-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม

โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม
               ตั้งอยู่ที่บ้านพราน หมู่ที่  ๔   ตำบลห้วยเหนือ  อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ   เส้นรุ้ง   ๑๔๑๗๙๙  เส้นแวง  ๑๐๔๑๒๓๑ พิกัดกริด  ๔๘ PVB  ๑๔๙๒๖๘  แผนที่ ๕๘๓๘ III L  ๗๐๐๑๗  โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  อุโบสถซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย  ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน  หลังคาเป็นโครงไม้สังกะสี  ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบ    แกะสลักเป็นลายพันธ์พฤกษา  ส่วนที่จั่วแกะสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์  ซึ่งแกะสลักขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์  ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ เรียกว่า “หลวงพ่อโต

ภายนอกพระอุโบสถ  ทั้ง ๔ มุม  มีธาตุในศิลปะล้านช้างตั้งอยู่   ปัจจุบันเหลือเพียง  ๒  องค์  องค์ที่ ๓  ยังคงมีซากปรังหักพังเหลืออยู่   แต่องค์ที่ ๔ ไม่มีให้เห็นแล้ว องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  

      วัดเขียนบูรพาราม  ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ  และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  ๑๐๗  ตอนที่ ๑๖ วันที่  ๒๕  มกราคม  ๒๕๓๓   เนื้อที่ประมาณ ๒  ไร่  ๕๓  ตารางวา สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๙ ได้อนุญาตให้ดำเนินการบูรณะครั้งที่ ๔  เมื่อ ปี  พ.ศ. ๒๕๔๔   ซึ่งการบูรณะครั้งที่ ๔ นี้  ได้รับอนุญาตให้บูรณะพระอุโบสถ  องค์หลวงพ่อโต  และมีการหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้นสำหรับประชาชนได้มีโอกาสปิดทอง  โดยดำเนินการเททองหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้น  เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๔  และทำพิธีมหาพุทธาภิเษก  ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๕

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย