-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566

คำว่า “โฎนตา” มีที่มาจากไหนหนอ ?

คําว่า “โฎนตา” มีที่มาจากไหนหนอ ?
            ทราบมาว่าเมื่อหลายปีก่อนหลายท่านเคยอยากทราบที่มาของคำนี้ และหลายท่านก็เคยถกเถียงกันอยู่   แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว คำนี้มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์​ และภาษาเขมรที่กัมพูชา คือคำว่า​​
อ่านว่า /do:n-ta: โดน-ตา / เมื่อถอดคำเทียบกับภาษาไทย  ได้ดังนี้  

ก็คือ พยัญชนะ ฎ ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา เป็นพยัญชนะอโฆษะ(เสียงเบา ไม่ก้อง) เมื่อเป็นพยัญชนะ ต้นออกเสียง /d
ɑː  ดอ / นั่นเอง
ก็คือ สระ -ู ( อู )  ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า ʔou  โอ / เมื่อถูกนำหน้าด้วยพยัญชนะประเภทอโฆษะ
ก็คือ พยัญชนะ น  ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /nua นัว /
ก็คือ พยัญชนะ ต ใน ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /tɑː ตอ / 

ก็คือ สระ -า (อา) ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ ที่พบใช้ในใบลานในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และในภาษาเขมรที่กัมพูชา ออกเสียงว่า /ʔ อา /
        จากที่ได้กล่าวอธิบายมาแล้วข้างต้น เมื่อถอดคำเพื่อเขียนเป็นภาษาไทยให้ตรงกับรากศัพท์เดิมที่ใกล้เคียงที่สุด ก็จะได้คำว่า “โฎนตา ” นั่นเอง

คำว่า “โฎนตา” มีความหมายว่าอย่างไร ?

อ่านว่า  /do:n-ta: โดน-ตา / ในภาษาขอมโคกขัณฑ์ และในพจนานุกรมภาษาเขมรของสมเด็จพระสังฆราช ชวน ญาต พ.ศ. 2512 (ค.ศ.1967) หน้าที่ 309 ส่วนด้านขวาบรรทัดที่ 4 เขียนไว้ว่า
យាយ​និង​តា ។ ពួក​បុព្វបុរស ក៏​ហៅ​ថា ដូន​តា បាន​ដែរ : សែន​ដូន​តា, សំពះ​ដូន​តា (ម. ព. បុព្វបុរស ផង) ។ រ. ស. ជា ព្រះ​បិតរ (បិ-ដ) ។ แปลอธิบายความได้ว่า คำว่า โฎนตา เป็นคำนาม แปลว่า ยายกับตา หรือ พวกบรรพบุรุษ ก็เรียกว่า โฎนตา ได้เช่นกัน เช่น คำว่า​
อ่านว่า / แซน-โดน-ตา /​
แปลว่า เซ่นไหว้บรรพบุรุษ
อ่านว่า/ ซ็อมเปียะฮฺ-โดน-ตา /
แปลว่า ไหว้บรรพบุรุษ หรือไหว้ปู่ย่าตายาย นั่นเอง
อ่านว่า / นิว-เปล-บน-ปรฺเป็ยนี-แซน-โดน-ตา-เก-เทวอ-บน-อุตึฮฺ-พ็อล-โอย-โดน-ตา / แปลว่า ในช่วงเทศกาลบุญประเพณีแซนโฎนตาสารทแห่งความกตัญญูเดือนสิบ จันทรคติ เขามักนิยมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ โฎนตา นั่นเอง
**************************************
แล้วใครผิดใครถูก ระหว่างคนที่ใช้คำว่า "โดนตา" กับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา"
**************************************
   >>ขอตอบว่า ตอบว่า ถูกทั้งคู่ ครับ  แต่ว่า...
        คนที่ใช้คำว่า "โดนตา" ก็คือเขาเขียนตามคำที่ได้ยินจากคนท้องถิ่นเขมรพูด นั่นคือ สัมผัสได้แค่เพียงหูได้ยินเสียงว่า /โดน-ตา/ ก็เลยเขียนตามที่ได้ยินนั้น  แต่ถ้าจะบัญญัติขึ้นมาเป็นศัพท์ในพจนานุกรมไทย...ก็ต้องเขียนให้ครบเพราะงานนี้ไม่ได้โดนแค่ตา แต่ยังโดนถึงยายด้วย...

        สำหรับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา" ก็คือผู้รู้ถึงรากเหง้าที่มาของคำศัพท์ หรือกล่าวว่า น่าจะรู้ลึกกว่า นั่นเอง ครับ 

        และขอฝากว่า...ถ้าท่านคิดว่า แซนโฎนตา เป็นประเพณีเขมร หรือของชนเผ่าเขมรอีสานใต้ของเรา ก็ต้องใช้  ฎ   คำว่า  โฎนตา ในภาษาเขมรใช้ตัว  ฎ  เขียน ไม่ได้ใช้ตัว  ด 

        เพราะคำว่า “โฎนตา แปลว่า ปู่และย่า หรือ ตาและยาย  และยังหมายถึง  บรรพบุรุษ อีกด้วย

        ดังนั้น ประเพณีแซนโฎนตา   คือประเพณีที่มีการทำบุญอุทิศและเซ่นไหว้ให้ปู่ย่า ตายาย  และบรรพบุรุษ  ผู้ล่วงลับไปแล้ว (แม้แต่คำว่า เซ่น ก็เป็นคำภาษาเขมร คือมาจากคำว่า แซน  นั่นเอง)  คำศัพท์ในภาษาไทย มิได้มีเฉพาะเพียงคำไทยชาติเดียว  มีคำของชาติอื่นปะปนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะภาษาเขมร  ฉะนั้น  "แซนโฎนตาเขียนตามภาษาเดิมถูกต้องแล้ว  จะเขียน แซนโดนตา  ให้ตาตัวเองแตกทำไม   มันมาโดนตา ก็ตาแตกนะซิ  เฮ่อ  น่าสงสาร...555... 

ตัวอย่างหนังสือที่มีคำอธิบายคำว่า แซนโฎนตา พบจำหน่ายในร้านหนังสือเขมร
  

หมายเหตุ  เอกสารที่มีข้อความภาษาเขมรที่นำเอามาขึ้นในเวปนี้ เพราะต้องการมาประกอบหลักฐานที่มาของคำว่า "โฎนตา" เท่านั้นและมีความเห็นว่า บนโลกใบนี้ สำหรับคำว่า วัฒนธรรมประเพณี คงไม่มีพรมแดนขวางกั้นเหมือนอาณาเขตประเทศ นะครับ

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

"พระแก้วเนรมิต" องค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์

  "พระแก้วเนรมิต" องค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดลำภู เรียกเป็นภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์ว่า ព្រះតាលំពូ /เปรียะฮฺ-ตา-ลมปู/ หรือ ព្រះដំរីក្រាប /เปรียะฮฺ-ด็อม-เร็ย-กราบ/ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จวบจนถึงปัจจุบัน องค์พระสร้างมาจาก  สำริด หรือทองสำริด (bronze) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (มาระวิชัย) หรือ ชนะมาร หรือ มารสะดุ้ง ภาษาขอมโบราณเมืองขุขันธ์ เรียกว่า ព្រះពុទ្អរូបផ្ចាញ់មារ เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ​มีประวัติเล่ามาว่า
  เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้ทองด้วง (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาจักรี และต่อมาเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งรัตนโกสินทร์) และบุญมา (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาสุรสีห์ และต่อมา ร.๑ โปรดให้เสด็จเถลิงพระราช มนเฑียรที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ยกทัพไปปราบศึกกบฎที่เวียงจันทร์ โดยทรงมีบัญชาให้กองทัพจากเมืองขุขันธ์ร่วมทำศึกในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนำทัพโดยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตาสุ หรือตากะจะ) และน้องชายคือ หลวงปราบ(เชียงขันธ์)


            เมื่อชนะศึกได้ยกทัพกลับ กองทัพส่วนกลางได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับสู่กรุงธนบุรี ส่วนกองทัพเมืองขุขันธ์ ได้อัญเชิญพระแก้วเนรมิต และพญาครุฑมาประดิษฐานไว้ที่เมืองขุขันธ์
   
คาถาบูชาพระแก้วเนรมิต
กล่าวนะโม 3 จบ แล้วต่อด้วยพระคาถาว่า

อิมัสมิง ลำภูวาเส  ปติฏฐิตัง
สิริสะเกสา  ฐิรัฏเฐ มหาชเนหิปูชิตัง
รัตนนิมิตนามัง  พุทธรูปัง ครุฑพาหนะนัง
อหังวันทามิ สัพพะทา
นะมะการานุภาเวนะ
สัพพะโสตถี ภวันตุเม ฯ
 
        
           ปัจจุบัน องค์พระแก้วเนรมิต ประดิษฐานไว้ ณ วัดลำภู(รัมพนิวาส) หมู่ที่ ๔ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (วัดลำภูสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๓ ถึงปัจุบัน พ.ศ. ๒๕๖๓ มีอายุ ๔๓๓ ปี)
  พระแก้วเนรมิต เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์และแสดงอภินิหารมากมาย  นอกจาก พระแก้วเนรมิตแล้วยังมีสิ่งศักดิสิทธิ์อยู่คู่องค์พระแก้วเนรมิต คือ องค์พญาครุฑ ซึ่งองค์พระศักดิ์สิทธิ์สร้างมาจากที่ใด และใครเป็นผู้สร้าง ยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่า อัญเชิญมาจากเมืองลาว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช  พร้อมกันกับ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) และองค์พระบาง     ซึ่งได้มาหยุดพำนักประดิษฐานที่เมืองขุขันธ์  ตามตำนานกล่าวว่า ได้มีการสมโภชน์องค์พระ ณ เมืองขุขันธ์  ๗ วัน ๗ คืน
            สำหรับพุทธานุภาพขององค์พระแก้วเนรมิต และพระครุฑ ที่เลื่องลือมานาน ก็คือ การดื่มน้ำสาบานแสดงความบริสุทธิ์  ผู้ที่ไม่สุจริตกระทำผิดจริงจะมีอันเป็นไปทุกราย บางรายถึงขั้นได้ว่ายบกก่อนเข้าวัด จนหน้าอกถลอกปอกเปิก  และบางรายรู้ด้วยตนเองว่าเป็นฝ่ายผิด ก็ยอมรับผิด และไม่กล้าที่จะดื่มน้ำสาบาน
           ความศรัทธาและความนิยมในองค์พระ เป็นที่นิยมของข้าราชการ  ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง พ่อค้า  คหบดี และประชาชนในจังหวัดและประเทศใกล้ไกลที่ได้ยินได้ทราบกิตติศัพท์ ตลอดจนประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  เมื่อได้มากราบสักการะบูชาแล้วจักมีชัยชนะ ประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองตลอดไป


            นอกจากนี้ ที่บริเวณรอบวัดยังมีต้นมะขามตาไกรที่พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ซึ่งชื่อเดิมของท่านคือชื่อว่า ตาสุ  แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า តាកញ្ចា័ស /ตากัญจะฮฺ /เนื่องจากท่านเป็นนักรบรูปร่างสูงใหญ่ ) ท่านเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นผู้ปลูก  และด้านข้างต้นมะขามตาไกร ยังมีศาลปู่ตาพระยาไกรที่ชาวบ้านปลูกสร้างเพื่อบูชาต่อดวงวิญญาณของท่านมาถึงทุกวันนี้  เชื่อว่าเป็นต้นมะขามศักดิ์สิทธิ์จะดลบันดาลผู้มากราบไหว้ขอพร ประสบแต่ความสุขความเจริญ ชาวบ้านเรียกว่า ដើមអម្ពឹលតាក្រៃ /เดิม*-อ็อม-ปึล-ตา-กรัย/  และบริเวณด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถวัดลำภู ยังมีเสาหลักเมืองเก่าหลักแรกของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่สมัยขอมโบราณ ทำมาจากไม้กันเกรา ถือเป็นไม้ที่มีความศักดิสิทธิ์ ซึ่งในสมัยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตาสุ หรือตากะจะ) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี​ ប្រក់ពល /ปร็อก-ป็วล*/ โดยเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ของวัดลำภู คือราชครูบัว เป็นพระอาจารย์ของเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกนั่นเอง ซึ่งพิธีปร็อกป็วล นี้ เป็นพิธีเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ไพร่พลให้เกิดความฮึกเหิม พร้อมที่จะออกไปร่วมรบและไปอัญเชิญองค์พระแก้วมรกต พระบางและองค์พระแก้วเนรมิตมาจากเมืองลาว และนอกจากนี้ยังมีองค์พระธาตุเจดีย์เก่าแก่ จำนวน ๒ องค์ (ซึ่งสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๑๑๒ - ๒๑๒๗ รัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช กรุงศรีอยุธยา เสียแก่ พระเจ้าบุเรงนอง ราชวงศ์ตองอู แห่งกรุงหงสาวดี เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี  ดังนั้น  เมืองขุขันธ์ ในขณะนั้นจึงมีสถานะเป็นรัฐอิสระ เป็นระยะเวลา ๑๕ ปีด้วย) ที่เป็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่ยุคขอมโบราณมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจได้แวะเวียนมาสักการะ และเยี่ยมชมอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566

ข้าหลวงประจำเมืองจากส่วนกลางมากำกับดูแลเมืองขุขันธ์

           ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเมืองขุขันธ์ในอดีต  เป็นเมืองใหญ่และมีความสำคัญในภาคอีสานที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก  อีกทั้งยังมีเมืองที่ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์อีกหลายเมือง

           ต่อมาในปี พ.ศ. 2428  -  ปี พ.ศ. 2450 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นยุคสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  อันมีผลต่อความมั่นคงของประเทศ  สมัยนั้น การจัดการปกครองของประเทศไทย  ตามหัวเมืองต่าง ๆ  จะมีตำแหน่ง   "เจ้าเมือง"  ปกครองหรือผู้ว่าราชการเมืองปกครองแล้วทางราชการส่วนกลางยังไม่ไว้ใจในความมั่นคง  รัชกาลที่ 5 จึงทรงโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองใหญ่และมีความสำคัญในแต่ละภูมิภาค จากส่วนกลางมากำกับดูแลเมืองสำคัญและเมืองบริวาร อีกชั้นหนึ่งด้วย  สำหรับเมืองขุขันธ์ สมัยนั้นมีข้าหลวงประจำบริเวณขุขันธ์ (มิใช่ ตำแหน่งเจ้าเมือง หรือตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง) คอยดูแลกำกับการปกครองของเจ้าเมืองขุขันธ์ และเมืองบริวาร รายนามตามลำดับดังนี้ 
ลำดับที่นาม - บรรดาศักดิ์ -ตำแหน่งข้าหลวง
กำกับและตรวจราชการเมืองขุขันธ์
พ.ศ.
1หลวงเสนีย์พิทักษ์ - หลวงนเรน2428-2430
2หลวงเสนีย์พิทักษ์2430-2431
3หลวงครบุรี2431-2433
4หลวงศรีพิทักษ์ ( หว่าง )2433-2435
5หลวงเทพนรินทร์ ( วัน )2435-2436
6พระยาบำรุงบุระประจันต์ จางวาง ( จันดี หรือ จันดี กาญจนเสริม )2436-2450
หมายเหตุ  
-  ปลายปี พ.ศ.  2450  ย้ายเฉพาะศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์ ไปตั้งที่อำเภอกลางศีร์ษะเกษ  แต่ใช้ชื่อเดิมคือ  ศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์
- ยกเลิกระบบการปกครองแบบบริเวณ  ทำให้ตำแหน่งข้าหลวงกำกับบริเวณสิ้นสุดในปี  พ.ศ.  2450 พระยาบำรุงบุรประจันต์จางวาง ( จันดี กาญจนเสริม )ได้รับโปรดเกล้า ฯ  ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์คนที่ 2

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย