-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ที่มาของสภาวัฒนธรรม(ฉบับย่อ)

           จากพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 กำหนดให้สภาวัฒนธรรมเป็นองค์กรภาคเอกชน ที่ดำเนินงานวัฒนธรรมภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ มาตรา 15 กำหนดให้สภาวัฒนธรรม ตามมาตรา 13 ประกอบด้วย กรรมการและสมาชิกที่มาจาก ผู้แทนองค์กรที่ดำเนินงานวัฒนธรรม หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม เช่น เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายภาคชุมชน เครือข่ายภาคธุรกิจ เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และเครือข่ายภาควิชาการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมและในปี พ.ศ. 2556 ได้ดำเนินการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมในทุกระดับทั่วประเทศ ณ ปัจจุบันมีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมทุกระดับไปแล้วประกอบด้วย

การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553
           1. สภาวัฒนธรรมจังหวัด
           2. สภาวัฒนธรรมอำเภอ
           3. สภาวัฒนธรรมตำบล

การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (กฎกระทรวงจัดตั้งสภาวัฒนธรรมเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๕)

           1. สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
           2. สภาวัฒนธรรมเขต
           3. สภาวัฒนธรรมแขวง
           4. สภาวัฒนธรรมเทศบาล
           5. สภาวัฒนธรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
           6. สภาวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ


เอกสารอ้างอิง
- เอกสารลำดับที่ 4/2557 แนวทางการปฏิบัติงานของเลขานุการและเหรัญญิกสภาวัฒนธรรม ของสำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม   กระทรวงวัฒนธรรม

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย