สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
พระองค์ท่านเล่าถึงเรื่องต่างๆที่พระองค์ท่านได้รู้ได้เห็นเมื่อครั้งไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสาน ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในนิทานเรืองแม่น้ำโขง ตอน ของโบราณ ความตอนหนึ่งว่า ...พระวิหาร อยู่ในเขตเมืองขุขันธ์ สร้างเป็นเทวสถานตามลัทธิศิวเวท ปราสาทหินพระวิหารแปลกกับปราสาทหินแห่งอื่นๆ หมดทั้งในแดนเขมรและในแดนไทยไม่มีที่ไหนเหมือน ที่แปลกนั้นเป็น ๒ สถานคือสถานหนึ่งทำรูปทรงเหมือนยังเป็นพลับพลา ติดต่อกันไปหลายหลัง หลังคามีช่อฟ้าใบระกาตามมุขคล้ายกับปั้นลม เรือนฝากระดาน ไม่มีปรางค์ ไม่มีพระระเบียง แลดูเหมือนเป็นราชมณเฑียรที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกว่าเป็นเทวสถาน ที่บูชาก็มีรอยที่ตั้ง พระศิวลึงค์ เป็นพระประธานอยู่ในห้องกลางแห่งเดียว จึงแปลกกับปราสาทหินแห่งอื่นด้วยแบบที่สร้างสถานหนึ่ง
แปลกอีกสถานหนึ่งนั้น ด้วยไปเลือกที่สร้างตรงปลายจะงอยหน้าผาแห่งหนึ่งบนยอดเขาพนมดงรัก อันเป็นเทือกเขาเขื่อนแผ่นดินสูงที่ตั้งมณฑลอีสาน ต่อกับแผ่นดินต่ำที่ตั้งประเทศกัมพูชา ที่ตรงนั้นกันดารน้ำ คงเป็นที่เปลี่ยวไม่มีบ้านเมืองผู้คน เหตุที่สร้างพระวิหาร ดูมีเหมาะอย่างเดียวแต่ที่อยู่ตรงนั้นแลดูไปทางข้างใต้ เห็นแผ่นดินต่ำไปจนตลอดสายตา เหลียวกลับมาดูทางข้างเหนือก็เห็นยอดไม้อยู่บนแผ่นดินสูงเป็นดงไปตลอดสายตา ภาคภูมิน่าพิศวงไม่มีที่ไหนเหมือน ตรงหลังบริเวณพระวิหารออกไปเป็นหินดาด อาจจะออกไปชะโงกดูแผ่นดินต่ำที่เชิงเขา ถ้ายืนดูถึงใจหวิวต้องลองนั่งดู บางคนอยากออกไปดูถึงปลายจะงอย ลงนอนพังพาบโผล่แต่หัวออกไปดูก็มี เพราะอยู่สูงและเห็นแผ่นดินต่ำ ลึกลงไปจนต้นตาลเตี้ยนิดเดียว เลยทำให้นึกถึงคำที่เคยเลยได้ยินเขาพูดกันมาแต่ก่อนว่าเป็นดินที่เมืองนครราชสีมา สูงกว่าแผ่นดินในกรุงเทพ ๗ ช่วงลำตาล เขาจะรู้ได้ด้วยประการใดก็ตาม แต่ก็จริงเช่นนั้น ตรงที่สร้างพระวิหารจะสูงกว่า๗ ลำตาลเสียอีก ไปดูพระวิหารต้องไปดูทางเปลี่ยวไกลอยู่สักหน่อย แต่เป็นที่ราบ ฉันลงจากรถไฟที่เมืองศรีสะเกศ ขึ้นรถยนตร์อย่างรถกะบะไปราว ๖ ชั่วโมง ทางที่ไปเป็นป่าไม้เต็งรัง ป่าต้นสน สลับกับไม้เบญจพรรณงามน่าชม ไปเข้าดงเมื่อใกล้จะถึงเชิงเขาพนมดงรัก แต่เป็นทางเดินขึ้นไปอีกสักชั่วโมงหนึ่งจึงถึงลาน พักแรมที่เชิงยอดเขาพระวิหาร ตอนขึ้นเขานี้ ไม่มีน้ำ คนขนต้องหอบหิ้วเอาน้ำขึ้นไปเอง แต่เชิงเขา นึกดูน่าพิศวงว่าเมื่อสร้างพระวิหารจะทำอย่างไรกัน...
ที่มา: นิทานโบราณคดีบางเรื่อง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์เล็กน้อย
แปลกอีกสถานหนึ่งนั้น ด้วยไปเลือกที่สร้างตรงปลายจะงอยหน้าผาแห่งหนึ่งบนยอดเขาพนมดงรัก อันเป็นเทือกเขาเขื่อนแผ่นดินสูงที่ตั้งมณฑลอีสาน ต่อกับแผ่นดินต่ำที่ตั้งประเทศกัมพูชา ที่ตรงนั้นกันดารน้ำ คงเป็นที่เปลี่ยวไม่มีบ้านเมืองผู้คน เหตุที่สร้างพระวิหาร ดูมีเหมาะอย่างเดียวแต่ที่อยู่ตรงนั้นแลดูไปทางข้างใต้ เห็นแผ่นดินต่ำไปจนตลอดสายตา เหลียวกลับมาดูทางข้างเหนือก็เห็นยอดไม้อยู่บนแผ่นดินสูงเป็นดงไปตลอดสายตา ภาคภูมิน่าพิศวงไม่มีที่ไหนเหมือน ตรงหลังบริเวณพระวิหารออกไปเป็นหินดาด อาจจะออกไปชะโงกดูแผ่นดินต่ำที่เชิงเขา ถ้ายืนดูถึงใจหวิวต้องลองนั่งดู บางคนอยากออกไปดูถึงปลายจะงอย ลงนอนพังพาบโผล่แต่หัวออกไปดูก็มี เพราะอยู่สูงและเห็นแผ่นดินต่ำ ลึกลงไปจนต้นตาลเตี้ยนิดเดียว เลยทำให้นึกถึงคำที่เคยเลยได้ยินเขาพูดกันมาแต่ก่อนว่าเป็นดินที่เมืองนครราชสีมา สูงกว่าแผ่นดินในกรุงเทพ ๗ ช่วงลำตาล เขาจะรู้ได้ด้วยประการใดก็ตาม แต่ก็จริงเช่นนั้น ตรงที่สร้างพระวิหารจะสูงกว่า๗ ลำตาลเสียอีก ไปดูพระวิหารต้องไปดูทางเปลี่ยวไกลอยู่สักหน่อย แต่เป็นที่ราบ ฉันลงจากรถไฟที่เมืองศรีสะเกศ ขึ้นรถยนตร์อย่างรถกะบะไปราว ๖ ชั่วโมง ทางที่ไปเป็นป่าไม้เต็งรัง ป่าต้นสน สลับกับไม้เบญจพรรณงามน่าชม ไปเข้าดงเมื่อใกล้จะถึงเชิงเขาพนมดงรัก แต่เป็นทางเดินขึ้นไปอีกสักชั่วโมงหนึ่งจึงถึงลาน พักแรมที่เชิงยอดเขาพระวิหาร ตอนขึ้นเขานี้ ไม่มีน้ำ คนขนต้องหอบหิ้วเอาน้ำขึ้นไปเอง แต่เชิงเขา นึกดูน่าพิศวงว่าเมื่อสร้างพระวิหารจะทำอย่างไรกัน...
ที่มา: นิทานโบราณคดีบางเรื่อง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์เล็กน้อย