ด่านช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ ทหารไทย-กัมพูชา
ชื่นมื่นไร้ศึกส
นายทหารผู้คุมกองกำลังชายแดนกัม
มอบของที่ระลึกเพื่อสานสัมพันธไมตรีและหยุดสงคราม
...สู่สันต ิสุขโลกประชาชนชายแดนไร้กังวล
วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พิธีสรงน้ำสรงพระศพสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ณ อำเภอขุขันธ์ 25 ตุลาคม 2556
พิธีสรงน้ำสรงพระศพโดยกราบอุทิศถวายพระรูป สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โดยจัดพิธีที่วัดกลางอัมรินทราวาส อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 โดยมีพระเดชพระคุณพระรัตนากรวิสุทธิ์ รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ และนายอนุรัตน์ ลีธีระประเสริฐ นายอำเภอขุขันธ์ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส
ตามที่ได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)สิ้นพระชนม์ ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2556 ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ไว้ทุกข์ มีกําหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 นั้น
โดยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงเจริญด้วยพระคุณธรรมอันเปี่ยมล้น และได้ทรงบําเพ็ญสรรพกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่พระบวรพุทธศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดมา ประกอบกับประชาชนจํานวนมากต่างเศร้าโศกอาลัยในการสิ้นพระชนม์
ดังนั้น เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัยรัฐบาลจึงเห็นสมควรประกาศให้ขยายเวลาการไว้ทุกข์ จากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 ทั้งนี้ ขอเชิญชวนองค์กรทุกภาคส่วน และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมกันไว้ทุกข์ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัย โดยพร้อมเพรียงกัน
วรธรรมคติพร ของเจ้าพระคุณ ที่โดดเด่นเป็นที่จำได้ดีที่สุดคือ คิดดีทำดี พูดดี เป็นศรีเป็นพรสูงสุด ไม่มีพรเทพ พรมนุษย์ สูงสุดเท่าพรที่เราเฝ้าทำเอง กราบถวายอาลัยด้วยความเคารพอย่างสูงสุด
โดยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงเจริญด้วยพระคุณธรรมอันเปี่ยมล้น และได้ทรงบําเพ็ญสรรพกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่พระบวรพุทธศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดมา ประกอบกับประชาชนจํานวนมากต่างเศร้าโศกอาลัยในการสิ้นพระชนม์
ดังนั้น เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัยรัฐบาลจึงเห็นสมควรประกาศให้ขยายเวลาการไว้ทุกข์ จากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 ทั้งนี้ ขอเชิญชวนองค์กรทุกภาคส่วน และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมกันไว้ทุกข์ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัย โดยพร้อมเพรียงกัน
วรธรรมคติพร ของเจ้าพระคุณ ที่โดดเด่นเป็นที่จำได้ดีที่สุดคือ คิดดีทำดี พูดดี เป็นศรีเป็นพรสูงสุด ไม่มีพรเทพ พรมนุษย์ สูงสุดเท่าพรที่เราเฝ้าทำเอง กราบถวายอาลัยด้วยความเคารพอย่างสูงสุด
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ผญาภาษิตอีสานโบราณกล่าวขานการทำบุญประจำเดือนสิบเอ็ด
เดือนสิบเอ็ดว่านั่นหัวลมอ่วยเช ยหนาว
ช่วงผู้สาวผิวลายฝ่ายชายสิผิวเก ลี้ยง
ได้ยินเสียงลมต้องกกสามฉาอยู่เวิ้นเหวิ่น
หมาจอกเอิ้นสั่งชู้กะปูหม้นแต่ฝั่งหนอง
นกแจนแวนออกฮ้องหาคู่ผสมพันธุ์
ควายบักเถิ๊กตกมันแหล่นซนแต่ตอพ ร้าว
ฝูงปลาขาวลงโฮมต้อนสาวนอนขี้คร้ านตื่น
ปลาดุกบืนข่อนสิแจ้งหันหน้าเข้า ใส่หลุม
ได้ยินเสียงฟ้าฮ้องเอิ้นสั่งฤดู ฝน
ฝูงหมู่คนลงเลาะถ่งนาปลาบ้อน
เดิ๊กออนซอนจันทร์แจ้งทอแสงใสสง่า
ออกพรรษาห่อข้าวต้มลมล่อแต่หมู่ ปลา
บัดนี่แหล๋ววัดสิเป็นกำพร้าบ่มี พระสิมานอน
มาออนซอนแต่ทายกไล่แต่งัวเข้ามา เลี้ยง
ได้ยินเสียงกลองโย้นวันเพ็ญสิบห้าค่ำ
พระสิลาแม่ออกค้ำไตรมาสสิสั่งลา
เป็นผญาภาษิตอีสานโบราณ
กล่าวขาน การทำบุญประจำเดือนสิบเอ็ด
เสร็จ ธุระพระพรรษาชาวพาราเซ็งแซ่แห่ก ฐิน
จึงสังเกตเห็นธงสัตว์สี่ประเภทที่เตือนใจพระว่า
"อย่าเบื่อคำสอนสั่ง(ธงตะขาบ) ยังเห็นแก่ปาก(ธงจรเข้)
มากด้วยกามคุณ(ธงเต่า) และวุ่นรักผู้หญิง"(ธงมัจฉา)
ขออนุโ มทนากับสาธุชนเจ้าภาพทุกท่านที่ เห็นความสำคัญ
ของการทำบุญทอดกฐิ นแด่พระสงฆ์ทุกวัดที่มีพระสงฆ์๕ รูปขึ้นไปซึ่งจำพรรษาถ้วนไตรมาสใ นอาวาสสามเดือน...สาธุ
ที่มา : กราบนมัสการขอบพระคุณพระคุณเจ้า จากเฟสบุค
Suriyon Noisangoun https://www.facebook.com/suriyon.noisangoun ,22 ตุลาคม 2556.
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556
เกี่ยวกับเรา
สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2563 |
สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์และภาคีเครือข่าย
- ทำเนียบคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) คลิก- ประกาศสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม 2564 คลิก
- ข้อบังคับสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ.2559 คลิก
- แหล่งที่มาของบประมาณสนับสนุนให้แก่สภาวัฒนธรรม และแนวทางปฏิบัติของสภาวัฒนธรรม กรณีได้รับเงินงบประมาณสนับสนุน คลิก
- แผนงาน/โครงการของสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2560 คลิก
- ทะเบียนรับ-ส่งหนังสือ/คำสั่ง/คุมเอกสารสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 2560-ปัจจุบัน คลิก
- การจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี พ.ศ.2560
คลิก
ปีงบประมาณ 2562
-การประชุมคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ 2_2562 คลิก
-พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ คลิก
-เอกสารอบรมเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมศรีสะเกษ(25620606-07) คลิก
-คู่มือบุญประเพรีแซนโฎนตา ปี 2562 (อยู่ระหว่างการเรียบเรียง) คลิก
ปีงบประมาณ 2560-2561
- ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมทุกระดับจังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2560 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น5 คลิก
- ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ครั้งที่ 1/2560 คลิก รายละเอียด
- ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ครั้งที่ 2/2560 คลิก รายละเอียด
-เอกสารการประชุมลด ละ เลิกการบริโภคอัลกอฮอล์ เมื่อวันที่24-03-2560 คลิก
ผลงานเด่นของสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
- บทการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสมผสาน ตำนานเมืองขุขันธ์2560 คลิก
- รายชื่อผู้แสดงงานแสง สี เสียง สื่อผสมผสาน ตำนานเมืองขุขันธ์ ในงานแซนโฎนตา ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2560 คลิก
ข้อมูลที่น่าสนใจ- รายชื่อผู้แสดงงานแสง สี เสียง สื่อผสมผสาน ตำนานเมืองขุขันธ์ ในงานแซนโฎนตา ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2560 คลิก
- ที่มาของสภาวัฒนธรรม(ฉบับย่อ) คลิก
- การรับจดแจ้งเป็นองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม ระดับสภาวัฒนธรรมตำบล อำเภอ จังหวัด คลิก
- การรับจดแจ้งเป็นองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม ระดับสภาวัฒนธรรมตำบล อำเภอ จังหวัด คลิก
- ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมระดับสภาวัฒนธรรมจังหวัด อำเภอ ตำบล คลิก
- ประกาศจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง มาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยและการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในการจุดและปล่อยหรือกระทำการอย่างใดเพื่อให้ บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โดมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ(30 กันยายน 2562) คลิก
- ประกาศจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง มาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยและการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในการจุดและปล่อยหรือกระทำการอย่างใดเพื่อให้ บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โดมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ(30 กันยายน 2562) คลิก
ระเบียบและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับคำว่า "วัฒนธรรม" คลิก
- อำนาจหน้าที่และภารกิจของสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ
- ต้นแบบข้อบังคับสภาวัฒนธรรมตำบล อำเภอและจังหวัด ปี พ.ศ. 2555
- ระเบียบกระทรวงวัฒนธรรม ว่าด้วยสภาวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑ คลิก
- ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ คลิก
- ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง แก้ไขประกาศการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ คลิก
- ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๖๑ คลิก
- ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง การจดแจ้ง และหนังสือรับรองการจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2556 คลิก
- ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง การจดแจ้ง ฯเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม พ.ศ. 2555 คลิก
- ประกาศนายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม [สมาคมสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย] พ.ศ. 2557
- ประกาศนายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมฯ พ.ศ. 2556
- กฎกระทรวงกำหนดที่มา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา จำนวนกรรมการและสมาชิก วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุม การบริหารจัดการ และการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๕
- กระทู้ถามที่ ๗๒๙ ร. เรื่อง การส่งเสริมสนับสนุนสภาวัฒนธรรม ของนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๖
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการบริหารกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๕
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการจัดสวัสดิการศิลปินและผู้มีผลงานทางด้านวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยเงินตอบแทนประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
- ระเบียบคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
- ระเบียบกระทรวงวัฒนธรรมว่าด้วยกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๖
- ระเบียบการจ่ายเงินสวัสดิการศิลปินแห่งชาติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติเมื่อเสียชีวิต (กรุงเทพมหานคร)
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติเมื่อเสียชีวิต (ต่างจังหวัด)
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม (กรุงเทพมหานคร)
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม (ต่างจังหวัด)
- ฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
- แผนยุทธศาสตร์กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
- พระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๓
- กฎกระทรวง กำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
- พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๖
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการบริหารกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๕
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยการจัดสวัสดิการศิลปินและผู้มีผลงานทางด้านวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมว่าด้วยเงินตอบแทนประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
- ระเบียบคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
- ระเบียบกระทรวงวัฒนธรรมว่าด้วยกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๖
- ระเบียบการจ่ายเงินสวัสดิการศิลปินแห่งชาติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติเมื่อเสียชีวิต (กรุงเทพมหานคร)
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติเมื่อเสียชีวิต (ต่างจังหวัด)
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม (กรุงเทพมหานคร)
- แนวปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม (ต่างจังหวัด)
- ฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
- แผนยุทธศาสตร์กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
- พระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๓
- กฎกระทรวง กำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556
คำว่าภาษาเขมร "ฎาร"ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตา คืออะไร ?
คำว่า "ฎาร" นี้ เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี และสันสกฤต มักพบใช้ในภาษาขแมร์(เขมร) แต่ไม่พบใช้ในภาษาไทย เช่นเดียวกับคำว่า "โฎนตา" ดังนั้น ถ้าไปเปิดพจนานุกรมภาษาไทย เพื่อค้นหาก็จะไม่พบคำนี้
แต่ถึงอย่างไรก็ตามคำนี้ถ้ากล่าวเชิงเปรียบเที่ยบแล้ว น่าจะตรงกับคำในภาษาไทยที่พบใช้บ่อย ๆในการทำบุญ คือคำว่า "ทักษิณานุปทาน" นั่นเอง
ដារ ( ន. ) ( សំ., បា. ) ឈ្មោះបុណ្យតូចម្យ៉ាងក្នុងពុទ្ធសាសនា ជាបុណ្យទក្ខិណានុប្បទាន, ទាយកនិមន្តព្រះភិក្ខុសង្ឃសូត្រសត្តប្បករណាភិធម្ម និងតិរោកុឌ្ឌសូត្រ ហើយគេរាប់បាត្ររួច ឧទ្ទិសចំណែកបុណ្យ ជូនទៅបុព្វបេតបុគ្គលដែលចែកឋានទៅកាន់បរលោកហើយ : ធ្វើបុណ្យដារ, និមន្តលោកដារ ។
แปลถอดความจากภาษาขแมร์(เขมร)เป็นภาษาไทย ได้ว่า
ฎาร (น.) (สัน.,บา.) ชื่อการทำบุญอย่างหนึ่งในช่วง เทศกาลแซนโฎนตา หรือสารทเขมร ซึ่งจัดขึ้นโดยชาวบ้านในท้องถิ่นที่พูดภาษาเขมร และกวย(บางท่านเรียก ส่วย) เป็นการทำบุญที่ไม่ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ แต่เป็นการทำบุญทักษิณานุปทาน โดยทายกจะนิมนต์พระสงฆ์สวดสัตตัปปกรณาภิธรรม และติโรกุฑฑสูตร แล้วร่วมกันตักบาตร และอุทิศส่วนกุศล ส่งไปยังบุพพเปตบุคคลซึ่งได้ล่วงลับไปสู่ปรโลกแล้ว บางครั้งก็เรียกว่า /ทเวอ-บน-ดาร/ ทำบุญฎาร หรือ /นิ-ม็วน*-โลก*-ดาร/ นิมนต์พระฎาร
ส่วนคำว่า "ทักษิณานุปทาน" แปลว่า การเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา การเพิ่มพูนทักษิณาให้เขียนว่า ทักษิณานุประทาน ก็ได้
ทักษิณานุปทาน หมายถึงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เพื่อให้ผู้ตายได้รับผลเป็นความสุขความเจริญ พ้นจากภาวะที่ทุกข์ทรมานในทุคติ มีวิธีทำ คือตักบาตร เลี้ยงพระ บังสุกุล ถวายสังฆทาน เป็นต้น แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ตาย
พระมหาสมศักดิ์ สิริวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดค่ายนิคม
กล่าวสัมโมทนียกถาแด่ญาติโยมที่มาร่วมทำบุญอุทิศฯ 22 กันยายน 2556
สำหรับ ทักษิณานุปทาน ที่นิยมปฏิบัติกันคือ ในงานฉลองหรืองานวันเกิด นิยมนำอัฐของบรรพบุรุษหรือของอุปัชฌาย์อาจารย์ มาทำพิธีบังสุกุลกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ส่วนกุศลไปให้เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีก่อนแล้วจึงทำพิธีบุญเพื่อตัวเองในภายหลัง
ผู้เรียบเรียงเนื้อเรื่อง : นายสุเพียร คำวงศ์
ขอบคุณที่มา :
พจนานุกรมขแมร์ ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ สมเด็จพระสังฆราช(คณะมหานิกาย) ชวน ณาต โชตัญญาโณ ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ.๒๕๑๐)
กัลยาณมิตร .[ออนไลน์] http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=2237&Itemid=99999999 ,18 กันยายน 2556.
พจนานุกรม dictionary.tovnah.com.[ออนไลน์] http://dictionary.tovnah.com/?q=%E1%9E%8A%E1%9E%B6%E1%9E%9A&dic=all ,18 กันยายน 2556. ภาพถ่ายจากphrakhrusuwani.authaidit [ออนไลน์] https://www.facebook.com/phrakhrusuwani.authaidit/posts/1416159955272359,18 กันยายน 2556.
แต่ถึงอย่างไรก็ตามคำนี้ถ้ากล่าวเชิงเปรียบเที่ยบแล้ว น่าจะตรงกับคำในภาษาไทยที่พบใช้บ่อย ๆในการทำบุญ คือคำว่า "ทักษิณานุปทาน" นั่นเอง
ដារ ( ន. ) ( សំ., បា. ) ឈ្មោះបុណ្យតូចម្យ៉ាងក្នុងពុទ្ធសាសនា ជាបុណ្យទក្ខិណានុប្បទាន, ទាយកនិមន្តព្រះភិក្ខុសង្ឃសូត្រសត្តប្បករណាភិធម្ម និងតិរោកុឌ្ឌសូត្រ ហើយគេរាប់បាត្ររួច ឧទ្ទិសចំណែកបុណ្យ ជូនទៅបុព្វបេតបុគ្គលដែលចែកឋានទៅកាន់បរលោកហើយ : ធ្វើបុណ្យដារ, និមន្តលោកដារ ។
แปลถอดความจากภาษาขแมร์(เขมร)เป็นภาษาไทย ได้ว่า
ฎาร (น.) (สัน.,บา.) ชื่อการทำบุญอย่างหนึ่งในช่วง เทศกาลแซนโฎนตา หรือสารทเขมร ซึ่งจัดขึ้นโดยชาวบ้านในท้องถิ่นที่พูดภาษาเขมร และกวย(บางท่านเรียก ส่วย) เป็นการทำบุญที่ไม่ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ แต่เป็นการทำบุญทักษิณานุปทาน โดยทายกจะนิมนต์พระสงฆ์สวดสัตตัปปกรณาภิธรรม และติโรกุฑฑสูตร แล้วร่วมกันตักบาตร และอุทิศส่วนกุศล ส่งไปยังบุพพเปตบุคคลซึ่งได้ล่วงลับไปสู่ปรโลกแล้ว บางครั้งก็เรียกว่า /ทเวอ-บน-ดาร/ ทำบุญฎาร หรือ /นิ-ม็วน*-โลก*-ดาร/ นิมนต์พระฎาร
ส่วนคำว่า "ทักษิณานุปทาน" แปลว่า การเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา การเพิ่มพูนทักษิณาให้เขียนว่า ทักษิณานุประทาน ก็ได้
ทักษิณานุปทาน หมายถึงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เพื่อให้ผู้ตายได้รับผลเป็นความสุขความเจริญ พ้นจากภาวะที่ทุกข์ทรมานในทุคติ มีวิธีทำ คือตักบาตร เลี้ยงพระ บังสุกุล ถวายสังฆทาน เป็นต้น แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ตาย
กล่าวสัมโมทนียกถาแด่ญาติโยมที่มาร่วมทำบุญอุทิศฯ 22 กันยายน 2556
สำหรับ ทักษิณานุปทาน ที่นิยมปฏิบัติกันคือ ในงานฉลองหรืองานวันเกิด นิยมนำอัฐของบรรพบุรุษหรือของอุปัชฌาย์อาจารย์ มาทำพิธีบังสุกุลกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ส่วนกุศลไปให้เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีก่อนแล้วจึงทำพิธีบุญเพื่อตัวเองในภายหลัง
ผู้เรียบเรียงเนื้อเรื่อง : นายสุเพียร คำวงศ์
ขอบคุณที่มา :
พจนานุกรมขแมร์ ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ สมเด็จพระสังฆราช(คณะมหานิกาย) ชวน ณาต โชตัญญาโณ ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ.๒๕๑๐)
กัลยาณมิตร .[ออนไลน์] http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=2237&Itemid=99999999 ,18 กันยายน 2556.
พจนานุกรม dictionary.tovnah.com.[ออนไลน์] http://dictionary.tovnah.com/?q=%E1%9E%8A%E1%9E%B6%E1%9E%9A&dic=all ,18 กันยายน 2556. ภาพถ่ายจากphrakhrusuwani.authaidit [ออนไลน์] https://www.facebook.com/phrakhrusuwani.authaidit/posts/1416159955272359,18 กันยายน 2556.
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556
กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
ในปี พ.ศ. 2505 สมัยที่ นายรังสรรค์ รังสิกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ศาลโลกได้ตัดสินให้ประเทศไทยยกปราสาทเขาพระวิหาร ที่อยู่ในเขตตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตกเป็นของกัมพูชา นับเป็นการเสียดินแดนครั้งสุดท้ายของประเทศไทย การเสียเขาพระวิหารนั้นเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของโลกเหตุการณ์หนึ่ง เนื่องจากเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งขณะนั้น มีเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มากนัก และเป็นเหตุการณ์เดียวในประเทศไทย มีลำดับความเป็นมาโดยสรุป ดังนี้
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2506 สมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์แห่งประทศกัมพูชา ทำสัญญายกเขมรให้เป็นของฝรั่งเศส
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2406 มีการทำสนธิสัญญาลับระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม กับสหราชอาณาจักรกัมพูชา ยืนยันว่า กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสยาม
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 มีการทำสัญญาระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศส โดยพระเจ้าแห่งกรุงสยาม ยอมรับว่ากรุงกัมพูชาเมืองในอารักขาของฝรั่งเศส
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ราชอาณาจักรสยาม ทำสนธิสัญญายกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเกาะแก่งต่างๆ ให้แก่ฝรั่งเศส
พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จเขาพระวิหาร ทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า "118 สรรพสิทธิ"
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 ฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับราชอาณาจักรสยาม ยอมยกเมืองหลวงพระบาง บนฝั่งขวาแม่น้ำโขง และเมืองมโนไพร ดินแดนทางใต้ของภูเขาพนมดงเร็ก ให้แก่ฝรั่งเศส แลกกับจันทบุรี ( จันทบูร ) ที่ฝรั่งเศสยึดไว้
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2447 มีการทำสนธิสัญยาเพิ่มเติม โดยราชอาณาจักรสยามเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส ระหว่างทะเลสาบและทะเลหลวง
วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 มีการทำสนธิสัญญาระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม กับฝรั่งเศส โดยราชอาณาจักรสยามยอมยกดินแดน พระตะบอง เสียมราช และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด และเกาะทั้งหลายที่อยู่ภายใต้แหลมลิง ไปจนถึงเกาะกูดให้แก่สยาม
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกบัณฑิตสภา ได้เสด็จปราสาทเขาพระวิหาร มี เรสิดัง กำปงธม แต่งเครื่องแบบเต็มยศมาคอยรับที่บันไดขึ้นเขาพระวิหาร มีการชักธงฝรั่งเศส ในกลางเขาพระวิหารด้วย จึงสร้างความไม่พอใจแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพอย่างยิ่ง
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2483 กรมศิลปากรของราชอาณาจักรไทยได้ประกาศขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา
ปี พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นซึ่งทำสงครามอินโดจีน ชนะฝรั่งเศสได้ยกดินแดนบางส่วนรวมทั้งปราสาทเขาพระวิหารคืนให้แก่ไทย เป็นผลให้เกิดจังหวัดจำปาศักดิ์ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม ดินแดนเขาพระวิหารไม่ต้องสงสัยว่าอยู่ในดินแดนของกัมพูชา และสมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ เริ่มมีบทบาทในการเมืองในกัมพูชา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2492 ฝรั่งเศสและกัมพูชาคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือปราสาทเขาพระวิหารอย่างเปิดเผย และประท้วงไทยไม่ให้ส่งคนไปรักษาเขาพระวิหาร หลังจากที่ไทยไม่ยอมรับคำแนะนำของคณะกรรมการประนีประนอม ณ กรุงวอชิงตัน ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี พ.ศ. 2450 ทำให้สัมพันธภาพระหว่างไทยกับกัมพูชาเสื่อมทรามลงตลอดเวลา
ปี พ.ศ. 2501 กระทรวงโฆษณาการของกัมพูชาพิมพ์เผยแพร่บทความ สรุปว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ตามอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 อันได้รับการยืนยันจากสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 สนธิสัญญานี้กลับบังคับใช้อีกตามข้อตกลงที่ กรุงวอชิงตัน เมื่อ พ.ศ. 2479
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ประเทศไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทางชายแดนด้านกัมพูชา รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเดชอุดม และจังหวัดอุบลราชธานี สื่อมวลชนทั้งสองประเทศมีการโจมตีกันอย่างกว้างขวางและรุนแรงขึ้น
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2501 รัฐบาลกัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธไมตรีทางการฑูตกับ สหราชอาณาจักรไทย หลังจากที่การเจรจาด้วยสันติวิธีไม่ได้ผล
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยขอให้ศาลวินิจฉัย ให้ราชอาณาจักรไทยถอนกำลังและอาวุธจากบริเวณเขาพระวิหาร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า อธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ราชอาณาจักรไทยประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง ตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ทั้งมีแผนที่แสดงเขาพระวิหารแนบท้ายด้วย
โดยรัฐบาลไทยออกแถลงการณ์ อ้างข้อกำหนดในสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ต้องใช้สันกันน้ำอันเป็นเขตแดนธรรมชาติซึ่งจะทำให้เขาพระวิหารเป็นของไทย แต่กัมพูชาอ้างแผนที่ที่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผสมตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ซึ่งมีพลเอกหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานกรรมการฝ่ายไทย และพันโทแบร์ นารถ เป็นกรรมการฝ่ายฝรั่งเศส แล้วส่งให้ฝ่ายไทย 50 ฉบับ สมเด็จน้องยาเธอสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงตอบรับเมื่อ พ.ศ. 2451 และทรงขอแผนที่ฉบับนี้เพิ่มอีก 15 ฉบับ เพื่อแจกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายไทย แสดงว่าไทยยอมรับแผนที่นี้
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นทนายแก้ต่างให้ฝ่ายไทย ในกรณีพิพาทเป็นคดีขึ้นสู่ศาลโลก
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ได้พิจารณาลงความเห็นด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ว่า ซากปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งนี้เป็นไปตามแผนที่ ซึ่งฝรั่งเศสทำตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 และ พ.ศ. 2450 โดยอาศัยเหตุผลว่า ราชอาณาจักรไทย เพิกเฉยมิได้ประท้วงแผนที่ดังกล่าวนั้น ส่วนฝ่ายไทยยืนยันตลอดมาว่า รัฐบาลไทยถือสันปันน้ำเป็นเขตแดนตามข้อกำหนด ในสนธิสัญญาทุกฉบับ
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ( พลเอกประพาส จารุเสถียร ) ได้กล่าวคำปราศรัยที่จำต้องสละอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร และทำการรื้อถอนทุกสิ่งออกนอกเขตรวมทั้งเคลื่อนย้ายเสาธง รวมทั้งธงชาติ จากหน้าผาเป้ยตาดี นำลงโดยไม่มีการลดธงลงจากยอดเสาแต่อย่างใด พื้นที่บริเวณเขาพระวิหารที่ได้เสียไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เพื่อให้เข้าใจกรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร จึงขอนำคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหารให้ได้ใหทราบ ดังนี้
กรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร พิจารณาเชิงกฎหมายโดยศาลโลก
คดีเขาพระวิหารซึ่งกัมพูชาเป็นโจทย์ยื่นฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกเป็นเรื่องของการอ้างอธิปไตยของคู่กรณีเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของซากปราสาทเขาพระวิหารนี้
สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ตั้งอยู่บนเหลี่ยมเขา ซึ่งเป็นผืนดินที่ต่อเนื่องออกไปจากแผ่นดิน ของประเทศไทย ในบริเวณเทือกเขาดงรัก และหักลงสู่พื้นที่ราบลุ่มในกัมพูชาซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับเขาพระวิหารมาก
ก่อนหน้าที่กัมพูชาจะเสนอข้อพิพาทให้ศาลโลกพิจารณา สนธิสัญญาลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสได้ แบ่งเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ให้อยู่ต่ำลงไปทางทิศใต้ของเทือกเขาดงรัก กล่าวคือเป็นเขตแดนที่อยู่ต่ำกว่าบริเวณซากปราสาทเขาพระวิหาร ต่อมาฝรั่งเศสเห็นว่าการปักปันเส้นเขตแดนตามสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1867 นี้ยังดีพอ ประกอบกับขณะนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถตกลงแบ่งเส้นอิทธิพลของกันและกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ตามคำแถลงการณ์ร่วมลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1896 ฝรั่งเศสจึงหยิบยกเรื่องขึ้นขอเปิดการเจรจากับสยามเพื่อขอเลื่อนเส้นเขตแดนให้ขึ้นมาทางเหนือของเทือกเขาดงรัก โดยฝ่ายสยามยอมสละดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสตามอนุสัญญา ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 และสละอธิปไตยเหนือดินแดนหลวงพระบาง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งตามอนุสัญญา ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 เพื่อแลกเปลี่ยนกับการสิ้นสุดของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและรับตราดกับปราจีนบุรีคืนจากฝรั่งเศส
อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 มิได้กำหนดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนไว้อย่างละเอียดภาคีคู่สัญญาเพียงแต่ระบุให้ใช้แนวเส้นสันปันน้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดนลงบนแผนที่ ดังข้อความที่ปรากฏอยู่ในข้อ 1 และข้อ 3 ของอนุสัญญาว่า
"ข้อ 1 เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับประเทศกัมพูชาเริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาบจากปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส ……..ฯลฯ…….จนกระทั่งถึงทิวเขาดงรัก จากที่นั้นเส้นแบ่งเขตแดนคือ สันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสน และแม่น้ำโขง กับแม่น้ำมูล อีกด้านหนึ่ง………."
"ข้อ 3 ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีนฝรั่งเศสการปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสม ประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้งสองแต่งตั้ง งานของคณะกรรมการจะเกี่ยวข้องกับเขตแดนส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ ข้อ 2………. คณะกรรมการผสมฯ จึงได้ดำเนินงานปักปันเส้นจนเกือบจะเสร็จสยามกับฝรั่งเศสได้ชิงลงนามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1907 จึงยังมิได้ทำแผนที่สมบูรณ์ให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายลงนามรับรองแต่อย่างใด ต่อมา ฝรั่งเศสได้ดำเนินการตีพิมพ์แผนที่ซึ่งรัฐบาลสยามยังมิได้รับรองอย่างเป็นทางการนั้น โดยได้จัดพิมพ์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่กรุงปารีสแล้วจึงส่งแผนที่จำนวน 11 ท่อนมาให้รัฐบาลสยามในจำนวนนี้มีแผนที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับดินแดนบริเวณเขาพระวิหารด้วยฉบับหนึ่ง รัฐบาลสยามมิได้รับรองแผนที่ดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กัมพูชาจึงนำแผนที่มาประกอบคำฟ้องในภาคผนวก 1 ของตนต่อศาลโลก จึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า "แผนที่ภาคผนวกฉบับที่ 1" แผนที่ฉบับนี้คลาดเคลื่อนจากบทบัญญัติในข้อ 1 ของอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ดังปรากฏในผลการพิสูจน์ จากผู้เชี่ยวชาญแผนที่ของคู่พิพาท ดังนี้ ประเด็นสำคัญของศาลโลกจะต้องพิจารณาก็ คือ การจัดพิมพ์แผนที่ดังกล่าวโดยการกระทำฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อรัฐภาคีหรือไม่ ศาลยุติธรรมได้ลงความเห็นว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งเขาพระวิหาร โดยอาศัยหลักเหตุผลสองประการดังต่อไปนี้ คือ ผลผูกมัดของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 ต่อฝ่ายไทยและท่าทีที่ขัดแย้งต่อคำให้การในชั้นศาลของฝ่ายไทย
เหตุผลหลักที่สนับสนุนอธิปไตยของกัมพูชา ผลผูกมัดของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 เหตุผลหลักที่สนับสนุนอธิปไตยของกัมพูชา ได้แก่คุณค่าของตัวเองในแผนที่ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี
1) คุณค่าของแผนที่ในตัวเอง อนุสัญญาฉบับปีที่ ค.ศ. 1907 กำหนดให้คู่ภาคีตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนในเทือกเขาดงรักด้านตะวันออก รวมทั้งเขาพระวิหารด้วย แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการชุดที่ 2ไม่เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องปักปันเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารอีก การกระทำนี้อาจจะตีความในทางกลับกันได้ว่า คณะกรรมการผสมชุดที่ 2 เห็นว่าเส้นเขตแดนที่ถูกปักปันตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั้นมีความชัดเจนอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมาปักปันซ้ำอีก ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าการปักปันเส้นเขตแดนในสมัยของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 นั้นถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเห็นของศาลโลกเองนั้น ศาลเห็นว่าในลักษณะที่มองเห็นได้ในระยะแรก แผนที่ของภาคผนวกที่ 1 เป็นเพียงผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคซึ่งไม่ได้รับการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 และไม่มีเอกสารทางราชอื่นใดที่พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า แผนที่ภาคผนวกที่ 1 นั้น เป็นผลงานโดยชอบของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ดังนั้นศาลจึงต้อง "สรุปว่าในระยะเริ่มแรกและในขณะที่แผนที่ถูกจัดทำขึ้น ( ค.ศ. 1907 ) แผนที่นั้นไม่มีลักษณะที่จะผูกมัดรัฐภาคี"
2) ความผิดพลาด ( error ) ที่เกิดขึ้นในแผนที่ ศาลโลกยอมรับว่า แผนที่ภาคผนวกที่ 1 คลาดเคลื่อนไปจากแนวสันปันน้ำที่อนุสัญญา ค.ศ. 1904 กำหนดเอาไว้ อย่างไรก็ดี ถึงแม้นว่ามีการปักปันเส้นเขตแดนแผนที่ภาคผนวกที่ 1 จะมิได้เป็นผลงานของคณะกรรมผสมชุดที่ 1 ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือ " รัฐบาลมีอำนาจที่จะรับรองผลการปักปันเส้นเขตแดนที่คลาดเคลื่อนจากแนวสันปันน้ำ ( ซึ่งอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 บัญญัติไว้ ) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การรับรองแผนที่ภาคผนวกที่ 1 โดยรัฐบาลคู่พิพาทเป็นความตกลงระหว่างประเทศคู่สัญญาปี ค.ศ. 1904 นั่นเอง "
3) โดยที่รัฐบาลมิได้ทำการทักท้วงข้อผิดพลาดดังกล่าวขณะที่ และภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ส่งแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มาให้สยามพิจารณา ฝ่ายไทยจึงมิอาจอ้างเรื่องการทำแผนที่ผิดพลาดจากข้อความในอนุสัญญา เพื่อกำจัดผลผูกมัดของแผนที่ฉบับนี้ กล่าวคือ นัยหนึ่งก็คือ เมื่อรัฐบาลสยามและรัฐบาลไทยในสมัยต่อมานิ่งเฉยไม่แสดงท่าทีคัดค้านเส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสตีพิมพ์ขึ้นทั้งที่ฝ่ายไทยสามารถจะหลีกเลี่ยงได้ หรือเมื่อฝ่ายไทยอยู่ในสถานการณ์ที่จะสามารถรับรู้ได้ว่าอาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น การนิ่งเฉยของฝ่ายไทยนั้นเป็นการกระทำที่มีส่วนก่อให่เกิดความผิดพลาด ( error ) นี้ขึ้นมา
4) คุณค่าของแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี ศาลโลกได้วิเคราะห์ว่าข้ออ้างที่ฝ่ายไทยว่า ฝ่ายไทยมิได้เคยให้คำรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแก่แผนที่ภาคีภาคผนวก 1 นั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่สามารถรับฟังได้ เพราะตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฝ่ายไทยได้รับเอาแผนที่ดังกล่าวจากฝรั่งเศสจำนวน 50 ชุด และยังได้ขอเพิ่มจากรัฐบาลฝรั่งเศส 15 ชุด เพื่อจะนำไปแจกจ่ายให้กับข้าหลวงประจำจังหวัดอีกด้วย ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1909 คณะกรรมการจัดทำแผนที่ประเทศสยามก็ยังได้ประชุมกันที่กรุงเทพฯ เพื่อจัดทำแผนที่ประเทศสยามฉบับย่อโดยใช้แผนที่ภาคผนวกที่ 1 นี้เป็นแม่แบบ ฯลฯ ดังนั้น ถึงแม้ว่าฝ่ายไทยจะไม่ได้ให้คำรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร แต่การประพฤติปฏิบัติของฝ่ายไทยก็ส่อเจตนาที่จะยอมรับโดยพฤตินัยต่อเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารที่ตีพิมพ์ลงในแผนที่ฉบับนั้นมาโดยตลอดฝ่ายไทย "ได้ให้ความยินยอมโดยการนิ่งเฉยแล้ว ดังภาษิตลาติน ที่ว่า ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ย่อมถือเสมือนได้ว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่จะพูด ( Qui tacet consentire videtur si logui debsset ac pothisset ) ศาลโลกได้ยึดท่าทีของฝ่ายไทยเป็นเกณฑ์ในการตัดสินคดีนั้น เพราะสภาพของสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะค่อนข้างจะเป็นอนาธิปไตย ปราศจากการปกครองตามลำดับ ( hierarchie ) ที่พบได้เฉพาะในโครงสร้างของสังคมภายในประเทศ ดังนั้นศาลโลกจึงไม่มีหน้าที่จะต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องแบบฟอร์มของการให้ความยินยอมหรือตกลงใจ( Consent ) ของรัฐระดับเดียวกับที่ศาลภายในให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ตามระบบของกฎหมายภายใน
นอกจากเหตุผลหลักคือ การยอมรับแผนที่ภาคผนวกที่ 1 โดยพฤตินัยของฝ่ายไทยมีเหตุทำให้ฝ้ายไทยแพ้คดีไปแล้ว ศาลโลกก็ได้ให้เหตุผลสำรองไว้เพื่อยืนยันว่า ประเทศไทยไม่มีอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณนี้ เหตุผลอันดับรองที่สนับสนุนอธิปไตยของฝ่ายกัมพูชาต่อท่าทีของฝ่ายไทย นอกจากเหตุผลดังกล่าว ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยต้องผูกพันกับแผนที่แล้ว ศาลโลกยังได้ให้เหตุผลสนับสนุนอันดับรองลงมาอีกประการหนึ่ง คือ ท่าทีที่ขัดแย้งกันเองในข้อต่อสู้ของฝ่ายไทย ศาลโลกได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับท่าทีของประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ. 1909 ถึง ค.ศ. 1954 เพื่อลงความเห็นว่าประเทศไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลงท่าทีดังกล่าวจึงเป็นการยอมรับสภาพเดิม ( Status quo ) ของเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 มาโดยตลอด เช่น ในปี ค.ศ. 1934 เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของไทยได้ค้นพบว่ามีความผิดพลาดในเรื่องการเขียนตำแหน่งของลำน้ำเสน ( O'Tasem) ลงในแผนที่ แต่ก็มิได้ทำการประท้วงในระดับระหว่างประเทศแต่อย่างใดในทำนองเดียวกัน ความตกลงฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1934 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการประนีประนอมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ของการทบทวนเส้นเขตแดนไทย - อินโดจีน ประเทศไทยได้ขอให้ทบทวนเส้นเขตแดนหลายจุด ยกเว้นส่วนที่เป็นข้อพิพาทนี้อีกประการหนึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของฝ่ายไทย คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จไปสำรวจทางโบราณคดีของเขพระวิหาร ฝรั่งเศสได้ตั้งกองทัพรับเสด็จ แต่ฝ่ายไทยมิได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบเพื่อคัดค้านอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือเขาพระวิหาร ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอ้างว่า รัฐบาลของตนมิได้ทำการประท้วงเพราะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ครอบครองดินแดนส่วนนี้อย่างบริสุทธิ์ใจ ( bona fide ) คือ การปกครองโดยการเชื่อมั่นว่า ดินแดนนี้อยู่ภายใต้อธิปไตยของตนมาโดยตลอด แต่ศาลโลกก็เห็นว่า " เป็นการยากที่ศาลจะยอมรับว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะสามารถลบล้างท่าทีของรัฐบาลไทยซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลง " ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คำพิพากษาของศาลโลกได้นำเอาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความของกลุ่มประเทศแองโกล - แซกซอน ( Anglo - Szxon ) มาปรับใช้กับคดีนี้ หลักดังกล่าวได้แก่ หลักกฎหมายปิดปาก หรือที่เรียกว่า เอสตอปเปิล ( Estopple ) ซึ่งเป็นวิธีพิจารณาความที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความบริสุทธิ์ใจ เปิดโอกาสให้คู่ความใช้วิธีการนี้ปิดปากฝ่ายตรงข้าม เมื่อฝ่ายหลังให้การขัดแย้งกันเองศาลโลกไม่ได้ใช้สำนวนเอสตอปเปิลนี้โดยตรง แต่กลับหลีกเลี่ยงไปใช้คำว่า " preclusion " แทน คำพิพากษาของศาลโลกฉบับนี้ตัดสินใจให้เขาพระวิหารอยู่ในดินแดนใต้อธิปไตยของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นับเป็นคำพิพากษาที่เอนเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมอีกฉบับหนึ่งของศาลโลก
นอกจากเหตุผลทางกฎหมายข้างต้นแล้ว คำพิพากษานี้ยังแฝงไว้ด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้อีกด้วย ศาลยอมรับว่าแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มีผลผูกมัดประเทศไทย โดยการยอมรับของฝ่ายไทยเองทั้ง ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ของรัฐคู่พิพาทต่างยอมรับว่าแผนที่ดังกล่าวผิดพลาดไปจากตัวบทของอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 แต่ศาลก็พิพากษาให้คงเส้นเขตแดนตามแผนที่นั้นไว้ เพราะเกรงว่าคำพิพากษาในแนวตรงข้ามจะเป็นคดีบรรทัดฐานสำหรับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี ค.ศ. 1960 เป็นระยะที่มีบรรดารัฐเอกราชเกิดใหม่จากดินแดนภายใต้อาณานิคมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทวีปในแอฟริกา ท่าทีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญยิ่งในอันที่จะรักษาเสถียรภาพและความปลอดภัยระหว่างประเทศไว้ โดยการรักษาสถานภาพเดิมของเส้นเขตแดน
ขอบพระคุณผู้เขียน : นายนิติภูมิ ขุขันธิน,2547.
ผู้ตรวจ/ทาน : นายสุเพียร คำวงศ์,2556.
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2506 สมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์แห่งประทศกัมพูชา ทำสัญญายกเขมรให้เป็นของฝรั่งเศส
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2406 มีการทำสนธิสัญญาลับระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม กับสหราชอาณาจักรกัมพูชา ยืนยันว่า กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสยาม
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 มีการทำสัญญาระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศส โดยพระเจ้าแห่งกรุงสยาม ยอมรับว่ากรุงกัมพูชาเมืองในอารักขาของฝรั่งเศส
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ราชอาณาจักรสยาม ทำสนธิสัญญายกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเกาะแก่งต่างๆ ให้แก่ฝรั่งเศส
พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จเขาพระวิหาร ทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า "118 สรรพสิทธิ"
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 ฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับราชอาณาจักรสยาม ยอมยกเมืองหลวงพระบาง บนฝั่งขวาแม่น้ำโขง และเมืองมโนไพร ดินแดนทางใต้ของภูเขาพนมดงเร็ก ให้แก่ฝรั่งเศส แลกกับจันทบุรี ( จันทบูร ) ที่ฝรั่งเศสยึดไว้
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2447 มีการทำสนธิสัญยาเพิ่มเติม โดยราชอาณาจักรสยามเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส ระหว่างทะเลสาบและทะเลหลวง
วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 มีการทำสนธิสัญญาระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม กับฝรั่งเศส โดยราชอาณาจักรสยามยอมยกดินแดน พระตะบอง เสียมราช และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด และเกาะทั้งหลายที่อยู่ภายใต้แหลมลิง ไปจนถึงเกาะกูดให้แก่สยาม
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกบัณฑิตสภา ได้เสด็จปราสาทเขาพระวิหาร มี เรสิดัง กำปงธม แต่งเครื่องแบบเต็มยศมาคอยรับที่บันไดขึ้นเขาพระวิหาร มีการชักธงฝรั่งเศส ในกลางเขาพระวิหารด้วย จึงสร้างความไม่พอใจแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพอย่างยิ่ง
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2483 กรมศิลปากรของราชอาณาจักรไทยได้ประกาศขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา
ปี พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นซึ่งทำสงครามอินโดจีน ชนะฝรั่งเศสได้ยกดินแดนบางส่วนรวมทั้งปราสาทเขาพระวิหารคืนให้แก่ไทย เป็นผลให้เกิดจังหวัดจำปาศักดิ์ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม ดินแดนเขาพระวิหารไม่ต้องสงสัยว่าอยู่ในดินแดนของกัมพูชา และสมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ เริ่มมีบทบาทในการเมืองในกัมพูชา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2492 ฝรั่งเศสและกัมพูชาคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือปราสาทเขาพระวิหารอย่างเปิดเผย และประท้วงไทยไม่ให้ส่งคนไปรักษาเขาพระวิหาร หลังจากที่ไทยไม่ยอมรับคำแนะนำของคณะกรรมการประนีประนอม ณ กรุงวอชิงตัน ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี พ.ศ. 2450 ทำให้สัมพันธภาพระหว่างไทยกับกัมพูชาเสื่อมทรามลงตลอดเวลา
ปี พ.ศ. 2501 กระทรวงโฆษณาการของกัมพูชาพิมพ์เผยแพร่บทความ สรุปว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ตามอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 อันได้รับการยืนยันจากสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 สนธิสัญญานี้กลับบังคับใช้อีกตามข้อตกลงที่ กรุงวอชิงตัน เมื่อ พ.ศ. 2479
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ประเทศไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทางชายแดนด้านกัมพูชา รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเดชอุดม และจังหวัดอุบลราชธานี สื่อมวลชนทั้งสองประเทศมีการโจมตีกันอย่างกว้างขวางและรุนแรงขึ้น
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2501 รัฐบาลกัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธไมตรีทางการฑูตกับ สหราชอาณาจักรไทย หลังจากที่การเจรจาด้วยสันติวิธีไม่ได้ผล
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยขอให้ศาลวินิจฉัย ให้ราชอาณาจักรไทยถอนกำลังและอาวุธจากบริเวณเขาพระวิหาร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า อธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ราชอาณาจักรไทยประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง ตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ทั้งมีแผนที่แสดงเขาพระวิหารแนบท้ายด้วย
โดยรัฐบาลไทยออกแถลงการณ์ อ้างข้อกำหนดในสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ต้องใช้สันกันน้ำอันเป็นเขตแดนธรรมชาติซึ่งจะทำให้เขาพระวิหารเป็นของไทย แต่กัมพูชาอ้างแผนที่ที่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผสมตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ซึ่งมีพลเอกหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานกรรมการฝ่ายไทย และพันโทแบร์ นารถ เป็นกรรมการฝ่ายฝรั่งเศส แล้วส่งให้ฝ่ายไทย 50 ฉบับ สมเด็จน้องยาเธอสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงตอบรับเมื่อ พ.ศ. 2451 และทรงขอแผนที่ฉบับนี้เพิ่มอีก 15 ฉบับ เพื่อแจกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายไทย แสดงว่าไทยยอมรับแผนที่นี้
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นทนายแก้ต่างให้ฝ่ายไทย ในกรณีพิพาทเป็นคดีขึ้นสู่ศาลโลก
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ได้พิจารณาลงความเห็นด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ว่า ซากปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งนี้เป็นไปตามแผนที่ ซึ่งฝรั่งเศสทำตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 และ พ.ศ. 2450 โดยอาศัยเหตุผลว่า ราชอาณาจักรไทย เพิกเฉยมิได้ประท้วงแผนที่ดังกล่าวนั้น ส่วนฝ่ายไทยยืนยันตลอดมาว่า รัฐบาลไทยถือสันปันน้ำเป็นเขตแดนตามข้อกำหนด ในสนธิสัญญาทุกฉบับ
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ( พลเอกประพาส จารุเสถียร ) ได้กล่าวคำปราศรัยที่จำต้องสละอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร และทำการรื้อถอนทุกสิ่งออกนอกเขตรวมทั้งเคลื่อนย้ายเสาธง รวมทั้งธงชาติ จากหน้าผาเป้ยตาดี นำลงโดยไม่มีการลดธงลงจากยอดเสาแต่อย่างใด พื้นที่บริเวณเขาพระวิหารที่ได้เสียไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เพื่อให้เข้าใจกรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร จึงขอนำคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหารให้ได้ใหทราบ ดังนี้
กรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร พิจารณาเชิงกฎหมายโดยศาลโลก
คดีเขาพระวิหารซึ่งกัมพูชาเป็นโจทย์ยื่นฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกเป็นเรื่องของการอ้างอธิปไตยของคู่กรณีเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของซากปราสาทเขาพระวิหารนี้
สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ตั้งอยู่บนเหลี่ยมเขา ซึ่งเป็นผืนดินที่ต่อเนื่องออกไปจากแผ่นดิน ของประเทศไทย ในบริเวณเทือกเขาดงรัก และหักลงสู่พื้นที่ราบลุ่มในกัมพูชาซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับเขาพระวิหารมาก
ก่อนหน้าที่กัมพูชาจะเสนอข้อพิพาทให้ศาลโลกพิจารณา สนธิสัญญาลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสได้ แบ่งเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ให้อยู่ต่ำลงไปทางทิศใต้ของเทือกเขาดงรัก กล่าวคือเป็นเขตแดนที่อยู่ต่ำกว่าบริเวณซากปราสาทเขาพระวิหาร ต่อมาฝรั่งเศสเห็นว่าการปักปันเส้นเขตแดนตามสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1867 นี้ยังดีพอ ประกอบกับขณะนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถตกลงแบ่งเส้นอิทธิพลของกันและกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ตามคำแถลงการณ์ร่วมลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1896 ฝรั่งเศสจึงหยิบยกเรื่องขึ้นขอเปิดการเจรจากับสยามเพื่อขอเลื่อนเส้นเขตแดนให้ขึ้นมาทางเหนือของเทือกเขาดงรัก โดยฝ่ายสยามยอมสละดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสตามอนุสัญญา ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 และสละอธิปไตยเหนือดินแดนหลวงพระบาง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งตามอนุสัญญา ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 เพื่อแลกเปลี่ยนกับการสิ้นสุดของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและรับตราดกับปราจีนบุรีคืนจากฝรั่งเศส
อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 มิได้กำหนดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนไว้อย่างละเอียดภาคีคู่สัญญาเพียงแต่ระบุให้ใช้แนวเส้นสันปันน้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดนลงบนแผนที่ ดังข้อความที่ปรากฏอยู่ในข้อ 1 และข้อ 3 ของอนุสัญญาว่า
"ข้อ 1 เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับประเทศกัมพูชาเริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาบจากปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส ……..ฯลฯ…….จนกระทั่งถึงทิวเขาดงรัก จากที่นั้นเส้นแบ่งเขตแดนคือ สันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสน และแม่น้ำโขง กับแม่น้ำมูล อีกด้านหนึ่ง………."
"ข้อ 3 ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีนฝรั่งเศสการปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสม ประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้งสองแต่งตั้ง งานของคณะกรรมการจะเกี่ยวข้องกับเขตแดนส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ ข้อ 2………. คณะกรรมการผสมฯ จึงได้ดำเนินงานปักปันเส้นจนเกือบจะเสร็จสยามกับฝรั่งเศสได้ชิงลงนามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1907 จึงยังมิได้ทำแผนที่สมบูรณ์ให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายลงนามรับรองแต่อย่างใด ต่อมา ฝรั่งเศสได้ดำเนินการตีพิมพ์แผนที่ซึ่งรัฐบาลสยามยังมิได้รับรองอย่างเป็นทางการนั้น โดยได้จัดพิมพ์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่กรุงปารีสแล้วจึงส่งแผนที่จำนวน 11 ท่อนมาให้รัฐบาลสยามในจำนวนนี้มีแผนที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับดินแดนบริเวณเขาพระวิหารด้วยฉบับหนึ่ง รัฐบาลสยามมิได้รับรองแผนที่ดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กัมพูชาจึงนำแผนที่มาประกอบคำฟ้องในภาคผนวก 1 ของตนต่อศาลโลก จึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า "แผนที่ภาคผนวกฉบับที่ 1" แผนที่ฉบับนี้คลาดเคลื่อนจากบทบัญญัติในข้อ 1 ของอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ดังปรากฏในผลการพิสูจน์ จากผู้เชี่ยวชาญแผนที่ของคู่พิพาท ดังนี้ ประเด็นสำคัญของศาลโลกจะต้องพิจารณาก็ คือ การจัดพิมพ์แผนที่ดังกล่าวโดยการกระทำฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อรัฐภาคีหรือไม่ ศาลยุติธรรมได้ลงความเห็นว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งเขาพระวิหาร โดยอาศัยหลักเหตุผลสองประการดังต่อไปนี้ คือ ผลผูกมัดของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 ต่อฝ่ายไทยและท่าทีที่ขัดแย้งต่อคำให้การในชั้นศาลของฝ่ายไทย
เหตุผลหลักที่สนับสนุนอธิปไตยของกัมพูชา ผลผูกมัดของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 เหตุผลหลักที่สนับสนุนอธิปไตยของกัมพูชา ได้แก่คุณค่าของตัวเองในแผนที่ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี
1) คุณค่าของแผนที่ในตัวเอง อนุสัญญาฉบับปีที่ ค.ศ. 1907 กำหนดให้คู่ภาคีตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนในเทือกเขาดงรักด้านตะวันออก รวมทั้งเขาพระวิหารด้วย แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการชุดที่ 2ไม่เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องปักปันเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารอีก การกระทำนี้อาจจะตีความในทางกลับกันได้ว่า คณะกรรมการผสมชุดที่ 2 เห็นว่าเส้นเขตแดนที่ถูกปักปันตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั้นมีความชัดเจนอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมาปักปันซ้ำอีก ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าการปักปันเส้นเขตแดนในสมัยของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 นั้นถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเห็นของศาลโลกเองนั้น ศาลเห็นว่าในลักษณะที่มองเห็นได้ในระยะแรก แผนที่ของภาคผนวกที่ 1 เป็นเพียงผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคซึ่งไม่ได้รับการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 และไม่มีเอกสารทางราชอื่นใดที่พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า แผนที่ภาคผนวกที่ 1 นั้น เป็นผลงานโดยชอบของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ดังนั้นศาลจึงต้อง "สรุปว่าในระยะเริ่มแรกและในขณะที่แผนที่ถูกจัดทำขึ้น ( ค.ศ. 1907 ) แผนที่นั้นไม่มีลักษณะที่จะผูกมัดรัฐภาคี"
2) ความผิดพลาด ( error ) ที่เกิดขึ้นในแผนที่ ศาลโลกยอมรับว่า แผนที่ภาคผนวกที่ 1 คลาดเคลื่อนไปจากแนวสันปันน้ำที่อนุสัญญา ค.ศ. 1904 กำหนดเอาไว้ อย่างไรก็ดี ถึงแม้นว่ามีการปักปันเส้นเขตแดนแผนที่ภาคผนวกที่ 1 จะมิได้เป็นผลงานของคณะกรรมผสมชุดที่ 1 ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือ " รัฐบาลมีอำนาจที่จะรับรองผลการปักปันเส้นเขตแดนที่คลาดเคลื่อนจากแนวสันปันน้ำ ( ซึ่งอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 บัญญัติไว้ ) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การรับรองแผนที่ภาคผนวกที่ 1 โดยรัฐบาลคู่พิพาทเป็นความตกลงระหว่างประเทศคู่สัญญาปี ค.ศ. 1904 นั่นเอง "
3) โดยที่รัฐบาลมิได้ทำการทักท้วงข้อผิดพลาดดังกล่าวขณะที่ และภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ส่งแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มาให้สยามพิจารณา ฝ่ายไทยจึงมิอาจอ้างเรื่องการทำแผนที่ผิดพลาดจากข้อความในอนุสัญญา เพื่อกำจัดผลผูกมัดของแผนที่ฉบับนี้ กล่าวคือ นัยหนึ่งก็คือ เมื่อรัฐบาลสยามและรัฐบาลไทยในสมัยต่อมานิ่งเฉยไม่แสดงท่าทีคัดค้านเส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสตีพิมพ์ขึ้นทั้งที่ฝ่ายไทยสามารถจะหลีกเลี่ยงได้ หรือเมื่อฝ่ายไทยอยู่ในสถานการณ์ที่จะสามารถรับรู้ได้ว่าอาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น การนิ่งเฉยของฝ่ายไทยนั้นเป็นการกระทำที่มีส่วนก่อให่เกิดความผิดพลาด ( error ) นี้ขึ้นมา
4) คุณค่าของแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี ศาลโลกได้วิเคราะห์ว่าข้ออ้างที่ฝ่ายไทยว่า ฝ่ายไทยมิได้เคยให้คำรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแก่แผนที่ภาคีภาคผนวก 1 นั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่สามารถรับฟังได้ เพราะตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฝ่ายไทยได้รับเอาแผนที่ดังกล่าวจากฝรั่งเศสจำนวน 50 ชุด และยังได้ขอเพิ่มจากรัฐบาลฝรั่งเศส 15 ชุด เพื่อจะนำไปแจกจ่ายให้กับข้าหลวงประจำจังหวัดอีกด้วย ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1909 คณะกรรมการจัดทำแผนที่ประเทศสยามก็ยังได้ประชุมกันที่กรุงเทพฯ เพื่อจัดทำแผนที่ประเทศสยามฉบับย่อโดยใช้แผนที่ภาคผนวกที่ 1 นี้เป็นแม่แบบ ฯลฯ ดังนั้น ถึงแม้ว่าฝ่ายไทยจะไม่ได้ให้คำรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร แต่การประพฤติปฏิบัติของฝ่ายไทยก็ส่อเจตนาที่จะยอมรับโดยพฤตินัยต่อเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารที่ตีพิมพ์ลงในแผนที่ฉบับนั้นมาโดยตลอดฝ่ายไทย "ได้ให้ความยินยอมโดยการนิ่งเฉยแล้ว ดังภาษิตลาติน ที่ว่า ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ย่อมถือเสมือนได้ว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่จะพูด ( Qui tacet consentire videtur si logui debsset ac pothisset ) ศาลโลกได้ยึดท่าทีของฝ่ายไทยเป็นเกณฑ์ในการตัดสินคดีนั้น เพราะสภาพของสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะค่อนข้างจะเป็นอนาธิปไตย ปราศจากการปกครองตามลำดับ ( hierarchie ) ที่พบได้เฉพาะในโครงสร้างของสังคมภายในประเทศ ดังนั้นศาลโลกจึงไม่มีหน้าที่จะต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องแบบฟอร์มของการให้ความยินยอมหรือตกลงใจ( Consent ) ของรัฐระดับเดียวกับที่ศาลภายในให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ตามระบบของกฎหมายภายใน
นอกจากเหตุผลหลักคือ การยอมรับแผนที่ภาคผนวกที่ 1 โดยพฤตินัยของฝ่ายไทยมีเหตุทำให้ฝ้ายไทยแพ้คดีไปแล้ว ศาลโลกก็ได้ให้เหตุผลสำรองไว้เพื่อยืนยันว่า ประเทศไทยไม่มีอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณนี้ เหตุผลอันดับรองที่สนับสนุนอธิปไตยของฝ่ายกัมพูชาต่อท่าทีของฝ่ายไทย นอกจากเหตุผลดังกล่าว ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยต้องผูกพันกับแผนที่แล้ว ศาลโลกยังได้ให้เหตุผลสนับสนุนอันดับรองลงมาอีกประการหนึ่ง คือ ท่าทีที่ขัดแย้งกันเองในข้อต่อสู้ของฝ่ายไทย ศาลโลกได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับท่าทีของประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ. 1909 ถึง ค.ศ. 1954 เพื่อลงความเห็นว่าประเทศไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลงท่าทีดังกล่าวจึงเป็นการยอมรับสภาพเดิม ( Status quo ) ของเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 มาโดยตลอด เช่น ในปี ค.ศ. 1934 เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของไทยได้ค้นพบว่ามีความผิดพลาดในเรื่องการเขียนตำแหน่งของลำน้ำเสน ( O'Tasem) ลงในแผนที่ แต่ก็มิได้ทำการประท้วงในระดับระหว่างประเทศแต่อย่างใดในทำนองเดียวกัน ความตกลงฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1934 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการประนีประนอมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ของการทบทวนเส้นเขตแดนไทย - อินโดจีน ประเทศไทยได้ขอให้ทบทวนเส้นเขตแดนหลายจุด ยกเว้นส่วนที่เป็นข้อพิพาทนี้อีกประการหนึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของฝ่ายไทย คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จไปสำรวจทางโบราณคดีของเขพระวิหาร ฝรั่งเศสได้ตั้งกองทัพรับเสด็จ แต่ฝ่ายไทยมิได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบเพื่อคัดค้านอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือเขาพระวิหาร ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอ้างว่า รัฐบาลของตนมิได้ทำการประท้วงเพราะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ครอบครองดินแดนส่วนนี้อย่างบริสุทธิ์ใจ ( bona fide ) คือ การปกครองโดยการเชื่อมั่นว่า ดินแดนนี้อยู่ภายใต้อธิปไตยของตนมาโดยตลอด แต่ศาลโลกก็เห็นว่า " เป็นการยากที่ศาลจะยอมรับว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะสามารถลบล้างท่าทีของรัฐบาลไทยซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลง " ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คำพิพากษาของศาลโลกได้นำเอาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความของกลุ่มประเทศแองโกล - แซกซอน ( Anglo - Szxon ) มาปรับใช้กับคดีนี้ หลักดังกล่าวได้แก่ หลักกฎหมายปิดปาก หรือที่เรียกว่า เอสตอปเปิล ( Estopple ) ซึ่งเป็นวิธีพิจารณาความที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความบริสุทธิ์ใจ เปิดโอกาสให้คู่ความใช้วิธีการนี้ปิดปากฝ่ายตรงข้าม เมื่อฝ่ายหลังให้การขัดแย้งกันเองศาลโลกไม่ได้ใช้สำนวนเอสตอปเปิลนี้โดยตรง แต่กลับหลีกเลี่ยงไปใช้คำว่า " preclusion " แทน คำพิพากษาของศาลโลกฉบับนี้ตัดสินใจให้เขาพระวิหารอยู่ในดินแดนใต้อธิปไตยของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นับเป็นคำพิพากษาที่เอนเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมอีกฉบับหนึ่งของศาลโลก
นอกจากเหตุผลทางกฎหมายข้างต้นแล้ว คำพิพากษานี้ยังแฝงไว้ด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้อีกด้วย ศาลยอมรับว่าแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มีผลผูกมัดประเทศไทย โดยการยอมรับของฝ่ายไทยเองทั้ง ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ของรัฐคู่พิพาทต่างยอมรับว่าแผนที่ดังกล่าวผิดพลาดไปจากตัวบทของอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 แต่ศาลก็พิพากษาให้คงเส้นเขตแดนตามแผนที่นั้นไว้ เพราะเกรงว่าคำพิพากษาในแนวตรงข้ามจะเป็นคดีบรรทัดฐานสำหรับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี ค.ศ. 1960 เป็นระยะที่มีบรรดารัฐเอกราชเกิดใหม่จากดินแดนภายใต้อาณานิคมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทวีปในแอฟริกา ท่าทีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญยิ่งในอันที่จะรักษาเสถียรภาพและความปลอดภัยระหว่างประเทศไว้ โดยการรักษาสถานภาพเดิมของเส้นเขตแดน
ขอบพระคุณผู้เขียน : นายนิติภูมิ ขุขันธิน,2547.
ผู้ตรวจ/ทาน : นายสุเพียร คำวงศ์,2556.
เหตุการณ์ในเมืองขุขันธ์ ครั้งสยามพิพาทกับอินโดจีนฝรั่งเศส
เนื่องจากสยาม(ชื่อเรียก ประเทศไทย ขณะนั้น)เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลที่ 5 สยามเราก็คอยโอกาสที่จะเรียกร้องเอาดินแดนกลับคืนอยู่ตลอดเวลา สยามเราก็ขอปรับปรุงเส้นกั้นพรหมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศศ ให้มีความยุติธรรม เวลาล่วงเลยมาจนถึงต้นปี พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสขอร้องให้เราสัตยาบันแก่สนธิสัญญาไม่รุกรานตามที่สัญญาทำไว้ สยามเราก็ยินดีที่จะให้สัตยาบัน ถ้าฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นกั้นพรมแดนด้วยความยุติธรรม และยกดินแดนบางส่วนให้แก่เราเสียก่อน ฝรั่งเศสไม่ยอม มิหนำซ้ำยังนำทหารรุกรานดินแดนของเราอีกด้วย ศึกพิพาทระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสก็เกิดขึ้น ณ จุดนี้เอง
สยามเรารู้เค้าว่า สักวันหนึ่งการรุกรานของอินโดจีนฝรั่งเศส จะรุนแรงตามลำดับ สยามเราก็จัดทัพ โดยมีกองบัญชาการทหารสูงสุดอยู่ที่พระนคร จัดตั้งกองทัพบูรพาที่จังหวัดปราจีนบุรี ให้ดูแลชายแดนภาคตะวันออก และได้ตั้งกองทัพขึ้นมาอีก ประจำอยู่จังหวัดนครราชสีมา มีหน้าที่รับผิดชอบชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทั้งกองทัพปราจีนบุรี และกองทัพนครราชสีมา ต่างก็รวบรวมกำลังทหารจากจังหวัดต่าง ๆ เข้าที่ประชุมพลตามชายแดนอย่างแน่นหนา เครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งลูกระเบิดที่จังหวัดปราจีนบุรีหลายครั้ง และที่อำเภออรัญประเทศก็บ่อย ๆ ส่วนมากจะมาทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน นอกจากนี้ ก็ยังบินไปทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ไทยเราใช้ปืนต่อสู้อากาศยานซึ่งมีอยู่ไม่กี่กระบอกทั้งไฟฉายส่องดูเครื่องบินประกอบการยิงก็มีจำนวนจำกัด ฝรั่งเศสเขาส่งฝูงบิน บินลาดตระเวนชายแดน ฝูงบินสยามก็บินลาดตระเวนทั้งกลางวันและกลางคืนเช่นเดียวกัน วิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณา (กรมประชาสัมพันธ์ ในขณะนั้น) โดยมีนายมั่นและนายคง เป็นโฆษก ต่างโฆษณาออกอากาศว่ามีกองทัพต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตย สยามก็ยิงโต้ตอบอย่างหนัก ทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้มตายเป็นจำนวนมาก ใช้สงครามจิตวิทยาประกอบด้วย สถานีวิทยุที่ไซง่อน ซึ่งเป็นของฝรั่งเศสโฆษกมีนามแฝง นายน้ำมันก๊าด พูดภาษาไทยไม่ชัดเจน ประกาศออกข่าวโต้ตอบสยามอยางรุนแรง
สยามเรารู้เค้าว่า สักวันหนึ่งการรุกรานของอินโดจีนฝรั่งเศส จะรุนแรงตามลำดับ สยามเราก็จัดทัพ โดยมีกองบัญชาการทหารสูงสุดอยู่ที่พระนคร จัดตั้งกองทัพบูรพาที่จังหวัดปราจีนบุรี ให้ดูแลชายแดนภาคตะวันออก และได้ตั้งกองทัพขึ้นมาอีก ประจำอยู่จังหวัดนครราชสีมา มีหน้าที่รับผิดชอบชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทั้งกองทัพปราจีนบุรี และกองทัพนครราชสีมา ต่างก็รวบรวมกำลังทหารจากจังหวัดต่าง ๆ เข้าที่ประชุมพลตามชายแดนอย่างแน่นหนา เครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งลูกระเบิดที่จังหวัดปราจีนบุรีหลายครั้ง และที่อำเภออรัญประเทศก็บ่อย ๆ ส่วนมากจะมาทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน นอกจากนี้ ก็ยังบินไปทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ไทยเราใช้ปืนต่อสู้อากาศยานซึ่งมีอยู่ไม่กี่กระบอกทั้งไฟฉายส่องดูเครื่องบินประกอบการยิงก็มีจำนวนจำกัด ฝรั่งเศสเขาส่งฝูงบิน บินลาดตระเวนชายแดน ฝูงบินสยามก็บินลาดตระเวนทั้งกลางวันและกลางคืนเช่นเดียวกัน วิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณา (กรมประชาสัมพันธ์ ในขณะนั้น) โดยมีนายมั่นและนายคง เป็นโฆษก ต่างโฆษณาออกอากาศว่ามีกองทัพต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตย สยามก็ยิงโต้ตอบอย่างหนัก ทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้มตายเป็นจำนวนมาก ใช้สงครามจิตวิทยาประกอบด้วย สถานีวิทยุที่ไซง่อน ซึ่งเป็นของฝรั่งเศสโฆษกมีนามแฝง นายน้ำมันก๊าด พูดภาษาไทยไม่ชัดเจน ประกาศออกข่าวโต้ตอบสยามอยางรุนแรง
กรณีสยามพิพาทกับอินโดจีนฝรั่งเศสในครั้งนั้น เดือดร้อนถึงเมืองขุขันธ์อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ผู้คนเดือนร้อนไปทั้งเมือง เคยทำมาหากินตามปกติ ก็ชะงักลงแบบกระทันหัน ข้าวในไร่ในนายืนต้น ชูรวงสุกเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา หามีเจ้าของไปเก็บเกี่ยวไม่ แต่ละคนสาละวนอยู่กับหาทางหลบหนีภัย ไม่มีเวลาที่จะเก็บเกี่ยว วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ปล่อยทิ้งไว้ตามยถากรรม บางตัวก็เข้าคอกเอง เข้าเล้าเอง ไม่มีโจรผู้ร้าย กลางวันกลางคืนเงียบสงัดราวกับเป็นป่าช้า แม้แต่หมาเองก็ไม่มีเวลาเห่าหอน เพราะมันติดตามเจ้าของไปอยู่ในป่า ผู้คนขณะนั้นมีการเตรียมตัวหลบภัย โดยหุงข้าวตากให้แห้งใส่ถุงใส่กะโลง(ลังไม้ฉําฉา/หีบไม้)มากเท่าไรยิ่งดี เพื่อแบกหามไปกินเอาดาบหน้า เก็บข้าวของมีค่าทั้งหลายทั้งปวงเข้าหีบห่อ แม้แต่ฝังไว้ใต้ดินก็มี มอบหมายแต่ละหีบแต่ละห่อให้ลูกหลานรับผิดชอบ กล่าวคือพร้อมจะหนีได้ทุกเวลาถ้าภัยมาถึงตัว หนีไปแบบไม่มีจุดหมายปลายทาง แต่ส่วนมากอยู่ในป่าทางทิศตะวันตกบ้านแทรง และป่าละเมาะริมฝั่งห้วยเหนือ ทางเหนือและทางทิศใต้
วิธีหลบภัย กำนันและผู้ใหญ่บ้านตีกลองตีเกราะบอกลูกบ้านให้ขุดหลุมหลบภัย ประจำบ้านใครบ้านมัน ห้ามจุดไฟและก่อไฟในยามค่ำคืน หลังคาบ้านของใครที่มุงด้วยสังกะสี ให้ตัดใบมะพร้าวทางมะพร้าวมาปกปิดให้มิดชิด ฝาผนังตึกรามบ้านช่อง หรือกำแพงบ้านให้เอาสีดำทาให้หมด มิฉะนั้นมีความผิด แม้แต่กำแพงตึกของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขุขันธ์ ซึ่งเป็นสีขาวก็ถูกทาด้วยสีดำ ให้หุงข้าวกินแต่หัววัน สิ่งของที่มีค่าพยายามเก็บไว้ในตัว หากต้องเกิดบ้านแตกสาแหรกขาด ต้องอพยพไปไกล ๆ จะได้เอาของมีค่าพวกนี้ขายเพื่อเลี้ยงครอบครัว โรงเรียนปิดไม่มีกำหนด ไม่มีการเรียนการสอนเมื่อเหตุการณ์ปกตินักเรียนทุกคนจะได้เลื่อนชั้นโดยไม่มีการสอบ
เครื่องบินทิ้งระเบิดของฝรั่งเศส ส่วนมากจะบินมาทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน คืนหนึ่งเวลาประมาณ 4 ทุ่ม เครื่องบินของฝรั่งเศสบินไปทิ้งลูกระเบิด ซึ่งคนขุขันธ์ สมัยนั้น เรียกว่า "ลูกแตก"(เกรื๊อบ-แบก) คืนนี้แหละคุณพ่อคุณแม่ลืมปลุกผู้เขียน คุณพ่อคุณแม่หนีไปถึงป่าละเมาะริมห้วยใกล้บ้านก่อและบ้านแขว จึงรู้ว่าลืมผู้เขียนอยู่บ้าน คุณพ่อรีบกลับมาเอาผู้เขียน เมื่อผู้เขียนตื่นขั้นด้วยความตกใจคุณพ่อพาผู้เขียนเดินทางกลับไปยังป่าละเมาะริมห้วยด้วยอาการรีบเร่งเร้าร้อน ผู้เขียนเห็นหน้าคุณแม่ก็ดีใจใหญ่ สักครู่ใหญ่ ๆ ก็เสียงดังขึ้นเป็นระยะ ๆ แรงระเบิดกระเทือนถึงผู้เขียนขณะนั่งในป่าก้นกระดกขึ้น ขนาดเมืองขุขันธ์กับศรีสะเกษห่างกัน 49 กิโลเมตร แรงระเบิดยังกระเทือนถึงกันได้ แสดงว่าลูกระเบิดมีอานุภาพแรงมาก รุ่งเช้าได้รับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการกระจายเสียงออกอากาศโดยโฆษก นายมั่นและนายคง เรามีเครื่องรับวิทยุจากกรมโฆษณาการอยู่เครื่องหนึ่ง ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านมุมอาคารที่ทำงานของอำเภอขุขันธ์ในครั้งโน้น ว่าลูกระเบิดทิ้งที่เรือนจำและวัดพระโตหลายลูกมีการเสียหายเล็กน้อย ผู้คนปลอดภัยทุกคนไม่มีการตายและบาดเจ็บ
ลูกระเบิดถูกทิ้งที่ทุ่งนาบ้านแดง คืนหนึ่งเดือนหงายพระจันทร์เต็มดวงเวลาประมาณสองทุ่มกว่า ๆ ขณะนั้นทางอำเภอขุขันธ์ กำลังดูละครร้องประกอบดนตรีไทย เนื่องในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ผู้คนกำลังสนุกสนานเพลิดเพลินกับตัวละคร หนุ่ม ๆ ต่างก็นั่งคุยกับสาว แม่ค้าข้าวหลาม ส้มตำ ถั่วลิสงต้ม ขนมครก ขนมเรียงเม็ด ขนมหูช้าง อย่างมันปาก ทันใดนั้น เครื่องบินบินโฉบมาในระยะต่ำแทบจะชนหลังคาโรงเรียนศรีประชานุกูล ช่วงพริบตาไฟดับหมดผู้คนรีบหนีสุดชีวิตทุกสิ่งเงียบสงัด เสียงเครื่องบินบินวนไปมาเหนือเมืองขุขันธ์ ประมาณ 10 นาที มันบินกลับข้ามภูเขาดงรักไปยังประเทศเขมร รุ่งเช้าขึ้นมาผู้คนต่างพูดว่า มีคนพบลูกระเบิดโตเท่ากับปลีกล้วยที่ทุ่งนาบ้านแดง สถานีตำรวจส่งตำรวจจำนวนหนึ่งไปเก็บกู้ระเบิดมาไว้ที่สถานีตำรวจ ผู้เขียนได้ไปดูกับเขาเห็นโตเท่าปลีกล้วยเป็นสีแดง
เหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ต่างพูดกันเป็นเสียงเดียวว่า ด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ และอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมืองขุขันธ์พรางตาไม่ให้เห็นเมืองขุขันธ์ ต่างพากันเซ่นบวงสรวงด้วยอาหารคาวหวาน หมู เป็ด ไก่ อธิษฐานให้ลูกหลานปลอดภัยจากศึกสงครามครั้งนั้น มีแต่ความสุข
เครื่องบินทิ้งระเบิดของฝรั่งเศส ส่วนมากจะบินมาทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน คืนหนึ่งเวลาประมาณ 4 ทุ่ม เครื่องบินของฝรั่งเศสบินไปทิ้งลูกระเบิด ซึ่งคนขุขันธ์ สมัยนั้น เรียกว่า "ลูกแตก"(เกรื๊อบ-แบก) คืนนี้แหละคุณพ่อคุณแม่ลืมปลุกผู้เขียน คุณพ่อคุณแม่หนีไปถึงป่าละเมาะริมห้วยใกล้บ้านก่อและบ้านแขว จึงรู้ว่าลืมผู้เขียนอยู่บ้าน คุณพ่อรีบกลับมาเอาผู้เขียน เมื่อผู้เขียนตื่นขั้นด้วยความตกใจคุณพ่อพาผู้เขียนเดินทางกลับไปยังป่าละเมาะริมห้วยด้วยอาการรีบเร่งเร้าร้อน ผู้เขียนเห็นหน้าคุณแม่ก็ดีใจใหญ่ สักครู่ใหญ่ ๆ ก็เสียงดังขึ้นเป็นระยะ ๆ แรงระเบิดกระเทือนถึงผู้เขียนขณะนั่งในป่าก้นกระดกขึ้น ขนาดเมืองขุขันธ์กับศรีสะเกษห่างกัน 49 กิโลเมตร แรงระเบิดยังกระเทือนถึงกันได้ แสดงว่าลูกระเบิดมีอานุภาพแรงมาก รุ่งเช้าได้รับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการกระจายเสียงออกอากาศโดยโฆษก นายมั่นและนายคง เรามีเครื่องรับวิทยุจากกรมโฆษณาการอยู่เครื่องหนึ่ง ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านมุมอาคารที่ทำงานของอำเภอขุขันธ์ในครั้งโน้น ว่าลูกระเบิดทิ้งที่เรือนจำและวัดพระโตหลายลูกมีการเสียหายเล็กน้อย ผู้คนปลอดภัยทุกคนไม่มีการตายและบาดเจ็บ
ลูกระเบิดถูกทิ้งที่ทุ่งนาบ้านแดง คืนหนึ่งเดือนหงายพระจันทร์เต็มดวงเวลาประมาณสองทุ่มกว่า ๆ ขณะนั้นทางอำเภอขุขันธ์ กำลังดูละครร้องประกอบดนตรีไทย เนื่องในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ผู้คนกำลังสนุกสนานเพลิดเพลินกับตัวละคร หนุ่ม ๆ ต่างก็นั่งคุยกับสาว แม่ค้าข้าวหลาม ส้มตำ ถั่วลิสงต้ม ขนมครก ขนมเรียงเม็ด ขนมหูช้าง อย่างมันปาก ทันใดนั้น เครื่องบินบินโฉบมาในระยะต่ำแทบจะชนหลังคาโรงเรียนศรีประชานุกูล ช่วงพริบตาไฟดับหมดผู้คนรีบหนีสุดชีวิตทุกสิ่งเงียบสงัด เสียงเครื่องบินบินวนไปมาเหนือเมืองขุขันธ์ ประมาณ 10 นาที มันบินกลับข้ามภูเขาดงรักไปยังประเทศเขมร รุ่งเช้าขึ้นมาผู้คนต่างพูดว่า มีคนพบลูกระเบิดโตเท่ากับปลีกล้วยที่ทุ่งนาบ้านแดง สถานีตำรวจส่งตำรวจจำนวนหนึ่งไปเก็บกู้ระเบิดมาไว้ที่สถานีตำรวจ ผู้เขียนได้ไปดูกับเขาเห็นโตเท่าปลีกล้วยเป็นสีแดง
เหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ต่างพูดกันเป็นเสียงเดียวว่า ด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ และอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมืองขุขันธ์พรางตาไม่ให้เห็นเมืองขุขันธ์ ต่างพากันเซ่นบวงสรวงด้วยอาหารคาวหวาน หมู เป็ด ไก่ อธิษฐานให้ลูกหลานปลอดภัยจากศึกสงครามครั้งนั้น มีแต่ความสุข
ขอบพระคุณผู้เขียน : นายนิติภูมิ ขุขันธิน,2547.
ผู้ตรวจ/ทาน : นายสุเพียร คำวงศ์,2556.
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556
ดาบประจำตำแหน่งเมืองขุขันธ์
คำว่า “ดาบประจำตำแหน่ง” ไม่ทราบว่าเรียกถูกหรือผิด แตผู้เขียนเองเข้าใจว่าคงเป็นเครื่องประดับอย่างหนึ่งของเจ้าเมืองสมัยก่อน ที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้เป็นเครื่องประดับยศหรือ มีความดีความชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เขียนเคยเห็นดาบฝักเงินหนึ่งเล่ม และกระบี่หนึ่งเล่มที่บ้านนาย เสงี่ยม ศรีสุภาพ (ท่านมีศักดิ์เป็นลุงของผู้เขียน) ท่านบอกผู้เขียนว่าอีกหนึ่งเล่มคือ ฝักทอง ดาบฝักทองนั้นผู้เขียนไม่เห็นเนื่องจากอยู่ในครอบครองของ นายเมธี ศ. ศรีสุภาพ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ดาบฝักเงินฝักทองชุดนี้ตกทอดมาทาง ขุนศรีสุภาพพงษ์ (บุญนาค ศรีสุภาพ) ซึ่งเป็นบุตรเขยพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา)
ดาบโบราณอีกหนึ่งชุดซึ่งปัจจุบันคงตกทอดอยู่กับทายาทของท่านกำนันพิมพ์สวรร์ค์ ขุขันธิน อดีตกำนันตำบลห้วยเหนือ ผู้เรืองวิชาไสยศาสตร์ สามารถเลี้ยงดูกุมารทองได้ ท่านกำนันพิมพ์สวรรค์ เป็นบุตรของ หลวงสุระรัตนมัย (บุญมี ขุขันธิน) อดีตนายอำเภอคนแรกของเมืองขุขันธ์
กล่าวกันว่า พระแสงดาบที่พระองค์ทรงใช้ฆ่าฟันข้าศึกศัตรูในยามมีศึกสงครามอย่างโชกโชนนั้น พระแสงดาบซึ่งเคยได้ดื่มเลือดข้าศึก บางครั้งจะร้อนจนไม่อาจจับต้องได้ เจ้าพนักงานต้องอันเชิญลงสรงในน้ำจึงจะคลายความร้อนลงได้ ต่อมาเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วพระองค์ได้ถวายพระแสงดาบเป็นราวเทียน เพื่อเป็นพุทธบูชาในพระพุทธศาสนา เนื่องจากผู้เขียนได้ค้นคว้าเรื่องของพระพิมพ์พระโคนสมอที่มีการพบเมื่อคราวซ่อมแซมบูรณะพระราชวังบวรสถานมงคล ในโอกาสครบรอบ 150 ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์ และได้กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ด้วย
ปัจจุบันทางรัฐบาลได้หล่อรูปพระองค์ท่านในท่ายืนพนมมือ ถือดาบเป็นพุทธบูชา (พระราชวังบวรสถานมงคลก็ คือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในปัจจุบัน)
คุณยายบุษบา ศรีเมือง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 140 หมู่ 12 ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ เล่าให้ฟัง ว่า ดาบที่ท่านเก็บรักษาอยู่ มี 2 เล่ม คือ ดาบตัวผู้และดาบตัวเมีย ดาบตัวผู้ใช้ประหาร ส่วนดาบตัวเมียไม่ทราบ (ลักษณะตัวผู้ยาวกว่าดาบตัวเมีย) เป็นดาบประจำตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ (ท่านที่ 9) มีหอก ด้ามยาว 1 เล่ม (ไว้ใช้รบบนหลังช้าง) และมีดาบสั้น 1 ตัว เป็นดาบประจำตัวท่าน คุณยายบอกว่า เดิมที ด้านทิศตะวันตกบ้านบกไปจดลำห้วยเหนือ เป็นวังของเจ้าเมืองขุขันธ์ แต่ปัจจุบันเป็นที่มีเจ้าของครอบครองหมดแล้ว ทิศใต้ติดถนนไปบ้านแดง มีต้นไทรที่ขึ้นจากยอดเสาโอบครอบเสาเอกของบ้านเจ้าเมืองปัจจุบันยังคงอยู่
ขอบพระคุณผู้เขียน : นายนพคุณ ภักดีทวนทองและนายเผด็จ ศรีเมือง,2547.
โรงฝิ่นเมืองขุขันธ์
การเล่าเรื่องเมืองขุขันธ์ในอดีต ถ้าหากขาดการเล่าถึงโรงฝิ่นของเมืองขุขันธ์แล้วก็คงจะไม่สมบูรณ์ เท่าใดนัก สมัยก่อนโรงฝิ่นใช่จะมีแต่ในกรุงเทพมหานคร หรือเมืองหลวงเท่านั้น แม้ตามหัวเมืองต่าง ๆ ก็มีโรงฝิ่นหรือสถานที่สูบฝิ่นเช่นเดียวกัน ฝิ่นมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
ก่อนที่จะเขียนถึงโรงฝิ่นเมืองขุขันธ์ จะขอนำพระประวัติพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ที่เกี่ยวข้องกับโรงฝิ่นมาเสนอต่อท่านผู้อ่าน ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับฝิ่นควบคู่กันด้วย พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 พระองค์เคยเสด็จสืบราชการลับในโรงฝิ่น พระองค์ทรงปลอมเป็นราษฎรสามัญเสด็จไปตามโรงยาฝิ่น โรงขายสุรา โรงบ่อนต่าง ๆ แถวย่านนางเลิ้ง ในเวลากลางคืน โดยมีมหาดเล็กติดตามไปด้วย บางครั้งก็เสด็จเพียงลำพังพระองค์เดียว บางคืนก็เสด็จไปบรรทมคุยกันกับพวกสูบฝิ่นในโรงฝิ่น
ต่อมามีเจ้าพี่เจ้าน้องในราชวงศ์จักรีไปฟ้องเสด็จพ่อว่า พระองค์ประพฤติตนเป็นคนเลว นอนโรงยาฝิ่นกินตามถนน ทำให้เสื่อมเสียตระกูลราชวงศ์จักรี เมื่อในหลวงทรงทราบก็ฟังหูไว้หู ต่อมาในหลวงทรงปลอมพระองค์เป็นราษฎร เสด็จไปรถม้าพระที่นั่งเล็ก ๆ ไปจอดอยู่แถวบ่อนต้นมะขามย่านนางเลิ้ง แล้วเสด็จไปตรวจตามโรงยาฝิ่นพระโรงสุรา พอถึงหน้าโรงยาฝิ่น เจ้าพ่อก็เสด็จออกมาพบพอดีพร้อมกับนายเล่ผู้ติดตาม ในหลวงรับสั่งให้เจ้าพ่อตามไปที่รถม้า พอไปถึงในหลวงขึ้นไปประทับแล้ว เจ้าพ่อก็กราบลงที่ฝ่าบาท ในหลวงก็เทศนาว่าต่าง ๆ ให้เจ้าพ่อฟัง เมื่อจบแล้วเจ้าพ่อกราบทูลว่าในการที่ลูกปลอมแปลงตัวไปนอนตามโรงยาฝิ่นและเที่ยวไปตามตรอกถนนต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้น ก็เพื่อจะสืบความลับของราษฎรว่า ใครคิดร้ายต่อพ่อและคิดขบถต่อบ้านเมือง กับลักขโมยปล้นกันที่ไหน เมื่อทราบก็จัดการปราบปรามขึ้นทันที ราษฎรและบ้านเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุข ที่ต้องทนลำบากตรากตรำก็ด้วยเหตุนี้ เมื่อในหลวงทรงทราบความจริงต่าง ๆ ก็เสด็จกลับ รุ่งขึ้นทรงรับสั่งให้เจ้าพ่อเข้าเฝ้าได้พระราชทานสร้างสังวาลย์ฝังเพชร 1 สาย แล้วเจ้าพ่อก็เอานายเล่(นายเรือตรีเล่)ไปประเทศจีนซึ่งเป็นต้นกำเนิดของฝิ่น และฝิ่นก็มีอิทธิพลต่อประเทศจีนมิใช่น้อย เรื่องของฝิ่นทำให้จีนต้องทำสงคราบกับต่างประเทศจนเกือบจะสิ้นชาติแล้ว
สงครามฝิ่น ( OPIUM WAR ) สงครามระหว่างประเทศอังกฤษกับจีนเกิดขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1842 (พ.ศ. 2385) สาเหตุเพราะข้าหลวงศุลกากรคนใหม่ของจีนประจำเมืองกวางตุ้ง ได้สั่งเผาโรงเก็บสินค้าฝิ่นของพ่อค้าชาวอังกฤษ เมื่อพ่อค้าชาวอังกฤษจะเข้าไปปฏิบัติงานในโรงค้าตามเดิมก็ถูกทหารชาวจีนยิงเสียชีวิต ทหารจีนได้ใช้เรือสำเภารบกับกองทหารเรืออังกฤษ ซึ่งจอดอยู่ที่น่านน้ำท่าเรือกวางตุ้ง ทหารเรืออังกฤษและรัฐบาลอังกฤษได้รบกับทหารจีนจนถึงปี ค.ศ. 1842 (พ.ศ. 2385) โดยจีนเป็นผู้แพ้สงคราม และในสงครามครั้งนี้จีนต้องยอมยกเกาะฮ่องกงให้แก่อังกฤษ ยอมให้อังกฤษตั้งศาลกงศุลในประเทศจีน ค.ศ.1483 (พ.ศ. 2386) และยอมเปิดเมืองท่าทางจีนใต้ เพื่อให้ชาวยุโรปเข้ามาทำการค้าขายได้อีก 5 แห่ง คือ กวางตุ้ง เอมอย ฟูเจา มิงโป และเซียงไฮ้
พิกัด GPSบน Google Map ของโรงฝิ่นเมืองขุขันธ์ในอดีต คือ 14.714381, 104.194057 หรือ 14°42'51.8"N 104°11'38.6"E
สำหรับอุปกรณ์ในการสูบฝิ่นนั้น เท่าที่ผู้เขียนได้รับฟังมา ถ้าเป็นราชสำนักจีน กระบอกสูบจะทำและตกแต่งด้วยวัสดุที่มีค่า เช่น ทองคำ หรือประดับด้วยอัญมณีต่าง ๆ ตามฐานะ สำหรับกระบอกสูบฝิ่นโดยทั่วไปเท่าที่ผู้เขียนเคยพบเห็น ทำด้วยกระปุกสังคโลกต่อด้ามด้วยไม้ไผ่ คล้าย ๆ กระบอกสูบกัญชา เมื่อสูบแล้วก็จะทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้ม ใฝ่ฝัน และจินตนาการในเรื่องต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาไม่ได้สูบก็จะทำให้หงุดหงิด คลุ้มคลั่ง อารมณ์ไม่ดี ชาวเขานิยมสูบกันมาก่อนออกไปทำงาน ด้วยเชื่อว่าสามารถป้องกันไข้และอาการเจ็บป่วยทั้งปวง ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นยาเสพติดนั่นเอง
เมื่อ 7 – 8 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนเคยไปเที่ยวช่องจอม ด่านชายแดนไทย – กัมพูชา ได้พบกระบอกสูบฝิ่นที่ร้านขายของเก่า แขวนขายมากมาย ทำลวดลายวิจิตรพิสดารสวยงามมาก สอบถามคนขายได้รับคำตอบว่านำมาจากประเทศเวียดนาม ราคาตกอันละ 1,500 – 3,500 บาท แล้วแต่ ฝีมือและวัสดุที่นำมาตกแต่ง ถ้ามีไว้ในครอบครองเข้าใจว่าคงผิดกฎหมายเพราะเป็นอุปกรณ์ในการเสพ
ต่อมาในสมัยจอมพลสฤษ ธนรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้เลิกสูบฝิ่น แต่ก็ยังมีผู้ลักลอบสูบอยู่ตลอดมา หลังจากนั้นรัฐบาลประกาศให้ฝิ่นเป็นยาเสพติดผิดกฎหมายแล้วโรงฝิ่นก็ถูกปิด ชาวจีนที่เคยใช้โรงฝิ่นเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ พูดคุยก็เงียบเหงาเบาบางลง ญาติผู้ใหญ่ของผู้เขียน (ยังมีชีวิตอยู่) ได้เล่าให้ฟังว่าเวลาสูบฝิ่นควันของฝิ่นจะลอยไปติดเพดานด้านบน ซึ่งมีจิ้งจกเกาะอยู่ตามเพดานและได้กลิ่นของฝิ่นอยู่เป็นประจำ หลังจากไม่มีคนสูบ และไม่มีควันฝิ่นให้จิ้งจกดมแล้วสัตว์เหล่านั้นก็จะตกลงมาตายหมด จะเท็จจริงอย่างไรผู้เรียนได้รับฟังมาเท่านั้น
ปัจจุบันโรงฝิ่นยังตั้งเด่นให้เห็นอยู่ คนที่รู้เรื่องราวของโรงฝิ่นคงมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ฝิ่นได้หมดสิ้นไปจากสังคมคนสูบแล้ว มีแต่ยาบ้า ยาอี ยาเสพติดชนิดเม็ดสีต่าง ๆ เข้ามาแทนที่
ขณะที่เขียนเรื่องราวในอดีตนี้ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศทำสงครามกวาดล้างยาเสพติดให้หมดไปจากประเทศไทย ผู้เขียนเองขอเอาใจช่วยและเป็นกำลังใจ ให้ท่านมีชัยชนะในการทำสงครามกวาดล้างยาเสพติดครั้งนี้ เพื่อที่อนาคตของเยาวชนบางคน บางกลุ่มของชาติจะได้ไม่ตกเป็นทาสยาเสพติดอีกต่อไป
ขอบพระคุณผู้เขียน :
นายนพคุณ ภักดีทวนทอง(เถลิง ศรีสุภาพ),2547.
วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556
เสือยง หรือ ตังเคายง ขุนโจรแห่งเมืองศรีสะเกษ
ปี พ.ศ. 2437 ซึ่งตรงกับเมืองศรีสะเกษที่มีเจ้าเมืองชื่อ พระวิเศษภักดี (ท้าวโท) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองศรีสะเกษท่านที่ 4 ซึ่งตรงกับสมัยเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา หรือ ปัญญา ขุขันธิน) โดยมีคณะอาญาสิทธิ์ ผู้ปกครองเมืองขุขันธ์ ในขณะนั้นประกอบด้วย
1. ท้าวปัญญา หรือ ปัญญา ขุขันธิน ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ในราชทินนาม อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์
2. ท้าวทองคำ มีบรรดาศักดิ์ราชทินนาม พระสุนทรบริรักษ์ ตำแหน่งปลัด เมืองขุขันธ์
3. ท้าวบุญมี หรือ บุญมี ขุขันธิน มีบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม หลวงสุรัตนามัย ดำรงตำแหน่งยกบัตรเมืองขุขันธ์ (ต่อมาได้เป็นนายอำเภอขุขันธ์ เป็นท่านแรก)
4. ท้าวบุญมี มีบรรดาศักดิ์ราชทินนาม พระพิไชย ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองขุขันธ์
ทั้งนี้แม้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองอยู่ที่เจ้าเมืองขุขันธ์ก็จริงแต่ในยุคสมัยนั้น ยังมีตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการประจำเมืองขุขันธ์อยู่ด้วย คือ พระยาบำรุงบุรประจันต์จางวาง (จันดี หรือ จันดี กาญจนเสริม) กำกับดูแลเมืองขุขันธ์และเมืองบริเวณ ตลอดจนกองนอก มีอำนาจปกครองที่สูงกว่าอีกชั้นหนึ่งด้วย
สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับเสือยง ขุนโจรแห่งเมืองศรีสะเกษนั้น ได้มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า “เสือยง” เป็นขุนโจรแห่งเมืองศรีสะเกษ หรืออีกนามหนึ่งที่ชาวขุขันธ์ รู้จักกันโดยทั่วไปในยุคนั้น คือ “ตังเคายง” เป็นหลานของพระวิเศษภักดี (ท้าวโท) เจ้าเมืองศรีสะเกษ เคยรับราชการ แต่ถูกให้ออกจากราชการ จึงได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์เรียนเวทย์มนต์คาถาอาคมทางไสยศาสตร์จากอาจารย์ ในเขตพื้นที่เมืองขุขันธ์ ทั้งอาจารย์ที่เป็นพระภิกษุ ทั้งอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ต่างก็ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้เสือยงอย่างเต็มภูมิ เนื่องจากเห็นว่าเสือยงเป็นบุตรหลาน เจ้าเมืองศรีสะเกษ อาจารย์ที่พอจะกล่าวถึงก็มี ตาเถื่อน บ้านเจ็ก หลวงทิพย์โภชน์ บ้านสะอาง เป็นต้น เมื่อมีเวทย์มนต์คาถาแก่กล้าแล้วก็ได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้าโจรซ่องสุม ผู้คนมีบริวารมากมาย มีช้าง ม้า เป็นพาหนะออกปล้นฆ่า จนถูกจับในคดีฆ่าคนตาย ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต โดยส่งไปจำคุกอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี แต่จำคุกได้ไม่นานก็ได้ใช้วิชาเวทย์มนต์ทางไสยศาสตร์สามารถรูดโซ่แหกคุกหนีออกมาจากเมืองอุบลได้แล้วก็มารวบรวมสมัครพรรคพวกออกปล้นฆ่าชาวบ้านอย่างหนักขึ้นกว่าเดิม สร้างความเกรงกลัวให้กับชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เจ้าหน้าที่ของเมืองศรีสะเกษและเจ้าหน้าที่จากเมืองอุบลต้องร่วมมือช่วยกันปราบปรามแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งและจับเสือยงได้ ทำให้เสือยงและสมุนเหิมเกริมหนักขึ้นออกปล้นจี้แย่งชิงเอาทรัพย์สิน ชาวบ้านในท้องที่เมืองศรีสะเกษไม่พอ ยังได้ออกกระทำการในหมู่ชาวบ้านในเขตแดนเมืองขุขันธ์อีกด้วย ซึ่งยากที่จะปราบได้ เจ้าเมืองศรีสะเกษ จึงได้มีหนังสือถึงอำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปาน หรือ ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ในขณะนั้นให้ช่วยปราบเสือยง เพราะเจ้าเมืองศรีสะเกษทราบดีว่าผู้ที่มีวิชาอาคมเก่งกล้าเหนือกว่าพอที่จะต่อกรกับเสือยงได้ คงไม่มีใครนอกจากเจ้าเมืองขุขันธ์ เมื่อมีการร้องขอ เจ้าเมืองขุขันธ์ จึงตอบรับที่จะช่วยเพราะเสือยงปล้นฆ่าข้าม เข้ามาในเขตแดนเมืองขุขันธ์เช่นกัน โดยเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เชิญเหล่าบรรดาพระอาจารย์จากเมือง ขุขันธ์ช่วยอีกแรงหนึ่ง เพราะเจ้าเมืองขุขันธ์ก็พอทราบกิตติศัพท์ความเก่งกล้าทางวิชาอาคมของเสือยงเป็นอย่างดี แต่จำเป็นต้องปราบให้ได้ เพื่อความไม่ประมาท เจ้าเมืองขุขันธ์ได้เชิญอาจารย์ทางไสยศาสตร์ของเมืองขุขันธ์ รวมทั้งอาจารย์ที่เสือยงเคยเป็นศิษย์ด้วย โดยได้กระทำกรรมพิธี คัดเรียกวิชาอาคมออกจากร่างของเสือยงเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เมื่อเหล่าอาจารย์ผู้ร่วมกรรมพิธีมีความแน่ใจแล้วว่าวิชาอาคมถูกคัดออกจากร่างเสือยงจนหมดสิ้นแล้ว เจ้าเมืองขุขันธ์จึงให้อาจารย์หาฤกษ์ยามเพื่อออกไปปราบเสือยงทันที
โดยเจ้าเมืองขุขันธ์ อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 (ท้าวปัญญา) ได้ใช้ช้างเป็นพาหนะ ใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธในการออกไปปราบเสือยงในครั้งนี้ โดยมีการแต่งช้างศึกที่มีการผูกเครื่องรางของขลัง ประเจียด ตะกรุด พิสมรที่คอช้าง เมื่อได้เวลาอันเป็นฤกษ์ยามดีแล้ว เจ้าเมืองขุขันธ์ก็ได้นำคณะออกเดินทางตั้งแต่เช้าตรู่สู่เขตเมืองศรีสะเกษทันที โดยที่เจ้าเมืองขุขันธ์ ได้ทราบข่าวจากชาวบ้านว่า กลุ่มเสือยงกำลังออกปล้นชาวบ้านอยู่พอดี จึงสั่งให้คณะได้เร่งเดินทาง เพื่อให้ทันเหตุการณ์ ในที่สุดกองกำลังเจ้าเมืองขุขันธ์ เดินทางเข้าเขตแดนเมืองศรีสะเกษก็ได้เกิดการเผชิญหน้ากับกองโจรเสือยง ณ ทางทิศตะวันตกของบ้านดวนใหญ่ ในเวลาพลบค่ำใกล้จะมืดพอดี ( ปัจจุบันเป็นที่ตั้งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ) เจ้าเมืองขุขันธ์ได้ร้องบอกให้ เสือยงมอบตัว โทษหนักก็จะได้เบาลง แต่เสือยงไม่ฟังเสียงได้สั่งสมุนโจรยิงเข้าใส่พระยาขุขันธ์ฯ ทันที เสียงปืนดังกึกก้องไปทั่วบริเวณแถบนั้นเป็นเวลาไม่นานนักเสียงปืนก็เงียบสงบลง โดยที่ฝ่ายเจ้าเมืองขุขันธ์และกำลังพลไม่มีใครได้รับบาดเจ็บและอันตรายใด ๆ เลย
เมื่อเสียงปืนจากกลุ่มโจรเสือยงสงบลงแล้ว พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 จึงร้องบอกเสือยงอีกครั้งว่า ยิงพอแล้วหรือยัง ถ้ายิงพอแล้วก็ให้มอบตัว แต่ก็ไม่มีเสียงตอบจากกลุ่มเสือยง พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนเกรงว่าเสือยง จะหลบหนีไปได้ จึงตัดสินใจใช้อาวุธปืนคู่กายชื่อ ปืนคาบศิลายิงใส่เสือยง พร้อมทั้งสั่งกองกำลังระดมยิงอาวุธใส่กลุ่มเสือยงทันที พอสิ้นเสียงปืนคาบศิลาของพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนแล้ว ร่างของเสือยงก็ร่วงตกจากคอช้างเสียชีวิตทันที ทำให้สมุนโจรของเสือยงที่ยังมีรอดชีวิตอยู่ตกตะลึงแตกตื่นวิ่งหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทางอย่างไม่คิดชีวิต เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้เรื่องราวและความโหดร้ายของเสือยงผู้มากด้วยเวทย์มนต์คาถาอาคมขลังแห่งเมืองศรีสะเกษ ต้องจบชีวิตลงด้วยฝีมือ เจ้าเมืองขุขันธ์ อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 9 นี้เอง และได้นำศพเสือยงไปมอบให้เจ้าเมืองศรีสะเกษ ตัดศรีษะแล้วแห่ประจานรอบเมืองและเสียบประจาน ณ สี่แยกไปเมืองขุขันธ์
ดังนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านนี้ที่มีบารมีและสร้างคุณงามความดีให้แก่ชาวขุขันธ์ โดยเฉพาะท่านเป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัดกลางมาในอดีตอีกทั้งเป็นผู้ปราบเสือยงได้ โดยเมื่อพระครูโสภิตธรรมขันธ์ (หลวงตาเอี้ยง) เป็นเจ้าอาวาสวัดกลาง (อัมรินทราวาส) ท่านได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น (หลังที่เห็นในปัจจุบัน) ท่านจึงได้ให้ปั้นรูปหุ่น อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา หรือ ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 ในท่านั่งบนหลังช้างถือปืนคาบศิลาขนาดเท่าตัวจริง ที่คอช้าง ผูกเครื่องรางของขลัง โดยหุ่นปั้น ได้ตั้งอยู่ ณ หน้าอุโบสถหลังใหม่ แต่ฝีมือในการปั้นไม่ค่อยจะเหมือนตัวจริงและไม่ประณีตนัก แต่รูปปั้นนี้กลับมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์อย่างยิ่งสำหรับลูกหลานชาวเมืองขุขันธ์
อนึ่ง วัดกลางนี้ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2429 โดยขณะนั้น พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา หรือ ปัญญา ขุขันธิน ) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ โดยการสนับสนุนของพระยารัตนโกศา (จันดี) ปลัดเมืองขุขันธ์ (พ่อตา) พร้อมทั้งกรมการเมืองและราษฎรได้พร้อมใจกันและให้ถือเป็นวัดประจำเมือง เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแทนวัดจันทร์นคร (วัดบก) จึงทำให้วัดกลางอัมรินทราวาสนี้ เป็นวัดใหญ่และเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้
ขอบพระคุณผู้เรียบเรียง : นายนพคุณ ภักดีทวนทอง และนายนิติภูมิ ขุขันธิน(2547)
1. ท้าวปัญญา หรือ ปัญญา ขุขันธิน ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ในราชทินนาม อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์
2. ท้าวทองคำ มีบรรดาศักดิ์ราชทินนาม พระสุนทรบริรักษ์ ตำแหน่งปลัด เมืองขุขันธ์
3. ท้าวบุญมี หรือ บุญมี ขุขันธิน มีบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม หลวงสุรัตนามัย ดำรงตำแหน่งยกบัตรเมืองขุขันธ์ (ต่อมาได้เป็นนายอำเภอขุขันธ์ เป็นท่านแรก)
4. ท้าวบุญมี มีบรรดาศักดิ์ราชทินนาม พระพิไชย ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองขุขันธ์
ทั้งนี้แม้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองอยู่ที่เจ้าเมืองขุขันธ์ก็จริงแต่ในยุคสมัยนั้น ยังมีตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการประจำเมืองขุขันธ์อยู่ด้วย คือ พระยาบำรุงบุรประจันต์จางวาง (จันดี หรือ จันดี กาญจนเสริม) กำกับดูแลเมืองขุขันธ์และเมืองบริเวณ ตลอดจนกองนอก มีอำนาจปกครองที่สูงกว่าอีกชั้นหนึ่งด้วย
สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับเสือยง ขุนโจรแห่งเมืองศรีสะเกษนั้น ได้มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า “เสือยง” เป็นขุนโจรแห่งเมืองศรีสะเกษ หรืออีกนามหนึ่งที่ชาวขุขันธ์ รู้จักกันโดยทั่วไปในยุคนั้น คือ “ตังเคายง” เป็นหลานของพระวิเศษภักดี (ท้าวโท) เจ้าเมืองศรีสะเกษ เคยรับราชการ แต่ถูกให้ออกจากราชการ จึงได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์เรียนเวทย์มนต์คาถาอาคมทางไสยศาสตร์จากอาจารย์ ในเขตพื้นที่เมืองขุขันธ์ ทั้งอาจารย์ที่เป็นพระภิกษุ ทั้งอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ต่างก็ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้เสือยงอย่างเต็มภูมิ เนื่องจากเห็นว่าเสือยงเป็นบุตรหลาน เจ้าเมืองศรีสะเกษ อาจารย์ที่พอจะกล่าวถึงก็มี ตาเถื่อน บ้านเจ็ก หลวงทิพย์โภชน์ บ้านสะอาง เป็นต้น เมื่อมีเวทย์มนต์คาถาแก่กล้าแล้วก็ได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้าโจรซ่องสุม ผู้คนมีบริวารมากมาย มีช้าง ม้า เป็นพาหนะออกปล้นฆ่า จนถูกจับในคดีฆ่าคนตาย ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต โดยส่งไปจำคุกอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี แต่จำคุกได้ไม่นานก็ได้ใช้วิชาเวทย์มนต์ทางไสยศาสตร์สามารถรูดโซ่แหกคุกหนีออกมาจากเมืองอุบลได้แล้วก็มารวบรวมสมัครพรรคพวกออกปล้นฆ่าชาวบ้านอย่างหนักขึ้นกว่าเดิม สร้างความเกรงกลัวให้กับชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เจ้าหน้าที่ของเมืองศรีสะเกษและเจ้าหน้าที่จากเมืองอุบลต้องร่วมมือช่วยกันปราบปรามแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งและจับเสือยงได้ ทำให้เสือยงและสมุนเหิมเกริมหนักขึ้นออกปล้นจี้แย่งชิงเอาทรัพย์สิน ชาวบ้านในท้องที่เมืองศรีสะเกษไม่พอ ยังได้ออกกระทำการในหมู่ชาวบ้านในเขตแดนเมืองขุขันธ์อีกด้วย ซึ่งยากที่จะปราบได้ เจ้าเมืองศรีสะเกษ จึงได้มีหนังสือถึงอำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปาน หรือ ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ในขณะนั้นให้ช่วยปราบเสือยง เพราะเจ้าเมืองศรีสะเกษทราบดีว่าผู้ที่มีวิชาอาคมเก่งกล้าเหนือกว่าพอที่จะต่อกรกับเสือยงได้ คงไม่มีใครนอกจากเจ้าเมืองขุขันธ์ เมื่อมีการร้องขอ เจ้าเมืองขุขันธ์ จึงตอบรับที่จะช่วยเพราะเสือยงปล้นฆ่าข้าม เข้ามาในเขตแดนเมืองขุขันธ์เช่นกัน โดยเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เชิญเหล่าบรรดาพระอาจารย์จากเมือง ขุขันธ์ช่วยอีกแรงหนึ่ง เพราะเจ้าเมืองขุขันธ์ก็พอทราบกิตติศัพท์ความเก่งกล้าทางวิชาอาคมของเสือยงเป็นอย่างดี แต่จำเป็นต้องปราบให้ได้ เพื่อความไม่ประมาท เจ้าเมืองขุขันธ์ได้เชิญอาจารย์ทางไสยศาสตร์ของเมืองขุขันธ์ รวมทั้งอาจารย์ที่เสือยงเคยเป็นศิษย์ด้วย โดยได้กระทำกรรมพิธี คัดเรียกวิชาอาคมออกจากร่างของเสือยงเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เมื่อเหล่าอาจารย์ผู้ร่วมกรรมพิธีมีความแน่ใจแล้วว่าวิชาอาคมถูกคัดออกจากร่างเสือยงจนหมดสิ้นแล้ว เจ้าเมืองขุขันธ์จึงให้อาจารย์หาฤกษ์ยามเพื่อออกไปปราบเสือยงทันที
โดยเจ้าเมืองขุขันธ์ อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 (ท้าวปัญญา) ได้ใช้ช้างเป็นพาหนะ ใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธในการออกไปปราบเสือยงในครั้งนี้ โดยมีการแต่งช้างศึกที่มีการผูกเครื่องรางของขลัง ประเจียด ตะกรุด พิสมรที่คอช้าง เมื่อได้เวลาอันเป็นฤกษ์ยามดีแล้ว เจ้าเมืองขุขันธ์ก็ได้นำคณะออกเดินทางตั้งแต่เช้าตรู่สู่เขตเมืองศรีสะเกษทันที โดยที่เจ้าเมืองขุขันธ์ ได้ทราบข่าวจากชาวบ้านว่า กลุ่มเสือยงกำลังออกปล้นชาวบ้านอยู่พอดี จึงสั่งให้คณะได้เร่งเดินทาง เพื่อให้ทันเหตุการณ์ ในที่สุดกองกำลังเจ้าเมืองขุขันธ์ เดินทางเข้าเขตแดนเมืองศรีสะเกษก็ได้เกิดการเผชิญหน้ากับกองโจรเสือยง ณ ทางทิศตะวันตกของบ้านดวนใหญ่ ในเวลาพลบค่ำใกล้จะมืดพอดี ( ปัจจุบันเป็นที่ตั้งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ) เจ้าเมืองขุขันธ์ได้ร้องบอกให้ เสือยงมอบตัว โทษหนักก็จะได้เบาลง แต่เสือยงไม่ฟังเสียงได้สั่งสมุนโจรยิงเข้าใส่พระยาขุขันธ์ฯ ทันที เสียงปืนดังกึกก้องไปทั่วบริเวณแถบนั้นเป็นเวลาไม่นานนักเสียงปืนก็เงียบสงบลง โดยที่ฝ่ายเจ้าเมืองขุขันธ์และกำลังพลไม่มีใครได้รับบาดเจ็บและอันตรายใด ๆ เลย
เมื่อเสียงปืนจากกลุ่มโจรเสือยงสงบลงแล้ว พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 จึงร้องบอกเสือยงอีกครั้งว่า ยิงพอแล้วหรือยัง ถ้ายิงพอแล้วก็ให้มอบตัว แต่ก็ไม่มีเสียงตอบจากกลุ่มเสือยง พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนเกรงว่าเสือยง จะหลบหนีไปได้ จึงตัดสินใจใช้อาวุธปืนคู่กายชื่อ ปืนคาบศิลายิงใส่เสือยง พร้อมทั้งสั่งกองกำลังระดมยิงอาวุธใส่กลุ่มเสือยงทันที พอสิ้นเสียงปืนคาบศิลาของพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนแล้ว ร่างของเสือยงก็ร่วงตกจากคอช้างเสียชีวิตทันที ทำให้สมุนโจรของเสือยงที่ยังมีรอดชีวิตอยู่ตกตะลึงแตกตื่นวิ่งหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทางอย่างไม่คิดชีวิต เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้เรื่องราวและความโหดร้ายของเสือยงผู้มากด้วยเวทย์มนต์คาถาอาคมขลังแห่งเมืองศรีสะเกษ ต้องจบชีวิตลงด้วยฝีมือ เจ้าเมืองขุขันธ์ อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 9 นี้เอง และได้นำศพเสือยงไปมอบให้เจ้าเมืองศรีสะเกษ ตัดศรีษะแล้วแห่ประจานรอบเมืองและเสียบประจาน ณ สี่แยกไปเมืองขุขันธ์
ดังนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านนี้ที่มีบารมีและสร้างคุณงามความดีให้แก่ชาวขุขันธ์ โดยเฉพาะท่านเป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัดกลางมาในอดีตอีกทั้งเป็นผู้ปราบเสือยงได้ โดยเมื่อพระครูโสภิตธรรมขันธ์ (หลวงตาเอี้ยง) เป็นเจ้าอาวาสวัดกลาง (อัมรินทราวาส) ท่านได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น (หลังที่เห็นในปัจจุบัน) ท่านจึงได้ให้ปั้นรูปหุ่น อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา หรือ ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 ในท่านั่งบนหลังช้างถือปืนคาบศิลาขนาดเท่าตัวจริง ที่คอช้าง ผูกเครื่องรางของขลัง โดยหุ่นปั้น ได้ตั้งอยู่ ณ หน้าอุโบสถหลังใหม่ แต่ฝีมือในการปั้นไม่ค่อยจะเหมือนตัวจริงและไม่ประณีตนัก แต่รูปปั้นนี้กลับมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์อย่างยิ่งสำหรับลูกหลานชาวเมืองขุขันธ์
อนึ่ง วัดกลางนี้ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2429 โดยขณะนั้น พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา หรือ ปัญญา ขุขันธิน ) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ โดยการสนับสนุนของพระยารัตนโกศา (จันดี) ปลัดเมืองขุขันธ์ (พ่อตา) พร้อมทั้งกรมการเมืองและราษฎรได้พร้อมใจกันและให้ถือเป็นวัดประจำเมือง เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแทนวัดจันทร์นคร (วัดบก) จึงทำให้วัดกลางอัมรินทราวาสนี้ เป็นวัดใหญ่และเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้
ขอบพระคุณผู้เรียบเรียง : นายนพคุณ ภักดีทวนทอง และนายนิติภูมิ ขุขันธิน(2547)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)