ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฐานศิวลึงค์

ฐานศิวลึงค์    
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗  ตามลัทธิความเชื่อของศาสนาฮินดู  ขุดพบที่บัลลังก์เก่าแก่ห่างจากวัดเจ๊กประมาณ ๗๐๐ เมตร  ฐานศิวลึงค์ทำมาจากหินทราย  ซึ่งเป็นชั้นหินใต้สุดที่ได้ขุดพบขึ้นมามีลักษณะอ่อนนิ่ม  เมื่อนำมาประดิษฐ์หรือแกะสลักตามลักษณะของรูปร่างแล้วทิ้งไว้พักหนึ่งหินก็จะแข็งตัว


ลักษณะพิเศษของหินทราย เป็นหินที่ละเอียดและแข็งแกร่งนำมาก่อสร้างโบราณสถานของขอมสมัยโบราณนิยมนำหินทรายมาแกะสลักทับหลังรูปต่าง ๆ เช่น ศิลาทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์  ทับหลังพระอิศวรทรงโค   ศิลาที่ทับหลังพระอินทร์ทรงช้าง เป็นต้น  เพราะเนื้อหินมีผิวที่ละเอียดสวยงาม

ลักษณะทั่วไป   เป็นฐานสี่เหลี่ยมสูง ๔ ชั้น  ย่อชั้นบนสุดจะมีขนาดเท่ากับฐานชั้นล่างมีรูตรงกลาง เป็นตำแหน่งเป็นที่วาง "ลิงค์"  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของปราสาทกุดวัดโพธิ์พฤกษ์ (วัดเจ๊ก) อยู่ห่างจากอำเภอขุขันธ์ประมาณ ๕๐๐ เมตร  ตามเส้นทางถนนสาย ขุขันธ์ – ศรีสะเกษ 

หมายเหตุ ปราสาทเล็กๆในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ทุกวันนี้ได้ถูกทำลายเกือบหมด   เพราะเมื่อประมาณ ๕๐ - ๖๐ ปี (ประมาณปี พ.ศ. 2490-2507) ที่ผ่านมา  สมัยนั้น มีกลุ่มคนบางพวกนิยมซื้อขายวัตถุโบราณเก่าแก่ และตระเวนออกลักขุดของเก่าในบรเวณปราสาทต่างๆเอาออกไปขาย ตัวอย่างเช่น ปราสาทที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ ในตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  จนทำให้ พระครูประกาศธรรมวัตร(หลวงพ่อสาย ปาโมกโข แห่งวัดตะเคียนราม) ต้องให้ชาวบ้านลาก "แท่นโยนี" ไปเก็บอนุรักษ์ไว้ที่บริเวณหน้าพระอุโบสถของวัดตะเคียนราม ตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ ในปัจจุบัน)...



ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย