-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำว่า "เขมรป่าดง" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙

        สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ - ๑  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ รวมพระชันษาได้ ๘๑ ปี) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม และพระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุล "ดิศกุล"  พระองค์ท่านเล่าถึงเรื่องต่างๆที่พระองค์ท่านได้รู้ได้เห็นเมื่อครั้งไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสาน ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในนิทานเรืองแม่น้ำโขง ตอน คนต่างจำพวก  ความตอนหนึ่งว่า

...เมื่อฉันขึ้นไปมณฑลอีสานครั้งหลัง ไปพบ "เขมรป่าดง" จำพวกหนึ่ง  สอบสวนได้ความว่า  เมืองสุรินทร์  เมืองสังคะ เมืองขุขันธ์   เมืองศีร์ษะเกษ และอำเภอประโคนชัย(เดิมชื่อว่า "เมืองตลุง")  บรรดาอยู่ฝั่งใต้ต่อแดนกัมพูชา   ชาวเมืองเป็น "เขมรป่าดง" ทั้งนั้น  พูดภาษาเขมรและมีการเล่นอย่างโบราณหลายอย่าง เช่น แค่เอาใบไม้มาเป่าเป็นเพลงเข้ากับขับร้องที่เรียกกันว่า "เขมรเป่าใบไม้" เป็นต้น ฉันเคยได้ยินแต่เรียกชื่อมาแต่ก่อน  เพิ่งไปเห็นเล่นกันจริงๆครั้งนั้น....

ที่มา: นิทานโบราณคดีบางเรื่อง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย