-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บนโบะฮฺกมูจอ็อวเกรงเปรียด* หรือพิธีเผาศพปู่กล้วย ของชาวบ้านในเขตสังกัดวัดบ้านปรือคัน ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

          เมื่อวันที่ 10 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2560    ชาวบ้านในเขตสังกัดวัดบ้านปรือคัน ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ ได้จัดทำบุญฉลองเมรุใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ  ซึ่งภาษากวยท้องถิ่นตำบลปรือใหญ่ เรียกว่า "บน-โบะฮฺ-กมูจ*-อ็อว-เกรง-เปรียด*" 
 
เมรุที่เพิ่งสร้างเสร็จของชาวบ้านในเขตสังกัดวัดบ้านปรือคัน
ตำบลปรือใหญ่  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
           หรือภาษาไทย โดยทั่วไปเรียกว่า "พิธีเผาศพปู่กล้วย" หรือพิธีฌาปนกิจศพ "ผีต้นกล้วย" สำหรับภาษาเขมรที่ประเทศกัมพูชาน่าจะเรียกว่า ពិធីធ្វើបុណ្យបូជាសពជីដូនជីតាចេក​ (4)โดยจะนำเอาท่อนกล้วย...มาตกแต่งและสมมติเป็นคนตาย และมีกระบวนการขั้นตอนเหมือนคนตายทั่วไป เพื่อแก้เคล็ดไม่อยากให้คนในหมู่บ้าน “แพ้เมรุ” หรือเกิดมีการตายจริงๆ ขึ้น... เพื่อฉลองเมรุใหม่(1) หรือ ไม่อยากให้เมรุนั้น “กินคน” คือมีคนตายมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ด้วยการเผาศพที่มีอายุเยอะก่อนเป็นคนแรก(2) ดังในภาพ อายุ 123 ปี ซึ่งเป็นความเชื่อของหมู่บ้านเราที่มีมาแต่โบราณอีกประการหนึ่ง
ศพปู่กล้วย หรือภาษากวยตำบลปรือใหญ่ เรียก กมูจ*อ็อวเกรงเปรียด*

          "พิธีเผาศพปู่กล้วย" หรือ พิธีฌาปนกิจศพ "ผีต้นกล้วย" ตามประเพณีความเชื่อ หลังสร้างเมรุเผาศพเสร็จ โดยภายในโลงศพ มีต้นกล้วยขนาดใหญ่ เจาะเป็นรูปหน้าคน สวมใส่เสื้อผ้าเหมือนคน ซึ่งพระสงฆ์ และชาวบ้านก็ต่างพากันทำพิธีรดน้ำศพ แห่ศพรอบเมรุ และวางดอกไม้จันทน์ จากนั้นนำเข้าเตาเผา สัปเหร่อก็ทำการเผาศพทันที พร้อมทั้งมีของชำร่วยแจกให้กับผู้มาร่วมงานและโปรยทานด้วย โดยทุกขั้นตอนทำเหมือนกับพิธีฌาปนกิจศพทั่วไป







          ทั้งนี้ การเอาต้นกล้วยมาเผาจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างเมรุให้มีแต่เรื่องดีๆ ทุกข์โศกผ่านไป หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า ทำธุรกิจการค้า ติดต่อซื้อขายง่ายเหมือนปอกกล้วย อีกทั้งยังเป็นการทดสอบเตาเผาศพอีกด้วย ว่าจะสามารถทนความร้อนได้มาตรฐานหรือไม่ และเป็นการทดสอบเมรุ ว่าจะเผาศพได้จริงหรือเปล่า กล่าวคือ ถ้าเมรุสามารถเผาต้นกล้วย (ซึ่งภายในมีน้ำค่อนข้างมาก) ได้ ก็แสดงว่าเผาศพได้ ...นั่นเอง

เอกสารอ้างอิง : 
(1) https://www.gotoknow.org//posts/499958 
(2) http://www.thaijam.com/27425 
(3) ข้อมูลภาพประกอบจากวัดปรือคัน 
      - https://www.facebook.com/photo.php?fbid=275096012920139&set=pcb.275096209586786&type=3&theater 
      - https://www.facebook.com/photo.php?fbid=619128668277698&set=pcb.619128868277678&type=3&theater  
(4) ดร.ปริง เพชรล้วน

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

ศรีสะเกษ มอบรางวัลคนดีบุคคลต้นแบบคุณธรรม 9 ประการ และเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย ประจำปี 2560

           เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2560 เวลา 18.00 น. ที่ลานถนนคนเดินหน้าสถานีรถไฟ จังหวัดศรีสะเกษ พระราชกิตติรังษี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ได้เป็นประธาน เปิดโครงการส่งเสริมคนดีบุคคลต้นแบบคุณธรรม 9 ประการ และเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย ประจำปี 2560 โดยมีนายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ นำบุคคลดีเด่นประเภทต่างๆ จาก 22 อำเภอๆละ 9 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 198 คน ประกอบไปด้วย ด้านพากเพียรอดทน ด้านเสริมสร้างคนดี ด้านรู้รักสามัคคี ด้านมีน้ำใจ ด้านไผ่ประหยัด ด้านซื่อสัตย์สุจริต ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเรียงร้อยไมตรี และด้านหวังดีมีเมตตา เข้ารับมอบประกาศเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบของจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อให้บุคคลต้นแบบคุณธรรม 9 ประการ ได้ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย ของจังหวัดศรีสะเกษต่อไป


               สำหรับอำเภอขุขันธ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ได้ร่วมกันคัดเลือกบุคคลต้นแบบของอำเภอขุขันธ์ ตามพระราชดำรัส 9 ประการ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังมีรายนามต่อไปนี้
               1. พากเพียรอดทน​ ได้แก่ นายหวน ศรีนาค ต.ปราสาท 
               2. เสริมสร้างคนดี ​ ได้แก่ นายบุญส่ง อ่อนคำ ต.ห้วยเหนือ 
               3. รู้รักสามัคคี ​ ได้แก่ นายสวัสดิ์ วงษ์ขันธ์ ต.ปรือใหญ่ 
               4. มีน้ำใจ ​ ได้แก่ นายปกาศิต เพชรล้วน ต.นิคมพัฒนา 
               5. ใฝ่ประหยัด ​ ได้แก่ นางไสว ดอกพอง ต.ศรีตระกูล 
               6. ซื่อสัตย์สุจริต ​ ได้แก่ นายมังกร ใจหวัง ต.ใจดี 
               7. เศรษฐกิจพอเพียง ​ ได้แก่ นายอนัน พันธุชาติ ต.กันทรารมย์
               8. เรียงร้อยไมตรี ​ ได้แก่ นางสมสิน ศรีไชยปัญหา ต.หนองฉลอง 
               9. หวังดีมีเมตตา ​ ได้แก่ นายณฐกร ประเสริฐ ทต.ห้วยเหนือ 
               ขอให้ทุกท่านที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลต้นแบบของจังหวัดศรีสะเกษ จงรักษาและดำรงคุณงามความดีให้ยิ่งขึ้นไปและปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ และอนุชนรุ่นหลังตลอดไปเทอญฯ

สภาวัฒนธรรมศรีสะเกษ ส่งเสริมคนดีบุคคลต้นแบบคุณธรรม 9 ประการ
(ข่าวเช้านี้ที่อีสานใต้ ช่องNBTUBON 21-03-60)


ภาพ/ข่าว : นายสุเพียร  คำวงศ์ 
งานเลขานุการ/ประชาสัมพันธ์ 
สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
19 มีนาคม 2560

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

รายพระนามสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325-ปัจจุบัน)


ลำดับ
พระรูป
พระนาม
เริ่มวาระ
สิ้นสุดวาระ
สถิต ณ
1
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)1.jpg
พ.ศ. 2325
พ.ศ. 2337
2
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)1.jpg
พ.ศ. 2337
พ.ศ. 2359
3
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)1.jpg
พ.ศ. 2359
พ.ศ. 2362
4
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)1.jpg
พ.ศ. 2363
4 กันยายน พ.ศ. 2365
5
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)1.jpg
มีนาคม พ.ศ. 2365
23 กันยายน พ.ศ. 2385
6
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)1.jpg
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2386
พ.ศ. 2392
7
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส1.jpg
สิงหาคม พ.ศ. 2394
9 ธันวาคม พ.ศ. 2396
8
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์1.jpg
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434
28 กันยายน พ.ศ. 2435
9
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)1.jpg
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436
11 มกราคม พ.ศ. 2443
10
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส1.jpg
5 ธันวาคม พ.ศ. 2453
2 สิงหาคม พ.ศ. 2464
11
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์1.jpg
20 สิงหาคม พ.ศ. 2464
25 สิงหาคม พ.ศ. 2480
12
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)1.jpg
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487
13
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์1.jpg
31 มกราคม พ.ศ. 2488
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
14
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)1.jpg
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2503
17 มิถุนายน พ.ศ. 2505
15
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย).jpg
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508
16
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)1.jpg
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
17
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)1.jpg
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
7 ธันวาคม พ.ศ. 2516
18
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)1.jpg
22 มิถุนายน พ.ศ. 2517
27 สิงหาคม พ.ศ. 2531
19
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)1.jpg
21 เมษายน พ.ศ. 2532
24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
20
สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร).jpg
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ปัจจุบัน

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย