บทความเรื่อง “ลัทธิธรรมเนียมคนชาติลาว” ขุนมหาวิไชยได้เล่าถึงลัทธิธรรมเนียมของคนคนชาติลาวชาวตะวันออก หรือบริเวณอีสาน โดยได้ให้เหตุผลของการเขียนเรื่องดังกล่าวว่า
“เปนสิ่งที่เราท่านทั้งหลายควรรู้ไว้ พอเปนทางดําริในการงานทั้งปวงต่อไปด้วย”
บทความนี้ได้กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ในรอบ 12 เดือนของชาวอีสาน คือ การสรงน้ําพระพุทธรูป(เดือน 5), การเล่นนักขัตฤกษ์สงกรานต์(เดือน 5), เดือน 6-8 ประกอบด้วยการทําบุญบั้งไฟ, การบวชนาค, การหดน้ำพระ (การสรงน้ำพระสงฆ์), การขับแอ่วโอ้โลมสาว, การบุญเข้า(ข้าว)ประดับดิน (สลากภัตร) (เดือน 9), การทําบุญข้าวสาก (เดือน 10), การทําบุญจุดประทีป (เดือน 11),การทําบุญปราสาทผึ้ง (เดือน 11), การทําบุญคูนลาน (ทําขวัญข้าว) (เดือน 12), ว่าด้วยพระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรม (เดือน 1-2), บุญข้าวจี่ (เดือน 3-4), และจบด้วยการบรรยายคํานามที่ใช้เรียกพระสงฆ์
แม้ว่า ขุนมหาวิไชย จะเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกําเนิด แต่การที่เข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เด็ก รวมไปถึงการรับราชการในกระทรวงธรรมการ และมหาดไทยตามลําดับ ย่อมมีส่วนที่หล่อหลอมให้ความคิด และโลกทัศน์ของขุนมหาวิไชยมีความคิดแบบกรุงเทพฯ ไปด้วย จึงไม่แปลกที่ปรากฏข้อความแสดงออกถึงทัศนะที่ใช้กรุงเทพฯ เป็นบรรทัดฐานความการเปรียบเทียบกับประเพณีในท้องถิ่นที่ได้พบเห็น
ขอบคุณที่มา :
กรมศิลปากร. “คํานํา,” ใน เรื่องลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 1 ลัทธิธรรมเนียมราษฎรภาคอีศาน.พิมพ์ครั้งที่ 2.พระนคร:โรงพิมพ์ทรงธรรม, 2480.หน้า ข.
ขุนมหาวิไชย. “ลัทธิธรรมเนียมคนชาติลาว”.วชิรญาณ ตอนที่ 23 (เดือนสิงหาคม ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2439)): 2302.
บทความนี้ได้กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ในรอบ 12 เดือนของชาวอีสาน คือ การสรงน้ําพระพุทธรูป(เดือน 5), การเล่นนักขัตฤกษ์สงกรานต์(เดือน 5), เดือน 6-8 ประกอบด้วยการทําบุญบั้งไฟ, การบวชนาค, การหดน้ำพระ (การสรงน้ำพระสงฆ์), การขับแอ่วโอ้โลมสาว, การบุญเข้า(ข้าว)ประดับดิน (สลากภัตร) (เดือน 9), การทําบุญข้าวสาก (เดือน 10), การทําบุญจุดประทีป (เดือน 11),การทําบุญปราสาทผึ้ง (เดือน 11), การทําบุญคูนลาน (ทําขวัญข้าว) (เดือน 12), ว่าด้วยพระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรม (เดือน 1-2), บุญข้าวจี่ (เดือน 3-4), และจบด้วยการบรรยายคํานามที่ใช้เรียกพระสงฆ์
แม้ว่า ขุนมหาวิไชย จะเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกําเนิด แต่การที่เข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เด็ก รวมไปถึงการรับราชการในกระทรวงธรรมการ และมหาดไทยตามลําดับ ย่อมมีส่วนที่หล่อหลอมให้ความคิด และโลกทัศน์ของขุนมหาวิไชยมีความคิดแบบกรุงเทพฯ ไปด้วย จึงไม่แปลกที่ปรากฏข้อความแสดงออกถึงทัศนะที่ใช้กรุงเทพฯ เป็นบรรทัดฐานความการเปรียบเทียบกับประเพณีในท้องถิ่นที่ได้พบเห็น
ขอบคุณที่มา :
กรมศิลปากร. “คํานํา,” ใน เรื่องลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 1 ลัทธิธรรมเนียมราษฎรภาคอีศาน.พิมพ์ครั้งที่ 2.พระนคร:โรงพิมพ์ทรงธรรม, 2480.หน้า ข.
ขุนมหาวิไชย. “ลัทธิธรรมเนียมคนชาติลาว”.วชิรญาณ ตอนที่ 23 (เดือนสิงหาคม ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2439)): 2302.