ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี พ.ศ.2560

           สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดประชุมชี้แจง การจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี พ.ศ.2560 เพื่อส่งเสริมและ รักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลชุมชน กลุ่มคน และบุคคล มีส่วนร่วม ในการดำเนินการ สนับสนุนการจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัด โดยมี นายขวัญชัย  ไชยโพธิ์  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

 แบบสำรวจมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน ออนไลน์ คลิก  
 ตรวจสอบข้อมูลการสำรวจฯ คลิก   
 ดาวน์โหลดแบบสำรวจมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๑ doc pdf
 แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๒ doc pdf

          ในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙
           มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
               “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายความว่า ความรู้ การแสดงออก การประพฤติปฏิบัติ หรือทักษะ ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านบุคคล เครื่องมือ หรือวัตถุ ซึ่งบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชนยอมรับและรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน และมีการสืบทอดกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยอาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน

                “ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มคนกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม ที่มีความรู้ มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอด หรือมีส่วนร่วมในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้น

           มาตรา ๔ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริมและรักษาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
             (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

             (๒) ศิลปะการแสดง
             (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล
             (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
             (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม
             (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
             (๗) ลักษณะอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
             มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจะเข้าลักษณะใดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ
ประกาศกําหนด...(1)



          นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นการกระตุ้นให้สังคมได้รับรู้ และดูแลไม่ให้ภูมิปัญญาต่าง ๆ สูญหายไป ซึ่งตนได้มอบหมายให้ สวธ. ส่งเสริมมรดกทางภูมิปัญญาต่าง ๆ ด้วยการจัดหาเวที เปิดพื้นที่การแสดง โอบอุ้มศิลปิน เพื่อให้มีการกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่น นอกจากนี้ จะเป็นการปลุกกระแสให้ชุมชน ผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาได้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริง โดยชุมชนปราชญ์ชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญเป็นกลไกสำคัญ ในการให้ข้อมูลองค์ความรู้แก่ นักวิชาการ และผู้สนใจ และผลักดัน เผยแพร่องค์ความรู้สู่เวทีระดับชาติ และนานาชาติ ด้วย...(2)

       สำหรับ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของประเทศไทยได้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วแยกตามปี พ.ศ. ดังนี้
       ปี พ.ศ. 2552 ใน 2 สาขา  จำนวน  25 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2553 ใน 4 สาขา  จำนวน  25 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2554 ใน 6 สาขา  จำนวน  30 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2555 ใน 7 สาขา  จำนวน  70 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2556 ใน 7 สาขา  จำนวน  68 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2557 ใน 7 สาขา  จำนวน  68 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2558 ใน 7 สาขา  จำนวน  32 รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2559 ใน...-...สาขา  จำนวน ...-...รายการ คลิก
       ปี พ.ศ. 2560 ใน...-...สาขา  จำนวน ...-...รายการ คลิก

       ประเทศไทย  ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม สหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก อย่างสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา  โดยมีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม เป็นองค์กรดูแล เพื่อสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ภายในประเทศไทย
       
        ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2558 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวนทั้งสิ้น  318 รายการ ในจำนวนนี้ สวธ. ได้คัดเลือก 5 รายการ เสนอยูเนสโกพิจารณาในปี 2560 ได้แก่ มรดกภูมิปัญญาโขน มวยไทย นวดไทย อาหารสำรับไทย และโนรา ทั้งนี้การนำเสนอรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโกนั้นจะนำเสนอได้เพียงปีละ 1 รายการเท่านั้น  แล้วยูเนสโก จะประชุมพิจารณาในเดือนมีนาคม ทุกปี  ซึ่งยูเนสโกจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 ปี จากนั้นจะประกาศผลให้ทราบต่อไป...(3)


เอกสารสำหรับดาวน์โหลด
        ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรม   
        1. การกำหนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2560 คลิก
        2. หลักเกณฑ์การจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพ.ศ. 2560 คลิก
        3. หลักเกณฑ์การดำเนินงานของอนุกรรมการกลั่นกรอง พ.ศ. 2560 คลิก
        4. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นบัญชี มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพ.ศ. 2560 คลิก
       5. หลักเกณฑ์และมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2560 คลิก
       6. แบบสำรวจมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๑ doc pdf
       7. แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๒ doc pdf
       8. แบบเสนอรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๓ doc pdf  ...(4)

เอกสารอ้างอิง
...(1) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/019/1.PDF
...(2) มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง http://www.kroobannok.com/76271
...(3) ดัน “โขน” มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้  http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9590000094754
...(4) ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/register

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย