ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การยุบ "เมือง" เป็น “อำเภอ”

ปี พ.ศ. 2443 โดยกระทรวงมหาดไทย  ได้ตรากฎกระทรวงเปลี่ยนชื่อ  มณฑล ทั้ง 4  มณฑล  ทำให้ชื่อในมณฑลภาคตะวันอกเฉียงเหนือเปลี่ยนไป  
-  มณฑลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ​​  เป็น  มณฑลอิสาน
-  มณฑลฝ่ายเหนือ  เป็น  มณฑลอุดร  

และในปี 2443  ปีเดียวกันนี้เอง  เช่นเดียวกันได้มีการตรากฎกระทรวงให้ยุบเมืองเล็ก ๆ ทั่วประเทศเป็นอำเภอ  จึงทำให้เมืองต่าง ๆ  เปลี่ยนสถานะเป็นอำเภอ  ตั้งแต่นั้นมา  เช่น  
-  เมืองราษีไศล  เปลี่ยนเป็น  อำเภอราษีไศล ขึ้นต่อเมืองศีร์ษะเกษ
-  เมืองอุทุมพรพิสัย  เปลี่ยนเป็น  อำเภออุทุมพรพิสัย  
-  เมืองกันทรลักษ์  เปลี่ยนเป็น  อำเภอกันทรลักษ์  
-  เมืองมโนไพร  เปลี่ยนเป็น  อำเภอมโนไพร  
-  เมืองกันทรารมย์  เปลี่ยนเป็น  อำเภอกันทรารมย์  
ทั้งนี้โดยให้ทั้ง  4  อำเภอ  ดังกล่าว  ขึ้นต่อเมืองขุขันธ์  

จากการที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ยังคงสถานะเรียกชื่อเมืองอยู่เพียง 3 เมือง เท่านั้น ได้แก่ เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ  และเมืองเดชอุดม 
โดยให้อำเภอกลางศีร์ษะเกษ  อำเภออุทัยศีร์ษะเกษ  และอำเภอปจิมศีร์ษะเกษ  ขึ้นต่อเมืองศีร์ษะเกษ  ทั้ง  3 อำเภอ  
อำเภอกลางเดชอุดม  อำเภออุทัยเดชอุดม และอำเภอปจิมเดชอุดม ให้ขึ้นต่อเมืองเดชอุดมทั้ง 3  อำเภอ  
ส่วนอำเภออุทุมพิสัย  อำเภอกันทรลักษ์  อำเภอมโนไพร และอำเภอกลางขุขันธ์  ขึ้นต่อเมืองขุขันธ์  

ต่อมาในปีเดียวกันนี้เอง ได้มีการปรับปรุงระบบเมืองต่าง ๆ อีกครั้ง โดยเมืองที่ขึ้นกับมณฑลให้แบ่งเป็นเมืองบริเวณ โดยแต่งตั้งตำแหน่งข้าหลวงมากำกับเมืองบริเวณอีกชั้นหนึ่ง  ดูแลกำกับบริหารราชการเจ้าเมืองต่าง ๆ อีกชั้นหนึ่ง โดยให้รวมเมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม  รวม  3  เมือง  รวมเรียกว่า  เมืองบริเวณขุขันธ์  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระรัตนโกษา (จันดี) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดเมืองขุขันธ์ (อยู่ใต้บังคับบัญชาเจ้าเมืองขุขันธ์ ผู้เป็นบุตรเขย) ได้ดำรงตำแหน่งใหม่ เป็นตำแหน่งข้าหลวงกำกับบริเวณขุขันธ์ พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์ราชทินนามใหม่ เป็นพระยาบำรุงบุระประจันต์จางวาง ( ตำแหน่งสูงกว่า เจ้าเมืองขุขันธ์ ผู้เป็นบุตรเขย)   

จะเห็นว่า พระยาบำรุงบุระประจันต์จางวาง (จันดี) เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์ เป็นพระรัตนโกษา ตำแหน่งปลัดเมืองขุขันธ์ ซึ่งมี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา  ขุขันธิน )  เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9  บังคับบัญชา แต่เมื่อมีตำแหน่งสูงกว่า  คือ  ตำแหน่งข้าหลวงกำกับเมืองบริเวณขุขันธ์ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดเกล้าฯ บรรดาศักดิ์ ราชทินนาม พระยาบำรุงบุระประจันต์จางวาง  เป็นตำแหน่งที่สูงกว่า เจ้าเมืองและผู้ว่าราชการเมือง ที่เป็นเช่นนี้ได้ส่วนหนึ่งก็คือ พระยาบำรุงบุระประจันต์จางวาง  มีสถานะเป็นพ่อตาของ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา ขุขันธิน) ต่างก็ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเมื่อมีการยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงกำกับบริเวณเมืองขุขันธ์  ยุบรวมเมืองศีร์ษะเกษ เมืองเดชอุดม  และเมือง ขุขันธ์  เป็นเมืองเดียวกัน  เรียกว่า  “เมืองขุขันธ์”  ก็ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้  พระยาบำรุงบุระประจันต์  (จันดี)  เป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์    ส่วนพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา ขุขันธิน) ที่เป็นผู้ว่าราชการ  เมืองขุขันธ์เดิม พระยาบำรุงบุระประจันต์ (จันดี) ข้าหลวงเมืองขุขันธ์  ก็ได้กราบทูลให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น กรมการพิเศษเมืองขุขันธ์  และกรมการพิเศษจังหวัดขุขันธ์  ในเวลาต่อมา  

เพื่อให้เห็นถึงภาพรวม และฐานะความเป็นอยู่ของเมืองขุขันธ์ ในปี พ.ศ.2443 ซึ่งอยู่ในสมัยที่ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา  ขุขันธิน ) เป็นผู้ว่าราชการเมือง (เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 9) จากปี พ.ศ. 2440 – 2450  จึงขอคัดเอารายงานประจำปี 2443 ของเมืองขุขันธ์ ดังนี้ 

1.  ตำแหน่งลักษณะปกครอง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในปี 119  ชายฉกรรจ์  ได้ส่งส่วยพระราชทรัพย์ของหลวง 15000 คน หญิงฉกรรจ์ 15200 คน  และเป็นคนชราพิการอีกรวมทั้งสิ้น  50003 คน ตำบล 54  ตำบล  หลังคาเรือน 3990  หลัง ผู้ร้ายย่องเบา 7  ราย  ผู้ร้ายทิ้งของกลาง ทั้ง 7  ราย  ได้รับเป็นสัจ  ผู้ร้ายปล้น  6  ราย  ให้การเป็นสัจ  

ในปี 119 นี้ ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระพิไชยสงคราม ปลัดเมืองขุขันธ์     พระพิไชยราชวงศา  ผู้ช่วยราชการเมืองขุขันธ์ และกรมการเมืองขุขันธ์  ออกจับโจรผู้ร้ายบริเวณเมืองขุขันธ์ โจรผู้ร้ายก็สงบเรียบร้อยลง
คนในโรงศาล  ปี  119  ความในศาลอำเภอเปรียบเทียบแล้ว 20  เรื่อง  ค้างอยู่  131  เรื่อง  ศาลในเมืองชำระความไปแล้ว ความอาญา  7  เรื่อง  ค้างอยู่  25  เรื่อง
การทำนา  ในปี 119  ปกติเหมือนเดิม  (118)  นาได้ผลเมล็ดข้าว 1 ใน 3  ส่วน   ราคาขาย  100 สัด เป็นเงิน 20  บาท  
การค้าเกิดขึ้นในเมืองขุขันธ์ จำหน่ายไปต่างเมือง เป็นหนังสัตว์ เขาสัตว์  ประมาณราคา  7642  บาท  สินค้าต่างเมือง  เข้ามาจำหน่ายประมาณ  24860  บาท  
  ผลประโยชน์แผ่นดิน  ปี  119  เก็บเงินได้  53118  บาท  48  อัฐ
  การศึกษา  ในปี 119  พระปลัดวัดจันทร์นคร  เป็นอาจารย์สอนนักเรียนที่โรงเรียนบำรุงนิมิตรพิทยาคม  มีนักเรียน 50 คน  ระเบียบวิชาสอน  พระญาณรักขิต  ผู้อำนวยการศึกษามณฑลอิสาน  ส่งแบบเรียนเร็วบทบวกให้มาสอน  
  การศาสนา  ในปี  119  มีอาราม  114  แห่ง  มีสงฆ์  11  แห่ง  ร้าง  13  แห่ง  จำนวนสงฆ์  585  รูป  สามเณร  687  รูป  ในปี  119  สร้างวัดขึ้นอีก  5  อาราม  วัดร้างไม่มี     พระสงฆ์เพิ่ม  129  รูป  สามเณรเพิ่ม  198  รูป  รวมสงฆ์เก่าใหม่  814  รูป  สามเณร  816  รูป  วัด  โรงสวดศาสนาอื่น  ไม่มี  สร้างโรงเรียนขึ้น  1  แห่ง 
  การโยธา  ทำถนนสี่กั๊ก  ยาว  20  เส้น  
  การโทรเลขได้ทำที่ออฟฟิตโทรเลขโดยเรียบร้อยประทับตรารูปเทวดาเป็นสำคัญว่า  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ (เปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์เป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์  ปี  พ.ศ. 2440  ซึ่งว่า พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ปัญญา  ขุขันธิน )  เจ้าเมืองท่านที่  9  ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ เป็นท่านแรก )

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย