วัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเมืองขุขันธ์ บริเวณบ้านพราน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน
ภายนอกพระอุโบสถ ทั้ง ๔ มุม มีธาตุในศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียง ๒ องค์ องค์ที่ ๓ ยังคงมีซากปรังหักพังเหลืออยู่ แต่องค์ที่ ๔ ไม่มีให้เห็นแล้ว องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
วัดเขียนบูรพาราม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๕๓ ตารางวา สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี ได้อนุญาตให้ดำเนินการบูรณะครั้งที่ ๔ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งการบูรณะครั้งที่ ๔ นี้ ได้รับอนุญาตให้บูรณะพระอุโบสถ องค์หลวงพ่อโต และมีการหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้นสำหรับประชาชนได้มีโอกาสปิดทอง โดยดำเนินการเททองหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้น เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๔ และทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๕
มีตำนานเล่าต่อกันมาว่า วัดเขียน บูรณะครั้งแรกเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๒๓ สมัยกรุงธนบุรี โดยพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ ๒ หลังจากเลื่อนที่ตั้งเมืองมาจากบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ไปตั้งที่บริเวณหนองแตระ (ត្រពាំងត្រែះ) แล้ว สมัยนั้นได้ค้นพบว่ามี องค์พระพุทธรูปประดิษฐานในป่าทึบด้านชายเมืองทางทิศอาคเนย์ จึงได้ให้ราษฏร์แผ้วถาง แล้วปรับปรุงสร้างฐานและหลังคาครอบองค์พระพุทธรูป สร้างกุฏิและนิมนต์พระภิกษุสามเณรมาอยู่ประจำวัด แต่ยังไม่เรียบร้อยดี ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ วัดจึงร้างไป
พ.ศ. ๒๔๒๕ สมัย พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าววัง ) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 8 ร่วมกับ ท่านพระครูธรรมจินดามหามุณี เจ้าคณะใหญ่เมืองขุขันธ์ ร่วมกับ กรมการเมืองได้นำราษฎร พัฒนาบูรณะวัดเขียน ซึ่งขณะนั้น บริเวณวัดเขียน ยังมีลักษณะเป็นป่าดงขึ้นหนาทึบ และยกฐานะขึ้นเป็นวัด โดยจัดพระภิกษุจากวัดสะอางมาอยู่ประจำ และเนื่องจากวัดนี้อยู่ทางทิศตะวันออกและด้านนอกติดกำแพงเมืองเมืองขุขันธ์ ชาวบ้านยุคนั้นนิยมเรียกชื่อเป็นคำภาษาเขมรถิ่นคล้องจองกันว่า เรียก វត្តខៀន កៀនមឿង อ่านว่า เวื็อต-คีน-กีน-เมือง และต่อมาล่าสุดได้ชื่อว่า "วัดเขียนบูรพาราม" เรียกกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
พิกัดGPS ของวัดเขียนบูรพาราม บน Google Map
คือ14°42'58.1"N 104°12'20.4"E หรือ 14.716143, 104.205654
หลวงพ่อโตวัดเขียนบูรพาราม ព្រះអង្គធំ វត្តខៀន ស្រុកគោកខណ្ឌ ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่ที่บ้านพราน(ភូមិព្រាល) หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร สูง ๖.๘๐ เมตร มีลักษณะศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านช้าง และศิลปะอยุธยาตอนปลาย
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม ใหญ่โตและเก่าแก่ซึ่งซึ่งมีเรื่องราวความเป็นมา และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์มานานกว่า ๒๖๐ ปี(นับแต่ พ.ศ. ๒๓๐๒) โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม
ตั้งอยู่ที่บ้านพราน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ เส้นรุ้ง ๑๔๑๗๙๙ เส้นแวง ๑๐๔๑๒๓๑ พิกัดกริด ๔๘ PVB ๑๔๙๒๖๘ แผนที่ ๕๘๓๘ III L ๗๐๐๑๗ โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาเป็นโครงไม้สังกะสี ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบ แกะสลักเป็นลายพันธ์พฤกษา ส่วนที่จั่วแกะสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งแกะสลักขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ เรียกว่า “หลวงพ่อโต”ภายนอกพระอุโบสถ ทั้ง ๔ มุม มีธาตุในศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียง ๒ องค์ องค์ที่ ๓ ยังคงมีซากปรังหักพังเหลืออยู่ แต่องค์ที่ ๔ ไม่มีให้เห็นแล้ว องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
บริบทชุมชนวัดเขียน
หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานบ้านเมืองเก่า
ขุขันธ์เราสามัคคี ประเพณีแซนโฎนตา
คุณค่าสังคมดี