-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

เมืองขุขันธ์ในอดีตเมื่อ ร.ศ.117 ตรงกับพ.ศ. 2441 เป็นเมืองหนึ่งใน 21 เมืองที่มีชื่อด้านการผลิตครั่งในบริเวณภาคอีสาน

           เรื่องราวเกี่ยวกับการการเลี้ยงครั่งของเมืองต่างๆ ในบริเวณอีสาน ในบทความ “เรื่องครั่ง” .วชิรญาณ ตอนที่ 45 (มิถุนายน ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441)): หน้า 800-801. กล่าวไว้ว่า

“ครั่งเปนเครื่องย้อมผ้าอย่างหนึ่งมีแดงแก่จัด คนทั้งหลายผู้ทําผ้าห่ม ย่อมใช้ครั่งเปน เครื่องย้อมโดยมาก เพราะฉนั้นครั่งจึ่งเปนสิ่งที่ต้องการของคนทั้งหลายอย่างหนึ่ง แลเปนสินค้าที่มีราคาอย่างหนึ่งด้วย สินค้าคือครั่งนี้มีอยู่ในเขตรแขวงเมืองลาวฝ่ายตะวันออกโดยมาก ... เมืองที่ปลูกครั่งเปนคือ เมืองหล่มศักดิ์1 เมืองเลย 1 เมืองมหาสารคาม 1 เมืองกาลสินธุ์1 ร้อยเอ็ด 1 ขอนแก่น 1 เมืองวาปี 1 ประทุม 1 เมืองกมะลาไสย 1 ยะโสธร 1 อํานาจ 1 เมืองมหาชนะไชย 1 เมืองอุบลราชธานี 1 เมืองเกษมสีมา1 เมืองพิบูลย์มังษาหาร 1 เมืองตระการพืชผล 1 เมืองเดชอุดม 1
เมืองกุขัณฑ์ 1* เมืองสังฆะ 1 เมืองสุรินแลเมืองชุมพลบูรี เปนต้น เมืองเหล่านี้เขาย่อมปลูกครั่งได้ทุกปีมา มิได้ขาด”
ครั่งเลี้ยง จากต้นจามจุรี
หมายเหตุ
* เมืองกุขัณฑ์ ในบทความข้างต้นนี้ เป็นคำที่เจ้านาย หรือทางการในยุคนั้น บันทึกตามที่ได้ยินจากการออกเสียงพูดของชาวเมืองขุขันธ์ในอดีตยุคนั้นที่เรียกชื่อเมืองในอดีตที่ใกล้เคียงคำอ่านภาษาเขมรโบราณว่า 
ซึ่งสามารถถอดอักษรเทียบกับภาษาไทย คือ โคกขัณฑ์ อ่านออกเสียงว่า /โกก-คัน  kokkhan/​ นั่นเอง


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย