-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เส้นสายแห่งกาลเวลา(Timeline)ทางประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ที่สำคัญและเกี่ยวกับเมืองขุขันธ์/ประเทศ/เมืองใกล้เคียง จังหวัดขุขันธ์ และอำเภอขุขันธ์ จากอดีตถึงปัจจุบัน


กว่า 4,300 ปีก่อนคริสตกาล /ก่อน พ.ศ.ไปกว่า3,700ปี 
        แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจากยูเนสโกเมื่อปี พ.ศ. 2535 
        แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์กว่า 5,000ปี ที่นี่เป็นแหล่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ เครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามและหลากหลาย  นอกจากเครื่องปั้นดินเผาแล้ว ยังพบเครื่องมือและอุปกรณ์ยุคโบราณอื่นๆ เช่น เครื่องมือทำจากสำริดก่อนที่จะมีการใช้เหล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสมัยนั้น   ดังนั้น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จึงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภาคอีสานในอดีต และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจในโบราณคดีและประวัติศาสตร์อีกด้วย

กว่า 3,800 ปีก่อนคริสตกาล /ก่อน พ.ศ.ไปกว่า3,200ปี 
    แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด เป็นแหล่งโบราณที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้ ตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีความสำคัญทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีการขุดค้นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศ ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ราว 4,500 ปีมาแล้ว จนถึงปัจจุบัน
    จากการขุดค้นพบหลักฐานสำคัญหลายอย่าง ได้แก่:
        1.โครงกระดูก พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 635 โครง ซึ่งช่วยให้เข้าใจถึงการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมของบรรพบุรุษในอดีต
        2. โบราณวัตถุ มีการค้นพบโบราณวัตถุมากกว่า 20,000 ชิ้น รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาที่ยังสมบูรณ์ถึง 4,000 ชิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิตภาชนะในยุคนั้น
        3. เครื่องมือและอุปกรณ์ พบแวดินเผา (เครื่องมือทอผ้า) มากกว่า 1,000 ชิ้น ที่บ่งบอกถึงการพัฒนาทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
        4. หลักฐานการเลี้ยงสัตว์ งานวิจัยล่าสุดยังพบหลักฐานการเลี้ยงไก่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่บ้านโนนวัด ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการศึกษา   เกี่ยวกับการเกษตรกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์
    การค้นพบเหล่านี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยของมนุษย์ในพื้นที่นี้ต่อเนื่องตั้งแต่ยุคหินใหม่จนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น แต่ยังช่วยให้เข้าใจถึงพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนในภูมิภาคนี้ได้อย่างลึกซึ้ง

พ.ศ. 214-260
         เมืองสด๊กโคกขัณฑ์  หมู่บ้านลำดวน ตระพังสวาย หรือเมืองโคกขัณฑ์ หรือเมืองขุขันธ์ ของพระเจ้า ชคตศรีขัณฑเรศวร ในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 1580 เป็นเมืองคู่มิตรกับเมืองอวัธยะปุระ ของ พระเจ้าอยู่หัวอัญ ศรีราชปติวรมัม  ซึ่งเมืองอวัธยะปุระ เป็นเมืองหนึ่งที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระโสภณะเถระ และ พระอุตตระเถระ มาเผยแพร่พระพุทธศาสนา 
         พระเจ้าอโศกมหาราช หรือธรรมาโศก (อโศก ผู้ทรงธรรม) หรือศรีธรรมาโศกราช พระองค์เป็นพระราชาองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมริยะ (Maurya) ครองราชสมบัติ ณ นครปาฏลีบุตร ในห้วงปี พ.ศ. 214-260 (ทรงครองราชย์ 4 ปี ก่อนราชาภิเษกในปีพ.ศ.218) ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชมพูทวีป และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกที่สําคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา  เมื่อปี พ.ศ. 236 (ภายหลังพุทธปรินิพพาน 235 ปี) พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ขึ้น ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว  ได้ส่งคณะพระธรรมทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา 9 คณะ โดยคณะที่ 8  พระโสภณะเถระ และพระอุตตระเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ออกเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน ได้แก่ พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้นมา  ดังนั้น หากเราอนุมานแบบนิรนัยอย่างสมเหตุผลแล้ว เมืองสด๊กโคกขัณฑ์ หรือเมืองโคกขัณฑ์ หรือเมืองขุขันธ์ จึงมีอายุตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 218 - 236 ซึ่งหากนับถึงวันนี้ (พ.ศ. 2567) เมืองสด๊กโคกขัณฑ์ หรือเมืองโคกขัณฑ์ หรือเมืองขุขันธ์ จึงมีอายุราว 2,349 - 2,331 ปีมาแล้ว
ภาพประกอบเนื้อหา - ขบวนของพระเจ้าอโศกบนสถูปสาญจี (Sanchi)
ภาพโดย Anandajoti Bhikkhu จาก https://www.flickr.com/people/64337707@N07 (CC 2.0)

         ภารกิจหลักที่ของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา มี 3 ประการ ดังนี้ 
         ประการแรก คือให้สร้างสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในที่ต่างๆ ทั้งในอินเดียและลังกาทวีป
         ประการที่สอง คือทรงให้ทําตติสังคายนาที่นครปาฏลีบุตรอีกครั้งหนึ่งเพื่อกลั่นกรองพระธรรมวินัยให้ตรงตามวาทะของพระอริยสาวก ครั้งเมื่อทําปฐมสังคายนา
         และประการที่สาม คือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศ เช่น คันธาระประเทศ (อัฟกานิสถาน) เปอร์เซีย ลังกาทวีป (ศรีลังกา) สุวรรณภูมิประเทศ เป็นต้น

พุทธศตวรรษที่ 5 (พ.ศ. 401-500)
        เมืองโบราณศรีเทพ 
ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์  เมืองโบราณที่เคยถูกลืม  มรดกโลกแห่งที่ 7 ของประเทศไทย  และเป็นแห่งที่ 4 ในประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ เมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง (The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 45 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่กรุงรียาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย  
        อุทยานประวัติศาสตร์เมืองโบราณศรีเทพ พบหลักฐานทางโบราณคดีค่อนข้างหนาแน่น บ่งชี้ว่ามีชุมชนตั้งอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 5-7 หรือราวกว่า 2000 ปีมาแล้ว เป็นชุมชนที่รู้จักใช้เครื่องมือเหล็ก มีประเพณีการฝังศพ สัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่พบในกลุ่มลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก  ต่อเนื่องจนราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 มีการพัฒนาจากชุมชนขนาดเล็กระดับหมู่บ้านเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีการสร้างเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ซึ่งได้แก่เมืองในที่มีผังรูปวงกลม หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าเป็นสมัยที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมขอมรุ่นแรกหรือเจนละ และวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งได้ผสมผสานกันจนเกิดลักษณะศิลปกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัว
  
        ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 (พ.ศ.1501 - 1800 /  ค.ศ. 958 - 1257 ) ได้รับอารยธรรมจากขอมโบราณแทนที่วัฒนธรรมทวารวดีที่เสื่อมลง   ในยุคสมัยนั้น  เมืองโบราณศรีเทพ มีความรุ่งเรืองมายาวนานกว่า 800 ปี เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและศูนย์กลางทางศาสนาบนแผ่นดินสยาม ประเทศไทย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งการขยายเมืองออกเป็นเมืองนอก  คงเกิดในระยะนี้ มีโบราณสถานสร้างในช่วงนี้ที่สำคัญกำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 16 คือปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้อง ซึ่งมีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงเทวาลัยในศาสนาฮินดูทั้งสองแห่งนี้ให้เป็นวัดพุทธในพุทธศาสนามหายานในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
        พอถึงพุทธศตวรรษที่ 18  (ราว พ.ศ. 1800 / ค.ศ.1257) จุดจบของเมืองโบราณศรีเทพก็มาถึง โดยเมืองนี้ถูกปล่อยทิ้งร้าง สันนิษฐานว่าเมืองศรีเทพได้ถูกทิ้งร้างลงจากโรคระบาดเนื่องจากไม่พบหลักฐานการอยู่อาศัยในชั้นดินหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมา

พ.ศ. 550 / ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 (พ.ศ. 501-600)
        ราวศตวรรษที่ 1-5 (ค.ศ. 1- 500 / ราว พ.ศ. 550-1050) พบร่องรอยการเริ่มต้นของรัฐฟูนัน 
ณ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในฐานะ “เมืองแม่” ของภูมิภาคบริเวณแหลมก่าเมา-แม่น้ำโขงตอนปลายคำว่า “ฟูนัน” (扶南) มาคำภาษาขอมโบราณ (Pre-Angkorian Old Khom) นั่นคือคำว่า “วฺนํ” (vnaṃ) ซึ่งพบได้ในจารึกสมัยก่อนเมืองพระนคร (Pre-Angkorian) ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 เป็นการสะกดคำพื้นเมืองให้อยู่ในรูปคำสันสกฤต (sanskritized word) ต่อมาวิวัฒน์มาเป็น พนํ (bnaṃ) พบได้ในจารึกสมัยเมืองพระนครช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 และท้ายที่สุด คำนี้ได้ตกทอดมาสู่ภาษาเขมรปัจจุบันว่า ภนํ (bhnaṃ (ភ្នំ); ภะ-นม) ซึ่งก็ล้วนแปลว่า ภูเขา เช่นเดียวกัน
        ตามตำนานของประเทศกัมพูชา เชื่อว่า พระนางโสมา (นางนาค) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรฟูนัน พระนามในบันทึกเอกสารจีนว่า Liǔyè (柳葉) หรือ Yèliǔ (葉柳) อันเป็นที่มาของตำนานพระทอง-นางนาค  ซึ่ง พระทอง เดิมเป็นพราหมณ์ชาวอินเดียที่เดินทางมาจากแคว้นกลิงคะ ทรงเดินทางโดยเรือเข้ามาสู่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1(ค.ศ.1-100 / พ.ศ.544 - 643) มาถึงอาณาจักรของนางนาคและได้ทำสงครามกัน   สุดท้ายได้เจรจาด้วยสันติโดยการอภิเษกสมรสพราหมณ์เกาฑิณยะจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันเทวะ กษัตริย์แห่งอาณาจักรฟูนัน    
        อาณาจักร์ฟูนัน มีเมืองท่าที่สำคัญชื่อว่า ออกแก้ว (Oc Eo) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญที่เชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการค้าขายกับจีนและอินเดีย โดยมีการแลกเปลี่ยนสินค้าหลายประเภท เช่น ทองคำ เงิน และเครื่องประดับ เป็นต้น เชื่อว่า การติดต่อเหล่านี้  ทำให้อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการแพร่กระจายวัฒนธรรมและอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พุทธศตวรรษที่ 7 – 8 (ราว พ.ศ. 601 - 799)
- ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๘ (ราว พ.ศ. 601 - 799) หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าวว่า ดินแดนแถบนี้ได้มีการติดต่อกับชาวอินเดีย อย่างเด่นชัด เนื่องจากดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสินค้าที่ชาวอินเดียต้องการ คือ เครื่องเทศ ยางไม้หอม และไม้หอม เป็นต้น การติดต่อค้าขายนี้มีผลพวงที่ตามมา คือการติดต่อเผยแพร่ทางอารยธรรม มีทั้งที่ชาวอินเดียเป็นผู้นำมาเผยแพร่โดยตรง รับผ่านจากประเทศข้างเคียง และจากการที่คนในดินแดนนี้เดินทางไปศึกษาในอินเดีย และรับเอาอารยธรรม ความรู้ และตำราต่างๆ มาเผยแพร่

พ.ศ. 1093 (ถึง พ.ศ. 1345)
    อาณาจักรเจนละ หรือภาษาจีนว่า เจินล่า (จีนตัวย่อ: 真腊; จีนตัวเต็ม: 真臘; พินอิน: Zhēnlà), ภาษาเขมรว่า เจนฬา (เขมร: ចេនឡា), และภาษาเวียดนามว่า เจินหลัป (เวียดนาม: Chân Lạp) เป็นชื่อที่เอกสารจีนใช้เรียกรัฐซึ่งมาทีหลังฟูนัน และมาก่อนอาณาจักรพระนคร ดำรงอยู่ในพื้นที่อินโดจีนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9  มี ปราสาทวัดภู เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร และมีพระมหากษัตริย์พระองค์แรกคือ ระเจ้าภววรมันที่ 1 (พ.ศ. 1123 – 1143
ครองราชย์ 20 ปี)

พ.ศ. 1143
    เจ้าชายจิตรเสน หรือที่รู้จักในชื่อ พระเจ้ามเหนทรวรมัม (พระนามที่ได้รับหลังการอภิเษก) หรือบ้างก็ยังคงเรียก พระเจ้าจิตรเสน เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ในช่วงปี พ.ศ. 1143 ถึง 1159 พระองค์มีบทบาทสำคัญในการขยายอำนาจของอาณาจักรเจนละ โดยเฉพาะในภูมิภาคอีสานของประเทศไทยในปัจจุบัน   มีพระราชบิดาคือ พระเจ้าวีรวรมัน พระราชมารดาคือ พระนางศรีวีรลักษมี 
     พระเจ้ามเหนทรวรมัม ได้สถาปนาศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย โดยมีการสร้างรูปเคารพและพระศิวลึงค์เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์   พบจารึกของพระองค์ได้หลายแห่ง จารึกด้วยอักษรปัลวะ ภาษาสันสกฤต ที่สำคัญได้แก่ จารึกปากน้ำมูล 1 และ จารึกปากโดมน้อย  นอกจากนี้ ยังมีจารึกอื่นๆ ในพื้นที่ต่างๆ เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ และขอนแก่น ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้เห็นภาพรวมของอารยธรรมในช่วงเวลานั้น   พระองค์มีส่วนสำคัญในการสร้างสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอื่น ๆ เช่น อาณาจักรจามปา และมีการส่งราชทูตไปเพื่อเจริญความสัมพันธ์ระหว่างกัน นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นที่รู้จักจากการใช้แม่น้ำมูลเป็นเส้นทางหลักในการขยายอำนาจของอาณาจักรเจนละ การเคลื่อนทัพและการค้า ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาอารยธรรมในภูมิภาคอีสานใต้เมื่อกว่า 1,400 ปีที่แล้ว ต่อมาภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต พระเจ้าอิศานวรมัมที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อมา

พ.ศ. 1580
    - พ.ศ.1580 (มหาศักราช 959) ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชื่อเมืองขุขันธ์ ในอดีตยุคขอมเมืองพระนคร(សម័យអង្គរ)ปรากฎบนจารึกเขาพระวิหาร เรียกว่า ស្រុកស្តុកគោកខណ្ឌ  คลิก
  พระเจ้าชคตศรีขัณฑเรศวร , พระเจ้าอยู่หัวอัญศรีราชปติวรมัม ,  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกันต็วนอัญศรีสูริยวรมัมเทพ , พระเจ้าชคตศรีพฤทเธศวร , พระเจ้าชคตศรีสิขเรศวร และศรีสกรมกำแสดงชี ทำพิธีบวงสรวงเฉลิมฉลองปราสาทพระวิหาร เมื่อมหาศักราช 959 ขึ้น 3 ค่ำ มาฆมาส ตรงกับพ.ศ.1580
  พระเจ้าชคตศรีขัณฑเรศวร , พระเจ้าอยู่หัวอัญศรีราชปติวรมัม ,  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกันต็วนอัญศรีสูริยวรมัมเทพ , พระเจ้าชคตศรีพฤทเธศวร , พระเจ้าชคตศรีสิขเรศวร และศรีสกรมกำแสดงชี ทำพิธีบวงสรวงเฉลิมฉลองปราสาทพระวิหาร เมื่อมหาศักราช 959 ขึ้น 3 ค่ำ มาฆมาส ตรงกับพ.ศ.1580

พ.ศ. 1656
-​ มหาปราสาทนครวัด​​  สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าสุริยะวฺรมฺมที่ 2 ระหว่างพ.ศ. 1656​​-​1693​ / ค.ศ. 1113 - 1150  ใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 37 ปี  สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระวิษณุเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของพระองค์ ด้วยเหตุนี้มหาปราสาทนครวัดจึงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก  

พ.ศ. 1879 นับถอยหลังขึ้นไป
- นับตั้งแต่ พ.ศ. 1879 ถอยหลังขึ้นไป เรียกว่า ยุคสมัยขอม หรือขอมโบราณ  และเรื่องราวในประวัติศาสตร์กัมพูชา นับตั้งแต่ราว พ.ศ. 1879 ลงมาถึงปัจจุบัน เรียกยุคสมัยเขมร  เพราะ ในราวปี พ.ศ. 1878 - 1879 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร หรือพระเจ้าชัยวรมัมที่ 9 แห่งเมืองพระนครหลวง   ได้เกิดการลุกฮือของชนชั้นทาสในเมืองพระนครหลวง   เนื่องจากการถูกบังคับกดขี่ใช้แรงงานหนักจากชนชั้นปกครองในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร (เอกสารเขมรระบุว่าทรงปกครองโดยไม่ชอบธรรม ทำให้บ้านเมืองเกิดกลียุค) จนเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติขอม  จากบันทึกของโจวต้ากวาน ทูตชาวจีนที่เข้ามาในเมืองพระนครหลวงในรัชสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 ได้บันทึกว่า ในเมืองมีทาสมากกว่านายทาส ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมทาสถึงกล้าลุกฮือขึ้นก่อจลาจลเพื่อปลดแอกจากชนชั้นปกครอง จากนั้นทาสได้ร่วมกันสังหารนายทาสจนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ.1879 ได้ปรากฏพระนามกษัตริย์พระองค์ใหม่พระนาม พระบาทศรีสุริโยพันธุ์ หรือพระเจ้าแตงหวาน (พ.ศ.1879-1883) โดยเฉลิมพระนามหลังจากเสวยราชสมบัติว่า พระบาทกมรเตง อัญศรีสุริโยพันธุ์ บรมมหาบพิตรธรรมิกมหาราชาธิราช (ภาษาเขมร: ព្រះបាទ​សម្ដេច​មហាបពិត្រ​ ​ធម្មិក​រាជា​ធិរាជ​ ​ជា​អង្គម្ចាស់​ផែនដី​ក្រុង​កម្ពុជា​ធិបតី ) และทรงรับพระนางจันทรวรเทวี (ภาษาเขมร: ព្រះ​នាង​ច័ន្ទតារាវត្តី) อันเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 เป็นสมเด็จพระอัครมเหสี  ซึ่งกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงนับถือพระพุทธศาสนา  และยกเลิกประเพณีการสร้างปราสาทหิน  เพื่อถวายแด่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดู พระเจ้าแตงหวานเกิดและโตในอาณาจักรขอมโบราณในฐานะชนชั้นกสิกร   ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่บรรดาทาสชาวจามเลือกที่จะยกพระเจ้าแตงหวานขึ้นเป็นกษัตริย์  เพราะทรงสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์จาม พงศาวดารกล่าวว่า  พระเจ้าแตงหวานทรงซัดพระแสงหอกลำแพงชัยถูกพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวรถึงแก่สวรรคตในปี พ.ศ. 1879 บรรดาขุนนางจึงยกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ซึ่งพระองค์ไม่ใช่คนในราชวงศ์  หรือเกี่ยวข้องกันกับกษัตริย์ในราชสกุลมหิธรปุระ และเป็นเรื่องยากที่บรรดาขุนนางที่ภักดีกับกษัตริย์องค์ก่อนจะยกคนที่สังหารกษัตริย์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่    เว้นแต่มีการก่อกบฏยึดพระราชอำนาจขุนนางจึงจำยอมต้องสวามิภักดิ์

พ.ศ. 1893
- พ.ศ. 1893 อาณาจักร
กรุงศรีอยุธยา ถูกสถาปนาขึ้นครั้งแรก โดยพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก  ซึ่ง
มีข้อสันนิษฐานว่าอยุธยา น่าจะเป็นเมืองเดิมที่เคยมีอยู่มาก่อนแล้ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก บริเวณวัดพนัญเชิง เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1893 และต่อมาเกิดโรคระบาดหนักทำให้พระเจ้าอู่ทอง ได้อพยพนำผู้คนข้ามแม่น้ำป่าสัก มาก่อร่างสร้างเมืองใหม่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระรามในปัจจุบัน และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น ณ ที่แห่งนั้น


พ.ศ. 1974
- พ.ศ. 1974 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา ครองราชย์ พ.ศ.1967 - 1991) ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองพระนครหลวง (นครธม) ในรัชสมัยพระธรรมาโศกราชได้ เพราะอยุธยาถือว่าเป็นญาติสายหนึ่งของเมืองพระนครหลวง  เมื่อมีอำนาจจึงพยายามขยายอำนาจกลับไป แล้วโปรดให้พระนครอินทร์เจ้า พระราชโอรสไปครองเมืองนครหลวงแทนในฐานะเมืองประเทศราช แล้วให้นำพระยาแก้ว พระยาไท พรอมทั้งพระประยูรญาติ เหล่าขุนนาง กับทั้งรูปหล่อพระโค สิงห์ สัตว์ต่าง ๆ กลับมากรุงศรีอยุธยาด้วย ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฏชัดในอยุธยาในเวลาต่อมา 

พ.ศ. 1976
- พ.ศ 1976 (ตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ-ครั้งที่ 2 แห่งกรุงศรียุธยาตอนต้น เริ่มครองราช พ.ศ.1967 -สิ้นสุดราชกาล พ.ศ.1991 )มีการบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมพระอัยการอาญาหวงห้ามหญิงชาวสยามแต่งงานกับคนต่างด้าว พ.ศ. 1976 ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะในช่วงนั้นคนต่างชาติเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาคงมีการตั้งถิ่นฐานครอบครัวและคลังสินค้ากันในกรุงศรีอยุธยา   จึงเป็นไปได้ที่อาจจะมีหญิงชาวสยามแต่งงานกับคนต่างด้าวบ้าง ด้วยความเป็นห่วงว่าหญิงชาวสยามจะเอาความลับเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองไปแจ้งให้กับสามีคนต่างด้าวทราบ  และเกรงว่าหญิงชาวสยามที่แต่งงานกับคนต่างด้าวและบุตรที่เกิดในภายหลังจะเข้ารีตไปนับถือศาสนาอื่น  จึงมีตรากฎหมายเพิ่มเติมขึ้นมาว่า  “...และไพร่ฟ้าขอบขัณฑเสมาทุกวันนี้ประกอบด้วยราคะโทสะโมหะโลภะ  มิได้กลัวแก่บาปละอายแก่บาป  เห็นนานาประเทศฝารั่ง อังกริด วิลันดา คุลา ชวา มลายู แขก กวย แกว ประกอบด้วยทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก และไทมอญวันนี้ ยกลูกสาวหลานสาวให้เป็นเมียมิจฉาทิฐิถือผิดเป็นชอบแล้วละฝ่ายสัมมาทิฏฐิเสีย   แลบุตรอันเกิดมานั้นก็ถือเพศไปตามพ่อและพากันไปสู่อบายภูมิเสีย  แลมันจะเอากิจการบ้านเมืองไปแจ้งแก่นานาประเทศฟัง...จึงมีพระราชโองการ...ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบัญญัติไว้ว่า แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าราษฎรข้าแผ่นดินชายหญิงไทยมอญ บมิยำบมิกลัวพระราชอาญาพระราชกำหนดกฎหมาย  เห็นพัสดุเข้าของเงินทองมิจฉาทิฐิอันมาค้าขายแต่นานาประเทศนอกด่านต่างแดน เลยยกลูกสาวหลานสาวให้เป็นเมียฝรั่ง อังกฤษ วิลันดา ชวา มลายู อันต่างศาสนาและให้เข้ารีตอย่างมิจฉาทิฐินอกศาสนา  ท่านว่าผู้นั้นเป็นเสี้ยนหนามในแผ่นดิน 

พ.ศ. 1981
- พ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา) จึงทรงให้รวบรวมหัวเมืองเหนือที่เคยแยกการปกครองเป็นสองเขตนั้น รวมเป็นเขตเดียวกัน แล้วแต่งตั้งพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระราชเทวี (ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระมหาธรรมราชาที่ 2) เป็นสมเด็จพระราเมศวรเจ้า ให้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกเพื่อกำกับดูแลหัวเมืองเหนือทั้งหมด ทำให้ราชวงศ์พระร่วงหมดอำนาจในปกครองสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยจึงค่อย ๆ ถูกรวมกับกรุงศรีอยุธยา และอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาโดยสมบูรณ์ในที่สุด

พ.ศ. 2013
- พ.ศ.2013 ภายหลังจากพระเจ้านารายณ์ราชา แห่งเมืองจตุรมุข หรือที่กัมพูชาเรียก ព្រះបាទនារាយណ៍រាជា (ឆ្នាំ១៤៦៣-ឆ្នាំ១៤៦៩) ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ ลงในปี ค.ศ.1469/พ.ศ.2012  พระเจ้าศรีราชา รามาธิบดี หรือ ព្រះបាទស្រីរាជា (ឆ្នាំ១៤៦៩-ឆ្នាំ១៤៨៥) ได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาในปี ค.ศ.1470/พ.ศ. 2013 พระเจ้าศรีราชารามาธิบดี ได้นำทัพออกสงครามเพื่อชิงดินแดนจากกรุงศรีอยุธยา  โดยชิงได้ เมืองตราจ(ตราด) จันทบุรี ระยอง ชลบุรี  สตึงเจริว(ฉะเชิงเทรา) ปัจจิมบุรี(ปราจีนบุรี) นางรอง นครราช(โคราช) บุรีรัมย์ สุรินทร์ และโคกขัณฑ์ (ชื่อเมืองขุขันธ์ ในสมัยนั้น) ดังนั้น จึงทำให้เมืองโคกขัณฑ์ ในสมัยนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าศรีราชา รามาธิบดี หรือ ព្រះបាទស្រីរាជា 15 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2013-2028) 

พ.ศ. 2028
- พ.ศ.2028 – 2047 เมืองโคกขัณฑ์(ชื่อเมืองขุขันธ์ ในสมัยนั้น) อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าธรรมราชา หรือ ព្រះបាទធម្មរាជា (ឆ្នាំ១៤៧៤-ឆ្នាំ១៥០៤)​​  แต่อยู่ในฐานะเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา เป็นระยะเวลา 19 ปี
 

พ.ศ. 2047
- พ.ศ. 2047 – 2099 เป็นระยะเวลา 52 ปี เมืองโคกขัณฑ์ อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของราชสำนักเขมรกรุงตวลบาสาน – กรุงลงแวก ซึ่งรัชสมัยพระศรีสุคนธบท​แห่งกรุงตวลบาสาน​​(ព្រះស្រីសុគន្ធបទ​ ​ គ.ស.១៥០៤)​ เมื่อ พ.ศ.2048 ชื่อ “เมืองโคกขัณฑ์”​(គោកខណ្ឌ) เขียนเป็น “เมืองโคกขัน” (គោកខាន់) ดังข้อความในประวัติศาสตร์ ข้างล่างนี้


พ.ศ. 2051
- พ.ศ. 2051 จารึก นี่สยำกก (នេះ ស្យាំកុក៑) หรือ จารึกเสียมกูก (សៀមគោក)​ หรือ ชาวสยามแห่งดินแดนที่ราบสูงของเมืองโคกขัณฑ์    หรือ โคกขัน  ส่งกองทัพไปช่วย พระศรีสุคนธบททำศึกกับขุนหลวงกอน ซึ่งเป็นกบฏตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองตวลบาสาน

พ.ศ. 2059
- พ.ศ.2059 - 2109 ราวต้นคริสต์สตวรรษที่ 16 ชาวกรุงละแวกในสมัยพระจันทรชา​ หรือ ព្រះបរមខត្តិយាមហាច័ន្ទរាជា(ឆ្នាំ១៥១៦-១៥៦៦) ก็ยังคงเรียกเมืองขุขันธ์ในอดีตยุคนั้นว่า “โคกขัน”

พ.ศ. 2099

- พ.ศ. 2099 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ พ.ศ. 1991 – 2031 ตรงกับ สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนกลาง) ทรงยกทัพไปตีเมืองละแวก เมืองโคกขัน จึงอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา ตอนกลาง อีกครั้ง
พ.ศ. 2106
-
พ.ศ.2106 - 2112 เมืองขุขันธ์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มหัวเมืองปักษ์ใต้ของกรุงศรีอยุธยา ตอนต้น ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ หรือ พระเจ้าช้างเผือก (พระนามเดิม พระเทียรราชา เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 แห่งอาณาจักรอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ. 2091 - 2111) และตอนกลาง ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งแรก ซึ่งตรงกับสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช(ครองราชย์เพียง 1 ปี ในระหว่างปี พ.ศ. 2111 - 2112)  คลิก

พ.ศ. 2112
- พ.ศ. 2112(เดือน 11) – 2127 เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 สมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช  แก่พระเจ้าบุเรงนอง ราชวงศ์ตองอู แห่งกรุงหงสาวดี ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 เดือน 9 พระยาจักรี ให้สัญญาณแก่ทัพกรุงหงสาวดี เข้าตีกรุงศรีอยุธยาและเปิดประตูเมือง ทำให้ทัพพม่าเข้ายึดพระนครสำเร็จ กรุงศรีอยุธยาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรตองอู ภายใต้อำนาจของกรุงหงสาวดี สรกโคกขัน หรือเมืองขุขันธ์ ช่วงนั้นจึงกลายเป็นรัฐอิสระ 

ศาลหลักเมืองขุขันธ์ สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยเมืองขุขันธ์เป็นรัฐอิสระ (พ.ศ. 2112 - 2127) ซึ่งหลักเมืองขุขันธ์หลักแรกนี้  อยู่บริเวณวัดรัมพนีวาส (วัดบ้านลำภู)  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ คลิก

-พ.ศ. 2112 - 2133 จารึก K.1006 พบที่กัมพูชา ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง (ครองราชย์ พ.ศ.2112-2133) ระบุว่า พระภิกษุจากศรีอยุธยานามว่า พระราชมุนี เดินทางไปนครวัดและไปถึงพนมบาเค็ง ยุคนั้น นครวัดกลายเป็นวัดพุทธ จากที่เคยเรียกว่า พระพิษณุโลก ตามคติฮินดูกลับมาเรียกว่า พระเชตุพน กับ พระเชตไพร พระราชมุนี มาเห็นพระพุทธรูปแขนหัก คอหัก ได้จัดการซ่อมแซม เท่ากับว่าตอนนั้นเป็นวัดพุทธเถรวาท และต่อมาบริเวณชั้น 2 ของนครวัด มีบริเวณที่เรียกว่า ព្រះពាន់ หรือ พระพัน เกิดจากที่มีคนไปแสวงบุญสักการะทำพระพุทธรูปไปถวายนานเข้าก็มีจำนวนมากนับพันพันองค์ เท่ากับว่านครวัดและเมืองนครธมไม่ได้ถูกทิ้งร้าง แต่ลดความสำคัญจากเมืองใหญ่กลายเป็นที่จาริกแสวงบุญ ในขณะที่ตัวเมืองย้ายไปทางทิศใต้ คลิก
จารึก K.1006 จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ 
แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทย
พ.ศ. 2127
- พ.ศ. 2118 พระยาละแวกยกทัพเรือมายังกรุงศรีอยุธยา คลิก

พ.ศ. 2127
- พ.ศ. 2127 (เดือน 6 ปีวอก) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงทำพิธีหลังน้ำประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาไม่ขึ้นตรงต่อกรุงหงสาวดี ที่เมืองแครง

พ.ศ. 2134
- พ.ศ.2134  ตรงกับสมัยพระภิกษุประทา  เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดลำภู เมืองโคกขัณฑ์ หรือ เมืองขุขันธ์ในยุคนั้น อยู่ภายใต้การปกครอง และได้ส่งกองทัพร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ตอนกลาง เพื่อไปรบกับสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แห่งกรุงละแวก และได้รับชัยชนะในปี พ.ศ. 2137

พ.ศ. 2174
- พ.ศ. 2174/ ค.ศ. 1631 ในรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 (ครองราชย์ พ.ศ. 2173–2199) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 24 แห่งอาณาจักรอยุธยา ตอนกลาง  ได้สร้างปราสาทนครหลวง หรือ พระมหาปราสาทพระนครหลวง หรือ พระที่นั่งนครหลวง  ภายหลังจากการสร้างวัดไชยวัฒนาราม 1 ปี โดยพระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงการสร้างปราสาทนครหลวงเอาไว้ว่า  “…ศักราช 993 ปีมะแมศก ทรงพระกรุณาให้ช่างออกไปถ่ายอย่างพระนครแลปราสาทกรุงกัมภุชประเทศเข้ามา ให้ช่างกระทำพระราชวังเป็นที่ประทับร้อน ตำบลริมวัดเทพจัน สำหรับจะเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท จึงเอานามเดิมซึ่งถ่ายมาใช้ชื่อว่า พระนครหลวง…”   ปราสาทนครหลวงนี้ นอกจากใช้เป็นสถานที่ประทับในระหว่างเสด็จขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแล้ว ยังมีหลักฐานอีกว่า สถานที่แห่งนี้ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธียิงอัตนาหรือการสวดอาฎานาฏิยสูตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรุษหลวง จัดขึ้นในเดือน 4 และพระราชพิธีกวนข้าวทิพย์และถวายข้าวยาคูแก่พระสงฆ์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่กระทำในเดือน 10 ทว่าต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ศูนย์กลางอำนาจย้ายลงมายังกรุงเทพมหานคร ความทรงจำและความสำคัญของปราสาทนครหลวงแห่งนี้ก็ค่อยๆ ลดน้อยถอยลงไป

พ.ศ. 2302
- พ.ศ.2302 ตากะจะ และ เชียงขันธ์ ร่วมกับสหายซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเขมรป่าดงตามจับพระยาช้างเผือกคืนกลับกรุงศรีอยุธยาได้ จึงมีความชอบ ตากะจะ ได้รับโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงแก้วสุวรรณ” ตำแหน่งนายกองหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน​ ในฐานะรับราชการในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย


พ.ศ. 2306
- ปี พ.ศ. 2306 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกฐานะชุมชนที่ตั้งบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ขึ้นเป็นที่ตั้งเมือง ชื่อว่า  “เมืองขุขันธ์” โดยโปรดเกล้าฯให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ “หลวงแก้วสุวรรณ” เป็น “พระไกร” ในราชทินนาม “พระไกรภักดีศรีนครลำดวน” เปลี่ยนตำแหน่งนายกองหมู่บ้านฯเป็นตำแหน่ง “เจ้าเมืองขุขันธ์” นับเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ปราสาทกุด หรือปราสาทสีเหลี่ยมโคกลำดวน อีกแห่งหนึ่ง
ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ที่เป็นศูนย์กลางหลักของเมืองขุขันธ์ นั้น
ก็คือ ปราสาทขอมโบราณที่ตั้งอยู่ใต้ฐาน และถูกสร้างทับคร่อมโดยอุโบสถวัดกลาง
อัมรินทราวาส อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน  ซึ่งเราสามารถสังเกต เห็นได้ว่า พื้นที่ตั้งของอุโบสถวัดกลาง จะมีลักษณะเป็นเนินสูง  นั่นเอง

พ.ศ. 2319
- พ.ศ. 2319 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสิน  แห่งกรุงธนบุรี ได้ทำสงครามกับลาว  ด้วยเหตุที่เมืองจำปาสักลาวใต้ได้ร่วมมือกับพระยานางรอง  ยกพลเข้ามาทำการกวาดต้อนผู้คนในครัวเรือนที่เคยขึ้นต่อจำปาสัก แต่ต่อมาได้มาขึ้นต่อการปกครองของสยามประเทศในขณะนั้น สร้างความไม่พอพระทัยให้พระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรี (พระยศในขณะนั้น) ยกทัพไปปราบ จนสามารถจับพระยานางรองประหารชีวิตแล้ว จึงได้ร่วมกับพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีเมืองลาวใต้ ที่เมืองจำปาสัก เมืองอัตปือแสนปาง และเมืองสีทันดร เมื่อเสร็จศึกแล้วได้กวาดต้อนชาวลาว และเกลี้ยกล่อมชนพื้นเมืองให้มาขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของ เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และ  เมืองสังขะ เป็นจำนวนมาก

พ.ศ. 2321
- พ.ศ. 2321 พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ทรงไม่พอพระทัยในการกระทำของเจ้าสิริบุญสาร เจ้าผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ที่ได้ให้พระสุโพธิ์ยกกองทัพไปจับพระวอ นำไปประหารชีวิต ถือเป็นการกระด้างกระเดื่อง ไม่ยำเกรงต่อพระราชอำนาจกรุงธนบุรี พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาจักรียกทัพไปปราบ โดยมีบัญชาให้ทัพจากเมืองขุขันธ์  เมืองสุรินทร์  และเมืองสังขะ  ยกทัพร่วมทำศึกในครั้งนี้ด้วย  ทัพจากเมืองขุขันธ์ โดยการนำทัพของ “พระไกรภักดีศรีนครลำดวน” (ตากะจะ หรือ หลวงแก้วสุวรรณ) และ “หลวงปราบ”  ผู้ช่วยเมืองขุขันธ์ (เชียงขันธ์) ในการทำศึกครั้งนี้ใช้เวลา 4 เดือน จึงสามารถชนะศึกและปราบปรามได้



พ.ศ. 2325
- พ.ศ.2325 ตั้งเมืองศีร์ษะเกษ คลิก  

พ.ศ. 2328
- พ.ศ. 2328 พระรัตนวงศา (ท้าวอุ่น) เจ้าเมืองศีร์ษะเกษท่านที่ 1  ถึงแก่อนิจกรรม  พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระวิเศษภักดี ( ท้าวชม)  ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองศีร์ษะเกษ เป็นท่านที่ 2 หลังจากท่านรับตำแหน่งได้ไม่นาน  พระวิเศษภักดี (ท้าวชม) ก็ได้ทำการย้ายที่ตั้งเมืองศีร์ษะเกษจาก บ้านโนนสามขา สระกำแพง(สระกำแพงใหญ่) ที่เป็นที่ตั้งเดิมไปตั้ง ณ ที่ตั้งเมืองศีร์ษะเกษในปัจจุบัน

พ.ศ. 2343
พ.ศ. 2343 พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 1 ทรงดำริถึงเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะว่า กองทัพจากเมืองทั้งสามได้ร่วมตามเสด็จในราชการสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กับทัพส่วนกลาง เมื่อครั้งที่พระองค์คุมกองทัพออกทำศึกสงครามมาหลายครั้ง โดยเฉพาะทัพจากเมืองขุขันธ์ เมื่อครั้งที่ยกไปตีลาวที่เมืองเวียงจันทน์  มีความชอบที่จะได้รับผลตอบแทนอย่างสมเกียรติในฐานะเมืองหัวเมืองชั้นนอก ดังนั้นพระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะความสำคัญของเมืองทั้งสาม แม้จะเป็นเมืองชั้นนอกห่างไกลและขึ้นอยู่กับบังคับบัญชาของเมืองพิมาย (เมืองโคราช) มาก่อน ให้ยกเลิกให้เมืองทั้งสาม คือ เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ ปกครองบ้านเมืองโดยมีราชการขึ้นตรงต่อเมืองราชธานีส่วนกลาง คือ กรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา  ส่วนเมืองศีร์ษะเกษ ในขณะนั้นยังถือว่าเป็นเมืองชั้นนอกขนาดเล็ก ที่แยกออกจากเมืองขุขันธ์ มาเป็นเมืองใหม่ จึงยังให้ทำราชการขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชา เมืองนครราชสีมาต่อไปเช่นเดิม คลิก 

พ.ศ. 2368
พ.ศ. 2368 การพ่ายแพ้สงครามครั้งแรกของพม่า คลิก 

พ.ศ. 2369
- พ.ศ. 2369 ตรงกับสมัยรัชกาลที่  ๓   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  (ท้าวบุญจันทร์)  เจ้าเมืองขุขันธ์และกรมการเมืองเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง   ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงโปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพระยานครราชสีมา และพระปลัดเมือง ยกกองทัพเดินทางมาระงับความวิวาทที่เมืองขุขันธ์  ทำให้เหตุการณ์สงบเรียบร้อยลงเป็นปกติ  ขณะกองทัพนครราชสีมาเตรียมยกทัพกลับ  ก็ได้ทราบข่าวว่าที่นครราชสีมา  ถูกเจ้าอนุวงศ์ยึดได้  และสามารถกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย จำนวนมาก   ในขณะที่เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ยึดเมืองนครราชสีมาอยู่นั้น  เจ้าโย้แห่งเมืองจำปาศักดิ์   ก็ได้ยกทัพมาตีเมืองขุขันธ์   เมืองสังขะ และเมืองสุรินทร์  โดยจับ  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(ท้าวบุญจันทร์)  เจ้าเมืองขุขันธ์ จับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ )จับพระแก้วมนตรี ( เทศ) รวมทั้งกรมการเมืองอื่น ๆ  นำไปประหารที่บ้านส้มป่อย  เพราะไม่ยอมเป็นสมัครพรรคพวกด้วย  ส่วนเจ้าเมืองสุรินทร์  เจ้าเมืองสังขะ  หลบหนีไปได้ กองทัพของเจ้าโย้ ได้กวาดต้อนครอบครัวไทย เขมร กูยหรือกวยไปไว้ที่เมืองจำปาศักดิ์จำนวนมากเช่นกัน (ภายหลังคนเหล่านี้ได้เป็นใส้ศึกให้ตีเมืองจำปาศักดิ์ได้สะดวกยิ่งขึ้น) เหตุการณ์ทราบถึงกรุงเทพฯ  ได้โปรดให้ยกทัพมาปราบจนสำเร็จเรียบร้อย  ทำให้เมืองขุขันธ์ขณะนั้นตำแหน่งเจ้าเมืองว่างเพราะยังไม่มีผู้เหมาะสมในการโปรดเกล้าฯ  เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ 

- ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2369  พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ  ตั้งให้ พระสังฆะบุรี (ทองด้วง) บุตรของพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ(เชียงฆะ  หรือเชียงเกา ) เจ้าเมืองสังขะ มาเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์  คนที่  4  ในราชทินนาม  "พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน"  โดยให้ท้าวไชย
(ท้าวใน)  บุตรพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ )  เป็น  พระภักดีภูธร  ปลัดเมือง ให้พระสะเทื้อน (ท้าวนวน) ผู้น้อง เป็นพระแก้วมนตรี ยกบัตรเมือง และให้ท้าวหล้าบุตรพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  (เชียงขันธ์)  เป็นพระมหาดไทย  ช่วยกันปกครองดูแลเมืองขุขันธ์ต่อไป

พ.ศ. 2379
- พ.ศ.2379 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 "เขมรป่าดง" ประกอบด้วย 13 เมือง  คลิก 

พ.ศ. 2382 
- พ.ศ. 2385 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพจากกรุงเทพฯ ไปปราบปรามความ วุ่นวายในกรุงกัมพูชา คลิก

พ.ศ. 2385 
- พ.ศ.2385 จีนแพ้อังกฤษ ในสงครามฝิ่น จนทําให้จีนต้องยอมเปิดเมืองท่าเอ้หมิง ฝูโจว หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ ตามสนธิสัญญานานกิง

พ.ศ. 2388 
- พ.ศ.2388 แยกพื้นที่เมืองขุขันธ์บางส่วนตั้งเป็นเมืองเดชอุดม คลิก

พ.ศ. 2402 
- พ.ศ. 2402 เดือนเมษายน ร.4 โปรดให้มีตราออกไปเกณฑ์คนเมืองพัตบอง เมืองนครเสียมราฐ เมืองพนมศก ให้พระสุพรรณพิศาลไปรื้อปราสาทผไทตาพรหม แบ่งเป็น 4 ผลัดๆละ 500 คน ระหว่างกำลังรื้ออยู่มีชาวเขมร 300 คนฮือออกจากป่ามาไล่แทงฟันฆ่าพระสุพรรณพิศาล พระวัง บุตรพระสุพรรณพิศาล ตาย 3 คน และไล่แทงฟันพระมหาดไทย พระยกกระบัตร ป่วยเจ็บหลายคน แต่ไม่ทำอันตรายไพร่  คลิก

พ.ศ. 2410 
- พ.ศ. 2410 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ร.4 โปรดเกล้าฯให้พระยาสามภพพ่าย ออกไปถ่ายแบบปราสาทนครวัดมาสร้างจำลองไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยมีพระราชดำริว่า "เพื่อจะให้คนไทยทั้งหลายเห็นว่าเป็นของอัศจรรย์ทำด้วยศิลาทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งไรปน"  แต่การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จ ร.4 เสด็จสวรรคตเสียก่อน  นครวัดจำลอง สร้างเสร็จในรัชกาลที่ 5 เมื่อคราวฉลองพระนครครบรอบ100 ปี ในปี พ.ศ. 2425 โดยฝีพระหัตถ์ของหมอมเจ้าประวิช ชุมสาย หรือที่รู้จักกันในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ว่า "เจ้าต๋ง" เป็นโอรสองค์ที่ 4 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสิหวิกรม 
คลิก 

- พ.ศ. 2410 ฝรั่งเศสได้เข้าอารักขาเขมรส่วนนอก

พ.ศ. 2424  
- พ.ศ.2424 ในยุคสมัยนั้น หากดูในแผนที่อินโดจีนตะวันออก (CARTE L'INDO-CHINE ORIENTALE) ปรับปรุงโดย MAJ.L.DUTREUIL DE RHINS PUBLIÉE  ภายใต้การควบคุมกำกับโดยนายพล  JAUREGUIBERRY หน่วยคลังแผนที่และแผนที่ทางทะเล ฝรั่งเศส ค.ศ.1881/พ.ศ. 2424 จะพบว่า เมืองเสียมเรียบ พระตะบอง และ ศรีโสภณ อยู่ในพื้นที่เขตปกครองของราชอาณาจักรสยาม

- พ.ศ.2424 
ตั้งเมืองราษีไศล คลิก

พ.ศ. 2425  
- พ.ศ. 2425 ร.5 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรพิชัย(หนู หงสกุล) ออกแบบนครวัดจำลอง  และโปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย สร้างหล่อปูนตามแบบจนแล้วเสร็จทันฉลองสมโภชพระนครครบ 100ปี และปรากฏมาจนถึงบัดนี้  คลิก 

พ.ศ. 2427  
- 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 เมืองขุขันธ์ ได้ช้างพังสีประหลาดช้าง๑ ช้างพังตาดำช้าง๑ คลิก

- พ.ศ. 2427 ฝรั่งเศสได้ครอบครองดินแดนญวนทั้งหมด และพร้อมทั้งดําเนินนโยบายที่จะครอบครองดินแดนลาว และเขมรอันเป็นดินแดนประเทศราชของไทย

- พ.ศ. 2427 ยุคแห่งการเบี่ยงเบนข้อมูลทางประวัติศาสตร์เมืองศีร์ษะเกษออกจากเมืองขุขันธ์  ที่เคยอยู่เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การปกครองเป็นครั้งแรก คลิก

พ.ศ. 2428  
- พ.ศ.2428  พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ  ให้ตั้งข้าราชการว่าราชการในตำแหน่งข้าหลวงกำกับเมืองบริเวณขุขันธ์ขึ้น  โดยทรงโปรดเกล้าฯ  ข้าหลวงกำกับเมืองบริเวณขุขันธ์คณะแรก  ประกอบด้วย  หลวงเสนีย์พิทักษ์  หลวงนเรนทร์  หลวงโจมพินาศ  และ  หลวงนคร

- พ.ศ. 2428  นี้เช่นเดียวกัน  พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนวางสายโทรเลข  จากเมืองจำปาสัก  ถึงเมืองขุขันธ์  เชื่อมต่อไปถึงเมืองเสียมราฐ  โดยมีบัญชาจาก พระยาอำมาตย์ข้าหลวงใหม่  เมืองจำปาสัก โดยตั้งและมอบหมายให้ ข้าหลวงเมืองขุขันธ์  มีหนังสือบอกแจ้งไปยังเจ้าเมืองขุขันธ์  เจ้าเมืองสังขะ ให้เกณฑ์ไพร่พลไปตัดทางวางสาย  โทรเลขจากเมืองขุขันธ์  ไปยังเมืองอุทุมพรพิสัย  ตลอดไปยังเมืองมโนไพร  ทั้งนี้โดยมีคำสั่งให้  ข้าหลวงพิชัยชาญยุทธ  เป็นข้าหลวงประจำอยู่ที่เมืองมโนไพรด้วย

- พ.ศ. 2428 มีเรื่องราวเมืองขุขันธ์ กล่าวไว้ในบันทึกย่อหมายเหตุเกี่ยวกับลาว เมื่อ ปี ค.ศ. 1885 คลิก

พ.ศ. 2430  
- พ.ศ. 2430 ภาพแผนที่ที่ตั้งเมืองในอดีตเมื่อ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2430) จากหอจดหมายเหตุ จ.อุบลราชธานี

- พ.ศ. 2430 (3 พฤษภาคม 2430) พระยาขขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 9 และพระรัตนโกษา (จันดี ) ปลัดเมืองขุขันธ์ ได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฝ่าละอองพระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออกแขกเมืองในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิธัยเข้าเฝ้าฝ่าละอองพระบาท และทรงจัดให้มีการสมโภชเจ้าเมืองทั้ง 5 เมืองที่เข้าเฝ้าฯ ได้แก่ เมืองนครลำปาง, เมืองพะเยา, เมืองขุขันธ์ , เมืองศรีสะเกษ และเมืองสาลวัน  คลิก

พ.ศ. 2433 
- พ.ศ. 2433 เมืองขุขันธ์ เป็นหัวเมืองเอก ถูกจัดอยู่ในกองหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ทรงมีพระราชดําริว่า การปกครองดินแดนหัวเมืองอีสานเท่าที่เป็นอยู่ ยังห่างพระเนตรพระกรรณอยู่มาก ทั้งยังอยู่ห่างไกลความเจริญ และการปกครอง จึงต้องมีการจัดรูปแบบการปกครองใหม่ คือ แบ่งหัวเมืองภาคอีสาน ออกเป็นกองๆ แล้วรวมหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา เข้าด้วยกันแบ่งออกเป็น 4 กองใหญ่ มีข้าหลวงปกครองกองละ 1 คน โดยมีข้าหลวงใหญ่กํากับราชการอยู่ที่เมืองนครจําปาศักดิ์ 1 คน เพื่อทํานุบํารุงดูแลหัวเมืองให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น หัวเมืองที่แบ่งเป็น 4 กองใหญ่ ได้แก่ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ,หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ , หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ และหัวเมืองลาวฝ่ายกลาง คลิก

พ.ศ. 2434 
 
- พ.ศ. 2434 ราชสำนักกรุงเทพฯได้ รวมหัวเมืองต่างๆ มาเป็นมณฑล แต่ยังไม่ได้จัดเป็นแบบเทศาภิบาล

พ.ศ. 2435  
- พ.ศ. 2435 เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ได้ทรงเห็นว่า เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ รวมทั้งเมืองศีร์ษะเกษ มีราษฎรพูดภาษาถิ่นหลายภาษา อันได้แก่ ภาษากูย ภาษาเขมร ภาษาเยอ และภาษาลาว จึงทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระศรีพิทักษ์ เป็นข้าหลวงใหญ่กำกับราชการแยกเป็นอีกเขตหนึ่ง ประกอบด้วยเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองศีร์ษะเกษ นับเป็นท่านที่ 4 ที่มีตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการประจำเมืองขุขันธ์

พ.ศ. 2436 
 
- พ.ศ. 2436 แผนที่ประเทศสยามเกิดขึ้นครั้งแรก พร้อมกับการเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 อันเป็นช่วงที่สยามสูญเสียประเทศราชของตนเองให้แก่ฝรั่งเศส คลิก

- พ.ศ. 2436 ทางกรมไปรษณีย์โทรเลข  ได้จัดให้มิสเตอร์ โทมัสมาเมอร์ มิสเตอร์แมคคูลเลอร์ และ มิสเตอร์วิลเลี่ยมไปจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ตามหัวเมืองในมณฑลลาวกาว   ทั้งนี้ให้รวมถึงเมืองขุขันธ์และเมืองศีร์ษะเกษ ไปจนถึงกรุงเทพฯ กำหนดการเดินไปรษณีย์โทรเลข  อาทิตย์ละ 1 ครั้ง

พ.ศ. 2437 
 
- พ.ศ. 2437 ร.5 ทรงกำหนดให้มณฑลเทศาภิบาลขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ยกเลิกระบบกินเมือง และระบบหัวเมืองแบบเก่า (ได้แก่ หัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และเมืองประเทศราช) จัดเป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ระบบเทศาภิบาลดังกล่าวทำให้สยามกลายเป็นรัฐชาติที่มั่นคง มีเขตแดนที่ชัดเจนแน่นอน นับเป็นการรักษาเอกราชของประเทศ และทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น    ราชสำนักกรุงเทพฯ จึงได้ตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 มณฑล คือ
       1. มณฑลลาวกลาง พระยาประสิทธิศิลปการเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล มีที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ประกอบ ด้วย 3 เมือง คือ นครราชสีมา, ชัยภูมิ และบุรีรัมย์
       2. มณฑลลาวกาว มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สําเร็จราชการมณฑล มีที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ประกอบด้วย 7 เมือง คือ อุบลราชธานี, นครจําปาศักดิ์, ขุขันธ์, สุรินทร์ ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม และกาฬสินธุ์
       3. มณฑลลาวพวน มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ ก่อน พ.ศ. 2436 มีหัวเมือง ทางฝั่งซ้ายรวมอยู่ด้วย และมีแคว้นพวนเป็นแคว้นใหญ่ มีเมืองเชียงขวางเป็นเมืองสําคัญ และทรงตั้งชื่อมณฑลลาวพวนตามชื่อ เมืองพวน ภายหลังปี พ.ศ. 2436 เมืองในมณฑลนี้จึงเหลือเพียง 6 เมือง คือ อุดรธานี ขอนแก่น นครพนม สกลนคร เลย หนองคาย ตั้งที่บัญชาการอยู่ที่เมืองอุดรธานี (เดิมอยู่ที่หนองคาย)  สำหรับนโยบายรวมศูนย์อํานาจ ดังกล่าวนี้ ทำให้อํานาจการปกครองตนเองของบรรดาเจ้าเมืองท้องถิ่นเดิม ถูกแทนที่โดยพวกเจ้าและ “ข้าราชการ” ตามระบบใหม่จากส่วนกลาง


พ.ศ. 2438  
- พ.ศ.2438 ในแผนที่ขนาดใหญ่ ของ Stanford's Library Map Of Asia พิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1895 ตรงกับ พ.ศ. 2438 รัชสมัย ร.5 ปรากฏชื่อ เมืองขุขันธ์ (Kukan เขียนแบบภาษาเยอรมัน หรือគោកខណ្ឌ เขียนเป็นภาษาเขมร) ณ พิกัดตำแหน่งที่ตั้งเดิมในปัจุบัน(อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) เคียงคู่กันกับ เมืองกันทรารมย์ ในอดีต บนแผนที่ทวีปเอเซีย ตรงกับที่ตั้งปัจจุบันคือตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ คลิก

พ.ศ. 2440  
- พ.ศ.2440 โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนตำแหน่ง เจ้าเมืองขุขันธ์ เป็นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์

- พ.ศ.2440 มีพระบรมราชโองการใน ร.5 ให้ประกาศ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (30 พฤษภาคม พ.ศ.2440) คลิก

พ.ศ. 2441  
- พ.ศ. 2441 เมืองขุขันธ์ในอดีตเมื่อ ร.ศ.117 (พ.ศ. 2441) เป็นเมืองหนึ่งใน 21 เมืองที่มีชื่อด้านการผลิตครั่งในบริเวณภาคอีสาน คลิก

- พ.ศ.2441 ร.5 ทรงให้ความสำคัญกับการออกเสียง ร. เรือ และ ล. ลิง อย่างจริงจัง คลิก

พ.ศ. 2442  
- พ.ศ. 2442 คำว่า ตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่หมายตรงกับคำอีสาน) เริ่มใช้เป็นทางการ สมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2442 ในชื่อ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ ยังหมายเฉพาะลุ่มนํ้ามูลถึงอุบลราชธานี จำปาสัก ฯลฯ  รวมความแล้วใครก็ตามที่มีถิ่นกำเนิด หรือมีหลักแหล่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (จะโดยเคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่เมื่อไร ก็ตาม) ถ้าถือตัวว่าเป็น คนอีสาน หรือ ชาวอีสาน อย่างเต็มอกเต็มใจ และอย่างองอาจ ก็ถือเป็นคนอีสานเป็นชาวอีสานทั้งนั้น คลิก

-11 มิถุนายน พ.ศ. 2442 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการออกประกาศเปลี่ยนนามมณฑล ร.ศ.118 และเมื่อมีการสำรวจสำมะโนครัว ก็ได้ห้ามการระบุว่าเป็นชาติลาว เขมร กูย ผู้ไท ฯลฯ แต่กำหนดให้ใช้สัญชาติไทยเหมือนกันหมด

พ.ศ. 2443  
- พ.ศ. 2443 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทย ปรับปรุงการปกครองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคงจัดตั้งเป็นมณฑล แต่แบ่งการปกครองเป็นเมืองบริเวณ เมืองบริเวณขุขันธ์ ประกอบด้วย 3 เมือง ได้แก่ เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม โดยมีพระยาบำรุงบุระประจันต์ (จันดี) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองบริเวณ

พ.ศ. 2447 
 
- พ.ศ. 2447(ตรงกับ ค.ศ.1904) นับแต่นั้นมา ชะตากรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ตกอยู่กับประเทศสยามโดยสิ้นเชิง ดังนั้น การแสวงหาอัตลักษณ์ร่วมของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงต้องพิจารณาอยู่ในบริบทของรัฐไทยเท่านั้น คลิก


- พ.ศ. 2447 ได้มีการปรับปรุงเขตอำเภอ คือ ยุบอำเภอกันทรลักษ์ โดยแบ่งส่วนหนึ่งให้ไปรวมและขึ้นต่ออำเภออุทุมพรพิสัย ส่วนหนึ่งไปรวมกับอำเภอเมือง เมืองขุขันธ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันมิให้เป็นที่ซ่องสุมผู้คนของกลุ่มผู้ที่ยังรักและศรัทธาในตัวของท้าวบุญจันทร์อยู่  และในปีเดียวกันนี้ พระยาบำรุงบุระประจันต์ ข้าหลวงบริเวณกำกับขุขันธ์ ได้เริ่มวางแผนที่จะย้ายที่ทำการศาลาว่าราชการเมืองขุขันธ์  ไปตั้งอยู่ ณ  อำเภอกลางศีร์ษะเกษ

พ.ศ. 2448  
- พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงออกพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ.124  การเลิกทาส และการเลิกไพร่  ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญยิ่งของพระองค์ เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น เพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด “ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป”( 1 เม.ย. 2448 วันเลิกทาสของไทย ) คลิก

พ.ศ. 2449  
- พ.ศ. 2449 พระวิหาร ยังคงอยู่ในเขตเมืองขุขันธ์ คลิก
- พ.ศ. 2449 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึง "เขมรป่าดง" คลิก

พ.ศ. 2450  
พ.ศ. 2450 พระเจ้าอยู่หัว ร.5 ทรงโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงการปกครองอีกครั้ง โดยให้มีการยกเลิกเมืองบริเวณและยุบเมืองบางเมืองเป็นอำเภอ ยุบเมืองหลายเมืองเป็นเมืองเดียวกัน  จึงทำให้เมืองบริเวณขุขันธ์ (เมืองขุขันธ์  เมืองศีร์ษะเกษ  และเมือง เดชอุดม)  ถูกยุบรวมกัน เรียกว่า “เมืองขุขันธ์”  โดยให้อำเภอต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อเมืองทั้ง 3 ให้ขึ้นต่อเมืองขุขันธ์ ทั้งสิ้น ทำให้เมืองศีร์ษะเกษ เมืองเดชอุดม สิ้นสภาพความเป็นเมืองตั้งแต่บัดนั้นมา โดยเมืองเดชอุดม เป็นอำเภอเดชอุดม  เมืองศรีสะเกษ  เป็น อำเภอศรีสะเกษ ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเดชอุดม  และผู้ว่าราชการเมืองศีร์ษะเกษได้สิ้นสุดไปด้วย

- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ระกาศกระทรวงโยธาธิการ แผนกกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง ยกเลิกโทรเลขที่ออฟฟิศเมืองขุขันธ์ให้คงมีแต่การใช้โทรศัพท์ ร.ศ.126 คลิก

พ.ศ.2450 สถานะของอำเภอเมือง เมืองขุขันธ์ ที่ถูกย้ายเฉพาะศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิม(อำเภอเมืองขุขันธ์) ไปตั้งบริเวณศาลากลางเมืองศีร์ษะเกษ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2450 แต่ยังคงใช้ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์  ส่วนพื้นที่อำเภอเมืองขุขันธ์ ยังอยู่ที่ตั้งเดิม คลิก

พ.ศ. 2451  
- 15 มีนาคม พ.ศ.2451 (ร.ศ.127) ส่งหีบเพลิงไปพระราชทาน [พระพิไชยสุนทรสงคราม (ทองคำ) ปลัดเมืองขุขันธ์ คลิก
- พ.ศ. 2451(ร.ศ.127) เมืองขุขันธ์ ยังคงอยู่ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรสยาม ตามแผนที่ คลิก 

พ.ศ. 2452  
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 (ร.ศ.128) ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสำหรับทำบัญชีคนในพระราชอาณาจักร ร.ศ.128 นับกฏหมายที่ใช้กับการทะเบียนราษฎรเป็นครั้งแรก คลิก

- พ.ศ. 2452  พระเจ้าอยู่หัว ร.5 ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ย้ายที่ทำการอำเภออุทุมพรพิสัย  มาตั้งที่บ้านขนา  ตำบลน้ำอ้อม  เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอน้ำอ้อม และต่อมาก็ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอน้ำอ้อม มาตั้งที่บ้านโนนสว่าง  ตำบลน้ำอ้อมในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2452  สมัยพระยาประชากิจกรจักร (ทับ มหาเปาระยะ) ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์  พระเจ้าอยู่หัว ร.5 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเมืองกันทรารมย์  เป็น ตำบลกันทรารมย์

พ.ศ. 2453  
- 1 มกราคม พ.ศ.2453 (ร.ศ.129) ยุคจังหวัดขุขันธ์ และจังหวัดสุรินทร์ ประสบปัญหาฝนแล้งอย่างหนัก ทางการประกาศห้ามมิให้จำหน่ายหรือพาเข้าในจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดขุขันธ์ออกไปต่างเมือง คลิก

พ.ศ. 2454  
- พ.ศ. 2454 พระยาวิเศษสิงหนาถ ( ปิ๋ว บุญนาค ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์  ต่อมาได้ยุบรวมอำเภอกลางเดชอุดม อำเภออุทัยเดชอุดม และอำเภอปจิมเดชอุดม รวมเป็น อำเภอเดชอุดม ให้ขึ้นต่อ เมืองขุขันธ์ 

พ.ศ. 2455 
 
- พ.ศ. 2455 เมืองขุขันธ์ อยู่ในการปกครองสังกัด มณฑลเทศาภิบาลอุบล (ขณะนั้นประกอบด้วย 3 เมือง ได้แก่ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์) มี พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา) ตำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก คลิก  

พ.ศ. 2456  
- 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2456 เป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของไทย เพราะคนไทย ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2456 ยังไม่มีนามสกุลใช้ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 พระราชทานให้แก่ข้าราชบริพาร  ข้าราชการ และราษฎรทุกคน เรียกว่า นามสกุลพระราชทาน คลิก  

- หลวงศุภกิจวิเลขการ (เชย) อดีตปลัดจังหวัดขุขันธ์ (พ.ศ. 2456 -2459) มณฑลอุบลราชธานี , พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย : นักปกครองสองยุค คลิก

- 12 ตุลาคม พ.ศ. 2456 วันเกิดของอำเภอเมืองศีร์ษะเกษ พบใน ราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนชื่ออำเภอบางอำเภอในจังหวัดขุขันธ์ คลิก
 ในสมัยที่ ร.อ. พระอินทร์ประสิทธิศร ( เชื้อ  ทองอุทัย) เป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ ในปีนี้เอง พระเจ้าอยู่หัว ร.6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกลางศีร์ษะเกษ เป็นชื่อ อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ  เปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยศีร์ษะเกษ เป็นชื่อ อำเภอกันทรารมย์  เปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมศีร์ษะเกษ  เป็นชื่อ อำเภออุทุมพรพิไสย  

พ.ศ. 2458  
- พ.ศ.2458 ประกาศ ตั้งศาลจังหวัดขุขันธ์ คลิก

พ.ศ. 2459 
- พ.ศ.2459 /หรือ ค.ศ.1916 ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดขุขันธ์ โดยที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ พระเจ้าอยู่หัว ร.6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามคำว่า เมือง เป็น จังหวัด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 (In 1916 during the reign of King Rama VI,Siam introduced the word "Changwat"(province) in place of "Mueang"(city). ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง เปลี่ยนเป็น ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศ ดังนั้น เมืองขุขันธ์ จึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดขุขันธ์ ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ เปลี่ยนเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นมา แต่ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดขุขันธ์ ยังคงตั้งอยู่ ณ ที่อำเภอกลางศรีสะเกษ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ อำมาตตรี พระยาภักดีศรีสุนทรราช (ดิส โกมลบุตร ) ได้ดำรงตำแหน่งในนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ เป็นท่านแรก โดยใช้ดวงตราไปรษณียากร และดวงตราประทับใช้ในราชการ ซึ่งเดิมมีอักษรโดยใช้ชื่อ ขุขันธ์ ก็ยังใช้เหมือนเดิม แต่ให้ความหมายว่า จังหวัดขุขันธ์ 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองราชย์ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (15 ปี 34 วัน)

พ.ศ. 2460  
- 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ(ในจังหวัดขุขันธ์) คลิก เปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ เป็นอำเภอห้วยเหนือ จังหวัดขุขันธ์ 

- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2460  ร.6 ทรงเปลี่ยนแปลงธงประจำชาติไทยจาก ธงช้าง มาเป็น ธงไตรรงค์ โดยทรงรำลึกถึงสีน้ำเงินอันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพ ซึ่งทรงยึดถือเป็นสีประจำพระองค์อยู่แล้ว ทรงจัดวางรูปริ้วผ้าใหม่โดยนำริ้วสีน้ำเงินที่ใหญ่เป็น ๒ เท่าของสีขาวและสีแดงไว้ตรงกลางขนาบด้วยสีขาวทั้งล่างและบน มีสีแดงอยู่ริม ๒ ข้าง 
     
และพระราชทานความหมายไว้ว่า สีแดงหมายถึงชาติซึ่งคนไทยทุกคนต้องรักษาไว้โดยแม้จะต้องสละเลือดและชีวิต สีขาวคือศาสนาซึ่งบริสุทธิ์ดุจสีขาว ส่วนสีน้ำเงินหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ หลังจากนั้นโปรดให้ทดลองนำขึ้นสู่เสา ดูสง่างาม และมีความหมายแสดงสัญลักษณ์ของชาติไว้อย่างครบถ้วนตามพระราชประสงค์ เป็นที่พอพระราชหฤทัย พระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์ ประกาศเป็นธงประจำชาติ คลิก

พ.ศ. 2461  
- พ.ศ. 2461 พบข้อมูลการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคอินฟลูเอนซา (Influenza) หรือ ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Flu) ระบาดที่จังหวัดขุขันธ์  คลิก

พ.ศ. 2464  
- 1 เมษายน พ.ศ. 2464 พระราชบัญญัติฝิ่น พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ คลิก
- 26 มิถุนายน  พ.ศ. 2464 พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ คลิก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2464 พระราชบัญญัติประถมศึกษา พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ คลิก

พ.ศ. 2465  
- พ.ศ. 2465 มี  อ.ท.พระยานครพระราม (สวัสดิ์  มหากายี ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอีกครั้งหนึ่ง โดยรวมมณฑลหลาย ๆ มณฑลเข้าเป็นภาค โดยมณฑลอุดร มณฑลร้อยเอ็ด  มณฑลอุบลราชธานี  รวมขึ้นต่อภาคอีสาน

พ.ศ. 2465 ประกาศ โอนอำเภอเดชอุดมและกิ่งอำเภอโพนงามจังหวัดขุขันธ์ไปขึ้นจังหวัดอุบลราชธานี 

- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 คำแถลงการณ์ของเสนาธิการทหารบก เรื่อง สนามบินสำหรับจังหวัดขุขันธ์ และ สุรินทร์  คลิก

- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2465 โอน ต.กันทรารมย์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ มาอยู่ในจังหวัดขุขันธ์ คลิก

พ.ศ. 2468  
-พ.ศ. 2468 แผนที่มณฑลอุบลราชธานี พ.ศ.2468 ก่อนถูกยุบไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา ประกอบด้วย 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดขุขันธ์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดสุรินทร์

ขอบคุณแผนที่จาก : หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-ปลายปี พ.ศ. 2468  มี  อ.ท. พระยาวิสุทธิ์ราชรังสรรค์ ( ใหญ่  บุนนาค)  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด  ขุขันธ์ รัชสมัย ร.7 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ดให้ไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา จังหวัดขุขันธ์ จึงได้ขึ้นต่อมณฑลนครราชสีมา แต่บัดนั้นมา 

พ.ศ. 2470  
- พ.ศ. 2470  มี  ม.อ.ต.พระยาประชากิจกรจักร ( ชุบ  โอสถานนท์ ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ปีนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยอีกครั้ง  คือ ได้โปรดให้มีการยกเลิกมณฑลทั่วประเทศ  ทำให้จังหวัดทุกจังหวัดขึ้นต่อส่วนกลาง   ทำให้ จังหวัดขุขันธ์ ขึ้นต่อส่วนกลางตั้งแต่นั้นมา    และในปีเดียวกันนี้เอง ได้มีการโอนพื้นที่ ตำบลต่าง ๆ ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี กับจังหวัดขุขันธ์

- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่อง รับประชาสมาชิก พ.ศ. ๒๔๖๙ จังหวัดขุขันธ์ คลิก

พ.ศ. 2471 
1 พฤษภาคม  พ.ศ. 2471 ทางราชการได้เปิดบริการรถไฟจากสถานีรถไฟสายกรุงเทพมหานครถึงสถานีห้วยทับทัน 

- 20 ธันวาคม พ.ศ.2471 ประกาศ โอนอำเภอเดชอุดม และกิ่งอำเภอโพนงาม จังหวัดขุขันธ์ ไปขึ้นจังหวัดอุบลราชธานี คลิก

พ.ศ. 2472 
- 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2472 แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ปฏิสังขรณ์ศาลาพระพุทธบาทจำลอง จังหวัดขุขันธ์ คลิก
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 เพลิงไหม้บ้านเรือนราษฏร 56 หลังและยุ้งเข้า 25 หลังในหมู่ 1 ตำบลส้มป่อย อำเภอคง จังหวัดขุขันธ์ คลิก 

พ.ศ. 2473 
1  เมษายน  พ.ศ. 2473  ทางราชการได้เปิดบริการรถไฟจากสถานีรถไฟสายกรุงเทพมหานครถึงสถานีอุบลราชธานี
 
พ.ศ. 2475 
ประเทศไทยมีประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช  มาเป็นปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ประกาศ  ณ  วันที่  ๒๔  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๔๗๕  ทำให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาจนถึงปัจจุบัน   ซึ่งเป็นระบอบปกครองที่ถือว่า  เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุดในขณะนั้น  จังหวัดขุขันธ์  มี  อ.ท.  พระศรีพิชัยบริบาล (สวัสดิ์  ปัตมดิลก )  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์

- 10 ธันวาคม 
พ.ศ. 2475 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7) พระราชทาน  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  ฉบับถาวรฉบับแรก  อันเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศสยาม(ชื่อประเทศไทยในขณะนั้น) เพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

พ.ศ. 2476 
- พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม   พุทธศักราช 2476 คลิก

- พ.ศ. 2476  เป็นประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยอีกครั้งหนึ่ง  ที่ในปีนี้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  โดยทางอ้อม  คือ ให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตำบล  ไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกทอดหนึ่ง(ไม่ได้เลือกโดยตรงอย่างในปัจจุบัน)  ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น  คือวันที่  1  ธันวาคม  พ.ศ.  2476 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดขุขันธ์ คนแรก  คือ ขุนพิเคราะห์คดี ( อินทร์  อินตะนัย )

พ.ศ. 2477 
- สมาชิกสภาจังหวัดขุขันธ์ ที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรก จำนวน 28 ท่าน คลิก 
-
ประกาศกระทรวงธรรมการ กรมธรรมการ เรื่อง ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู (สำหรับพระภิกษุ) ในจังหวัดขุขันธ์ คลิก
- พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช 2477 (ยุคที่ยังเป็นจังหวัดขุขันธ์) คลิก

พ.ศ. 2478 
- พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๗๘ (ยุคที่ยังเป็นจังหวัดขุขันธ์) -วัดบิง ต.ดองกำเม็ด คลิก

พ.ศ. 2479 
- 21 มีนาคม 2479 แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ [ตั้งรองเจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์] คลิก

- เดือนกรกฎาคม 2479 การเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย จังหวัดขุขันธ์ มีสมาชิกสภาจังหวัดขุขันธ์  ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 28ท่าน และสมาชิกสภาจังหวัด ที่มาจากการแต่งตั้ง  จำนวน 14 ท่าน รวมทั้งสิ้น 42 ท่าน คลิก

- 29 พฤศจิกายน 2479 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ คลิก

พ.ศ. 2480 
พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๘๐ (ยุคที่ยังเป็นจังหวัดขุขันธ์) วัดกฤษณา วัดบ้านตะเคียน  วัดปรือใหญ่ วัดบ้านตาอุด คลิก
คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรประจำจังหวัดขุขันธ์ คลิก

พ.ศ. 2481 

- 6 มีนาคม พ.ศ. 2481 พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามเทศบาลเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ เป็นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ คลิก

- 20 มิถุนายน พ.ศ. 2481 "...ชื่ออำเภอ ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดขุขันธ์ในเวลานี้ ก็เรียก อำเภอศีรษะเกศ..." คลิก

23 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง พระราชทานยศลูกเสือ แก่ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ลูกเสือจังหวัดขุขันธ์ คลิก

วันจันทร์ที่ 14  พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 วันเกิดจริงของจังหวัดศรีสะเกษ ตามกฎหมาย และตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช  2481 มาตรา 3 ให้เปลี่ยนนามจังหวัดขุขันธ์ เป็น จังหวัดศีร์ษะเกษ เปลี่ยนชื่อ อำเภอห้วยเหนือ เป็นชื่อ ขุขันธ์  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คลิก 

- 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481  ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนนามศาลจังหวัดขุขันธ์เป็นศาลจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่  คลิก 
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ตำบลตาอุด เคยถูกยุบไปขึ้นกับ ตำบลสะเดาใหญ่  เมื่อวันที่  คลิก 

พ.ศ. 2482
ประเทศของเราเดิมชื่อ ประเทศสยาม เปลี่ยนชื่อมาเป็น ประเทศไทย  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482/ค.ศ.1939  สมัยรัฐบาลของนายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ต่อมาสถาปนาเป็นจอมพล ป. ซึ่งเป็นปีกขวาของ “คณะราษฎร” และเป็นผู้พัฒนาให้เกิด “ระบอบอํามาตยาธิปไตย/อํานาจนิยมอันมีบรรดาจอมพล และพลเอกเป็นผู้นํา”) ได้ประกาศ “รัฐนิยม” ให้เปลี่ยนนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย และ Siam เป็น Thailand” โดยให้เหตุผลด้วยหลักการของ “ลัทธิเชื้อ-ชาตินิยม” ว่า “รัฐบาลเห็นสมควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติและความนิยมของประชาชน” ...

สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการรบระหว่างกลุ่มประเทศอักษะ (เยอรมนี  อิตาลี  ญี่ปุ่น) กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตร    ซี่งนำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สงครามครั้งนี้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกเข้าไปยึดครองประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1กันยายน พ.ศ.2482/ค.ศ.1939 ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอีก 4 แห่งคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บริติชอินเดีย แอฟริกาใต้ ประกาศสงครามกับเยอรมนี 

- 26 ตุลาคม พ.ศ.2482 พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ยุคที่จังหวัดขุขันธ์ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดศรีสะเกษ) - วัดบ้านจันลม วัดสำโรงตาเจ็น วัดสะโน วัดบ้านโคกเพ็ชร์  วัดบ้านโคกโพน วัดบ้านแขว วัดบ้านสะอาง คลิก

พ.ศ. 2483
- 14 มกราคม พ.ศ. 2483 
พระราชบัญญัติพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๘๓ (ยุคที่เป็นจังหวัดศรีสะเกษ) -วัดบ้านปรือใหญ่  คลิก

- ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2483 – 3 มกราคม 2484 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศส ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดจังหวัดนครพนม อำเภออรัญประเทศ  และส่งกองทหารเข้าโจมตีอำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม ช่องโจมบก อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ กองทัพบูรพาของไทย จึงรุกรบเข้าไปในเขตอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2484/ค.ศ.1939  ยึดด่านปอยเปต บุกไปเกือบถึงเมืองเสียมราฐ และศรีโสภณ ยึดนครจำปาสักได้ กองกำลังทหารตำรวจของจังหวัดเลย ยึดเมืองปากกายฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงกันข้ามเมืองหลวงพระบางได้ มีการทำสัญญาหยุดยิง เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2484/ค.ศ.1941 โดยมีผู้แทนญี่ปุ่นเป็นฝ่ายไกล่เกลี่ยสงบศึก ฝ่ายไทยได้มีจังหวัดเพิ่มขึ้นหลายจังหวัดจากฝรั่งเศส คือ จังหวัดนครจำปาสัก จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดลานช้าง ซึ่งบางจังหวัดมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ จึงมีข้าราชการชาวศรีสะเกษที่รู้ภาษาขอมและภาษาเขมรไปอยู่ประจำทำงานหลายคนไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในจังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ เมื่อมีการแบ่งเป็นเขตแดน ก็ไม่ได้กลับเมืองไทยจนถึงทุกวันนี้ และมีทายาทอยู่ในตำแหน่งผู้ปกครองของกัมพูชาในระดับสูงก็ยังมีปรากฎอยู่ 

พ.ศ. 2484
- 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484 แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง เจ้าคณะแขวงขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ขอลาออกจากตำแหน่ง คลิก

- 16 ธันวาคม พ.ศ.2484  ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์อันมีราชทินนามต่างๆทั้งที่เป็นเจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน เป็นต้น คลิก

- วันที่ 7 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ปีดังกล่าว เกิดการสู้รบระหว่างกองกำลังของไทยกับกองกำลังทัพญี่ปุ่นผู้รุกราน และมีคำสั่งให้หยุดยิง  เมื่อ เวลา 07.00 น. ของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เป็นผลให้ไทยทำสัญญากับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นเหตุให้คนไทยส่วนหนึ่ง นำโดย ดร. ปรีดี พนมยงค์ จัดตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อกู้ชาติ โดยระดมชายฉกรรจ์ พร้อมทั้งข้าราชการบางส่วนทั่วประเทศ รวมทั้งจากจังหวัดศรีสะเกษไปฝึกอาวุธ มีการเตรียมการจัดทำสนามบิน เพื่อให้เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรมาลง เช่น ที่บริเวณศูนย์การศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ (ทุ่งสนามบิน) และที่บ้านสนามสามัคคี ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์

พ.ศ. 2488 

- วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2488/ค.ศ.1945 สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ  สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการรบระหว่างกลุ่มประเทศอักษะ (เยอรมนี  อิตาลี  ญี่ปุ่น) กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตร    ซี่งนำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สงครามครั้งนี้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกเข้าไปยึดครองประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1กันยายน พ.ศ.2482/ค.ศ.1939 ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอีก 4 แห่งคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บริติชอินเดีย แอฟริกาใต้ ประกาศสงครามกับเยอรมนี ต่อมาในปี พ.ศ.2483/ค.ศ.1940 กองทัพเยอรมนีรุกรานประเทศนอร์เวย์และประเทศเดนมาร์ก ก่อนที่จะโจมตีฝรั่งเศสผ่านทางประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ในปีเดียวกันนี้เอง อิตาลีได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศส ถัดมาในปี พ.ศ.2484/ค.ศ.1941 เยอรมนียึดครองยูโกสลาเวีย และเริ่มส่งทหารเข้าไปรุกรานสหภาพโซเวียต ขณะที่ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbour) บนเกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกา แล้วประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าสู่สงครามโลก  จากนั้นอเมริกาได้โจมตีญี่ปุ่นด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูกที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมาก และถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2488/ค.ศ.1945 เมื่อ มาโมรุ ชิเงมิตซึ (Mamoru Shigemitsu) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น ในนามของพระจักรพรรดิลงนามในเอกสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อกลุ่มสัมพันธมิตร เป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ

พ.ศ. 2494
-  อำเภอขุขันธ์ เคยมีป่าสน ที่ตำบลหัวเสือ เป็นป่าคุ้มครอง  คลิก
   หมายเหตุ 
    กฎกระทรวงฉบับที่ ๗๓ ( พ.ศ.๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ คลิก
    กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๐๕ (พ.ศ.๒๕๑๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ คลิก

พ.ศ. 2498
- แยกตำบลพราน ตำบลไพร และบางหมู่บ้านจากตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ รวมกับ 5 ตำบลในอำเภอขุขันธ์ คือ ตำบลขุนหาญ ตำบลสิ ตำบลบักดอง ตำบลกระหวัน และตำบลกันทรอม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขุนหาญ  ขึ้นกับอำเภอขุขันธ์

พ.ศ. 2499
- 30 พฤษภาคม 2499 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ คลิก
- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2499 คนต่างด้าวเมื่อปี พ.ศ. 2499 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 81  ตุลาคม 2499 หน้า 3010 คือ ชาวจีน และอื่นๆ แต่ปัจจุบัน น่าจะโอนสัญชาติเป็นคนไทยเรียบร้อยหมดแล้ว...และสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างที่เคยถูกห้าม...รวมแม้กระทั้งค้าขายข้าว คลิก 

พ.ศ. 2500-ปัจจุบัน
- 10 ธันวาคม พ.ศ.2500 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลขุนหาร กิ่งอำเภอขุนหาร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ คลิก

- พ.ศ. 2501 ยกกิ่งอำเภอขุนหาญ เป็นอำเภอขุนหาญ

- พ.ศ. 2504 รวมตำบลกู่ ตำบลพิมาย ตำบลหนองเชียงทูล และตำบลสมอ ของอำเภอขุขันธ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปรางค์กู่

- พ.ศ. 2505 ศาลโลกมีคำพิพากษาตัดสินให้ประเทศไทย ยกปราสาทเขาพระวิหาร ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้ตกเป็นของประเทศกัมพูชา การเสียปราสาทเขาพระวิหาร นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของไทยอีกเหตุการณ์หนึ่ง

- พ.ศ. 2506 ตั้งกิ่งอำเภอปรางค์กู่ เป็น อำเภอปรางค์กู่

- พ.ศ. 2509 เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขขุขันธ์ คลิก

- พ.ศ. 2511 รวม 4 ตำบลของอำเภอขุขันธ์ คือ ตำบลไพรบึง ตำบลปราสาทเยอ ตำบลดินแดง และตำบลสำโรงพลัน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอไพรบึง
- พ.ศ. 2512 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (8 ตุลาคม พ.ศ. 2512) คลิก
- พ.ศ. 2513 
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครราชสีมา - โชคชัย -นางรอง -กันทรลักษ์ - เดชอุดม -อุบลราชธานี ตอนสังขะ -เดชอุดม คลิก
- พ.ศ. 2518 ยกกิ่งอำเภอไพรบึง เป็น อำเภอไพรบึง

- พ.ศ. 2519 ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา (2516) เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 2519 ซึ่งนำไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งโดยตรงและเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้น  เหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้ส่งผลต่อการเมือง(เปลี่ยนจากการเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการ : รัฐบาลคณาธิปไตย ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย) การเศรษฐกิจ (ลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย และการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการพัฒนาสังคม)  และสังคม(เปลี่ยนแปลงในค่านิยมและวัฒนธรรมที่เน้นไปที่การเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมในกระบวนการปกครองมาก)ของประเทศอย่างมาก โดยได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านเพื่อให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีความเป็นธรรมและเสรีภาพมากขึ้น

- พ.ศ. 2525 พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
        พระราชพิธีนี้จัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า "ในปี พ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 200 ปี นับเป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ผ่านพ้นภัยพิบัติต่าง ๆ มาโดยสวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยลําดับ"
        พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-12 และ 21 เมษายน พ.ศ. 2525 โดยมีพระราชกุศลและพิธีกรรมต่าง ๆ ตามราชประเพณีที่มีมาแล้วในรัชกาลก่อน แต่ก็ได้ปรับให้สอดคล้องกับกาลสมัยในปัจจุบัน 

- พ.ศ. 2529 กระทู้ถามที่ ๕๑ ร. เรื่อง การติดตั้งไฟฟ้าที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (ของ นายเริ่มรัฐ จิตรภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) คลิก
- พ.ศ. 2530 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังหิน(12 มีนาคม พ.ศ. 2530) คลิก
- พ.ศ. 2532 แผนที่เขตปฎิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอขุขันธ์ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๒  คลิก
- พ.ศ. 2532 ประกาศฯเปิดสำนักงานธนาคารออมสิน สาขาขุขันธ์ คลิก
- พ.ศ. 2534 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูสิงห์ (1เม.ย.2534) โดยรวมเอาตำบลห้วยติ๊กชู ตำบลละลม ตำบลโคกตาล ตำบลห้วยตามอญ ตำบลดงรัก และตำบลตะเคียนราม ของอำเภอขุขันธ์ เป็นกิ่งอำเภอภูสิงห์ คลิก
- พ.ศ. 2534 อำเภอขุขันธ์  ได้มีการประชุมเห็นชอบร่วมกันว่า งานบุญประเพณีแซนโฎนตา  เป็นงานสำคัญ อันแสดงออกถึงความสมัครสมานสามัคคี และความกตัญญูต่อ     บุพเปตชนของชาวอำเภอขุขันธ์ จึงได้มีมติที่จะนำเสนอยกระดับงานนี้ให้เป็นที่รู้จัก  จึงได้ให้มีการจัดงานบุญประเพณีแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ จัดให้มีขึ้นบริวณหน้าที่ว่าการอำเภอขุขันธ์   ครั้งแรกเมื่อปี   พ.ศ. ๒๕๓๔  โดย  นายสุนาย   ลาดคำกรุง นายอำเภอขุขันธ์ (พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๕) โดยมอบหมายให้แต่ละตำบลจัดทำ และนำเครื่องเซ่นไหว้มาประกอบพิธีร่วมกันบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ ภายหลังเมื่อได้มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายขึ้น  จึงได้ร่วมกันจัดให้มีขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้ เพื่อมาเซ่นไหว้ร่วมกันที่บริเวณลานด้านหน้าอนุสาวรีย์ของท่าน และต่อมาการจัดงานมีความก้าวหน้ามาโดยตามลำดับ  จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันไปทั่วประเทศ และทั่วโลกในที่สุด
- พ.ศ. 2538 ยกกิ่งอำเภอภูสิงห์ เป็น อำเภอภูสิงห์
- พ.ศ. 2538 พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. ๒๕๐๕ บังคับในท้องที่อำเภอขุขันธ์ และกิ่งอำเภอภูสิงห์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ คลิก
- พ.ศ. 2553 เปลี่ยนชื่อ เทศบาลตําบลห้วยเหนือ อําเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็น เทศบาลตําบลเมืองขุขันธ์ คลิก


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย