วัดไทยเทพนิมิตตั้งอยู่ทางทิศเหนือเมืองขุขันธ์ (บริเวณบ้านห้วย ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) ทำการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยหลวงเทพรักษาเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างวัด ได้เกณฑ์ไพร่พลชาวกรุงเทพมหานคร และชาวหัวเมืองต่าง ๆ สร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์คราวไปทัพ แล้วนิมนต์พระจากวัดบกจันทร์นคร ไปอยู่ประจำวัด เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดไทย” ตามผู้ริเริ่มสร้างวัด คือ หลวงเทพรักษา เป็นคนไทยกรุงเทพฯ และต่อมาเพื่อความเป็นศิริมงคล ยกย่องให้เกียรติ และระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน หลวงเทพรักษาชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดไทยคำเต็มๆว่า “วัดไทยเทพนิมิต”
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ กองทัพญวนได้ยกทัพเข้ามาในเขตเมืองเขมร พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพจากส่วนกลาง ยกทัพไปทำศึกสงครามกับญวน การทำศึกสงครามในครั้งนี้ทรงมีบัญชารับสั่งให้เจ้าเมืองขุขันธ์ ส่งกำลังทหารไปช่วยรบจำนวน ๑,๕๐๐ คน โดยให้ทัพจากเมืองขุขันธ์ร่วมกับทัพจากส่วนกลาง บริเวณวัดไทยเทพนิมิตร ในขณะนั้น จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ เป็นที่รวมกำลังพลพล โดยมีหลวงเทพรักษา เป็นผู้บัญชาการ และเกณฑ์กำลังพลเมืองขุขันธ์ ศรีสะเกษ เดชอุดม สุรินทร์ และสังขะ ไปรบกับญวนในครั้งนี้
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ กองทัพญวนได้ยกทัพเข้ามาในเขตเมืองเขมร พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพจากส่วนกลาง ยกทัพไปทำศึกสงครามกับญวน การทำศึกสงครามในครั้งนี้ทรงมีบัญชารับสั่งให้เจ้าเมืองขุขันธ์ ส่งกำลังทหารไปช่วยรบจำนวน ๑,๕๐๐ คน โดยให้ทัพจากเมืองขุขันธ์ร่วมกับทัพจากส่วนกลาง บริเวณวัดไทยเทพนิมิตร ในขณะนั้น จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ เป็นที่รวมกำลังพลพล โดยมีหลวงเทพรักษา เป็นผู้บัญชาการ และเกณฑ์กำลังพลเมืองขุขันธ์ ศรีสะเกษ เดชอุดม สุรินทร์ และสังขะ ไปรบกับญวนในครั้งนี้