ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีประมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหาร แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค ออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ให้จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร มีผลทำให้ภาคและมณฑลถูกยุบไป ในปีเดียวกันนี้ได้มีการปรับปรุง แก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้ง โดยปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด ให้จังหวัดมีสถานะเป็นนิติบุคคล อำนาจบริหารที่มีอยู่กับกรมการจังหวัด ให้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหาร ให้มีกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก โดยเลือกทางอ้อม โดยการเลือกผู้แทนตำบล ไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2476 ปรากฏว่ามีผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ คนแรก คือ ขุนพิเคราะห์คดี ( อินทร์ อินตนัย)
ปี พ.ศ. 2478 มี หลวงศรีราชรักษา (ผิว ชาศรีรัฐ ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์