ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567

เก็บตกเกร็ดประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์ฉบับย่อ จากภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ณ ภายในอุโบสถพระแก้วเนรมิต วัดบ้านลำภู ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ภาพที่ ๑
          พ.ศ. ๑๕๘๐/ ค.ศ. ๑๐๓๗  พระเจ้าชคต ศรีขัณฑเรศวร เมืองสด๊กโคกขัณฑ์ หมู่บ้านลำดวนตระพังสวายพระเจ้าอยู่หัว อัญ ศรีราชปติวรมัม ,    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กันต๊วนอัญศรีสูริยวรมัมเทพ , พระเจ้าชคตศรีพฤทเธศวร  ,    พระเจ้าชคตศรีสิขเรศวร      และศรีสุกรมก็อมแสดงชี       มาเข้าร่วมพิธีบวงสรวงเฉลิมฉลองการก่อสร้างปราสาทพระวิหาร เมื่อมหาศักราช ๙๕๙ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนมาฆมาส   ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๔ มกราคม  พ.ศ. ๑๕๘๐/ ค.ศ. ๑๐๓๗

          Komrotang Chekud Srikhandhiresua a country of Sadok Kokhan, the village of Ramdual Tropeang Sawai, Preah Komrotang Ansri Reachpativoramum, Preach Bath Komrotang Kuntan An Sri Suraya Voramumtep, Komrotang Chekud Srisikaresua, Komrotang Chekud Sripruthesua, Srisukrom Komsatangshi held a ceremony of Preah Vihear castle construction on 3rd waxing moon,3rd month of 959 Shalivahana era, corresponding to January14,1580 BE.,1037 AD.

ภาพที่ ๒
          พ.ศ. ๑๖๕๖ / ค.ศ. ๑๑๑๓ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ หรือ พระเจ้าอยู่หัว อัญ บรมพิษณุโลก  ให้ช่างจารึกบน
ฝาผนังปราสาทนครวัดว่า  “ ข้าราชการฝ่ายพรานขมังธนู  พลเดินเท้าประจัญบาน ฝีตีนเร็วนำหน้า นี่  สยำกุก”
ซึ่งคำว่า    สยำกุก  อ่านว่า ซีมกู้ก คือเสียมโคก  เสียมโคก หรือสยามโคก หรือ สยามแห่งดินแดนที่ราบสูง
หรือ สยามโคกขัณฑ์  หรือ ชาวโคกขัณฑ์  หรือ ชาวขุขันธ์    สมัยนั้น นั่นเอง
       1656 BE./1113 AD.   The  King  Suyavaman 2   or   Komrotang  An  Borompitsanulok   ordered
the craftsmen to inscribe the story on the wall of Angkor Wat. The government employees, fast-moving hunters were Siamkuk. Those were Siamkuk. They were Siam Khukhan or Khukhan people  at that time.

ภาพที่ ๓
          พ.ศ. ๒๑๓๔ / ค.ศ. ๑๕๙๑ ตรงกับสมัยที่พระภิกษุประทา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบ้านลำภู เมืองโคกขัน คือชื่อเรียก เมืองขุขันธ์ในสมัยนั้น ได้ส่งกองทัพร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบกับสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แห่งกรุงละแวก และได้รับชัยชนะในปี  พ.ศ. ๒๑๓๗/ ค.ศ. ๑๕๙๔ 

          In 2134 BE./ 1591 AD. corresponding to the position of the Pratha monk, the abbot of Lamphu Temple, the ruler of Mueang Khukhan sent an army together with King Naresuan the Great to fight with King Boromracha IV, the Longvek king. King Naresuan the Great conquered the Longvek king in 2137 BE. / 1594 AD.

ภาพที่ ๔
       พ.ศ. ๒๓๐๒ / ค.ศ. ๑๗๕๙ ทองด้วงและบุญมา มหาดเล็กหลวง ได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าเอกทัศ ให้ตามหาพระยาช้างเผือกตกมัน  แตกโรงออกจากกรุงศรีอยุธยาเข้าสู่เขตเทือกเขาพนมดงเร็ก  โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ตากะจะ เชียงขันธ์ และหัวหน้าชาวเขมรป่าดงกลุ่มอื่นๆ
          2302 BE,1759 AD. Thongdoung and Boonma, the chamberlain, received a royal order from King Ekathat to catch Phaya Chang Pheak, the white elephant was in heat, and he fled from Ayutthaya into the forest of Phanom Dongrek Mountain. They were helped by Ta KaJa and Chieng Khan and other  jungle Khmer leaders.

ภาพที่  ๕
ทองด้วง บุญมา ตากะจะ และเชียงขันธ์ พร้อมด้วยหัวหน้าชาวเขมรป่าดง
ร่วมนำพระยาคชาธร ช้างเผือกแตกโรง  กลับกรุงศรีอยุธยา 

Thong Duong, Boonma, Ta Kaja, and Chieng Khan and the leaders of Forest Khmer 
brought Phaya Kachathorn, the white elephant returned to Krungsri Ayutthaya.

ภาพที่  ๖
พ.ศ. ๒๓๒๑ / ค.ศ. ๑๗๗๘  พระราชครูบัวทำพิธีปรกพลให้กองทัพตากะจะและเชียงขันธ์ 
ณ วัดลำภู เพื่อไปทำศึกที่เวียงจันทน์

2321 BE,1778 A.D. Phra Ratchakhru Bue performed a ceremony of Prokphon for
Takaja and  Chieng Khan Army at Wat Lamphu to fight in Vientiane.

ภาพที่  ๗
พ.ศ. 2321 / ค.ศ. ๑๗๗๘  กองทัพเมืองขุขันธ์   เมืองสังขะ    และเมืองสุรินทร์ 
ร่วมกับทัพหลวง    ไปทำศึกที่เวียงจันทน์
2321 BE. / 1778 AD. The army of Mueang Khukhan, Mueang Sangkha and Mueang Surin
with the Royal Army  went to war in Viengtiane.

ภาพที่  ๘
พ.ศ. ๒๓๒๑ / ค.ศ. ๑๗๗๘  ขบวนช้างอัญเชิญพระแก้วเนรมิต  มาถวายพระราชครูบัว
และพระแก้วมรกต พระบาง กลับกรุงธนบุรี
2321 BE. / 1778 AD. The procession of elephants invited Pra Kaew Neramit to offer 
Phra Ratchakhru Bue and the Emerald Buddha and Phrabang returned to Krungthonburi.


ภาพที่  ๙
ตากะจะ หรือ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน และ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ทั้ง 8 ท่าน คือ 
คุณตาเชียงขัน ท้าวบุญจันทร์  คุณตาทองด้วง  คุณตาท้าวใน  คุณตาท้าวนวน  
คุณตาท้าวกิ่ง คุณตาท้าววัง และคุณตาปัญญา ขุขันธิน
Takaja or Praya Krai Pakdi Srinakorn Lamduan and 8 of Praya Khukhan Pakdi Srinakorn Landuan namely,  Kunta Chiengkhan, Thao Boonchan, Kunta Thongdung, Kunta Thaonai, Kunta Thaonuan, Kunta Thao King, Kunta Thaowang and Kunta Panya Khukhandhin.

เรียบเรียง :  คณะกรรมการฝ่ายประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์
ลำดับเนื้อหา : ดร.วัชรินทร์  สอนพูด  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 
                         นายเทอดศักดิ์  เสริมศรี  ประธานคณะกรรมการวัดบ้านลำภู / ผู้ทรงคุณวุฒิ
                         นายนิติภูมิ  ขุขันธิน 
กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 
คำแปลภาษาอังกฤษ  :  ผศ.ดร.ปริง  เพชรล้วน 
                                         กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 
อักษรภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์  :  นายสุเพียร  คำวงศ์   เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ขอบคุณ :  
ภาพภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ณ ภายในอุโบสถพระแก้วเนรมิต
                   วัดบ้านลำภู  ตำบลใจดี  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย