-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รวมภาพพระยาขุขันธ์ ทั้ง 9 ท่านเพื่อเผยแพร่แจกลูกหลาน

เริ่มต้นที่ยุคเมืองมหานคร (Angkor អង្គរ) คลิก  
ณ ที่นี้ ขอกล่าวถึงเฉพาะช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา - รัตนโกสินทร์
      หากนับระเวลาเริ่มต้นที่ยุคตอนปลายกรุงศรีอยุธยา - รัตนโกสินทร์ เรื่องราวจากเหตุการณ์ที่บรรพชนเมืองขุขันธ์จับพระยาช้างเผือกส่งคืนกรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2302 ซึ่งก็คือในอดีตเมื่อ 260 กว่าปีที่ผ่านมา(นับถึงปี2562) เมืองขุขันธ์ของเราเคยมีเจ้าเมืองปกครอง ในบรรดาศักดิ์ราชทินนาม พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน และพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน รวมทั้งสิ้น 9 ท่าน...ดังนี้

พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน หรือ ตากะจะ
หรือหลวงแก้วสุวรรณ เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก
(ตากะจะ - พุทธศักราช ๒๓๐๒ - ๒๓๒๑)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๒
(เชียงขันธ์ หรือหลวงปราบ - พุทธศักราช ๒๓๒๑ - ๒๓๒๕)


พระยาขุขันธ์ ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๓
( ท้าวบุญจันทร์ หรือพระไกร - พุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๓๖๙)


พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๔
( พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง - พุทธศักราช ๒๓๖๙ - ๒๓๙๓)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๕
( ท้าวใน หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม - พุทธศักราช ๒๓๙๓)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๖
( ท้าวนวน หรือ พระแก้วมนตรี - พุทธศักราช ๒๓๙๓ )

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๗
(ท้าวกิ่ง หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม -
พุทธศักราช ๒๓๙๓ - ๒๓๙๕)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๘
(ท้าววัง หรือ พระวิชัย - พุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๒๖)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๙
(ท้าวปาน หรือ ปัญญา ขุขันธิน - พุทธศักราช ๒๔๒๖- ๒๔๔๐
/ ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐)
ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานนามสกุล "ขุขันธิน")


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย