ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเล่นมโหรีปี่พาทย์

การเล่นมโหรีปี่พาทย์  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

๑. วงปี่พาทย์เครื่องห้า  มีเครื่องดนตรีที่ผสมในวง  โดยมีวิธีการบรรเลงและหน้าที่ต่าง ๆ กัน  ดังนี้
     ๑)  ปี่ใน  เดินทำนองถี่ ๆ บ้าง  โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง  มีหน้าที่ดำเนินทำนองและช่วยนำวงด้วย
     ๒)  ระนาดเอก  ตีพร้อมกัน 2 มือเป็นคู่ 8 เดินทำนองเก็บถี่ ๆ โดยตลอดมีหน้าที่เป็นผู้นำวง
     ๓)  ฆ้องวงใหญ่ ตีพร้อมกัน 2 มือบ้างตีมือละลูกบ้าง มีหน้าที่ดำเนินทำนองเนื้อเพลงเป็นหลักของวง
     ๔)  ตะโพน ตีมือละหน้า  ให้เสียงสอดสลับกัน มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับให้รู้วรรคตอนของเพลง  และเป็นผู้นำกลองทัดด้วย
     ๕)  กลองทัด  ตีห่างบ้างถี่บ้างตามแบบแผนของแต่ละเพลงที่กำกับจังหวะย่อย ให้รู้จังหวะเบาจังหวะหนัก

๒. วงปี่พาทย์เครื่องคู่    มีเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นจากวงปี่พาทย์เครื่องห้าอีก ๒ ชิ้น  คือ
     ๑) ระนาดทุ้ม  ตีพร้อมกันทั้งสองมือบ้าง  ตีมือละลูกบ้าง  หรือมือละหลาย ๆ ลูกบ้าง  มีหน้าที่สอดแทรกหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองให้สนุกสนาน
     ๒) ฆ้องวงเล็ก ตีเก็บถี่ ๆมือละลูกบ้างมือละหลาย ๆ ลูกบ้าง มีหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูงปี่พาทย์เครื่องคู่นี้  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๓. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่   มีเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นจากวงปี่พาทย์เครื่องคู่อีก ๒ ชิ้น  คือ ระนาดเอกเหล็ก  และระนาดทุ้มเหล็ก ตีพร้อมกัน  ทั้งสองมือเป็นคู่ ๘ เดินทำนองถี่ ๆ บ้างตีกรอบ้าง  เช่นเดียวกับระนาดเอก  แต่มีหน้าที่เพียงช่วยให้เสียงกระหึ่มขึ้นเท่านั้นไม่มีหน้าที่นำวง  ปี่พาทย์เครื่องใหญ่นี้ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในวงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า  เครื่องคู่และเครื่องใหญ่นี้  ถ้าการบรรเลงบางตอนเห็นควรมีฉาบเล็ก  ฉาบใหญ่หรือโหม่งก็นำมาผสมได้  โดยมีหน้าที่ดังนี้ ฉาบเล็กตีได้ทั้งให้ข้าง ๆ กระทบกัน  หรือตี ๒ ฝา  เข้าประกบกัน  มีหน้าที่หยอกล้อ  ยั่วเย้าไปกับฉิ่ง  หรือให้สอดคล้องเข้ากับทำนองเพลง  ฉาบใหญ่ตี ๒ ฝาเข้าประกอบกันตามจังหวะต่าง ๆ ถ้าเป็นเพลงสำเนียงจีนก็ตีให้เข้ากับทำนอง   โหม่ง  ตีตรงปุ่มด้วยไม้ตีตามจังหวะ  มีหน้าที่ควบคุมจังหวะต่าง ๆ

การบรรเลงปี่พาทย์โดยปกติระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่จะใช้ไม้แข็งตีแต่ถ้าต้องการให้มีเสียงนุ่มนวลไม่ตีเป็นไม้นวมเสียทั้ง ๒ อย่าง เรียกว่า “ปี่พาทย์ไม้นวม” ถ้าบรรเลงประกอบการขับเสภา ซึ่งมีร้องส่งก็เอาตะโพน  และกลองทัดและปี่ในออกเอกปี่ชวาและกลองมลายูเข้ามาแทน  ส่วนงานศพจะใช้เฉพาะปี่พาทย์นางหงษ์

การเล่นมโหรีปี่พาทย์ของอำเภอขุขันธ์ มีมาแต่โบราณ  แต่ในปัจจุบัน  กำลังจะสูญหายไป เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและได้เสียชีวิตไปทีละคน  ขาดการเอาใจใส่ดูแลส่งเสริมรักษาเท่าที่ควร  โดยเฉพาะบางหมู่บ้านมีผู้เล่นได้แต่เครื่องปี่พาทย์มีไม่ครบชุด  บางหมู่บ้านมีเครื่องปี่พาทย์ครบชุดแต่ขาดผู้เล่น  เยาวชน รุ่นหลัง ไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร  หันไปสนใจวัฒนธรรมตะวันตก  หันไปเล่นดนตรีสากลเสียส่วนใหญ่   จึงทำให้ขาดการสืบสานดนตรีพื้นบ้านอย่างแท้จริงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง   จึงเห็นสมควรสร้างจิตสำนึกปลูกฝังและถ่ายทอดไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้สนใจ มองเห็นคุณค่าของดนตรีไทย และใส่ใจในการอนุรักษ์ให้คงอยู่กับสังคมไทยตลอดไป

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย