ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเมืองขุขันธ์ในอดีต เป็นเมืองใหญ่และมีความสำคัญในภาคอีสานที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก อีกทั้งยังมีเมืองที่ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์อีกหลายเมือง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 - ปี พ.ศ. 2450 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นยุคสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ อันมีผลต่อความมั่นคงของประเทศ สมัยนั้น การจัดการปกครองของประเทศไทย ตามหัวเมืองต่าง ๆ จะมีตำแหน่ง "เจ้าเมือง" ปกครองหรือผู้ว่าราชการเมืองปกครองแล้วทางราชการส่วนกลางยังไม่ไว้ใจในความมั่นคง รัชกาลที่ 5 จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองใหญ่และมีความสำคัญในแต่ละภูมิภาค จากส่วนกลางมากำกับดูแลเมืองสำคัญและเมืองบริวาร อีกชั้นหนึ่งด้วย สำหรับเมืองขุขันธ์ สมัยนั้นมีข้าหลวงประจำบริเวณขุขันธ์ (มิใช่ ตำแหน่งเจ้าเมือง หรือตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง) คอยดูแลกำกับการปกครองของเจ้าเมืองขุขันธ์ และเมืองบริวาร รายนามตามลำดับดังนี้ ลำดับที่ | นาม - บรรดาศักดิ์ -ตำแหน่งข้าหลวง กำกับและตรวจราชการเมืองขุขันธ์ | พ.ศ. |
1 | หลวงเสนีย์พิทักษ์ - หลวงนเรน | 2428-2430 |
2 | หลวงเสนีย์พิทักษ์ | 2430-2431 |
3 | หลวงครบุรี | 2431-2433 |
4 | หลวงศรีพิทักษ์ ( หว่าง ) | 2433-2435 |
5 | หลวงเทพนรินทร์ ( วัน ) | 2435-2436 |
6 | พระยาบำรุงบุระประจันต์ จางวาง ( จันดี หรือ จันดี กาญจนเสริม ) | 2436-2450 |
หมายเหตุ
- ปลายปี พ.ศ. 2450 ย้ายเฉพาะศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์ ไปตั้งที่อำเภอกลางศีร์ษะเกษ แต่ใช้ชื่อเดิมคือ ศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์