-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

จารึกទួលអង្គ​ พบที่จังหวัดตาแก้ว ประเทศกัมพูชา : จารึกภาษาขอมโบราณสมัยก่อนเมืองพระมหานคร​ ยืนยันการมีตัวตนอยู่จริงของชนชาติพันธุ์กูย(กวย) เมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7

          จารึกទួលអង្គ​ เป็นจารึกภาษาขอมโบราณสมัยก่อนเมืองพระมหานคร ราวช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7(อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 601 ถึง ค.ศ. 700 หรือ พ.ศ. 1144 ถึง 1243) ซึ่งก็ตรงกับสมัยเจนละ (ចេនឡា) ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าจารึกนี้จารึกขึ้นในยุคสมัยพระมหากษัตริย์องค์ใดใน 5 พระองค์ดังต่อไปนี้ ได้แก่
​​​​​​​           1) พระเจ้ามเหนทรวรฺมฺมที่ 1 หรือพระเจ้าจิตรเสน (ព្រះមហាក្សត្រ : មហេន្ទ្រវម៌្មទី១ ព្រះនាមផ្ទាល់ : ចិត្រសេនា  រជ្ជកាល : ៥៩៨-៦១០)
​​​​​​​           2) พระเจ้าอีสานวรฺมฺมที่ 1 หรือพระเจ้าอีสานเสนา (ព្រះមហាក្សត្រ : ឦសានវម៌្មទី១ ព្រះនាមផ្ទាល់ : ឦសានសេនា  រជ្ជកាល : ៦១០-៦៣៥)
​​​​​​​           3) พระเจ้าภววรฺมฺมที่ 2 หรือพระเจ้าภววรฺมฺม (ព្រះមហាក្សត្រ : ភវវម៌្មទី២ ព្រះនាមផ្ទាល់ : ភវវម៌្ម  រជ្ជកាល : ៦៣៥-៦៥៧)
​​​​​​​           4) พระเจ้าชยวรฺมฺมที่ 1 หรือพระเจ้าชยวรฺมฺม (ព្រះមហាក្សត្រ : ជយវម៌្មទី១ ព្រះនាមផ្ទាល់ : ជយវម៌្ម  រជ្ជកាល : ៦៥៧-៦៨១)
​​​​​​​           5) พระนางเจ้าชยเทวีที่ 1 หรือพระนางเจ้าชยเทวี (ព្រះមហាក្សត្រី : ជយទេវីទី១  ព្រះនាមផ្ទាល់ : ជយទេវី  រជ្ជកាល : ៦៨១-៧១៦)

           สำหรับที่มา เกี่ยวกับศิลาจารึกนั้นมีการแปลที่แตกต่างกันออกไป สำหรับที่มาของข้อมูลจารึกนี้ มาจาก 2 แหล่ง ก็คือ
          1) จากกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลปะ ของประเทศกัมพูชา ได้ลงทะเบียนศิลาจารึกទួលអង្គ ไว้เป็นลำดับเลขที่ 559
          2) ตามเอกสารของยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) อธิบายไว้ว่า ชิ้นส่วนของศิลาจารึกที่พบมีจำนวนทั้งสิ้น 3 แผ่น เก็บรักษาไว้ที่วัดខ្នាតដំបូក นั้น ถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1923 หรือตรงกับ พ.ศ. 2466 โดยพบอยู่บนទួលអង្គโบราณแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ของอำเภอបាទី จังหวัดតាកែវ (จังหวัดตาแก้ว) ซึ่งชิ้นส่วนของจารึกนี้ จารึกเป็นภาษาขอมโบราณสมัยก่อนเมืองพระมหนคร(ចារឹកជាភាសា
ខ្មែរបុរាណ សម័យមុនអង្គរ) แผ่นที่ 1 มีข้อความจารึก 8 บรรทัด กล่าวถึง การบริจาคทรัพย์ คนรับใช้ และที่นำโดยผู้มีตำแหน่งបោញท่านหนึ่ง อุทิศถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือชื่อว่า  វ្រះកម្រតាង៑អញ៑ឝ្រី…រេឝ្វរ  สำหรับจารึกแผ่นที่ 2 พบมีข้อความ 3 บรรทัด และจารึกแผ่นที่ 3 พบมีข้อความจารึก 2 บรรทัด( จากเอกสาร G. coedes Inscription du Cambodge Vol II P.36)


         ที่พิเศษและน่าสนใจก็คือ ข้อความจารึกទួលអង្គ​แผ่นที่ 1  บรรทัดที่ 5 ได้จารึกข้อความชื่นชมชนชาติพันธุ์กูย(กวย) ไว้ว่า ...(ខ្នាន់ត្រា)ត្រាប៑កួយធ្វើការ... อ่านออกเสียงตามระบบ IPA (International Phonetic Alphabet) ได้ว่า /(knan-tr)trab-kuəy-tʰvəː-kaːr/ ซึ่งแปลว่า...คนรับใช้ชาวกูย(กวย)ทุกคนขยันขันแข็งในการทำงาน...นั่นเอง
          ซึ่งถึงแม้ ข้อความนี้จะเป็นข้อความจารึกขอมโบราณสั้นๆ แต่ก็เป็นข้อความที่บ่งบอกถึงการมีตัวตนอยู่ของชนชาติพันธุ์กูย(กวย) เมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7(อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 601 ถึง ค.ศ. 700 หรือ พ.ศ. 1144 ถึง 1243) และขอมโบราณ ยุคนั้นเรียกชนชาติพันธุ์นี้ว่า กูย(กวย) มานานกว่า 1,400ปีมาแล้ว นั่นเอง 

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย