ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ว่าด้วยเรืองนาค หรือพญานาค คืออะไรกันแน่ ?

พญานาค
                   นาค หรือ พญานาค เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย

ภาพปรากฏการณ์พญานาคที่เมืองขุขันธ์(ยามค่ำคืน) ที่เกิดขึ้นกับต้นปาล์มต้นที่ ๕ ทิศเหนืออนุสาวรีย์ตากะจะ เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก ในบริเวณพื้นที่กำลังทำการก่อสร้างศาลหลักเมืองขุขันธ์ แห่งใหม่ ที่ทุกท่านสามารถแวะเยี่ยมชม และถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกได้ด้วยตนเอง...เราชาวขุขันธ์ทุกคนภูมิใจที่ปรากฏการณ์นี้ ได้กระตุ้นให้ทุกคนสนใจหันมาทำบุญกันมากขึ้น และน้อมนำให้หลายคนได้มาร่วมกันสร้างศาลหลักเมืองขุขันธ์ ให้สำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็วพลัน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ท่านพญานาคท่านมาปรากฏกาย เพื่อช่วยสร้างศาลหลักเมืองขุขันธ์ อันศักดิ์สิทธิ์โดยแท้...
 
             ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน
                  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่
                  ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมี ๓ เศียร ๕ เศียร ๗ เศียรและ ๙ เศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาทเกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้น เล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม

ภาพปริศนา หรือว่ามุมกล้อง ? ที่หลายท่านที่ได้แวะเวียนมาเยีี่ยมชมปรากฏการณ์พญานาคที่เมืองขุขันธ์ ได้ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล แล้วพบว่า มีรูปคล้ายหญิงสาวผมยาว แต่งองค์ทรงเครื่องสีเหลืองทอง และห่มสะไบเฉียง นั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก...โปรดใช้วิจารณญาณในการชมภาพตามสมควร(ถ่ายเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 เวลา 20.49 น.)

ตระกูลของนาค

        นาคเป็นเจ้าแห่งงู แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา นาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
  • ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
  • ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
  • ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
  • ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
  พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ
  1. แบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
  2. แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม
  3. แบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์
  4. แบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่
   พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาคอยู่ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะ

ภาพปริศนา หรือว่ามุมกล้อง ? ที่บางท่านที่ได้แวะเวียนมาเยีี่ยมชมปรากฏการณ์พญานาคที่เมืองขุขันธ์ ได้ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล แล้วพบว่า มีรูปเงาสีดำใจกลางยอดปาล์มคล้ายท่านตากะจะ เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก ยืนถือถือดาบ...โปรดใช้วิจารณญาณในการชมภาพตามสมควร(ถ่ายเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 เวลา 21.35 น.)

ความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณสมบัติ

                   ชาวฮินดูถือว่า นาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์ ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ 1 ตัว แปลว่า น้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อย ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์ เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้
                   นาคมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ มีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคน สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
                    นาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 จะต้องปรากฏรูปลักษณ์เป็นนาคเช่นเดิม คือ ขณะเกิด, ขณะลอกคราบ, ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ และตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
                   นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
                   นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆ กัน ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
                   นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วสมสู่กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 ,7 และ 9 เศียร  สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลกจนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่าง   เมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ

ความเชื่อเกี่ยวพันกับชีวิต น้ำและธรรมชาติ

                   ที่ปราสาทขอมโบราณ หรือศาสนสถานต่าง ๆในสมัยโบราณ คูเมืองที่เป็นสระน้ำ 4 ด้าน รอบปราสาทและมี พญานาค อยู่ด้วย ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ ดังนั้น นาคจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากน้ำ เช่น การสร้างศาสนสถานไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ นาคที่ราวบันได จึงมี พญานาค ซึ่งตามความเป็นจริง (ความเชื่อ) การสร้างต้องสร้างกลางน้ำ เพื่อให้ดูเหมือนว่าศาสนสถานนั้นลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ก็ไม่ต้องสร้างจริงๆ เพียงแต่มีสัญลักษณ์ พญานาคไว้ เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
                   แม้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ก็จะมีอยู่ในราศีเกิด เช่นของคนนักษัตรปีมะโรง ที่มีความหมายถึง ความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ที่มี พญานาค เป็นสัญลักษณ์
    

นาคให้น้ำ

                  ด้วยความที่นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ ดังนั้น คำเสี่ยงทายในแต่ละปีที่จะทำนายถึงปริมาณของน้ำและฝนที่จะตกในแต่ละปีเพื่อใช้ในการเกษตร จึงเรียกว่า "นาคให้น้ำ" จำนวนนาคให้น้ำมีไม่เกิน 7 ตัว ถ้าปีไหนอุดมสมบูรณ์มีน้ำมากเรียกว่า "นาคให้น้ำ 1 ตัว" แต่หากปีไหนแห้งแล้งเรียกว่าปีนั้น "มีนาคให้น้ำ 7 ตัว" จะวัดกลับกันกับจำนวนนาค ก็คือที่น้ำหายไป เกิดความแห้งแล้งนั้นก็เพราะ พญานาคเกี่ยงกันให้น้ำ แต่ละตัวจึงกลืนน้ำไว้ในท้องไม่ยอมพ่นน้ำลงมา ซึ่งคำทำนายเรื่องนาคให้น้ำนี้ จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุด คือ ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของแต่ละปี


พญานาคกับตำนานในพระพุทธศาสนา

                  เมื่อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อมุจลินทร์ ข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นชายหนุ่มยืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า
                  ความเชื่อดังกล่าวทำให้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา[2]
                  พญานาค เป็นสะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาค กับ รุ้ง เป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง
นาคสะดุ้ง ซึ่งเป็นประติมากรรมที่ ราวบันไดโบสถ์นั้นได้สร้างขึ้นตามความเชื่อถือ "บันไดนาค" ก็ด้วยความเชื่อดังกล่าว แม้ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ก็โดยบันไดแก้วมณีสีรุ้ง ที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาคจำนวน 2 ตน เอาหลังหนุนบันไดไว้
                  ตุง ในวัฒนธรรมของล้านนาและพม่า ก็เชื่อกันว่าคลี่คลายมาจากพญานาค และหมายถึงบันไดสู่สวรรค์
                  ความเชื่อของชาวฮินดู ก็ถือว่า นาคเป็นสะพานเชื่อมภาวะปกติ กับที่สถิตของเทพ ทางเดินสู่วิษณุโลก เช่น ปราสาทนครวัด จึงทำเป็น พญานาคราช ที่ทอดยาวรับมนุษย์ตัวเล็ก ๆ สู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์ หรือบั้งไฟของชาวอีสานที่ทำกันในงานประเพณีเดือนหก ก็ยังทำเป็นลวดลาย และเป็นรูปพญานาค พญานาคนั้นจะถูกส่งไปบอกแถนบนฟ้าให้ปล่อยฝนลงมา
                  ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูป อื่นไปเห็นเข้า ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน
                   ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด และก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และจึงเรียกการบวชนี้ว่า "บวชนาค"

ความเชื่อในดินแดนต่าง ๆ ของไทย

              ในประเทศไทย ดินแดนที่มีความเชื่อเรื่องของนาคมักจะเป็นภาคที่ติดกับแม่น้ำโขง คือ ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคเหนือ

              มีตำนานเกี่ยวกับพญานาคอยู่เช่นกัน ดังในตำนานสิงหนวัติซึ่ง เป็นตำนานเก่าแก่ของทางภาคเหนือเอง “เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมืองเป็นเมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมายกทัพปราบเมืองอื่นได้และรวมดินแดนเข้าด้วยกันจึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนคร ต้นวงศ์ของพญามังรายผู้ก่อกำเนิดอาณาจักรล้านนานั่นเอง”

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

      ดูเพิ่มที่ บั้งไฟพญานาคผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อว่า แม่น้ำโขงเกิดจากการแถตัวของพญานาค 2 ตน จึงเกิดเป็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน นอกจากนี้ยังรวมถึงบั้งไฟพญานาค โดยมีตำนานว่าในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแห่งแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี จึงเฮ็ด (จุด) บั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุกปี

พญานาคกับสัญลักษณ์ของวิชาแพทย์

         พญานาค หมายถึง วิชาแพทย์ ที่พระวิศวามิตร์เล่าไว้ในบ่อเกิดรามเกียรติ์ว่า เทวดาและอสูรต้องการเป็นอมตะ จึงทำพิธีกวนเกษียรสมุทร โดยใช้เขามนทรคีรีเป็นไม้กวน นำพญาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือก เป็นผลให้เกิดประถมแพทย์ "ธันวันตะรี" ซึ่งผู้ชำนาญในอายุรเวท
           

          ประมวลคลิปวีดีโอปรากฎการณ์พญานาค ที่อำเภอขุขันธ์ ต้นปาล์มที่อยู่บริเวณทิศเหนือของอนุสาวรีย์ตากะจะ  หรือพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก และอยู่ในบริเวณที่กำลังทำการก่อสร้างศาลหลักเมืองขุขันธ์ ในปัจจุบัน เป็นต้นปาล์มต้นที่ ๕ อยู่ทางทิศเหนืออนุสาวรีย์ตากะจะ...ได้แทงยอดออกมาจากลำต้น มีลักษณะแปลก คล้ายเศียรพญานาค ๙ เศียร เป็น ที่แตกตื่นของชาวอำเภอขุขันธ์  และพื้นที่ใกล้เคียงแวะเวียนมาเยี่ยมชมกันอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เริ่มเกิดขึ้นภายหลังจากที่ชาวเมืองขุขันธ์ ได้จัดงาน "รำลึกพระยาไกรภักดี ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี" อย่างยิ่งใหญ่ ในระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา


คลิปวีดีโอถ่ายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม  2554

 

ขอบคุณที่มา : สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์


วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หรือว่า...ตาล ๙ ยอด ๙ พระยาแห่งเมืองขุขันธ์...ฟื้นคืนชีพ เป็นภาพที่ถ่ายได้จากบริเวณทิศเหนืออนุสาวรีย์ตากะจะ เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก 7 ต.ค. 2554 เวลา 12.30 น.

มุมกล้องที่ 1  ถ่ายจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลำต้น

มุมกล้องที่ 2 ถ่ายจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลำต้น

มุมกล้องที่ 3 ถ่ายจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลำต้น

มุมกล้องที่ 4 ถ่ายจากทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลำต้น
มุมกล้องที่ 5 ถ่ายจากทางด้านทิศเหนือของลำต้น
มุมกล้องที่ 6 ถ่ายจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของลำต้น

ด้านบนคือ...ภาพปรากฎการณ์พญานาค ที่อำเภอขุขันธ์ ต้นปาล์มที่อยู่บริเวณทิศเหนือของอนุสาวรีย์ตากะจะ  หรือพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก และอยู่ในบริเวณที่กำลังทำการก่อสร้างศาลหลักเมืองขุขันธ์ ในปัจจุบัน เป็นต้นปาล์มต้นที่ ๕ อยู่ทางทิศเหนืออนุสาวรีย์ตากะจะ...ได้แทงยอดออกมาจากลำต้น มีลักษณะแปลก คล้ายเศียรพญานาค ๙ เศียร เป็นที่แตกตื่นของชาวอำเภอขุขันธ์  และพื้นที่ใกล้เคียงแวะเวียนมาเยี่ยมชมกันอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เริ่มเกิดขึ้นภายหลังจากที่ชาวเมืองขุขันธ์ ได้จัดงาน "รำลึกพระยาไกรภักดี ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี" อย่างยิ่งใหญ่ ในระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา

พิกัดGPS บนGoogle Mapของต้นปาล์มต้นที่ 5 ต้นกำเนิดของปรากฎการณ์พญานาค 
ที่อำเภอขุขันธ์ เป็นต้นปาล์มที่อยู่บริเวณทิศเหนือของอนุสาวรีย์ตากะจะ หรือพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก และอยู่ในบริเวณที่กำลังทำการก่อสร้าง
ศาลหลักเมืองขุขันธ์ ในปัจจุบัน (ถ่ายเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2554 เวลา 12.30 น.)
โดย สุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

คลิปวีดีโอถ่ายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม  2554

 

ขอบคุณที่มา : สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์

ภาพถ่ายบรรยากาศยามค่ำคืนของวันที่ 7 ต.ค. 2554 เวลา 08.30 น.ก็ยังมีชาวบ้านแวะมาชมกันอย่างไม่ขาดสาย ถ้ารวมตั้งแต่เช้าถึงตอนเย็นประมาณราวๆกว่า 5,000 คน
   ส่วนด้านล่างคือ...ภาพตาล ๙ ยอดในอดีต
 : "ต้นตาล ๙ ยอด ๙ พระยาแห่งเมืองขุขันธ์"
         ต้นตาล ๙ ยอด เป็นต้นตาลที่มีความแปลก  เพราะลำต้นเดียวแต่แตกแขนงลำต้นออกเป็น ๙ แขนง ๙ ยอด เคยมีชีวิตและยืนต้นตระหง่านมาตั้งแต่กำเนิดเมืองขุขันธ์  ณ   หมู่บ้านตาดม   หมู่ที่ ๘ ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์   จังหวัดศรีสะเกษ ได้ล้มตายลง เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๙ ปัจจุบันยังคงเหลือแต่เพียงร่องรอยภาพถ่ายแห่งอดีตมาถึงปัจจุบัน...

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แกลจะเอง / kael-ja-e:ng / ตำบลปรือใหญ่

           แกลจะเอง / kael-ja-e:ng /  เป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชนเผ่ากูย หรือส่วย ที่สืบทอดต่อกันมายาวนานในชุมชนแถบตำบลปรือใหญ่  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  อันที่จริงแล้วก็คือ เป็นการร่ายรำประเภทเดียวกันกับการรำแม่มดของชนเผ่าต่าง ๆในท้องถิ่นอีสานใต้ของประเทศไทย นั่นเอง 
           ซึ่งในวีดีโอชุดนี้ คุณวันเพ็ญ แผ่นเงิน  ประธานชมรมผู้ดูแลผู้สูงอายุตำบลปรือใหญ่  ได้ประยุกต์นำเอาท่าร่ายรำอันศักดิ์สิทธิ์ของเพลงแกลจะเอง ซึ่งมีท่าร่ายรำที่สำคัญหลายท่า  ซึ่งท่าที่มีความโดดเด่น และเป็นประโยชน์ มีจำนวน 6 ท่า มาเป็นนวัตกรรมใหม่ในการออกกำลังกายสำหรับชาวบ้านในชุมชน  โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุทำให้ทุกคน และทุกวัย ในชุมชนแห่งนี้ คือ บ้านปรือคันใต้  หมู่ที่ 14  ตำบลปรือใหญ่อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงครบทั้ง 4 มิติ กล่าวคือ ทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  สังคม และจิตวิญญาณ นั่นเอง
 
 
แกลจะเอง ตำบลปรือใหญ่ ตอนที่ 1

 
แกลจะเอง ตำบลปรือใหญ่ ตอนที่ 2(จบ)

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โฎนตาเมืองขุขันธ์...ขอขอบคุณ นสพ.มติชน 1 ต.ค. 2554


สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์ ขอขอบคุณ หนังสือพิมพ์มติชน
ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2554 
ที่ช่วยเผยแพร่งานประเพณีแซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ ประจำปี 2554

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอำเภอขุขันธ์

ปราสาทตาเล็ง
วัดกลางอัมรินทราวาส
วัดเขียน
วัดไทย
วัดเจ๊ก
วัดโสภณวิหาร
วัดโคกโพน
วัดจันทราปราสาท
วัดบ้านลำภู(รัมพินีวาส)
แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ

ผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอขุขันธ์


 เกวียนน้อย
 คุณสมเกียรติ  เตารัตน์
325 หมู่ที่ 1 ตำบลใจดี   อำเภอขุขันธ์ 
จังหวัด ศรีสะเกษ โทร.087252611


ผ้าลายลูกแก้ว

  ชื่อผลิตภัณฑ์  ผ้าฝ้ายทอมือลายลูกแก้ว
รหัสผลิตภัณฑ์  330500345301
ชื่อกลุ่มผู้ผลิต กลุ่มสตรีทอผ้าลายลูกแก้ว
ที่อยู่  บ้านเลขที่  41   หมู่ที่  6  ตำบล นิคมพัฒนา
อำเภอ ขุขันธ์    จังหวัด ศรีสะเกษ
ติดต่อนางสริด  วงษ์ขันธ์ โทรศัพท์  086-8773484
ผลการคัดสรรฯ  ปี  53  ระดับ 5  ดาว


 ครุน้อย
คุณเอ็นดู  ศรีแก้ว
30 หมู่ที่  12 ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์
จังหวัด ศรีสะเกษ โทร.0817256761


    ผอบใบตาล
 บ้านหนองก๊อก  หม่ที่ 10  ตำบลห้วยสำราญ
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ



 ข้องน้อย
บ้านกฤษณา   หมู่ที่ 1  ตำบลกฤษณา
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ 



 ชนางน้อย
บ้านกฤษณา   หมู่ที่ 1  ตำบลกฤษณา
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ



 โคมไฟกะลามะพร้าว
บ้านหัวเสือเหนือ  หมู่ที่ 13  ตำบลหัวเสือ
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ



 ตุ๊กตาเรซิน
บ้านเศวต  หมู่ที่ 7  ตำบลสำโรงตาเจ็น
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ



 กระเป๋า/หมอนใบเตย
บ้านตาทึง  หมู่11 ตำบลหัวเสือ และ
บ้านเคาะ  หมู่ 1  ตำบลศรีตระกูล
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ



 เสื้อถักโคเช
สมาคมสตรีบ้านห้วย  หมู่ที่ 1  ตำบลห้วยเหนือ
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ



 หัตถกรรมรากไม้
บ้านโนนสมบูรณ์  หมู่ที่ 6 และ
บ้านนาจะเรีย  หมู่ที่13 ตำบลปรือใหญ่
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ



 เรือจำลอง
บ้านกลาง  หมู่ที่ 4  ตำบลลมศักดิ์
อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ

 
  ถาดก้านมะพร้าว
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยอำเภอขุขันธ์ (กศน.ขุขันธ์) อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ โทร.081-8797879
(ผอ.นงคราญ แก้วจันทร์)


วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์งานแซนโฎนตา ศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2554


     อำนวยการสร้าง...นายอนุรัตน์  ลีธีระประเสริฐ นายอำเภอขุขันธ์
     บท........นายปิ่น นันทะเสน สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์
     บรรยาย...นายเรวัตร  อสิพงษ์  ครูโรงเรียนขุขันธ์ 
     เสียงภาษาถิ่นเขมร...นายสำราญ กอย่ากาง ผู้ใหญ่บ้านหนองก๊อก หมู่ที 10 ตำบลห้วยสำราญ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร.083-7353609
     ตัดต่อ...นายสุเพียร คำวงศ์ รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 

     คำขวัญประจำอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
      
          "ขุขันธ์ เมืองเก่า   ชนทุกเผ่าสามัคคี  บารมีหลวงพ่อโตวัดเขียน  กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี    ประเพณีแซนโฎนตา" 

     ข้อความบทบรรยาย  โดยสังเขป
      
          "สวัสดี แมอ็อวบอง-ปโอน ซรก ซแร เยิง กรุปๆเคนีย ซมสดัปขมาท บานเต็จ กนง บนประเพณี แคเบ็น แซน โฎนตา กนง ฉนำนิฮ์ "(แปลถอดความจากภาษาถิ่นเขมรว่า   สวัสดีพ่อแม่พี่น้องบ้านเราทุก ๆท่าน เชิญฟังกระผมประชาสัมพันธ์สักเล็กน้อย(หรือ เชิญฟังทางนี้...) ในงานบุญประเพณีแซนโฎนตา ในปีนี้)
              
             จังหวัดศรีสะเกษ โดยอำเภอขุขันธ์  ภายใต้การนำของ นาย อนุรัตน์     ลีธีระประเสริฐ  นายอำเภอขุขันธ์ ร่วมกับนายกเทศมนตรีตำบลเมืองขุขันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล  ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  องค์กรเอกชน  และประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์  ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้อง ร่วมงานประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่าเขมร และกูย ที่เรียกว่าประเพณีแซนโฏนตา อันเป็นวัฒนธรรมทีดีงามของท้องถิ่นชาวอีสานใต้ ที่สืบทอดต่อกันมาแต่โบราณ    

         อำเภอขุขันธ์  จัดให้มีขึ้นในวันที่ 22 - 23 กันยายน  พุทธศักราช  2554  ณ บริเวณ   ลานอนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน    ในงานฯ   ชมขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ     ของชนเผ่าเขมร และส่วย ที่ยิ่งใหญ่ 
  
         ปีนี้ จัดยิ่งใหญ่กว่าทุกๆปี  ชมศิลปะการแสดงอารยธรรมโบราณ   ของชนสี่เผ่า  การออกร้านของส่วนราชการ และกลุ่มเครือข่าย
OTOP ต่างๆ 
         อย่าลืมวันที่  22 - 23 กันยายน  พุทธศักราช  2554  กลับบ้านเรา... มาร่วมเซ่นไหว้บรรพบุรุษพร้อมกันที่ ลานอนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน   อำเภอขุขันธ์   จังหวัดศรีสะเกษ

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รวมภาพพระยาขุขันธ์ ทั้ง 9 ท่านเพื่อเผยแพร่แจกลูกหลาน

เริ่มต้นที่ยุคเมืองมหานคร (Angkor អង្គរ) คลิก  
ณ ที่นี้ ขอกล่าวถึงเฉพาะช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา - รัตนโกสินทร์
      หากนับระเวลาเริ่มต้นที่ยุคตอนปลายกรุงศรีอยุธยา - รัตนโกสินทร์ เรื่องราวจากเหตุการณ์ที่บรรพชนเมืองขุขันธ์จับพระยาช้างเผือกส่งคืนกรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2302 ซึ่งก็คือในอดีตเมื่อ 260 กว่าปีที่ผ่านมา(นับถึงปี2562) เมืองขุขันธ์ของเราเคยมีเจ้าเมืองปกครอง ในบรรดาศักดิ์ราชทินนาม พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน และพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน รวมทั้งสิ้น 9 ท่าน...ดังนี้

พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน หรือ ตากะจะ
หรือหลวงแก้วสุวรรณ เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก
(ตากะจะ - พุทธศักราช ๒๓๐๒ - ๒๓๒๑)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๒
(เชียงขันธ์ หรือหลวงปราบ - พุทธศักราช ๒๓๒๑ - ๒๓๒๕)


พระยาขุขันธ์ ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๓
( ท้าวบุญจันทร์ หรือพระไกร - พุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๓๖๙)


พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๔
( พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง - พุทธศักราช ๒๓๖๙ - ๒๓๙๓)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๕
( ท้าวใน หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม - พุทธศักราช ๒๓๙๓)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๖
( ท้าวนวน หรือ พระแก้วมนตรี - พุทธศักราช ๒๓๙๓ )

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๗
(ท้าวกิ่ง หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม -
พุทธศักราช ๒๓๙๓ - ๒๓๙๕)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๘
(ท้าววัง หรือ พระวิชัย - พุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๒๖)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๙
(ท้าวปาน หรือ ปัญญา ขุขันธิน - พุทธศักราช ๒๔๒๖- ๒๔๔๐
/ ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐)
ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานนามสกุล "ขุขันธิน")


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย