ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

คำว่าภาษาเขมร "ฎาร"ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตา คืออะไร ?

        คำว่า "ฎาร" นี้ เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี และสันสกฤต มักพบใช้ในภาษาขแมร์(เขมร) แต่ไม่พบใช้ในภาษาไทย เช่นเดียวกับคำว่า "โฎนตา" ดังนั้น ถ้าไปเปิดพจนานุกรมภาษาไทย เพื่อค้นหาก็จะไม่พบคำนี้
แต่ถึงอย่างไรก็ตามคำนี้ถ้ากล่าวเชิงเปรียบเที่ยบแล้ว น่าจะตรงกับคำในภาษาไทยที่พบใช้บ่อย ๆในการทำบุญ คือคำว่า "ทักษิณานุปทาน" นั่นเอง

         ដារ ( ន. )   ( សំ., បា. ) ឈ្មោះ​បុណ្យ​តូច​ម្យ៉ាង​ក្នុង​ពុទ្ធ​សាសនា ជា​បុណ្យ​ទក្ខិណានុប្បទាន, ទាយក​និមន្ត​ព្រះ​ភិក្ខុ​សង្ឃ​សូត្រ​សត្តប្បករណាភិធម្ម និង​តិរោកុឌ្ឌសូត្រ ហើយ​គេ​រាប់​បាត្រ​រួច ឧទ្ទិស​ចំណែក​បុណ្យ ជូន​ទៅ​បុព្វបេតបុគ្គល​ដែល​ចែក​ឋាន​ទៅ​កាន់​បរលោក​ហើយ : ធ្វើ​បុណ្យ​ដារ, និមន្ត​លោក​ដារ ។
         แปลถอดความจากภาษาขแมร์(เขมร)เป็นภาษาไทย ได้ว่า

         ฎาร (น.) (สัน.,บา.) 
ชื่อการทำบุญอย่างหนึ่งในช่วง เทศกาลแซนโฎนตา หรือสารทเขมร ซึ่งจัดขึ้นโดยชาวบ้านในท้องถิ่นที่พูดภาษาเขมร และกวย(บางท่านเรียก ส่วย) เป็นการทำบุญที่ไม่ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ แต่เป็นการทำบุญทักษิณานุปทาน  โดยทายกจะนิมนต์พระสงฆ์สวดสัตตัปปกรณาภิธรรม และติโรกุฑฑสูตร แล้วร่วมกันตักบาตร และอุทิศส่วนกุศล ส่งไปยังบุพพเปตบุคคลซึ่งได้ล่วงลับไปสู่ปรโลกแล้ว บางครั้งก็เรียกว่า /ทเวอ-บน-ดาร/ ทำบุญฎาร หรือ /นิ-ม็วน*-โลก*-ดาร/ นิมนต์พระฎาร

        ส่วนคำว่า "ทักษิณานุปทาน" แปลว่า การเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา การเพิ่มพูนทักษิณาให้เขียนว่า ทักษิณานุประทาน ก็ได้



 
ทักษิณานุปทาน หมายถึงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เพื่อให้ผู้ตายได้รับผลเป็นความสุขความเจริญ พ้นจากภาวะที่ทุกข์ทรมานในทุคติ 
มีวิธีทำ คือตักบาตร เลี้ยงพระ บังสุกุล ถวายสังฆทาน เป็นต้น แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ตาย
พระมหาสมศักดิ์  สิริวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดค่ายนิคม
กล่าวสัมโมทนียกถาแด่ญาติโยมที่มาร่วมทำบุญอุทิศฯ 22 กันยายน 2556

              สำหรับ ทักษิณานุปทาน ที่นิยมปฏิบัติกันคือ ในงานฉลองหรืองานวันเกิด นิยมนำอัฐของบรรพบุรุษหรือของอุปัชฌาย์อาจารย์ มาทำพิธีบังสุกุลกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ส่วนกุศลไปให้เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีก่อนแล้วจึงทำพิธีบุญเพื่อตัวเองในภายหลัง                

ผู้เรียบเรียงเนื้อเรื่อง​ : นายสุเพียร  คำวงศ์ 
ขอบคุณที่มา :
พจนานุกรมขแมร์ ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ สมเด็จพระสังฆราช(คณะมหานิกาย) ชวน ณาต โชตัญญาโณ ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ.๒๕๑๐)

กัลยาณมิตร
.[ออนไลน์] http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=2237&Itemid=99999999
,18 กันยายน  2556. 

พจนานุกรม dictionary.tovnah.com.[ออนไลน์] http://dictionary.tovnah.com/?q=%E1%9E%8A%E1%9E%B6%E1%9E%9A&dic=all ,18 กันยายน  2556. ภาพถ่ายจากphrakhrusuwani.authaidit [ออนไลน์] https://www.facebook.com/phrakhrusuwani.authaidit/posts/1416159955272359,18 กันยายน  2556.

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย