-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เปลี่ยนชื่อ "เมืองขุขันธ์" เป็นชื่อ "จังหวัดขุขันธ์" เมื่อปี พ.ศ. 2459

ปี พ.ศ. 2459  เป็นปีเดียวกันนี้  เมื่อนามเมืองขุขันธ์  ได้เปลี่ยนเป็น  “จังหวัดขุขันธ์”    ซึ่งตรงกับปลายสมัยที่ อำมาตตรีหม่อมเจ้าถูกถวิล สุขสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ ท่านสุดท้าย  ในขณะนั้น มีข้าราชการที่เป็นข้าราชบริพารและมีตำแหน่งประจำจังหวัดขุขันธ์ ได้ขอ พระราชทานนามสกุล  ดังนี้  
  1. นามสกุลลำดับที่ 2551  ผู้ขอพระราชทาน  คือ  รองอำมาตย์โทขุขันธ์  เขตโกษินทร์ ( เชื้อ)  ขณะที่ขอดำรงตำแหน่ง  พนักงานคลังจังหวัดขุขันธ์  ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “จุลรังษี”
  2.  นามสกุลลำดับที่ 2612  ผู้ขอพระราชทาน  คือ รองอำมาตย์เอก  กิมเส็ง ขณะที่ขอดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขุขันธ์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า  “กาญจนศิริ”
  3.  นามสกุลลำดับที่  3536  ผู้ขอพระราชทาน  คือ  อำมาตย์ตรีพระยาขุขันธ์ภักดี - ศรีนครลำดวน  ( ปัญญา ) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9   ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ท่านที่ 1 ขณะที่ขอท่านดำรงตำแหน่งที่ 3  คือ  กรมการพิเศษเมืองขุขันธ์  ได้รับพระราชทาน  นามสกุลว่า  “ขุขันธิน”
  4. นามสกุลลำดับที่ 4355  ผู้ขอพระราชทาน คือ นายหมู่ลูกเสือเอกสามัญ (บุญทัน)  ขณะที่ขอดำรงตำแหน่ง  ครูประจำโรงเรียนขุขันธ์  ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า   “ศิลาคุปต์”
  5. นามสกุลลำดับที่  4783  ผู้ขอพระราชทาน  คือ  อำมาตย์โทพระพิชัยราชวงศา     (บุญมี)  ขณะที่ขอดำรงตำแหน่ง  กรมการพิเศษจังหวัดขุขันธ์  ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า  “ศรีอุทุมพร”
  6. นามสกุลลำดับที่  4847 ผู้ขอพระราชทาน  คือ  อำมาตย์ตรี  ขุนเวชการบริรักษ์ (ศรี)  ขณะที่ขอดำรงตำแหน่ง  แพทย์จังหวัดขุขันธ์  ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า  “วรสุมันต์”
  7. นามสกุลลำดับที่ 5672  ผู้ขอพระราชทาน  คือ ร้อยตำรวจโทดาษ ผู้บังคับการตำรวจภูธร 3 จังหวัดขุขันธ์  ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ถาวรเสถียร”
  8. นามสกุลลำดับที่ 5673  ผู้ขอพระราชทาน คือ ร้อยตำรวจตรี รุตน์ ตำแหน่งประจำกองตำรวจภูธร 3 จังหวัดขุขันธ์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “กิตติสัททานนท์”
  9. นามสกุลลำดับที่ 1550 ผู้ขอพระราชทาน คือ หลวงศุภกิจวิเลขการ (เชย) ปลัดจังหวัดขุขันธ์ (พ.ศ. 2456 -2459) มณฑลอุบลราชธานี , ( พระยาสุนทรพิพิธ ,พ.ศ. 2467) ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า   “มัฆวิบูลย์”
นามสกุลพระราชทานที่กล่าวถึงนี้  บางนามสกุล ปัจจุบันทายาทอาจไม่มีแล้ว  หรือมีอาจไปตั้งถิ่นฐานใหม่  ณ  ที่อื่น
          และในปี พ.ศ. 2459 นี่เอง ประวัติเมืองขุขันธ์ ต้องจารึกไว้เป็นสาระสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามคำว่า เมือง เป็น จังหวัด ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง เปลี่ยนเป็น ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศ ดังนั้น เมืองขุขันธ์ จึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดขุขันธ์ ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ เปลี่ยนเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นมา แต่ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดขุขันธ์ ยังคงตั้งอยู่ ณ ที่อำเภอกลางศรีสะเกษ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ อำมาตตรี พระยาภักดีศรีสุนทรราช (ดิส โกมลบุตร ) ได้ดำรงตำแหน่งในนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ เป็นท่านแรก โดยใช้ดวงตราไปรษณียากร และดวงตราประทับใช้ในราชการ ซึ่งเดิมมีอักษรโดยใช้ชื่อ ขุขันธ์ ก็ยังใช้เหมือนเดิม แต่ให้ความหมายว่า จังหวัดขุขันธ์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย