ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การละเล่นเจรียง หรือ จำเรียง

การละเล่นเจรียง  หรือ จำเรียง เป็นการขับร้องออกเสียงทำนองเสนาะ ลักษณะกลอนสดเป็นส่วนใหญ่  ใช้ภาษาเขมร เป็นภาษาขับร้อง  ให้ผู้ฟังได้รับรู้เป็นเรื่องราวต่างๆแล้วแต่ผู้ร้องจะนำมาร้อง มีลักณะคล้ายลำตัดของทางภาคกลางของประเทศไทย

              คำว่า "เจรียง" เป็นคำกริยาภาษาเขมร แปลว่า "ร้อง"  ส่วนคำว่า "จำเรียง" หรือที่ชาวเขมรทางกัมพูชาออกเสียงว่า /จ็อม-เรียง*/ นั้น เป็นคำนาม แปลว่า "บทร้อง" นั่นเอง ดูตัวอย่างการเจรียงบทจำเรียง ของคุณตาจุน  แสงจันทร์ ในคลิปวีดีโอ ด้านล่างนี้ดูครับ
 

 
              สำหรับท่านที่เกิดก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐  คงเคยได้ชมการเล่นเจรียงของบิดาของคุณตาจุน  แสงจันทร์  (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)  การเล่นในสมัยก่อน จะใช้ผู้ร้องเป็นคู่ชาย-หญิง  ร้องโต้ตอบกันแก้กลอนกัน ก่อนเริ่มเล่นจะประกอบพิธีไหว้ครู  เริ่มเจรียงด้วยบทไหว้ครู จากนั้นก็จะเล่นเจรียงเป็นเรื่องราว หรือเป็นบททั่วไป 

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย