-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

การปฏิรูปการสื่อสารโทรเลขระหวางขุขันธ์-เสียมเรียบ-นครจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2428

          ...นอกจากนี้ปญหาที่ทําใหการบริหารราชการของกรุงเทพฯ ตอหัวเมือง
อีศานเปนไปอยางลาชาคือ ปญหาในระบบการสื่อสารที่ทําใหการสงขาวสาร ขอมูล รวมถึงคําสั่งตางๆ ที่มีไปมาระหวางกรุงเทพฯ กับหัวเมืองตองเสียเวลาเปนอันมาก เชน

           หนังสือราชการจากเมืองจําปาศักดิ์ ลงวันที่ 29 มิถุนายน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ถึงกรุงเทพฯ และนําขึ้นทูลเกลาฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ในวันที่15 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ใชเวลา 108 วัน และหนังสือจากจําปาศักดิ์อีกฉบับหนึ่งที่ลงวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2436) นําขึ้นทูลเกลาฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว วันที่ 14 พฤศจิกายน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ใชเวลา 115 วัน หรือคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว โปรดเกลาฯ ใหพระเจาบรมวงศเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ไปดํารงตําแหนงขาหลวงใหญหัวเมืองลาวกาวที่เมืองอุบลราชธานี ใชเวลาในการเดินทางรวมทั้งสิ้น 77 วัน

          ดังนั้น ปญหาเกี่ยวกับการคมนาคมและการสื่อสารในบริเวณอีสาน จึงกลายเปนความรูของชนชั้นนําสยามที่ไมสามารถจะนิ่งเฉยได จนนําไปสูการปฏิรูปการสื่อสารที่เริ่มทําขึ้นในป พ.ศ. 2428 ดวยการสรางทางโทรเลขระหวาง
ขุขันธ-เสียมราฐ-นครจําปาศักดิ์ และในป พ.ศ.2435 ก็ไดเปดใชโทรเลขระหวางนครจําปาศักดิ์ – อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ  นอกจากนี้สยาม ยังใหความสําคัญกับการสรางทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เพื่อใชเปน “หนทาง คนจะไดไปมาไดงาย ไดไกล ไดเร็วขึ้น เปนการขยายประชุมชนใหไพศาลยิ่งขึ้น บรรดาการคาขายอันเปนสมบัติของบานเมืองจะรุงเรืองวัฒนาขึ้น จึงไดอุตสาหะคิดทําการรถไฟ” รถไฟสายนี้แลวเสร็จในป พ.ศ. 2443 และกลาวไดวาเปนการสรางทางรถไฟสายยุทธศาสตรขึ้นเปนสายแรก ทําใหการคมนาคมระหวางกรุงเทพฯ กับอีสานสะดวกขึ้น การบริหารราชของสวนกลางเปนไปอยางรวดเร็ว  รวมทั้งสงผลดีตอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบริเวณอีสานในลำดับต่อมา

ขอบคุณที่มา : 
- หอจดหมายเหตุแหงชาติ. ร.5 ม. 62.1/27 ปก 2 หนังสือมหาดไทยบอกเมืองนครจําปาศักดิ์ ระหวาง 15 พฤษภาคม ร.ศ.109 (พ.ศ. 2433) ถึง 12 กันยายน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433). อางถึงใน ไพฑูรย มีกุศล, การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว, หนา 42 , 46 .

- สุวิทย ธีรศาศวัต.รายงานการวิจัยประวัติศาสตรอีสาน 2322-2488.(ขอนแกน: ศูนยวิจัยพหุลักษณสังคมลุมน้ําโขงมหาวิทยาลัยขอนแกน, 2549), หนา 284-285.

- พระราชดํารัสและพระบรมราโชวาท : พระจอมเกลา พระพุทธเจาหลวง พระมหาธีรราชเจา พระปกเกลา พระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช.ทวน วิริยาภรณ, รวบรวม. (ธนบุรี: ป. พิศนาคะการพิมพ, 2507), หนา 43.

พิชิต เดชนีรนาท. “รัชกาลที่ 5 กับการสงเสริมการลงทุน”. วารสารสงเสริมการลงทุน 10, (10 ตุลาคม 2542): 27.


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย