-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปกครอง / สภาพทางเศรษฐกิจ / การคมนาคม

การปกครอง
แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองท้องที่  ออกเป็น  ๒๒  ตำบล   ๒๗๖  หมู่บ้าน  โดยแบ่งการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น   ดังนี้
๑. เทศบาลตำบล  ๒  แห่ง 
๒. องค์การบริหารส่วนตำบล  ๒๑  แห่ง   

สภาพทางเศรษฐกิจ  
อำเภอขุขันธ์   มีสภาพทางเศรษฐกิจที่สำคัญ  แยกได้ดังนี้

๑. การเกษตรกรรม    มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น   ๔๖๕,๗๗๗ ไร่  ครอบครัวเกษตรกร  จำนวน  ๒๑๔๖๘  ครอบครัว  ปลูกพืชทางการเกษตรในพื้นที่ปริมาณมากที่สุดถึงร้อยละ  ๙๕ ของพื้นที่การเกษตร คือ ปลูกข้าว  ปลูกมันสำปะหลัง, ปลูกไม้ผล  และปลูกปอ  ตามลำดับ

๒. การอุตสาหกรรม  มีอุตสาหกรรมโรงงานทำปุ๋ยชีวภาพ  จำนวน  ๑๑  แห่ง

๓. การพาณิชย์   มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่   จำนวน  ๙  แห่ง  มีธนาคาร  ๕  แห่ง  ดังนี้
 ๓.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน  สาขาขุขันธ์
 ๓.๒ธนาคารออมสิน  สาขาขุขันธ์
 ๓.๓ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  สาขาขุขันธ์
 ๓.๔ ธนาคารกรุงไทย  สาขาขุขันธ์
 ๓.๕ ธนาคารกสิกรไทย  สาขาขุขันธ์

๔.หัตถกรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียง   ได้แก่ ครุน้อยบ้านสะอาง , เกวียนน้อยบ้านใจดี, ผอบหรือกระอูบใบตาลบ้านหนองก๊อก , กระเป๋าใบเตยบ้านตาทึง , หมวกใบตาล , กระเป๋าผือ และเสื่อใบเตยบ้านเขวิก  ฯลฯ 
                   
การคมนาคม
อำเภอขุขันธ์  มีการคมนาคมที่สะดวก  มีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ  เช่นทางหลวงแผ่นดิน , รพช.,อบต. เชื่อมต่อระหว่าง  หมู่บ้าน,ตำบล,อำเภอ,จังหวัดและกรุงเทพฯ

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย