เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้ทองด้วง (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาจักรี และต่อมาเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งรัตนโกสินทร์) และบุญมา (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาสุรสีห์ และต่อมา ร.๑ โปรดให้เสด็จเถลิงพระราช มนเฑียรที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ยกทัพไปปราบศึกกบฎที่เวียงจันทร์ โดยทรงมีบัญชาให้กองทัพจากเมืองขุขันธ์ร่วมทำศึกในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนำทัพโดยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตาสุ หรือตากะจะ) และน้องชายคือ หลวงปราบ(เชียงขันธ์)
เมื่อชนะศึกได้ยกทัพกลับ กองทัพส่วนกลางได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับสู่กรุงธนบุรี ส่วนกองทัพเมืองขุขันธ์ ได้อัญเชิญพระแก้วเนรมิต และพญาครุฑมาประดิษฐานไว้ที่เมืองขุขันธ์
ปัจจุบัน องค์พระแก้วเนรมิต ประดิษฐานไว้ ณ วัดลำภู(รัมพนิวาส) หมู่ที่ ๔ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (วัดลำภูสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๓ ถึงปัจุบัน พ.ศ. ๒๕๖๓ มีอายุ ๔๓๓ ปี)
พระแก้วเนรมิต เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์และแสดงอภินิหารมากมาย นอกจาก พระแก้วเนรมิตแล้วยังมีสิ่งศักดิสิทธิ์อยู่คู่องค์พระแก้วเนรมิต คือ องค์พญาครุฑ ซึ่งองค์พระศักดิ์สิทธิ์สร้างมาจากที่ใด และใครเป็นผู้สร้าง ยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่า อัญเชิญมาจากเมืองลาว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมกันกับ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) และองค์พระบาง ซึ่งได้มาหยุดพำนักประดิษฐานที่เมืองขุขันธ์ ตามตำนานกล่าวว่า ได้มีการสมโภชน์องค์พระ ณ เมืองขุขันธ์ ๗ วัน ๗ คืน
พระแก้วเนรมิต เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์และแสดงอภินิหารมากมาย นอกจาก พระแก้วเนรมิตแล้วยังมีสิ่งศักดิสิทธิ์อยู่คู่องค์พระแก้วเนรมิต คือ องค์พญาครุฑ ซึ่งองค์พระศักดิ์สิทธิ์สร้างมาจากที่ใด และใครเป็นผู้สร้าง ยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่า อัญเชิญมาจากเมืองลาว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมกันกับ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) และองค์พระบาง ซึ่งได้มาหยุดพำนักประดิษฐานที่เมืองขุขันธ์ ตามตำนานกล่าวว่า ได้มีการสมโภชน์องค์พระ ณ เมืองขุขันธ์ ๗ วัน ๗ คืน
สำหรับพุทธานุภาพขององค์พระแก้วเนรมิต และพระครุฑ ที่เลื่องลือมานาน ก็คือ การดื่มน้ำสาบานแสดงความบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่สุจริตกระทำผิดจริงจะมีอันเป็นไปทุกราย บางรายถึงขั้นได้ว่ายบกก่อนเข้าวัด จนหน้าอกถลอกปอกเปิก และบางรายรู้ด้วยตนเองว่าเป็นฝ่ายผิด ก็ยอมรับผิด และไม่กล้าที่จะดื่มน้ำสาบาน
ความศรัทธาและความนิยมในองค์พระ เป็นที่นิยมของข้าราชการ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง พ่อค้า คหบดี และประชาชนในจังหวัดและประเทศใกล้ไกลที่ได้ยินได้ทราบกิตติศัพท์ ตลอดจนประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อได้มากราบสักการะบูชาแล้วจักมีชัยชนะ ประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
นอกจากนี้ ที่บริเวณรอบวัดยังมีต้นมะขามตาไกรที่พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ซึ่งชื่อเดิมของท่านคือชื่อว่า ตาสุ แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า តាកញ្ចា័ស /ตากัญจะฮฺ /เนื่องจากท่านเป็นนักรบรูปร่างสูงใหญ่ ) ท่านเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นผู้ปลูก และด้านข้างต้นมะขามตาไกร ยังมีศาลปู่ตาพระยาไกรที่ชาวบ้านปลูกสร้างเพื่อบูชาต่อดวงวิญญาณของท่านมาถึงทุกวันนี้ เชื่อว่าเป็นต้นมะขามศักดิ์สิทธิ์จะดลบันดาลผู้มากราบไหว้ขอพร ประสบแต่ความสุขความเจริญ ชาวบ้านเรียกว่า ដើមអម្ពឹលតាក្រៃ /เดิม*-อ็อม-ปึล-ตา-กรัย/ และบริเวณด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถวัดลำภู ยังมีเสาหลักเมืองเก่าหลักแรกของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่สมัยขอมโบราณ ทำมาจากไม้กันเกรา ถือเป็นไม้ที่มีความศักดิสิทธิ์ ซึ่งในสมัยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตาสุ หรือตากะจะ) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี ប្រក់ពល /ปร็อก-ป็วล*/ โดยเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ของวัดลำภู คือราชครูบัว เป็นพระอาจารย์ของเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกนั่นเอง ซึ่งพิธีปร็อกป็วล นี้ เป็นพิธีเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ไพร่พลให้เกิดความฮึกเหิม พร้อมที่จะออกไปร่วมรบและไปอัญเชิญองค์พระแก้วมรกต พระบางและองค์พระแก้วเนรมิตมาจากเมืองลาว และนอกจากนี้ยังมีองค์พระธาตุเจดีย์เก่าแก่ จำนวน ๒ องค์ (ซึ่งสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๑๑๒ - ๒๑๒๗ รัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช กรุงศรีอยุธยา เสียแก่ พระเจ้าบุเรงนอง ราชวงศ์ตองอู แห่งกรุงหงสาวดี เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี ดังนั้น เมืองขุขันธ์ ในขณะนั้นจึงมีสถานะเป็นรัฐอิสระ เป็นระยะเวลา ๑๕ ปีด้วย) ที่เป็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่ยุคขอมโบราณมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจได้แวะเวียนมาสักการะ และเยี่ยมชมอีกด้วย
นอกจากนี้ ที่บริเวณรอบวัดยังมีต้นมะขามตาไกรที่พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ซึ่งชื่อเดิมของท่านคือชื่อว่า ตาสุ แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า តាកញ្ចា័ស /ตากัญจะฮฺ /เนื่องจากท่านเป็นนักรบรูปร่างสูงใหญ่ ) ท่านเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นผู้ปลูก และด้านข้างต้นมะขามตาไกร ยังมีศาลปู่ตาพระยาไกรที่ชาวบ้านปลูกสร้างเพื่อบูชาต่อดวงวิญญาณของท่านมาถึงทุกวันนี้ เชื่อว่าเป็นต้นมะขามศักดิ์สิทธิ์จะดลบันดาลผู้มากราบไหว้ขอพร ประสบแต่ความสุขความเจริญ ชาวบ้านเรียกว่า ដើមអម្ពឹលតាក្រៃ /เดิม*-อ็อม-ปึล-ตา-กรัย/ และบริเวณด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถวัดลำภู ยังมีเสาหลักเมืองเก่าหลักแรกของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่สมัยขอมโบราณ ทำมาจากไม้กันเกรา ถือเป็นไม้ที่มีความศักดิสิทธิ์ ซึ่งในสมัยพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตาสุ หรือตากะจะ) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี ប្រក់ពល /ปร็อก-ป็วล*/ โดยเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ของวัดลำภู คือราชครูบัว เป็นพระอาจารย์ของเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกนั่นเอง ซึ่งพิธีปร็อกป็วล นี้ เป็นพิธีเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ไพร่พลให้เกิดความฮึกเหิม พร้อมที่จะออกไปร่วมรบและไปอัญเชิญองค์พระแก้วมรกต พระบางและองค์พระแก้วเนรมิตมาจากเมืองลาว และนอกจากนี้ยังมีองค์พระธาตุเจดีย์เก่าแก่ จำนวน ๒ องค์ (ซึ่งสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๑๑๒ - ๒๑๒๗ รัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช กรุงศรีอยุธยา เสียแก่ พระเจ้าบุเรงนอง ราชวงศ์ตองอู แห่งกรุงหงสาวดี เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี ดังนั้น เมืองขุขันธ์ ในขณะนั้นจึงมีสถานะเป็นรัฐอิสระ เป็นระยะเวลา ๑๕ ปีด้วย) ที่เป็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองขุขันธ์ในอดีตตั้งแต่ยุคขอมโบราณมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจได้แวะเวียนมาสักการะ และเยี่ยมชมอีกด้วย