-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ธรรมะสั้นๆ วันออกพรรษาจากพระครู สุภัทรกิจจากร เจ้าอาวาสวัดหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

"หาบบ่หนัก ตักไส่บ่ฮู้เต็ม เค็มบ่เคยจืด มืดบ่แจ้ง"

พระครู สุภัทรกิจจากร เจ้าอาวาสวัดหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

หาบบ่หนัก = ความรู้ บุญกุศล ยิ่งมีมากยิ่งเบา (สบาย)
ตักไส่บ่ฮู้เต็ม = ตัณหา กามราคะ เหมิอนเติมเชื้อไฟใส่กองเพลิง
เค็มบ่เคยจืด = อกุศลกรรมของบุคคลที่ได้ทำแล้ว สักวันต้องให้ผลแน่นอน
มืดบ่แจ้ง = สัตว์โลกที่ถูกอวิชขาครอบงำ ไม่รู้ถูกผิด มิจฉาทิฏฐิ


ที่มาจากเฟสบุค พระครู สุภัทรกิจจากร ,27 ตุลาคม 2558.

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พระวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ อยู่ในเขตเมืองขุขันธ์

          สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ - ๑  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ รวมพระชันษาได้ ๘๑ ปี) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม และพระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุล "ดิศกุล"  
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                                                  
พระองค์ท่านเล่าถึงเรื่องต่างๆที่พระองค์ท่านได้รู้ได้เห็นเมื่อครั้งไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสาน ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในนิทานเรืองแม่น้ำโขง ตอน ของโบราณ  ความตอนหนึ่งว่า ...พระวิหาร อยู่ในเขตเมืองขุขันธ์ สร้างเป็นเทวสถานตามลัทธิศิวเวท ปราสาทหินพระวิหารแปลกกับปราสาทหินแห่งอื่นๆ หมดทั้งในแดนเขมรและในแดนไทยไม่มีที่ไหนเหมือน ที่แปลกนั้นเป็น ๒ สถานคือสถานหนึ่งทำรูปทรงเหมือนยังเป็นพลับพลา ติดต่อกันไปหลายหลัง หลังคามีช่อฟ้าใบระกาตามมุขคล้ายกับปั้นลม เรือนฝากระดาน ไม่มีปรางค์ ไม่มีพระระเบียง แลดูเหมือนเป็นราชมณเฑียรที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกว่าเป็นเทวสถาน ที่บูชาก็มีรอยที่ตั้ง พระศิวลึงค์ เป็นพระประธานอยู่ในห้องกลางแห่งเดียว จึงแปลกกับปราสาทหินแห่งอื่นด้วยแบบที่สร้างสถานหนึ่ง 
            แปลกอีกสถานหนึ่งนั้น ด้วยไปเลือกที่สร้างตรงปลายจะงอยหน้าผาแห่งหนึ่งบนยอดเขาพนมดงรัก อันเป็นเทือกเขาเขื่อนแผ่นดินสูงที่ตั้งมณฑลอีสาน  ต่อกับแผ่นดินต่ำที่ตั้งประเทศกัมพูชา ที่ตรงนั้นกันดารน้ำ คงเป็นที่เปลี่ยวไม่มีบ้านเมืองผู้คน เหตุที่สร้างพระวิหาร ดูมีเหมาะอย่างเดียวแต่ที่อยู่ตรงนั้นแลดูไปทางข้างใต้   เห็นแผ่นดินต่ำไปจนตลอดสายตา เหลียวกลับมาดูทางข้างเหนือก็เห็นยอดไม้อยู่บนแผ่นดินสูงเป็นดงไปตลอดสายตา  ภาคภูมิน่าพิศวงไม่มีที่ไหนเหมือน ตรงหลังบริเวณพระวิหารออกไปเป็นหินดาด    อาจจะออกไปชะโงกดูแผ่นดินต่ำที่เชิงเขา   ถ้ายืนดูถึงใจหวิวต้องลองนั่งดู    บางคนอยากออกไปดูถึงปลายจะงอย   ลงนอนพังพาบโผล่แต่หัวออกไปดูก็มี เพราะอยู่สูงและเห็นแผ่นดินต่ำ ลึกลงไปจนต้นตาลเตี้ยนิดเดียว   เลยทำให้นึกถึงคำที่เคยเลยได้ยินเขาพูดกันมาแต่ก่อนว่าเป็นดินที่เมืองนครราชสีมา สูงกว่าแผ่นดินในกรุงเทพ ๗ ช่วงลำตาล เขาจะรู้ได้ด้วยประการใดก็ตาม   แต่ก็จริงเช่นนั้น   ตรงที่สร้างพระวิหารจะสูงกว่า๗ ลำตาลเสียอีก  ไปดูพระวิหารต้องไปดูทางเปลี่ยวไกลอยู่สักหน่อย แต่เป็นที่ราบ  ฉันลงจากรถไฟที่เมืองศรีสะเกศ ขึ้นรถยนตร์อย่างรถกะบะไปราว ๖ ชั่วโมง ทางที่ไปเป็นป่าไม้เต็งรัง ป่าต้นสน สลับกับไม้เบญจพรรณงามน่าชม ไปเข้าดงเมื่อใกล้จะถึงเชิงเขาพนมดงรัก แต่เป็นทางเดินขึ้นไปอีกสักชั่วโมงหนึ่งจึงถึงลาน  พักแรมที่เชิงยอดเขาพระวิหาร  ตอนขึ้นเขานี้  ไม่มีน้ำ คนขนต้องหอบหิ้วเอาน้ำขึ้นไปเอง แต่เชิงเขา นึกดูน่าพิศวงว่าเมื่อสร้างพระวิหารจะทำอย่างไรกัน...

ที่มา: นิทานโบราณคดีบางเรื่อง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์เล็กน้อย


คำว่า "เขมรป่าดง" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙

        สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ - ๑  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ รวมพระชันษาได้ ๘๑ ปี) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม และพระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุล "ดิศกุล"  พระองค์ท่านเล่าถึงเรื่องต่างๆที่พระองค์ท่านได้รู้ได้เห็นเมื่อครั้งไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสาน ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในนิทานเรืองแม่น้ำโขง ตอน คนต่างจำพวก  ความตอนหนึ่งว่า

...เมื่อฉันขึ้นไปมณฑลอีสานครั้งหลัง ไปพบ "เขมรป่าดง" จำพวกหนึ่ง  สอบสวนได้ความว่า  เมืองสุรินทร์  เมืองสังคะ เมืองขุขันธ์   เมืองศีร์ษะเกษ และอำเภอประโคนชัย(เดิมชื่อว่า "เมืองตลุง")  บรรดาอยู่ฝั่งใต้ต่อแดนกัมพูชา   ชาวเมืองเป็น "เขมรป่าดง" ทั้งนั้น  พูดภาษาเขมรและมีการเล่นอย่างโบราณหลายอย่าง เช่น แค่เอาใบไม้มาเป่าเป็นเพลงเข้ากับขับร้องที่เรียกกันว่า "เขมรเป่าใบไม้" เป็นต้น ฉันเคยได้ยินแต่เรียกชื่อมาแต่ก่อน  เพิ่งไปเห็นเล่นกันจริงๆครั้งนั้น....

ที่มา: นิทานโบราณคดีบางเรื่อง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำกล่าวอัญเชิญเทวดาและดวงวิญญาณโฎนตา ปี พ.ศ. 2558



กราบขอบพระคุณ : บรรพบุรุษครูบาอาจารย์เจ้าของตำราอัญเชิญดวงวิญญาณโฎนตาจากทุกตำบลในอำเภอขุขันธ์ ที่ทีมงานได้ศึกษาค้นคว้า และนำมาร้อยเรียงเป็นคำกล่าวอัญเชิญที่สมบูรณ์สำหรับงานเมืองขุขันธ์ ๒๕๖ ปี ประเพณีแซนโฎนตา พ.ศ. ๒๕๕๘
ขอบคุณครูผู้ตรวจ/ทาน : 
- ดร.ปริง  เพชรล้วน  คณะกรรมการฝ่ายพิธีกรรมงานแซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ ๒๕๕๘
ทีมงานผู้เรียบเรียง : 
- นายสุเพียร   คำวงศ์     กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
- นายเคลื่อน  บุญเครือ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต.กันทรารมย์
- นายธีรพัฒน์ ย่อทอง   ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต.กันทรารมย์

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Soundประกอบหลักในช่วงพิธีการสำคัญของงานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558

Soundประกอบหลักในช่วงพิธีการสำคัญของงานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558 เพื่อประชาสัมพันธ์งานสืบสานประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษเมืองขุขันธ์ ประจำปี 2558 

.Sound1-ต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
นั่งช้างมาแซนโฎนตา ปี 2558

คำแปลในSound1เชิญชวนชาวเมืองขุขันธ์ และผู้มาร่วมงานฯ
ร่วมต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2558
 เป็นภาษาไทย ว่า... 
“ เชิญเถิดพ่อแม่พี่น้องเอ้ยๆๆ มา ๆ ๆ ๆ ร่วมกันต้อนรับท่านพ่อเมืองศรีสะเกษด้วยกันหน่อยเร็ว พ่อเมืองศรีสะเกษของเรา...ท่านจะมาทำพิธีเส้นไหว้บรรพบุรุษในงานรำลึกพระยาไกร ภักดีประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี ชาวอำเภอขุขันธ์ พวกเรามาต้อนรับพ่อเมืองศรีสะเกษหน่อยเร็ว”


Sound2-กล่าวนำเข้าสู่พิธีเปิด

งานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558



Sound3-นำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
อัญเชิญเครื่องเซ่นไหว้โฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558



ขอบคุณเจ้าของเสียงพากย์เชิญชวนชาวเมืองขุขันธ์ และผู้มาร่วมงานฯร่วมต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2558
1. เสียงภาษาถิ่นเขมร 
เจ้าของเสียงโดย นายสำราญ กอย่ากาง 
ผู้ใหญ่บ้านหนองก๊อก บ้านเลขที่ 63  หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยสำราญ

2. เสียงภาษาถิ่นกวย(กูย หรือบางท่านเรียก ส่วย)
เจ้าของเสียงโดย นายเฉลิมชัย บุตะเคียน 
อดีต ผอ.โรงเรียนบ้านมะขาม 
บ้านเลขที่ 99 บ้านปรือคันตะวันตก หมู่ที่ 7 ตำบลปรือใหญ่ 

3. เสียงภาษาถิ่นลาว
เจ้าของ เสียงโดย พันจ่าเอกเบ็ญจมิน ทรงคะรักษ์ 
อดีตผู้ช่วยท้องถิ่นอำเภอขุขันธ์

4. เสียงภาษาถิ่นเยอ(กวยเยอ)
เจ้าของ เสียงโดย นายสำราญ ธงชัย 
จพง.พัสดุ อบต.ปรือใหญ่
*******************************************
พากย์เสียงบรรยาย นายเรวัตร อสิพงษ์
ครูชำนาญการ โรงเรียนขุขันธ์
Sound Mixed By นายสมโภชน์ สุวรรณ์ 
ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ 
Production Control By​ นายสุเพียร คำวงศ์ 
กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในงานแซนโฎนตา /กรรมการฯสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รวมป้ายรณรงค์งานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ปลอดเหล้า ปี 2558


             พี่น้องประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ที่รักทุกท่าน แซนโฎนตาปีนี้ ขอเชิญท่านร่วมค้นหารากเหง้าของประเพณีแซนโฎนตา เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่จะสืบทอดส่งต่อลูกหลานอย่างมีคุณค่า ความจริงทางประวัติศาสตร์แห่งประเพณีแซนโฎนตาที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลานทางพระพุทธศาสนาของดินแดนอีสานใต้เรา บอกว่า



            การทำบุญอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้ไปถึงบรรพบุรุษ หรือโฎนตาที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อจะให้ท่านได้รับจริงๆนั้น ลูกหลานทุกคน จะต้องตั้งใจปฎิบัติตนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงามเป็นพื้นฐาน อย่างน้อยก็ให้รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ อย่างสมบูรณ์ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตา แล้วตั้งใจกรวดน้ำเพื่ออุทิศผลบุญไปถึง โฎนตา หรือบรรพบุรุษ และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำมะพร้าวซึ่งถือเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ เมื่อหยาดอุทิศให้เขาเหล่านั้นจะได้รับ และได้พ้นจากทุคติภูมิสู่สุคติภพ และโฎนตาเหล่านั้นก็จะอวยพรสรรพสาธุการ ให้แก่ลูกหลานที่ตั้งใจทำบุญอุทิศ ให้ได้รับความสุขความเจริญ ไม่เจ็บไม่จน อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น และมีโชคมีลาภที่ดีงามตลอดไป

       
         วันนี้ วันดี ขอเชิญทุกท่านมาร่วมสืบสานประเพณีแซนโฎนตาอันงดงาม ด้วย
         - คนสามวัยใส่ใจแซนโฏนตา สืบทอดประเพณี
             อย่างรู้คุณค่า และมีสติ

         - ร่วมรณรงค์ ลด ละ เลิกการดื่มเหล้า และ
             แอลกอฮอล์ทุกชนิดเพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่า
        

          นี่คือส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเพื่อสร้างเมืองขุขันธ์ให้เป็นเมือง
ที่น่าอยู่ น่าอาศัย เพราะสังคมที่ดี สามารถออกแบบ และสร้างขึ้นได้


          ด้วยความปรารถนาดีจาก คณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  กศน.อำเภอขุขันธ์  เครือข่ายประชาสังคมขุขันธ์ สถาบันวิจัยชาวนา (สวช.) โรงพยาบาลขุขันธ์ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย