-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รวมภาพพระยาขุขันธ์ ทั้ง 9 ท่านเพื่อเผยแพร่แจกลูกหลาน

เริ่มต้นที่ยุคเมืองมหานคร (Angkor អង្គរ) คลิก  
ณ ที่นี้ ขอกล่าวถึงเฉพาะช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา - รัตนโกสินทร์
      หากนับระเวลาเริ่มต้นที่ยุคตอนปลายกรุงศรีอยุธยา - รัตนโกสินทร์ เรื่องราวจากเหตุการณ์ที่บรรพชนเมืองขุขันธ์จับพระยาช้างเผือกส่งคืนกรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2302 ซึ่งก็คือในอดีตเมื่อ 260 กว่าปีที่ผ่านมา(นับถึงปี2562) เมืองขุขันธ์ของเราเคยมีเจ้าเมืองปกครอง ในบรรดาศักดิ์ราชทินนาม พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน และพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน รวมทั้งสิ้น 9 ท่าน...ดังนี้

พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน หรือ ตากะจะ
หรือหลวงแก้วสุวรรณ เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก
(ตากะจะ - พุทธศักราช ๒๓๐๒ - ๒๓๒๑)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๒
(เชียงขันธ์ หรือหลวงปราบ - พุทธศักราช ๒๓๒๑ - ๒๓๒๕)


พระยาขุขันธ์ ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๓
( ท้าวบุญจันทร์ หรือพระไกร - พุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๓๖๙)


พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๔
( พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง - พุทธศักราช ๒๓๖๙ - ๒๓๙๓)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๕
( ท้าวใน หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม - พุทธศักราช ๒๓๙๓)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๖
( ท้าวนวน หรือ พระแก้วมนตรี - พุทธศักราช ๒๓๙๓ )

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๗
(ท้าวกิ่ง หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม -
พุทธศักราช ๒๓๙๓ - ๒๓๙๕)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๘
(ท้าววัง หรือ พระวิชัย - พุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๒๖)

 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๙
(ท้าวปาน หรือ ปัญญา ขุขันธิน - พุทธศักราช ๒๔๒๖- ๒๔๔๐
/ ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐)
ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานนามสกุล "ขุขันธิน")

เพลงพระแม่กวนอิม(พระแม่กวนอิมพันมือแห่งเมืองขุขันธ์)


เพลงคืนลับฟ้า

เพลงมักสาวขุขันธ์

เพลงดอกลำดวนบานแล้ว

เพลงดอกลำดวนบานแล้ว

เพลงทัศนาเมืองขุขันธ์

เพลงทัศนาเมืองขุขันธ์

เนื้อร้อง/ทำนอง ...พิทักษ์  สังข์เงิน
เรียบเรียงเสียงดนตรี...พรสกล  ศิริศิลป์
ขับร้อง...โสพิทย์  สิทธิชล
ปรับปรุงเนื้อร้อง...สุเพียร  คำวงศ์
                              รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

เพลงทำบุญจูนโฏนตา

เพลงทำบุญจูนโฏนตา

เนื้อร้อง/ทำนอง ...พิทักษ์  สังข์เงิน  

ปรับเนื้อร้อง... สุเพียร  คำวงศ์

เรียบเรียงเสียงดนตรี...สมโภชน์   สุวรรณ์ ,   พรสกล  ศิริศิลป์

ขับร้อง...บุญธรรม   ใจดี

สนับสนุนงบประมาณ...สุเพียร  คำวงศ์ 

                                รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์(พ.ศ. 2554)


มิวสิควีดีโอเพลงทำบุญจูนโฏนตา

บทนำเวปฯสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์


"การรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ"
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

...นอกจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังสอนให้อนุรักษ์วัฒนธรรมเพราะเป็นสิ่งที่เป็นรากฐานชีวิตของนักเรียนทุกคน เมื่อรู้ว่าท้องถิ่นของตนมีอะไรดีบ้าง ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจมีการบันทึกสิ่งที่เป็นของมีคุณค่าที่เป็นความคิดของมนุษย์ เป็นจิตวิญญาณของบุคคล ให้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์พร้อมๆ กับงานพัฒนาชุมชน...(จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่อง การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร)

               ประวัติศาสตร์ คือ เหตุการณ์ที่เป็นมาในอดีตหรือเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศชาติ ตามที่ได้บันทึกไว้ เป็นหลักฐาน ดังนั้น การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในอดีตจึงสอนเฉพาะเรื่องราวของ ประเทศชาติเป็นสำคัญโดยขาดการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแต่เน้นการสอนตาม ที่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น   จึงทำให้ขาดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง
             การเรียนรู้ซึ้งถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งทั้ง เรื่องราวที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและทั้งที่ไม่ได้บันทึกไว้ การศึกษาและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะทำให้คนรู้ถึงภูมิหลังของตน เองมากขึ้น  ซึ่งจะทำให้เกิดการเคารพและภาคภูมิใจในตนเองและในขณะเดียวกันก็จะเกิดการ เคารพบุคคลอื่นด้วย ประการสำคัญการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทำให้เรารู้ถึงอดีตซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถที่จะกำกับและจัดการกับปัจจุบันได้  อันจะนำไปสู่การพัฒนาตน พัฒนาท้องถิ่นในอนาคตต่อไปได้  ดังนั้น ทุกคนจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง แต่เป็นที่น่า เสียดายที่ระบบการศึกษาของไทยทางด้านสังคมศาสตร์ไม่ได้เห็นความสำคัญของการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเองแต่ละท้องถิ่น  แต่ได้มีการสอนประวัติศาสตร์ตามหนังสือ โดยไม่ให้ได้เรียนรู้โดยการสืบค้นและเผชิญสืบรับฟังจากการบอกเล่าของคนในท้องถิ่น ทำให้ไม่เข้าใจและไม่รับรู้ในรากเง้าของบรรพบุรุษของตนเอง แต่กลับไปสนใจศึกษายกย่องเชิดชูประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านอื่นเมืองอื่นยิ่ง กว่าท้องถิ่นของตนเอง จึงทำให้ความรักความหวงแหนความภาคภูมิใจในท้องถิ่นแผ่นดินเกิดก็ไม่มี  ดังจะเห็นเป็นความจริงอยู่ไม่น้อยว่า ผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับสูงๆ แล้วส่วนใหญ่จะไม่ยอมกลับถิ่นฐานเดิมอันเป็นแผ่นดินเกิดแต่กลับไปกระจุก ประกอบอาชีพอยู่ในเมืองใหญ่ ๆทำให้ท้องถิ่นชนบทขาดผู้นำในการพัฒนาอันส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย

           หนึ่งในหลาย ๆ สาเหตุเกิดจากการที่คนในท้องถิ่นขาดการเรียนรู้ขาดการศึกษาประวัติศาสตรท้อง ถิ่นของตนเองนั่นเอง  และคนเมืองขุขันธ์มีการศึกษาในระดับสูงเป็นจำนวนมากแต่ไม่กลับถิ่นเกิดก็ยัง ไม่ได้มีเวลาสืบค้น...ทำให้ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง...

            ขุขันธ์  เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ  ในอดีตเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน  เป็นดินแดนถิ่นอารยธรรมขอมโบราณ ที่ตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าต่างๆ เช่น เขมร กวย/กูย(ส่วย) ลาว และเยอ  มีองค์พระแก้วเนรมิตแห่งวัดลำภู คู่องค์หลวงพ่อโตแห่งวัดเขียนที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองป  มีปราสาทเก่าแก่แสดงถึงดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองของเมืองขุขันธ์ในอดีต


"พระแก้วเนรมิต และพญาครุฑ" ...สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์...
มาตั้งแต่อดีตเริ่มแรกสร้างเมืองเป็น "เมืองขุขันธ์"....
            เล่าถึงของดี มีครุ เกวียนน้อยและเครื่องจักสานมากมาย  เช่นกระอูบหรือผอบ เสื่อ  กระเป๋าผ้าใหม  เป็นต้น  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบสานจากบรรพบุรุษและพัฒนามาเป็นอาชีพเพิ่มรายได้สร้างเศรษฐกิจชุมชน  มีวัฒนธรรม ประเพณีที่แสดงถึงค่านิยม ทางความเชื่อที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ  เช่น ประเพณีแซนโฎนตา ที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและประเพณีอื่นๆ อีกมากมาย

            ประวัติการเมืองการปกครองของไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการมาโดยลำดับ เมืองขุขันธ์ในอดีต หรือจังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์    ความเป็นมาทางการเมืองการปกครองอันยาวนาน อดีตเคยปกครองในระบบ “เจ้าเมือง” โดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  เข้าสู่สมัยกรุงธนบุรีตลอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น จนได้พัฒนามาเป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลและปัจจุบันประเทศไทย มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จัดการปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด โดยใช้พระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน  แบ่งส่วนราชการ ออกเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหาราชการ   ส่วนท้องถิ่น สำหรับการจัดการบริหารส่วนภูมิภาคได้แก่ หน่วยงานที่เรียกว่า “จังหวัด” และ “อำเภอ” ซึ่งปัจจุบันมี 77 จังหวัด 

            ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2459 “จังหวัดศรีสะเกษ” เป็น  “เมืองขุขันธ์”ต่อมา ปี พ.ศ. 2459 มีชื่อว่า “จังหวัดขุขันธ์” มาในปี พ.ศ. 2481  จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เปลี่ยนชื่อ  “จังหวัดขุขันธ์”  เป็นชื่อ “จังหวัดศรีสะเกษ” ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า  หากไม่มี “เมืองขุขันธ์” ก็คงไม่มีชื่อ  “จังหวัดขุขันธ์” และหากไม่มีชื่อ “จังหวัดขุขันธ์”  ก็คงไม่มีชื่อ “จังหวัดศรีสะเกษ” ดังนั้นในฐานะ “เมืองขุขันธ์” เป็นเมืองเก่าแก่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนานมาแล้วก่อนที่จะมีชื่อคำว่า “จังหวัดศรีสะเกษ”มาจนถึงปัจจุบันดังจะกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาพอสังเขป

            ในนาม “เมืองขุขันธ์” ได้มีการเล่าขานทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองและบ่งบอกถึงบรรพบุรุษเมืองขุขันธ์ว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาพร้อม ๆ กับเมืองเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอื่น ๆ ของประเทศไทย  ดังปรากฏในหลักฐาน อันเป็นวัตถุและเอกสารให้ได้เห็นว่า “เมืองขุขันธ์” เป็นเมืองขนาดใหญ่และเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง เป็นเมืองหัวเมืองชั้นนอกของมณฑลอิสานที่สำคัญในอดีตซึ่งเคยมีพื้นที่เป็นเขตปกครองที่กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี และราชอาณาจักรกัมพูชาบางส่วนอีกด้วย ทั้งนี้มีการกล่าวกันว่า พื้นที่ที่เป็นดินแดนแถบนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของที่ตั้งอาณาจักรเจนละมาก่อน ซึ่งได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในยุคสมัยที่เป็นอาณาจักรขอมหรือเขมรเรืองอำนาจ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 1765 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ได้ทรงแผ่พระราชอำนาจของอาณาจักร ครอบคลุมพื้นที่อันเป็นดินแดนแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิทั้งหมด ดังมีหลักฐานที่ปรากฏเป็น ปรางค์  กู่ เทวสถาน ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ยังมีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป  จนทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องกล่าวถึงว่า เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และเรืองอำนาจ ที่สุดในยุคสมัยนั้น  จนกระทั่งมาถึงต้นพุทธศตวรรษ ที่ 20 เป็นยุคที่ถือกันว่า อาณาจักรขอมหรือเขมรเริ่มเสื่อมพระราชอำนาจลงพร้อม ๆ กับยุคที่เจ้าผู้ครองนครอาณาจักรสยามประเทศ มีความเข้มแข็งขึ้นและทรงได้แผ่พระราชอำนาจขยาย  อาณาเขต สร้างอาณาจักรได้อย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรขอมหรือเขมรที่กำลังเสื่อมอำนาจ   และอ่อนแอลง  จำต้องอพยพถิ่นฐานเคลื่อนย้ายผู้คนถอยร่นละทิ้งถิ่นฐานอันเป็นดินแดนแถบนี้ไป โดยเฉพาะเขมรได้ย้ายที่ตั้งเมืองหลวงอยู่หลายครั้ง จนในที่สุดได้ตั้งเมืองพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศเขมรหรือกัมพูชามาจนถึงปัจจุบัน

           อย่างไรก็ตาม แม้อาณาจักรขอมหรือเขมรจะเสื่อมอำนาจลง ผู้นำอ่อนแอไม่สามารถปกป้องคุ้มครองรักษาดินแดนที่เป็นอาณาจักรเดิมของตนได้ จึงต้องถอยร่นอพยพเคลื่อนย้ายละทิ้งดินแดนเดิมแถบนี้ไป แต่ทั้งนี้ก็หาได้อพยพเคลื่อนย้ายกันไปเสียทั้งหมดไม่ เพราะยังมีกลุ่มชนชาวขอมหรือเขมรดั้งเดิมหลายกลุ่มก็ยังคงมีหลักแหล่งเป็นกลุ่มชนทำมาหากินอยู่ ณ ดินแดนอันเป็นถิ่นฐานเดิมแถบนี้อยู่หลายกลุ่ม เพียงแต่อาจจะเคลื่อนย้ายหาแหล่งที่ตั้งชุมชนใหม่บ้างขึ้นอยู่กับธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งความปลอดภัยอีกด้วย เพราะพื้นที่แถบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าเขาลำเนาไพรเป็นส่วนใหญ่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารและสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน ซึ่งในเวลาต่อมา  ยังได้มีกลุ่มชนหลายกลุ่มและหลายเชื้อชาติอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากดินแดนทางทิศเหนือลงมาโดยเฉพาะจากจีน  พม่า  และลาวได้มาตั้งถิ่นฐานสมทบกับกลุ่มชนดั้งเดิมบ้าง มาตั้งกลุ่มใหม่บ้าง  ดังจะเห็นว่า ดินแดนแถบนี้ประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า  เช่น  เผ่าเขมร  เผ่าลาว  เผ่ากูย  และเผ่าเยอ มาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งในอดีตกลุ่มชนดั้งเดิมเหล่านี้ทางราชการสำนักเมืองราชธานีส่วนกลางเรียกว่า “กลุ่มชนชาวเขมรป่าดง” และในเวลาต่อมาหัวหน้ากลุ่มชนชาวเขมรป่าดง เหล่านี้มีความชอบ จนได้รับโปรดเกล้าฯ  พระราชทานตำแหน่ง “เจ้าเมืองขุขันธ์”  “เจ้าเมืองสุรินทร์” และ  “เจ้าเมืองสังขะ” ในเวลาต่อมานั่นเอง  ดังปรากฏบันทึกเป็นเรื่องราวในพงศาวดารให้เล่าขานบอกกล่าวเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทยสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คลิบวีดีโอภาษาถิ่น 4 เผ่าไทยเมืองขุขันธ์

1. ต้นฉบับเสียงภาษาถิ่นเขมร-เชิญชวนร่วมต้อนรับ
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2553

 

ต้นฉบับคำกล่าวเชิญชวนผู้ร่วมงานร่วมต้อนรับพ่อเมืองศรีสะเกษ
เป็นภาษาถิ่นเขมร ใน "งานรำลึกพระยาไกรภักดี ประเพณีแซนโฎนตา
บูชาหลักเมือง    ลือเลื่องกล้วยแสนหวี    ประจำปี 2553"
ของ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 4 - 5 ตุลาคม 2553
เจ้าของเสียงโดย
นายสำราญ กอย่ากาง ผู้ใหญ่บ้านหนองก๊อก
บ้านเลขที่ 63  หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยสำราญ โทร.083-7353609

2. ต้นฉบับเสียงภาษาถิ่นกูยหรือกวย-เชิญชวนร่วมต้อนรับ
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2553


เจ้าของเสียงโดย นายเฉลิมชัย บุตะเคียน อดีต ผอ.โรงเรียนบ้านมะขาม
บ้านเลขที่ 99 บ้านปรือคันตะวันตก หมู่ที่ 7 ตำบลปรือใหญ่
โทร. 088-12612616

3. ต้นฉบับเสียงภาษาถิ่นลาว-เชิญชวนร่วมต้อนรับ
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2553

เจ้าของ เสียงโดย พันจ่าเอกเบ็ญจมิน ทรงคะรักษ์
ผู้ช่วยท้องถิ่นอำเภอขุขันธ์

3. ต้นฉบับเสียงภาษาถิ่นกูยเยอหรือกวยเยอ-เชิญชวนร่วมต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2553

 

เจ้าของ เสียงโดย นายสำราญ ธงชัย จพง.พัสดุ อบต.ปรือใหญ่
อยู่บ้านเลขที่ 36  บ้านปะอุง   หมู่ที่ 6   ตำบลจะกง โทร.086-1016948

บันทึกเสียง โดย นายสุเพียร คำวงศ์
รอง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
โทร.081-0751512

แปลเป็นภาษาไทย ว่า... 
 “ เชิญเถิดพ่อแม่พี่น้องเอ้ยๆๆ มา ๆ ๆ ๆ ร่วมกันต้อนรับท่านพ่อเมืองศรีสะเกษด้วยกันหน่อยเร็ว พ่อเมืองศรีสะเกษของเรา...ท่านจะมาทำพิธีเส้นไหว้บรรพบุรุษในงานรำลึกพยาไกร ภักดีประเพณีแซนโฎนตา  บูชาหลักเมือง  ลือเลื่องกล้วยแสนหวี ชาวอำเภอขุขันธ์ พวกเรามาต้อนรับพ่อเมืองศรีสะเกษหน่อยเร็ว”

ประมวลภาพแห่งอดีตเมืองขุขันธ์-จังหวัดขุขันธ์


"ต้นตาล ๙ ยอด ๙ พระยาแห่งเมืองขุขันธ์"

        "ต้นตาล ๙ ยอด ๙ พระยาแห่งเมืองขุขันธ์" เป็นต้นตาลที่มีความแปลก  เพราะลำต้นเดียว  แต่แตกแขนงลำต้นออกเป็น ๙ แขนง ๙ ยอด เคยมีชีวิตและยืนต้นตระหง่านมาตั้งแต่กำเนิดเมืองขุขันธ์  ณ   หมู่บ้านตาดม   หมู่ที่ ๘  ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์   จังหวัดศรีสะเกษ ได้ล้มตายลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ปัจจุบันยังคงเหลือแต่เพียงร่องรอยภาพถ่ายแห่งอดีตมาถึงปัจจุบัน...



พิกัดตำแหน่งของต้นตาล 9 ยอดเมืองขุขันธ์ในอดีต
(GPS: 14.665993, 104.198275 หรือพิกัด 14°39'57.6"N
104°11'53.8"E)
 บนแผนที่Google Map


จวนผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐


         จวนผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐  ตำแหน่งที่ตั้งเดิมอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ สนง.ปศุสัตว์อำเภอขุขันธ์(GPS : 14.714075,104.193783) พื้นที่แห่งนี้เคยถูกโรงฆ่าสัตว์(เก่า)ของเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์สร้างทับโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์...ปัจจุบันโรงฆ่าสัตว์(เก่า)ถูกรื้อออกไปแล้ว เชื่อว่าน่าจะช่วยเสริมให้ดวงเมืองขุขันธ์ ดีขึ้น...และเมืองขุขันธ์ของเราจะเจริญรุ่งเรือง...ตลอดไปในภายภาคหน้า...


จวนผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ในอดีต
(GPS : 
14.713406, 104.192993 หรือพิกัด
14°42'48.3"N  104°11'34.8"E บนGoogle Map)

ทะเบียนบ้านหน้าแรกของบุตรชายพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ ๙ (ท้าวปาน หรือปัญญา ขุขันธิน)

หมายเหตุ บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 13 บ้านบก ตำบลห้วยเหนือ
อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ

ทะเบียนบ้านหน้าแรกของบุตรีพระยาบำรุงบุรประจันต์จางวาง (จันดี กาญจนเสริม)

    หมายเหตุ บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 6 บ้านวัดร้าง ตำบลสะเดาใหญ่   อำเภอขุขันธ์   จังหวัดศรีสะเกษ


ทะเบียฬนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ ๓๕๖๕ "ขุขันธิน (Khukhandhin)"


ตำราดูเคราะห์ดีร้ายของเมืองขุขันธ์ อายุกว่า 280 ปี




บริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอขุขันธ์เมื่อปี พ.ศ. 2483

ขณะกำลังมีการจัดงานประเพณีสำคัญของอำเภอขุขันธ์


ช้างเมืองขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2450


ขบวนเกวียน จังหวัดขุขันธ์ ปี 1936 (พ.ศ.2479)
ช่างภาพ Pendleton, Robert Larimore 
ภาพจาก UWM Libraries



สถานีตำรวจภูธรอำเภอขุขันธ์ เมื่อปี 2510




ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย