มีสำนวนสุภาษิตภาษาท้องถิ่นเขมรอีสานใต้บ้านเรา...กล่าวไว้อย่างน่าสนใจอีกสำนวนหนึ่งว่า "อยากเป็นปราชญ์ให้ขยัน โจงกระเบนมั่น หากินง่าย"...บางท่านอาจมีความสงสัย คำว่า "โจงกระเบนมั่น หากินง่าย" นักปราชญ์รุ่นปู่ย่าตายายอีสานใต้ของเราในสมัยก่อนท่านกล่าวสำนวนนี้ มีความหมายว่าอย่างไร?และมีความเกี่ยวข้องอะไรกับการทำมาหากินง่าย?
จริงๆแล้ว สำนวนสุุภาษิตนี้ มีความหมาย ดังนี้ คือ
ចង់ប្រាជ្ញឲខំប្រឹង "อยากเป็นปราชญ์ให้ขยัน" หมายความว่า ต้องขยันหมั่นเพียรเล่าเรียนศึกษาค้นคว้าสู่ความเป็นผู้จริงและแจ่มแจ้ง ก็คือใช้หลักหัวใจนักปราชญ์ 4 ประการ ได้แก่ สุ สุตะ -ฟังอ่านศึกษา จิ จินตะ -คิดพิจารณาไตร่ตรอง แล้วหากมีข้อสงสัย ก็ให้ ปุ - ปุจฉา ไถ่ถามผู้รู้ ครูอาจารย์ หรือผู้ทรงคุณความรู้และภูมิปัญญา และประการสุดท้าย คือ ลิ -ลิขิต จดจารึก หรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ทบทวนในภายหลัง หรือส่งต่อองค์ความรู้ที่ดี เพื่อถ่ายทอดสู่ลูกหลานอนุชนคนรุ่นหลังต่อไป
ចងក្បិនតឹង រកស៊ីធូរ "โจงกระเบนมั่น หากินง่าย" หมายความว่า นอกจากเราจะต้องมีมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียร เป็นเบื้องต้นแล้ว เรายังต้องมีความกระเหม็ดกระแหม่ อดออม ไม่สุรุ่ยสุร่าย ประหยัดและมีความซื่อสัตย์ จึงจะทำให้เราประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างคล่องตัว และทำมาค้าขึ้น และนอกจากนี้เรายังอาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตทีดีแบบคนจีนส่วนใหญ่ที่เขามีดีโดดเด่นเห็นประจักษ์แก่เราท่านอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ขยัน ประหยัด และเคารพพ่อแม่ ...แค่สามประการนี้ก็สามรถดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ได้รอดแล้ว
ขอบคุณ : ดร.ปริง เพชรล้วน ที่ช่วยอธิบายขยายความเพิ่มเติม